มันคงจะดีไม่น้อย...ถ้าวันหนึ่งภาครัฐสนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิงไทยทั้งวงการอย่างจริงจัง
คำนี้คงเป็นคำที่หลายคนหวังไว้เช่นกันว่า สักวันมันคงจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นจริง มันก็คงจะดีไม่น้อย เพราะนั่นหมายความว่าที่จะทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงไทยจะมีงบประมาณประจำปีที่ชัดเจนรายได้ที่ชัดเจน สามารถวางแผนการสร้างสรรค์และกลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ มีอัตราการเติบโตที่จับต้องได้และเห็นผลจริงจับต้องได้ ซึ่ง
หากนึกภาพตามดีๆ เมื่อลองแบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยแล้ว หากภาครัฐสนับสนุนจริงๆ สิ่งเหล่านี้คงจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก
คำนี้คงเป็นคำที่หลายคนหวังไว้เช่นกันว่า สักวันมันคงจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นจริง มันก็คงจะดีไม่น้อย เพราะนั่นหมายความว่าที่จะทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงไทยจะมีงบประมาณประจำปีที่ชัดเจนรายได้ที่ชัดเจน สามารถวางแผนการสร้างสรรค์และกลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ มีอัตราการเติบโตที่จับต้องได้และเห็นผลจริงจับต้องได้ ซึ่ง
หากนึกภาพตามดีๆ เมื่อลองแบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยแล้ว หากภาครัฐสนับสนุนจริงๆ สิ่งเหล่านี้คงจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ภาพยนตร์
หมวดนี้เป็นหมวดที่สำคัญมากและยังมีคำถามอยู่มากมายทุกครั้งที่ภาพยนตร์สัญชาติไทยออกฉายว่า คุณภาพและมาตรฐานบางเรื่องสู้กับต่างประเทศได้ แต่ไร้ซึ่งงบประมาณในการโปรโมทและการสร้าง หากวันนั้นที่ทุกคนรอคอยมาถึง เงินทุนการสร้างภาพยนตร์ที่มากพอบวกกับงบประมาณโปรโมทและการใส่ใจจากภาครัฐในการสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาจริงๆ ไม่แน่อาจจะได้เห็นภาพยนตร์ไทยไปไกลถึงระดับฮอลลีวู้ดก็เป็นได้ ที่สำคัญการยกระดับของวงการภาพยนตร์ไทยจะถูกให้ความสำคัญขึ้นอย่างชัดเจน และไม่ถูกปล่อยละเลยมาแบบที่เป็นในทุกวันนี้
ดนตรี
วงการดนตรีถือว่าเป็นอีกหนึ่งวงการดนตรีที่ไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเลยก็ว่าได้ จากการสนับสนุนและแรงทั้งหมดที่มีในปัจจุบัน ศิลปินไทยส่วนใหญ่มักจะโด่งดังและมีชื่อเสียงได้ด้วยตัวเองซะเป็นส่วนใหญ่ ตรงนี้ลองนึกภาพตามกันดีๆ ถ้าวันหนึ่งภาครัฐลงมาสนับสนุนวงการดนตรี ทั้งการจัดเทศกาลดนตรีที่มีแรงผลักดันและแรงโปรโมทมากพอที่จะดึงคนทั้งประเทศไปที่งานนั้นได้ หรือจะเป็นในส่วนของการสนับสนุนส่งออกศิลปินไทยให้ไปเล่นตามเทศกาลดนตรีต่างๆ ทั่วโลกได้โดยไม่ติดขัดด้านใดๆ ซึ่งด้านใดๆ ในที่นี้ก็คือ เรื่องของที่พักและการเดินทาง สวัสดิการต่างๆ หากภาครัฐพอจะมีให้ ก็ไม่แน่เหมือนกันที่เราอาจจะหลายๆ วงดนตรีไปไกลในระดับโลกได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ก็เป็นได้
ศิลปะ
นี่เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ปัจจุบันภาครัฐยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งนี้น้อยมากๆ ประเทศเราในเรื่องของศิลปะแทบไม่มีที่ให้แสดงผลงานหรือใดๆ ได้เลยในปัจจุบันหากให้นึกไวๆ ก็คงจะมีแค่เพียงหอศิลป์กรุงเทพมหานครเพียงเท่านั้นที่เป็นที่ที่พูดถึงเรื่องราวเหล่านี้อย่างชัดเจนที่สุด หากภาครัฐลองทุ่มเงินลงมาที่เรื่องราวเหล่านี้ ไม่แน่สิ่งที่หลายๆ คนในแวดวงศิลปะฝันว่าอาจจะมาถึงในสักวัน อาจจะเริ่มแรกง่ายๆ ด้วยแค่เพียงให้เงินสนับสนุนนักศิลปะศิลปินไทยในปัจจุบันให้สร้างงานดีๆ มีพื้นที่แสดงความสามารถที่หลากหลายและเปิดกว้าง โดยไม่จำกัดสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย ก็เพียงพอแล้วสำหรับหมวดนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยให้วงการศิลปะไทยเบ่งบานได้ในอนาคตท้ายที่สุดนี้แม้หลายๆ หมวดเหล่านี้ที่ลองยกตัวอย่างอาจจะยังไม่เกิดขึ้นจริงในเวลานี้ แต่ภาพฝันที่สวยงามเหล่านี้หากมันเกิดขึ้นจริง ไม่แน่ความหวังของชาวไทยหลายๆ คนที่รออยู่ก็อาจจะเกิดขึ้นจริงได้ เพราะหากเราจะหาเงินเข้าประเทศจากอะไรสักอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ หมวดของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยก็ไม่ควรทิ้งเด็ดขาด
สมมติว่าอุตสาหกรรมบันเทิงไทยได้รับการสนับสนุนแบบเกาหลีใต้


ถ้าหากรัฐบาลอยากปั้นอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้กลายเป็น ‘Soft Power’ ที่แข็งแกร่งและทรงอิทธิพลต่อคนทั่วโลกอย่างเกาหลีใต้ได้จริง (อย่างที่เคยกล่าวไว้) จะพึ่งแค่ ‘ความคาดหวัง’ คงไม่เพียงพอ เพราะรัฐบาลต้องมี ‘วิสัยทัศน์’ ด้วย นั่นคือ
มอง ‘ภาพใหญ่’ ให้เห็นว่า ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมบันเทิงจะเติบโตได้ ต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง ตัวแปรที่จะช่วยให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ยืนหยัดได้คืออะไร
มอง ‘เชิงลึก’ ว่ามีสิ่งใดบ้างที่อาจเป็นความเสี่ยง หรือสิ่งที่ขาดหายไปและต้องรีบเติมเต็ม เช่น สวัสดิการกฎหมายคุ้มครองคนทำงานสร้างสรรค์ กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์
ที่สำคัญต้องมอง ‘การณ์ไกล’ ไปยังอนาคตข้างหน้าว่า อุตสาหกรรมบันเทิงคือแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและการส่งต่อวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ทรงพลังอย่างแท้จริง
มอง ‘ภาพใหญ่’ ให้เห็นว่า ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมบันเทิงจะเติบโตได้ ต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง ตัวแปรที่จะช่วยให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ยืนหยัดได้คืออะไร
มอง ‘เชิงลึก’ ว่ามีสิ่งใดบ้างที่อาจเป็นความเสี่ยง หรือสิ่งที่ขาดหายไปและต้องรีบเติมเต็ม เช่น สวัสดิการกฎหมายคุ้มครองคนทำงานสร้างสรรค์ กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์
ที่สำคัญต้องมอง ‘การณ์ไกล’ ไปยังอนาคตข้างหน้าว่า อุตสาหกรรมบันเทิงคือแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและการส่งต่อวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ทรงพลังอย่างแท้จริง


กระแสนิยม K-POP ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกหรือ “ฮันรยู” (Hallyu; 한류) ของเกาหลีใต้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนจากซีรีส์หรือศิลปิน K-POP ที่ดังเป็นพลุแตกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ใช้เวลาบ่มเพาะยาวนาน ทั้งฝั่งศิลปิน สตูดิโอ ผู้สร้าง ผู้จัดจำหน่าย เอเจนซีและนักการตลาดที่เก่งกาจ ผสมผสานกับความร่วมมือจากนักลงทุนกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ และที่ขาดไม่ได้คือแรงสนับสนุนจากภาครัฐ


กระทรวงวัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อส่งเสริมภาคเอกชนในอุตสาหกรรมบันเทิงหมวดต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น ศิลปะ เกม ซีรีส์ ภาพยนตร์ แอนิเมชัน ลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ และการ์ตูน เพราะมองว่านี่คือ ‘อนาคต’ เช่น สำนักงานเนื้อหาวัฒนธรรม (Cultural Content Office) ที่คอยหนุนบริษัทเอกชนในการพัฒนาและส่งออกอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในรูปแบบคอนเทนต์ โดยมีงบประมาณสูงถึง 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลียังอัดฉีดงบประมาณเพื่อหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรม K-POP ให้เติบโตและส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็น 20-30% ของกองทุนมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นกองทุนภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มธนาคาร บริษัทเอกชน และบริหารโดย Korean Venture Investment Corporation
ถามว่าได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนแล้ว อุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้เท่าไหร่?
คำตอบคือ อุตสาหกรรมคอนเทนต์ทำยอดขายสูงกว่า 128.3 ล้านล้านวอน (ประมาณ 3,463 ล้านล้านบาท) ส่วนมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 1,192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นี่คือข้อมูลสถิติปี 2020 ที่กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ออกมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการ
เหนือสิ่งอื่นใดคือ ความสำเร็จของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยเงินทุนจากหน่วยงานต่างๆ บริษัทเอกชน หรือการวางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีชาวเกาหลีใต้และแฟนคลับทั่วโลกที่คอยซัพพอร์ตความฝันของเหล่าศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลียังอัดฉีดงบประมาณเพื่อหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรม K-POP ให้เติบโตและส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็น 20-30% ของกองทุนมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นกองทุนภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มธนาคาร บริษัทเอกชน และบริหารโดย Korean Venture Investment Corporation
ถามว่าได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนแล้ว อุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้เท่าไหร่?
คำตอบคือ อุตสาหกรรมคอนเทนต์ทำยอดขายสูงกว่า 128.3 ล้านล้านวอน (ประมาณ 3,463 ล้านล้านบาท) ส่วนมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 1,192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นี่คือข้อมูลสถิติปี 2020 ที่กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ออกมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการ
เหนือสิ่งอื่นใดคือ ความสำเร็จของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยเงินทุนจากหน่วยงานต่างๆ บริษัทเอกชน หรือการวางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีชาวเกาหลีใต้และแฟนคลับทั่วโลกที่คอยซัพพอร์ตความฝันของเหล่าศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบอย่างเต็มที่

นี่คือพลังที่แท้จริงที่อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ทำได้จนไปไกลกว่าคำว่า ‘ซอฟต์พาวเวอร์’
ถ้าอุตสาหกรรมบันเทิงไทยได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ แบบเกาหลีใต้ ก็คงไปได้ไกลกว่านี้จริงๆ เพราะอุตสาหกรรมบันเทิงแต่ละหมวดทำได้ดีอยู่แล้ว มีพลังสร้างสรรค์ ทักษะความสามารถ และวิสัยทัศน์ที่ไม่แพ้ใคร สิ่งที่ยังขาดน่าจะเป็นการสนับสนุนของภาครัฐ ทั้งระดับนโยบาย ทุนสนับสนุน ความเข้าใจในอุตสาหกรรม ไปจนถึงการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน และค่าแรงที่เป็นธรรม ทั้งพนักงานประจำและฟรีแลนซ์ เพื่อให้คนในแวดวงนี้ทำงานในสายอาชีพนี้ได้ โดยไม่ต้องควักเนื้อตัวเองอย่างที่ผ่านมา
ท้ายที่สุดนี้ อุตสาหกรรมบันเทิงหลายๆ หมวดที่เราได้ยกตัวอย่างมานั้น อาจจะยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ แต่ถ้าหากแต่ละฝ่ายช่วยกันลงทุนลงแรง เปลี่ยนภาพฝันที่สวยงามให้กลายจริง ไม่แน่ความหวังของชาวไทยหลายๆ คนที่รออยู่ก็อาจจะเกิดขึ้นจริงในไม่ช้า
หากเรา (หรือประเทศ) จะสร้างรายได้จากอะไรสักอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
อุตสาหกรรมบันเทิงไทยก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทิ้งเด็ดขาด เพราะอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพมากพอจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งต่อวัฒนธรรมร่วมสมัยบนเวทีโลกอย่างที่ศิลปินไทยหลายคนทำได้ (ด้วยตัวเองและทีมสนับสนุนที่ดี) มาแล้ว
ถ้าอุตสาหกรรมบันเทิงไทยได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ แบบเกาหลีใต้ ก็คงไปได้ไกลกว่านี้จริงๆ เพราะอุตสาหกรรมบันเทิงแต่ละหมวดทำได้ดีอยู่แล้ว มีพลังสร้างสรรค์ ทักษะความสามารถ และวิสัยทัศน์ที่ไม่แพ้ใคร สิ่งที่ยังขาดน่าจะเป็นการสนับสนุนของภาครัฐ ทั้งระดับนโยบาย ทุนสนับสนุน ความเข้าใจในอุตสาหกรรม ไปจนถึงการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน และค่าแรงที่เป็นธรรม ทั้งพนักงานประจำและฟรีแลนซ์ เพื่อให้คนในแวดวงนี้ทำงานในสายอาชีพนี้ได้ โดยไม่ต้องควักเนื้อตัวเองอย่างที่ผ่านมา
ท้ายที่สุดนี้ อุตสาหกรรมบันเทิงหลายๆ หมวดที่เราได้ยกตัวอย่างมานั้น อาจจะยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ แต่ถ้าหากแต่ละฝ่ายช่วยกันลงทุนลงแรง เปลี่ยนภาพฝันที่สวยงามให้กลายจริง ไม่แน่ความหวังของชาวไทยหลายๆ คนที่รออยู่ก็อาจจะเกิดขึ้นจริงในไม่ช้า
หากเรา (หรือประเทศ) จะสร้างรายได้จากอะไรสักอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
อุตสาหกรรมบันเทิงไทยก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทิ้งเด็ดขาด เพราะอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพมากพอจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งต่อวัฒนธรรมร่วมสมัยบนเวทีโลกอย่างที่ศิลปินไทยหลายคนทำได้ (ด้วยตัวเองและทีมสนับสนุนที่ดี) มาแล้ว