แสดงงานศิลปะอย่างไร ให้ปลอดภัยในฝูงชน

6 มิ.ย. 2566 - 07:53

  • หลายพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ต่างก็มีความต้องการที่จะจัดแสดงผลงานให้เข้าถึงผู้คนในระดับใกล้ชิดให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงมีข้อห้ามบางประการและเครื่องมือในการเฝ้าระวังชิ้นงานที่จำเป็นอีกด้วย

Tagcloud_Museum-Art-Protected-SPACEBAR-Hero
จากกรณีที่ผลงานของนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่จัดแสดงที่หอศิลป์ได้รับผลกระทบและความเสียหายจากงาน Bangkok Pride 2023 เกิดเป็นประเด็นถกเถียงมากมายและการตามหาผู้รับผิดชอบจากความเสียหายครั้งนี้  

แม้เราจะทราบกันดีว่าการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้คนที่ผ่านเข้ามาเสพงานศิลป์เรื่องของการให้ความสำคัญกับตัวงาน การไม่สัมผัสแตะต้องหรือการเว้นพื้นที่ในการเสพงานเป็นเรื่องสำคัญ  

แต่สิ่งหนึ่งที่ SPACEBAR สนใจนั่นคือเรื่องของกระบวนการปกป้องงานศิลปะเบื้องต้นในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ว่ากระบวนการเบื้องต้นในการจัดโชว์งานแบบเข้าถึงได้ง่ายแท้จริงแล้วมีเครื่องมืออะไรบ้างที่จะช่วยปกป้องงานศิลป์อันมีค่าของผู้ผลิตผลงานหรือศิลปิน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4Us8T6VoksY4T8k5EaV6HM/b749a78a5a3e3d6095105dfa4f96a105/___________________-___________________1_
โดยบทความที่น่าสนใจจาก Las Vegus Sun บอกกับเราว่าหลายพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ต่างก็มีความต้องการที่จะจัดแสดงผลงานให้เข้าถึงผู้คนในระดับใกล้ชิดให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงมีข้อห้ามบางประการและเครื่องมือในการเฝ้าระวังชิ้นงานที่จำเป็นอีกด้วย หนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจที่ใกล้เคียงกับกรณีที่เกิดขึ้นกับ Bangkok Prode 2023 และหอศิลป์ คือ 

การระวังฝูงชน 
กระทั่งการมีป้ายห้ามก็ยังเป็นการท้าทายกับการสัมผัสงานของฝูงชนที่อาจไม่ได้รับความรู้ ความเข้าใจเพียงพอยังไม่นับเรื่องที่ลงดีเทลลงไปอย่างเรื่อง “อากาศที่ใช้หายใจ” หรือ “แสง” ที่เกิดจากผู้คน (เช่น การใช้กล้องเปิดแฟลชต่างๆ) ก็เป็นเรื่องสำคัญ  

การควบคุมสภาพอากาศ 
ผลงานศิลปะหลายชิ้นถูกจัดเก็บอยู่ในกล่องกระจกที่ควบคุมสภาพอากาศโดยเฉพาะ เพื่อปกป้องการสูญเสียจากอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจของผู้คน 

การเก็บข้อมูลของงาน 
การเก็บข้อมูลและตรวจสอบตัวงานที่อยู่ในพื้นที่ช่วยให้ตัวงานได้รับการป้องกันไม่ให้สูญหาย 

การตั้งแผงกระจก 
แผงกระจกในห้องแสดงศิลปะที่ติดตั้งหน้าผลงาน เช่น ภาพวาด ตัวกระจกที่อาจทำขึ้นเฉพาะเพื่อป้องกันรังสี UV ที่เป็นอันตราย  ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจพบความเสียหายจากแสงแดดได้ 

เชือกรั้วกั้น  
เชือกรั้วกั้นเป็นวิธีง่ายที่สุดในการป้องกันผู้เยี่ยมชมไม่ให้มีการสัมผัสกับผลงานศิลปะ สำหรับหลายพิพิธภัณฑ์ เส้นเชือกกั้นคือสิ่งป้องกันแรกที่ใช้ มักนิยมเป็นเส้นที่มีผ้าเวลเว็ทห่อไว้เหนือเส้นเชื่อมระหว่างเสาทองเหลืองสองชุด 

เซ็นเซอร์ 
ติดตั้งเซ็นเซอร์สั่นสะเทือนหรือเซ็นเซอร์ที่ไว้ใช้ตรวจจับการสัมผัส เซ็นเซอร์แบบเลเซอร์ที่เมื่อมีผู้เยี่ยมชมเคลื่อนไหวใกล้กับผลงานมากเกินไปจะเกิดเสียงเตือน ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยให้ผลงานศิลปะปลอดภัย 

นอกจากนั้นบทความจาก SOURCE Security ยังเคยได้พูดถึงความสำคัญของ  

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของงานศิลปะ และ CCTV 
โดยกล่าวว่าผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แต่ละที่ต้องมี ‘คนเฝ้ารักษา’ หรือ ‘เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของชิ้นงาน’ ให้กับส่วนแสดงศิลปะหรือห้องแสดงศิลปะแต่ละจุด รวมทั้งควรติดตั้ง CCTV ด้วย

DATA INSIGHT: รู้หรือไม่ว่า .. งานศิลปะเคยถูกทำลายจากการถ่ายเซลฟี่ของนักท่องเที่ยวครั้งเดียวเป็นมูลค่ากว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7 ล้านบาท 
ที่ไหน: pop-up gallery 14th Factory ใน Los Angeles 
งานของใคร: งานของศิลปิน Simon Birch ชื่องานว่า Hypercaine 
เกิดอะไรขึ้น: นักท่องเที่ยวสาวพยายามเซลฟี่กับชิ้นงานแต่ล้มลงและชนผลงานที่จัดแสดงเรียงกันเป็นลักษณะล้มแบบโดมิโน สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7 ล้านบาท

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์