หมายเหตุ: บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนในหนังสือ เนื่องจากมีการนำคำพูดในหนังสือมาแทรกเขียนเป็นบทความรีวิว
เราล้วนมีหนังสือที่มีคนให้มายืมอ่าน อาจเพราะน่าสนใจ คิดว่าเราจะชอบ หรืออยากให้เราได้ลอง
‘วินาทีไร้น้ำหนัก’ เป็นหนังสือประเภทนั้น ด้วยความที่ทุกวันนี้ต้องทำงานกับตัวอักษรเป็นประจำ การเปิดหนังสืออ่านจึงกลายร่างจากกิจวัตรเป็นงานอดิเรกนานๆ ครั้ง
‘15 ปี’ คือระยะเวลาที่ผู้เขียน (อ๋อง-วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ) ใช้ไปกับหนังสือเล่มนี้ ก่อนที่พันธะทางเวลาและความคิดจะอนุญาตให้เขาปล่อยหนังสือเล่มนี้ออกมาสู่มือผู้อ่าน
“ความรักก็เหมือนความรู้สึกอื่นๆ นั่นแหละ มันคือการเลื่อนไหลถ่ายเทไปมาของสารเคมี...สรรพสิ่งล้วนไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นเลยจริงๆ” (หน้า 25) แต่ก็ความรักอีกนั่นแหละ ที่เลื่อนไหลถ่ายเทจนเกิดสัมพันธ์โยงใย ความรู้สึกแสนล้าน ก่อร่างเป็นชีวิตใครสักคน กระทั่งหนังสือสักเล่ม
‘วินาทีไร้น้ำหนัก’ ปกคลุมไปด้วยบรรยากาศอึมครึมจากความสัมพันธ์น่าอึดอัด แต่ละตัวอักษรสะท้อนสังคมทั้งในแง่มนุษย์และบ้านเมือง ผ่านเสี้ยวชีวิตจากหลากหลายสถานะ ชนชั้น สปีชีส์ และลำดับขั้นทางความสัมพันธ์
ป้าขายน้ำ นักเขียนฝันดับ คนขับรถตู้ สาวแคชเชียร์ สถาปนิก หมาจรจัด ฯลฯ—หนังสือเล่มนี้เป็น short story cycle ที่มีอุบัติเหตุรถชนสยดสยองยึดโยงชีวิตของแต่ละตัวละครเข้าด้วยกัน โดยที่ต่างคนต่างก็มีสวรรค์และนรกเป็นของตัวเอง ขณะที่บางคนก็ “กลายเป็นนรกของกันและกัน” (หน้า 28)

ห้วงสุญญากาศของอุบัติเหตุดังกล่าวถูกยืดขยายออกเป็น 22 ตอน แต่ละตอนคือเป็นบทสนทนาและฉากชีวิตของคนหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงกับอีกคน และอีกคน มันผ่านไปอย่างช้าเชื่อง บางช่วงมีเพลง ไพรวัลย์ ลูกเพชร คลอประกอบ เสียงเครื่องคิดเงินในซูเปอร์มาร์เก็ต และเสียงน้ำตา
เป็นเสี้ยววินาทีแห่งการสูญสลายที่ยาวนาน ราวกับเราได้เข้าไปเป็นพยานในเหตุการณ์นั้นๆ
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตพนักงานที่ต้อง “ก้มหน้าก้มตามีชีวิตไปตามกลไกที่ถูกวางไว้แล้ว” (หน้า 53)
ความไร้ซึ่งสวัสดิการและคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของคนริมทาง
ความจนที่ผลักบางคนตกสู่ความตาย
วิกฤตการมีชีวิตอยู่ (existential crisis) ของหมาจรจัดที่ก่อให้เกิดคำถามว่า “แล้วชีวิตนี้จะอยู่ไปเพื่ออะไร...” (หน้า 191)
ความสัมพันธ์ของหญิงสาวที่ขึ้นอยู่กับชายที่มีลูกเมียแล้ว วันๆ วนเวียนอยู่กับของใช้ที่ไม่ใช่ของตน ความละอายใจ และความสงสัยที่คืบคลานเข้ามาทุกวินาที “ว่าข้างนอกนั่น...มีอะไรอย่างอื่นอีกไหม” (หน้า 66)
สิ่งหนึ่งที่น่าพูดถึงในหนังสือเล่มนี้เห็นจะเป็นการใช้คำ การบรรยายความเป็นเหตุเป็นผลของความรู้สึกและร่างของคน/รถที่ถูกฉีกทึ้งตามกฎฟิสิกส์โดยมีความสละสลวยแทรกอยู่ มันทำให้นึกถึงวิชาวิทยาศาสตร์พร้อมๆ กับคลาสวรรณกรรม
“ปีนป่าย” ฉันชอบที่ผู้เขียนใช้คำนี้บรรยายสายน้ำเป็นพิเศษ
ยังมีบรรยากาศขมุกขมัวและการสะท้อนความจริงที่ว่ากรุงเทพฯ เป็น “นรกชั่วกัปกัลป์แห่งการรอคอยอันน่าเบื่อหน่าย อึดอัด และคับข้อง” (หน้า 39) และ “เมืองหลวงที่น่าหดหู่สิ้นหวัง” (หน้า 147) ความจริงนี้ถูกเน้นย้ำอย่างเด่นชัดจนเราได้กลิ่นฝนนอง และได้ยินเสียงจราจรเซ็งแซ่
เป็นเสี้ยววินาทีแห่งการสูญสลายที่ยาวนาน ราวกับเราได้เข้าไปเป็นพยานในเหตุการณ์นั้นๆ
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตพนักงานที่ต้อง “ก้มหน้าก้มตามีชีวิตไปตามกลไกที่ถูกวางไว้แล้ว” (หน้า 53)
ความไร้ซึ่งสวัสดิการและคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของคนริมทาง
ความจนที่ผลักบางคนตกสู่ความตาย
วิกฤตการมีชีวิตอยู่ (existential crisis) ของหมาจรจัดที่ก่อให้เกิดคำถามว่า “แล้วชีวิตนี้จะอยู่ไปเพื่ออะไร...” (หน้า 191)
ความสัมพันธ์ของหญิงสาวที่ขึ้นอยู่กับชายที่มีลูกเมียแล้ว วันๆ วนเวียนอยู่กับของใช้ที่ไม่ใช่ของตน ความละอายใจ และความสงสัยที่คืบคลานเข้ามาทุกวินาที “ว่าข้างนอกนั่น...มีอะไรอย่างอื่นอีกไหม” (หน้า 66)
สิ่งหนึ่งที่น่าพูดถึงในหนังสือเล่มนี้เห็นจะเป็นการใช้คำ การบรรยายความเป็นเหตุเป็นผลของความรู้สึกและร่างของคน/รถที่ถูกฉีกทึ้งตามกฎฟิสิกส์โดยมีความสละสลวยแทรกอยู่ มันทำให้นึกถึงวิชาวิทยาศาสตร์พร้อมๆ กับคลาสวรรณกรรม
“ปีนป่าย” ฉันชอบที่ผู้เขียนใช้คำนี้บรรยายสายน้ำเป็นพิเศษ
ยังมีบรรยากาศขมุกขมัวและการสะท้อนความจริงที่ว่ากรุงเทพฯ เป็น “นรกชั่วกัปกัลป์แห่งการรอคอยอันน่าเบื่อหน่าย อึดอัด และคับข้อง” (หน้า 39) และ “เมืองหลวงที่น่าหดหู่สิ้นหวัง” (หน้า 147) ความจริงนี้ถูกเน้นย้ำอย่างเด่นชัดจนเราได้กลิ่นฝนนอง และได้ยินเสียงจราจรเซ็งแซ่

ถ้าถามว่าหนังสือเล่มนี้กำลังบอกอะไร ประโยคที่สรุปได้ครบคงเป็นคำพูดของลุงในรถตู้ที่ว่า “ทุกวินาทีศักดิ์สิทธิ์” (หน้า 76) การตัดสินใจหรือการกระทำเล็กจ้อยอาจนำไปสู่บางความเสียดายที่กินเวลายาวนานครึ่งชีวิต เส้นทางที่เราต้องเดินไปอย่างตะขิดตะขวงใจ หรืออุบัติเหตุที่ทำให้เราต้องมานั่งตั้งคำถามว่า “ทำไมมันจึงง่ายดายเพียงแค่นี้ที่อะไรๆ จะหายไปจากชีวิตของเรา” (หน้า 141)
ความจริงเรื่องราวของคน-สัตว์-สิ่งของที่หนังสือเล่มนี้เล่าเป็นเรื่องที่เห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน หากแต่บางครั้งเราไม่ได้นึกตั้งคำถาม หรือนึกถึงจิตใจเบื้องลึกของคน-สัตว์-สิ่งของที่เราไม่รู้จัก อาจเพราะเรามีเรื่องของตัวเองและคนรอบข้างให้ต้องคิดมากเกินไป หรือมีเวลาที่สงบพอให้คิดถึงชีวิตคนอื่นน้อยเกินไป
“เวลากลายเป็นสิ่งสำคัญ มันกลายเป็นทรัพยากรเดียวในโลกที่เราจะไม่ยอมแบ่งปันให้ใครโดยง่ายๆ หรือฟรีๆ” (หน้า 291) และฉันได้แบ่งปันเวลาร่วมหลายวันให้กับหนังสือเล่มนี้ เป็นเวลาที่ได้ค่อยๆ เข้าไปในหัวใจของคน/สถานการณ์อื่นมากขึ้น
และเหนือสิ่งอื่นใด เมื่ออ่านจบฉันยิ่งสำนึกถึงความเปราะบางและความสำคัญของชีวิต ไม่ลืมที่จะรัดเข็มขัดนิรภัย ใส่หมวกกันน็อค และแสดงความรักโดยกำชับคนรอบตัวหลายต่อหลายครั้งว่า “ดูแลตัวเองดีๆ”
“หนังสือเล่มนี้จบหักมุมอยู่นะคะ” ฉันบอกพี่ที่ให้ยืมหนังสือขณะยื่นคืน
“เหรอๆ อย่าเพิ่งสปอยล์นะ” เขากล่าว
แน่นอนว่าบทความรีวิวไม่อาจเปลือยทุกปมในหนังสือ และโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ใน ‘วินาทีไร้น้ำหนัก’ มีมากกว่าแค่อุบัติเหตุรถชน...
เกี่ยวกับหนังสือ ‘วินาทีไร้น้ำหนัก’
วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ เขียน
สำนักพิมพ์ มติชน
พิมพ์ปี พ.ศ. 2564
สามารถสั่งซื้อได้ที่ matichonbook
ความจริงเรื่องราวของคน-สัตว์-สิ่งของที่หนังสือเล่มนี้เล่าเป็นเรื่องที่เห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน หากแต่บางครั้งเราไม่ได้นึกตั้งคำถาม หรือนึกถึงจิตใจเบื้องลึกของคน-สัตว์-สิ่งของที่เราไม่รู้จัก อาจเพราะเรามีเรื่องของตัวเองและคนรอบข้างให้ต้องคิดมากเกินไป หรือมีเวลาที่สงบพอให้คิดถึงชีวิตคนอื่นน้อยเกินไป
“เวลากลายเป็นสิ่งสำคัญ มันกลายเป็นทรัพยากรเดียวในโลกที่เราจะไม่ยอมแบ่งปันให้ใครโดยง่ายๆ หรือฟรีๆ” (หน้า 291) และฉันได้แบ่งปันเวลาร่วมหลายวันให้กับหนังสือเล่มนี้ เป็นเวลาที่ได้ค่อยๆ เข้าไปในหัวใจของคน/สถานการณ์อื่นมากขึ้น
และเหนือสิ่งอื่นใด เมื่ออ่านจบฉันยิ่งสำนึกถึงความเปราะบางและความสำคัญของชีวิต ไม่ลืมที่จะรัดเข็มขัดนิรภัย ใส่หมวกกันน็อค และแสดงความรักโดยกำชับคนรอบตัวหลายต่อหลายครั้งว่า “ดูแลตัวเองดีๆ”
“หนังสือเล่มนี้จบหักมุมอยู่นะคะ” ฉันบอกพี่ที่ให้ยืมหนังสือขณะยื่นคืน
“เหรอๆ อย่าเพิ่งสปอยล์นะ” เขากล่าว
แน่นอนว่าบทความรีวิวไม่อาจเปลือยทุกปมในหนังสือ และโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ใน ‘วินาทีไร้น้ำหนัก’ มีมากกว่าแค่อุบัติเหตุรถชน...
เกี่ยวกับหนังสือ ‘วินาทีไร้น้ำหนัก’
วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ เขียน
สำนักพิมพ์ มติชน
พิมพ์ปี พ.ศ. 2564
สามารถสั่งซื้อได้ที่ matichonbook