ย้อนดูจุดเล่นน้ำสงกรานต์ที่คนไทยและนักท่องเที่ยวนิยมไปเล่นน้ำสงกรานต์มากที่สุด ที่ถนนข้าวสาร และถนนสีลม ทั้งสองแห่งเป็นถนนเก่าแก่มีมานานแล้วทั้งคู่ มาดูกันว่าก่อนหน้าจะเป็นถนนนักท่องเที่ยวและถนนธุรกิจ เคยมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เริ่มจาก ถนนข้าวสาร ต้องมีคนเคยไปแล้วมองหาร้านขายข้าวสารแน่นอน ไม่ผิดที่จะคิดแบบนั้ เดิมบนถนนข้าวสารมีร้านข้าวสารจริงๆ มีเรือขนข้าวเข้ามาส่งข้าวสารถึงตรงนั้น ลองจินตนาการโดยเอาสะพานพระปิ่นเกล้าออกไป ใครเคยผ่านแถวนั้นจะเห็นแนวคลองใต้สะพาน เป็นทางเข้ามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือข้าวสารจะเข้ามาตามคลองแล้วเลี้ยวขวาไป สะพานช้างโรงสี ตรงหน้ากระทรวงมหาดไทย ชื่อสะพานบอกไว้แล้ว ตรงนั้นเคยมีโรงสี ข้าวจะถูกส่งไปสีตรงนั้น แล้วส่งกระจายไปตามร้านค้าทั่วพระนคร เรือส่วนหนึ่งส่งมาทางบางลำพูที่ถนนข้าวสาร
เริ่มจาก ถนนข้าวสาร ต้องมีคนเคยไปแล้วมองหาร้านขายข้าวสารแน่นอน ไม่ผิดที่จะคิดแบบนั้ เดิมบนถนนข้าวสารมีร้านข้าวสารจริงๆ มีเรือขนข้าวเข้ามาส่งข้าวสารถึงตรงนั้น ลองจินตนาการโดยเอาสะพานพระปิ่นเกล้าออกไป ใครเคยผ่านแถวนั้นจะเห็นแนวคลองใต้สะพาน เป็นทางเข้ามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือข้าวสารจะเข้ามาตามคลองแล้วเลี้ยวขวาไป สะพานช้างโรงสี ตรงหน้ากระทรวงมหาดไทย ชื่อสะพานบอกไว้แล้ว ตรงนั้นเคยมีโรงสี ข้าวจะถูกส่งไปสีตรงนั้น แล้วส่งกระจายไปตามร้านค้าทั่วพระนคร เรือส่วนหนึ่งส่งมาทางบางลำพูที่ถนนข้าวสาร

ละแวกที่เป็นถนนข้าวสารเดิมที่ยังไม่ได้ตัดถนน เมื่อรัชกาลที่ 5 ให้ตัดถนนราชดำเนินในปี 2442 จึงมีการตัดถนนข้าวสารโดยการถม คลองทำถนน ร้านค้าข้าวสารและสินค้าต่างๆ ยังคงมีอยู่ แม้ช่วงก่อนหน้านี้สัก 30-40 ปี ก็ยังพอมี ถนนข้าวสารเป็นถนนความยาวแค่ 400 เมตร แต่บรรจุความทรงจำ ถนนข้าวสารเป็นที่รู้จักของคนทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เป็นที่รู้กันว่าที่นี่มีทั้งร้านค้า ร้านสังฆภันฑ์ ตึกแถว โรงเรียน ที่มีขนาดเล็กจนแทบนึงไม่ถึงว่ามี คือ โรงเรียนพิมานวิทย์ บ้านขุนนาง ที่เหลือให้ชมในปัจจุบัน คือ บ้านไกรจิตติ สิ่งปลูกสร้างบนถนนข้าวสารเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวขนานไปกับถนน จนความเปลี่ยนปลงเมื่อเข้าสู่ยุคการท่องเที่ยว และแหล่งพำนักของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

สีลม ถนนสีลม เดิมชื่อถนนขวาง การสร้างถนนของกรุงเทพฯ เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 สร้างถนนเพื่อให้ชาวต่างประเทศมีเส้นทางขับรถม้า เป็นการตากอากาศ ครั้งโน้น แถวสีลม ศาลาแดงเป็นพื้นที่สร้างบ้านตากอากาศ อย่างบ้านอับดุลราฮิมนั่นก็บ้านตากอากาศของเศรษฐีอินเดียใต้
ถนนที่สร้างขึ้นครั้งแรกคือ ถนนเจริญกรุง ถนนหัวลำโพง และถนนสีลม ที่มาของถนนสีลม มาจากการขุดคลองขวางจากบางรักไปถึงคลองถนนตรง แล้วทำถนนขนานคลองทางทิศใต้ ชื่อเดิมของถนนสีลมคือ คันดินที่เกิดจากการขุดคลองเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรงกลายเป็นถนน พอดีกับมีฝรั่งเอาเครื่องสีลมที่ใช้วิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวางนึกภาพทุ่งนาโล่งๆ แล้วมีเครื่องสีลมตั้งอยู่กลางทุ่ง ผู้คนจึงเรียกถนนที่ตัดขึ้นด้วยสัญลักษณ์จำง่ายเครื่องสีลม ถนนขวางจึงเป็น ถนนสีลม ความเปลี่ยนแปลงของถนนสีลมกลายเป็นถนนธุรกิจ เกิดจากกลุ่มสี่พระยา หรือ พระยาทั้ง 4 ท่าน พัฒนาที่ดินสีลมกลายเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัทและองค์กรห้างร้านต่างประเทศ โดยเฉพาะพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์) ผู้พำนักที่ซอยพิทักษ์นั่นเอง
ถนนที่สร้างขึ้นครั้งแรกคือ ถนนเจริญกรุง ถนนหัวลำโพง และถนนสีลม ที่มาของถนนสีลม มาจากการขุดคลองขวางจากบางรักไปถึงคลองถนนตรง แล้วทำถนนขนานคลองทางทิศใต้ ชื่อเดิมของถนนสีลมคือ คันดินที่เกิดจากการขุดคลองเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรงกลายเป็นถนน พอดีกับมีฝรั่งเอาเครื่องสีลมที่ใช้วิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวางนึกภาพทุ่งนาโล่งๆ แล้วมีเครื่องสีลมตั้งอยู่กลางทุ่ง ผู้คนจึงเรียกถนนที่ตัดขึ้นด้วยสัญลักษณ์จำง่ายเครื่องสีลม ถนนขวางจึงเป็น ถนนสีลม ความเปลี่ยนแปลงของถนนสีลมกลายเป็นถนนธุรกิจ เกิดจากกลุ่มสี่พระยา หรือ พระยาทั้ง 4 ท่าน พัฒนาที่ดินสีลมกลายเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัทและองค์กรห้างร้านต่างประเทศ โดยเฉพาะพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์) ผู้พำนักที่ซอยพิทักษ์นั่นเอง