“เรารักแม่ได้ทุกวัน” ประโยคนี้จริง เพราะความรักไม่จำกัดเวลา แต่เรา (อาจ) ไม่ได้คิดถึงแม่ทุกวัน
ข้อมูล Google Trends ย้อนหลังไปตั้งแต่ พ.ศ.2547 บอกเราเช่นนั้น ดัชนี Interest over time ที่แสดงความสนใจการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับ ‘แม่’ ในอินเทอร์เน็ต ชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่มักจะนึกถึง ‘แม่’ ในช่วงเดือนสิงหาคม ก่อนหรือระหว่างวันแม่ 12 สิงหาคมของทุกปี
ข้อมูล Google Trends ย้อนหลังไปตั้งแต่ พ.ศ.2547 บอกเราเช่นนั้น ดัชนี Interest over time ที่แสดงความสนใจการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับ ‘แม่’ ในอินเทอร์เน็ต ชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่มักจะนึกถึง ‘แม่’ ในช่วงเดือนสิงหาคม ก่อนหรือระหว่างวันแม่ 12 สิงหาคมของทุกปี

ถ้าดูจากกราฟ จะเห็นว่า ปีนี้ (พ.ศ.2566) ก็ดูจะมีแนวโน้มเหมือนเช่นปีที่ผ่านๆ มา
สัญญาน้ำตาแม่ ของมนต์แคน แก่นคูน (คำร้องโดย สลา คุณวุฒิ) เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ที่มียอดวิวสูงสุดบนยูทูบ ด้วยยอดการรับชม 262,192,205 ครั้ง (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2566, เวลา 12:34 น.)
เพลงนี้ปล่อยครั้งแรกในช่วงวันแม่ พ.ศ.2562 มนต์แคนเล่าถึงที่มาว่า เป็นเพลงที่เล่าถึงลูกที่ใช้ชีวิตในทางไม่ดี ทำให้แม่เสียใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนวันหนึ่งหวนคิดได้ จึงสัญญากับแม่ว่า กลับตัวใหม่เป็นคนดี
“ครั้งหนึ่งผมก็เคยได้ฉายานี้นะครับ ‘บักคำผลาญ’ (หมายถึง เด็กเกเร คอยสร้างความลำบากเดือดร้อนให้พ่อแม่--ผู้เขียน) ...จากวันนั้นจนถึงวันนี้ผมก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ภูมิใจได้แล้ว ผมเลยอยากฝากถึงแฟนๆ โดยเฉพาะแฟนๆ ที่เป็นวัยรุ่น อยากให้เชื่อฟังและเป็นคนดีให้กับคุณพ่อคุณแม่”
ส่วนเพลง ‘ค่าน้ำนม’ ที่เป็นดั่งสัญลักษณ์วันแม่ของคนไทย แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ซึ่งเป็นยอดครูเพลงยุคนั้น (ส่วน สลา คุณวุฒิ ผู้แต่ง ‘สัญญาน้ำตาแม่’ เป็นยอดครูเพลงยุคนี้) เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ.2492 ขับร้องโดย ชาญ เย็นแข นักร้องหัดใหม่ที่แจ้งเกิดหลังจากร้องเพลงนี้ด้วยเหตุบังเอิญ เนื่องจากคนที่จะร้องเพลงนี้ (บุญช่วย หิรัญสุนทร) ไม่มาตามนัด
“ผมร้องวันนั้น 4 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง จำไม่ได้ เหงื่อแตกมากเลยครับ” ชาญ เพ็ญแข รำลึกความหลังในรายการ ลำนำเพลงจากไพบูลย์ บุตรขัน เมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ.2528
จากนั้นพอถึงวันแม่ 15 เมษายน สถานีวิทยุได้เปิดเพลงนี้ "แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง..." ด้วยภาษาที่เรียบง่าย แต่ถ่ายทอดเนื้อหาได้ลึกซึ้งกินใจ เพลงค่าน้ำนมได้เข้าไปอยู่ในใจคนไทยส่วนใหญ่ที่ได้ฟังครั้งแรก...ตั้งแต่วันนั้น
หากย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น วันแม่ของไทยเพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อราว 80 ปีที่ผ่านมานี้เอง ช่วงนั้น พ.ศ.2486 เป็นยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีการปฏิวัติวัฒนธรรมไทยให้ทันสมัย (ตามแนวคิดท่านผู้นำ) ซึ่งหนึ่งในแพคเกจการปฏิวัติวัฒนธรรมคือ วันแม่ครั้งแรกของประเทศไทย
เพลงยอดฮิตวันแม่ที่ไม่ใช่ ‘ค่าน้ำนม’
หลายคนอาจคิดว่า เพลงยอดฮิตวันแม่ ต้องเป็นเพลงสุดคลาสสิกอย่าง ‘ค่าน้ำนม’ หรือ ‘ใครหนอ’ ซึ่งเป็นเพลงที่โรงเรียนต่างๆ จะเปิดในงานวันแม่ของทุกปี แต่ข้อมูลบนยูทูบ (Youtube) บอกเราต่างออกไปสัญญาน้ำตาแม่ ของมนต์แคน แก่นคูน (คำร้องโดย สลา คุณวุฒิ) เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ที่มียอดวิวสูงสุดบนยูทูบ ด้วยยอดการรับชม 262,192,205 ครั้ง (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2566, เวลา 12:34 น.)
เพลงนี้ปล่อยครั้งแรกในช่วงวันแม่ พ.ศ.2562 มนต์แคนเล่าถึงที่มาว่า เป็นเพลงที่เล่าถึงลูกที่ใช้ชีวิตในทางไม่ดี ทำให้แม่เสียใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนวันหนึ่งหวนคิดได้ จึงสัญญากับแม่ว่า กลับตัวใหม่เป็นคนดี
“ครั้งหนึ่งผมก็เคยได้ฉายานี้นะครับ ‘บักคำผลาญ’ (หมายถึง เด็กเกเร คอยสร้างความลำบากเดือดร้อนให้พ่อแม่--ผู้เขียน) ...จากวันนั้นจนถึงวันนี้ผมก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ภูมิใจได้แล้ว ผมเลยอยากฝากถึงแฟนๆ โดยเฉพาะแฟนๆ ที่เป็นวัยรุ่น อยากให้เชื่อฟังและเป็นคนดีให้กับคุณพ่อคุณแม่”
ส่วนเพลง ‘ค่าน้ำนม’ ที่เป็นดั่งสัญลักษณ์วันแม่ของคนไทย แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ซึ่งเป็นยอดครูเพลงยุคนั้น (ส่วน สลา คุณวุฒิ ผู้แต่ง ‘สัญญาน้ำตาแม่’ เป็นยอดครูเพลงยุคนี้) เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ.2492 ขับร้องโดย ชาญ เย็นแข นักร้องหัดใหม่ที่แจ้งเกิดหลังจากร้องเพลงนี้ด้วยเหตุบังเอิญ เนื่องจากคนที่จะร้องเพลงนี้ (บุญช่วย หิรัญสุนทร) ไม่มาตามนัด
“ผมร้องวันนั้น 4 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง จำไม่ได้ เหงื่อแตกมากเลยครับ” ชาญ เพ็ญแข รำลึกความหลังในรายการ ลำนำเพลงจากไพบูลย์ บุตรขัน เมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ.2528
จากนั้นพอถึงวันแม่ 15 เมษายน สถานีวิทยุได้เปิดเพลงนี้ "แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง..." ด้วยภาษาที่เรียบง่าย แต่ถ่ายทอดเนื้อหาได้ลึกซึ้งกินใจ เพลงค่าน้ำนมได้เข้าไปอยู่ในใจคนไทยส่วนใหญ่ที่ได้ฟังครั้งแรก...ตั้งแต่วันนั้น
ก่อนมีวันแม่ 12 สิงหา
ในย่อหน้าที่แล้ว กล่าวถึงวันแม่ว่าเป็นวันที่ 15 เมษายน ซึ่งเป็นวันแม่ในอดีต ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น 12 สิงหาคม ที่กำหนดขึ้นใหม่ โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงหากย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น วันแม่ของไทยเพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อราว 80 ปีที่ผ่านมานี้เอง ช่วงนั้น พ.ศ.2486 เป็นยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีการปฏิวัติวัฒนธรรมไทยให้ทันสมัย (ตามแนวคิดท่านผู้นำ) ซึ่งหนึ่งในแพคเกจการปฏิวัติวัฒนธรรมคือ วันแม่ครั้งแรกของประเทศไทย

นริศ จรัสจรรยาวงศ์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์อิสระ ให้ข้อมูลเรื่องนี้ไว้ใน ‘วันแม่’ สมัยผู้นำคณะราษฎร โดยอ้างอิงหนังสือพิมพ์ศรีกรุง พ.ศ.2486 ที่พาดหัวว่า “มีงานวันมารดา” ซึ่งจัดโดยกระทรวงสาธารณสุข ที่มีภริยาท่านผู้นำ (พันโทหญิงละเอียด พิบูลสงคราม) เป็นผู้สวมบทบาทนำ จัดขึ้นวันที่ 10 มีนาคม
แต่วันแม่ 10 มีนาคม อยู่ได้เพียงปีเดียว ก็สิ้นสุดลง หลัง พ.ศ.2487 จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นโยบายจำนวนมากที่เคยวางไว้ จึงปลิวไปพร้อมกับท่านผู้นำ
ทว่าเมื่อสายลมแห่งอำนาจพัดกลับมาที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อีกครั้งในอีก 4 ปีต่อมา (พ.ศ.2491) งานวันแม่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกหน โดยจัดขึ้นใหม่ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 (เพลง ‘ค่าน้ำนม’ โด่งดังก่อนหน้านั้นหนึ่งปี--พ.ศ.2492)
แต่วันแม่ 10 มีนาคม อยู่ได้เพียงปีเดียว ก็สิ้นสุดลง หลัง พ.ศ.2487 จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นโยบายจำนวนมากที่เคยวางไว้ จึงปลิวไปพร้อมกับท่านผู้นำ
ทว่าเมื่อสายลมแห่งอำนาจพัดกลับมาที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อีกครั้งในอีก 4 ปีต่อมา (พ.ศ.2491) งานวันแม่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกหน โดยจัดขึ้นใหม่ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 (เพลง ‘ค่าน้ำนม’ โด่งดังก่อนหน้านั้นหนึ่งปี--พ.ศ.2492)

ทว่าวันแม่มีอันต้องยุติอีกครา เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารใน พ.ศ.2500 เหมือนเช่นแวดวงธุรกิจ ทันทีที่ซีอีโอคนเก่าหมดอำนาจ นโยบายและความคิดของเขาก็เป็นอันต้องสูญสิ้นบทบาทลงไปด้วย
หลังจอมพล ป. ลงจากเวทีแห่งอำนาจ วันแม่หายไปจากปฏิทินไทยยาวนานถึง 15 ปี จนกระทั่งสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยรื้อฟื้นจัดงานวันแม่อีกครั้งในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่ก็ดูเหมือนว่าจะจัดได้เพียงปีเดียวแล้วก็หยุดไป
แล้ววันแม่ 12 สิงหาคม เริ่มต้นเมื่อไหร่?
จากบันทึกหลายแหล่งเกี่ยวกับประวัติวันแม่แห่งชาติระบุว่า คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่อีกครั้งใน พ.ศ.2519 โดยถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เป็น ‘วันแม่แห่งชาติ’
และได้กำหนด ‘ดอกมะลิ’ เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ ด้วยมีสีขาวบริสุทธิ์ หอมนาน และทนทาน เหมือนความรักของแม่ที่มีต่อลูก
ซึ่งก่อนหน้านี้ มะลิเคยใช้เป็นสัญลักษณ์วันแม่ในยุคจอมพล ป. ที่มีท่านผู้หญิงละเอียดเป็นแม่งาน โดยมีน้อยคนที่รู้ว่า “เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของบรรดาข้าราชการว่า มะลิเป็นดอกไม้ที่สามีเธอ (จอมพล ป.) โปรดปราน”
หลังจอมพล ป. ลงจากเวทีแห่งอำนาจ วันแม่หายไปจากปฏิทินไทยยาวนานถึง 15 ปี จนกระทั่งสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยรื้อฟื้นจัดงานวันแม่อีกครั้งในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่ก็ดูเหมือนว่าจะจัดได้เพียงปีเดียวแล้วก็หยุดไป
แล้ววันแม่ 12 สิงหาคม เริ่มต้นเมื่อไหร่?
จากบันทึกหลายแหล่งเกี่ยวกับประวัติวันแม่แห่งชาติระบุว่า คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่อีกครั้งใน พ.ศ.2519 โดยถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เป็น ‘วันแม่แห่งชาติ’
และได้กำหนด ‘ดอกมะลิ’ เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ ด้วยมีสีขาวบริสุทธิ์ หอมนาน และทนทาน เหมือนความรักของแม่ที่มีต่อลูก
ซึ่งก่อนหน้านี้ มะลิเคยใช้เป็นสัญลักษณ์วันแม่ในยุคจอมพล ป. ที่มีท่านผู้หญิงละเอียดเป็นแม่งาน โดยมีน้อยคนที่รู้ว่า “เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของบรรดาข้าราชการว่า มะลิเป็นดอกไม้ที่สามีเธอ (จอมพล ป.) โปรดปราน”
