‘อิโมจิ’ ไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติม คนที่ถือครองสมาร์ทโฟน รู้ดีว่ามันคืออะไร
ทุกวันที่ 17 กรกฎาคม ของทุกปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2557 (ปี 2014) เจเรมี เบอร์ก (Jeremy Burge) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Emojipedia สถาปนาให้วันนี้เป็นวันอิโมจิโลก (World Emoji Day) เพื่อเฉลิมฉลองแก่สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ‘อิโมจิ’
เนื่องจากวันที่ 17 กรกฎาคม ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในอิโมจิรูปปฏิทิน 📅 บน iPhone หลังแอปเปิ้ลเปิดตัวแอปฯ iCal ที่เป็นปฏิทินส่วนบุคคลเมื่อ พ.ศ.2545 (ปี 2002)
จากนั้นอิโมจิก็แพร่หลายและกลายเป็น ‘ภาษาสากล’ ที่คนทั่วโลกสื่อสารถึงกัน
ว่าแต่...คุณรู้ไหม ท่ามกลางอิโมจินับพัน (ราว 3,664 อิโมจิ) อิโมจิตัวไหนที่คนใช้สื่อสารกันมากที่สุด?
ข้อมูลจาก emojistats.org ที่อัปเดทการใช้อิโมจิแบบเรียลไทม์บนระบบ iOS (17 กรกฎาคม, เวลา 13:11 น.) ระบุว่า อิโมจิที่คนใช้ส่งถึงกันมากที่สุด คือ...
😂 หรือ face with tears of joy ที่เผยแพร่บนระบบ iOS ทั่วโลกใน พ.ศ.2554 (ปี 2011) มีการใช้สื่อสารและส่งหากันมากถึง 515,930,483 ครั้ง หรือเฉลี่ยวันละ 182,501 ครั้ง
จำนวน 😂 เท่านี้ถือว่ามากขนาดไหน
ยกตัวอย่างเช่น บทความ Emoji as “basic relationship maintenance tools” ใน QUARTZ ระบุว่า บางทีมันก็เป็นเครื่องมือรักษาความสัมพันธ์ เหมือนที่ภรรยาคนหนึ่งอธิบายว่า เธอส่ง 😂 ให้กับมุกตลกของพ่อตา แม้ว่าความจริงเธอจะไม่ขำมันก็ตาม
พอนึกถึงอิโมจิ 😂 ในสถานการณ์การเมืองโหวตเลือกนายกฯ ช่วงนี้ ก็ชวนให้นึกถึงเมื่อครั้ง พ.ศ.2557 ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ เวลานั้นเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย เคยใช้สำนวน ‘หัวเราะทั้งน้ำตา’ โพสต์วิพากษ์การเมืองไทยเวลานั้น เพื่อสื่อถึงเกมการเมืองระหว่าง กปปส. ที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งในเวลานั้น (ต่อมาโดน คสช. ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารยึดอำนาจ--ผู้เขียน)
“...ตอนนี้ประชาชนเหมือนดูหนังตลกปนเศร้า คงต้องหัวเราะทั้งน้ำตา เพราะไม่รู้ว่า ตอนจบจะเป็นอย่างไร...”
เกือบสิบปีผ่านมา พ.ศ.2566 การเมืองในเวลานี้ก็ยังไม่รู้ว่า “ตอนจบจะเป็นอย่างไร...” โดย SPACEBAR ได้ใช้ Social Listening เช็กอารมณ์การเมืองของผู้คนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (17 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม) พบว่านอกจากอิโมจิ 🍊 และ 🧡 ที่มาแรงจากแรงหนุนของ ‘ด้อมส้ม’ ในช่วงนี้
เรายังพบการใช้ 😂 ไม่น้อย ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า น้ำหนักส่วนใหญ่สื่อความถึงอะไร แต่ที่แน่ๆ ใครที่ติดตามการเมืองผ่านโซเชียลมีเดียในช่วงนี้ โดยเฉพาะในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก
คงพอจะเดาได้ว่า 😂 ไม่น่าจะสื่อถึง face with tears of joy ตามความหมายของผู้สร้างอิโมจิ
ทุกวันที่ 17 กรกฎาคม ของทุกปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2557 (ปี 2014) เจเรมี เบอร์ก (Jeremy Burge) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Emojipedia สถาปนาให้วันนี้เป็นวันอิโมจิโลก (World Emoji Day) เพื่อเฉลิมฉลองแก่สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ‘อิโมจิ’
เนื่องจากวันที่ 17 กรกฎาคม ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในอิโมจิรูปปฏิทิน 📅 บน iPhone หลังแอปเปิ้ลเปิดตัวแอปฯ iCal ที่เป็นปฏิทินส่วนบุคคลเมื่อ พ.ศ.2545 (ปี 2002)
จากนั้นอิโมจิก็แพร่หลายและกลายเป็น ‘ภาษาสากล’ ที่คนทั่วโลกสื่อสารถึงกัน
ว่าแต่...คุณรู้ไหม ท่ามกลางอิโมจินับพัน (ราว 3,664 อิโมจิ) อิโมจิตัวไหนที่คนใช้สื่อสารกันมากที่สุด?
ข้อมูลจาก emojistats.org ที่อัปเดทการใช้อิโมจิแบบเรียลไทม์บนระบบ iOS (17 กรกฎาคม, เวลา 13:11 น.) ระบุว่า อิโมจิที่คนใช้ส่งถึงกันมากที่สุด คือ...
😂 หรือ face with tears of joy ที่เผยแพร่บนระบบ iOS ทั่วโลกใน พ.ศ.2554 (ปี 2011) มีการใช้สื่อสารและส่งหากันมากถึง 515,930,483 ครั้ง หรือเฉลี่ยวันละ 182,501 ครั้ง
จำนวน 😂 เท่านี้ถือว่ามากขนาดไหน
- สมมติ 😂 มีความกว้าง 0.5 เซนติเมตร ถ้านำจำนวนทั้งหมด (ณ วันที่เก็บข้อมูล) มาเรียงต่อกันจะมีระยะ 2,579 กิโลเมตร
- 2,579 กิโลเมตร เท่ากับระยะทางเดินเท้าจากกรุงเทพฯ ไปภูฏาน หากเดินโดยไม่หยุดพัก จะใช้เวลาราว 22 วัน
- หากซอยย่อยจำนวนการส่ง 😂 เฉลี่ยต่อวัน 182,501 ครั้ง คิดเป็น 7,604 ครั้งต่อชั่วโมง หรือ 126 ครั้งต่อนาที
- ถ้ามอง 😂 เป็นการสื่อสารความรู้สึก จะพบว่า มีคนทั่วโลกที่กำลังหลั่งน้ำตาแห่งความสุขเฉลี่ยวินาทีละ 2 ครั้ง
ยกตัวอย่างเช่น บทความ Emoji as “basic relationship maintenance tools” ใน QUARTZ ระบุว่า บางทีมันก็เป็นเครื่องมือรักษาความสัมพันธ์ เหมือนที่ภรรยาคนหนึ่งอธิบายว่า เธอส่ง 😂 ให้กับมุกตลกของพ่อตา แม้ว่าความจริงเธอจะไม่ขำมันก็ตาม
พอนึกถึงอิโมจิ 😂 ในสถานการณ์การเมืองโหวตเลือกนายกฯ ช่วงนี้ ก็ชวนให้นึกถึงเมื่อครั้ง พ.ศ.2557 ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ เวลานั้นเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย เคยใช้สำนวน ‘หัวเราะทั้งน้ำตา’ โพสต์วิพากษ์การเมืองไทยเวลานั้น เพื่อสื่อถึงเกมการเมืองระหว่าง กปปส. ที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งในเวลานั้น (ต่อมาโดน คสช. ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารยึดอำนาจ--ผู้เขียน)
“...ตอนนี้ประชาชนเหมือนดูหนังตลกปนเศร้า คงต้องหัวเราะทั้งน้ำตา เพราะไม่รู้ว่า ตอนจบจะเป็นอย่างไร...”
เกือบสิบปีผ่านมา พ.ศ.2566 การเมืองในเวลานี้ก็ยังไม่รู้ว่า “ตอนจบจะเป็นอย่างไร...” โดย SPACEBAR ได้ใช้ Social Listening เช็กอารมณ์การเมืองของผู้คนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (17 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม) พบว่านอกจากอิโมจิ 🍊 และ 🧡 ที่มาแรงจากแรงหนุนของ ‘ด้อมส้ม’ ในช่วงนี้
เรายังพบการใช้ 😂 ไม่น้อย ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า น้ำหนักส่วนใหญ่สื่อความถึงอะไร แต่ที่แน่ๆ ใครที่ติดตามการเมืองผ่านโซเชียลมีเดียในช่วงนี้ โดยเฉพาะในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก
คงพอจะเดาได้ว่า 😂 ไม่น่าจะสื่อถึง face with tears of joy ตามความหมายของผู้สร้างอิโมจิ
