แรงงานชาติไหน? สร้างบ้านแปลงเมืองกรุงเทพมหานคร

26 เม.ย. 2566 - 08:13

  • ไขความลับที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับแปลงเมืองกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเฉลยให้ทราบพร้อมๆ กันว่า แท้จริงแล้วแรงงานชาติไหนเป็นคนสร้างสิ่งนี้กันแน่ ? ในบทความนี้

What-is-Labor-Create-Bangkok-Plan-SPACEBAR-Thumbnail
กว่ากรุงเทพมหานครจะมีหน้าตาเหมือนทุกวันนี้ ผ่านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศมานับครั้งไม่ถ้วน งานพัฒนาเมืองที่ทำมากที่สุดคือ ขุดคลอง รองลงมาเป็นการก่อสร้างสถานที่สำคัญ วัด วัง สถานที่ราชการ ป้อมและกำแพงเมือง 
 
งานขุดคลองแต่ละยุคทำด้วยเหตุผลหลักคือเพื่อทำให้การเดินทางง่ายขึ้น เปิดพื้นที่เมืองขยายออกไป พัฒนาการสัญจรทางน้ำ การขุดคลองแต่ละครั้งใช้แรงงานจำนวนมาก แรงงานทั้งหมดไม่ใช่คนไทย แต่มีการว่าจ้างแรงงานชาวจีน แขก เขมร ฯลฯ มาเป็นแรงงานหลักในการขุดคลอง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5m2w6Vd70yIjhCgOGrtnbJ/10685a1b3173d44b3d8f852b0c14a125/What-is-Labor-Create-Bangkok-Plan-SPACEBAR-Photo_V01
สมัยอยุธยา ขุดคลองเพื่อความสะดวกในการคมนาคม ติดต่อกับหัวเมือง มีทั้งการขุดคลองหลัก คลองลัด เพื่อย่นระยะทางของลำน้ำมีบันทึกว่า การขุดคลองมีการเกณฑ์แรงงานที่น่าจะใช้แรงงานไพร่เกณฑ์จำนวนมากน่าจะไม่ได้มีแต่แรงงานไทยแต่รวมแรงงานต่างชาติมาช่วยกัน 
 
 สมัยรัตนโกสินทร์ การขุดคลอง ทำเพื่อเปิดพื้นที่ภายในที่ห่างไกลไปจากลำแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐานของผู้คนที่มีประชากรขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะแรกคงใช้แรงงานเกณฑ์ แต่ต่อมีมีการจ้างชาวจีนเป็นแรงงานหลัก 
 
การขุดคลองสมัยรัชกาลที่1 คลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอด การทำกำแพงเมืองรวมทั้งป้อมประตูหอรบใหม่ขยายกว้างกว่าแต่เดิม ขุดคลองรอบขนานกับแนวกำแพงเมืองโดนใช้แรงงานไพร่ชาวลาวและเขมรที่กวดต้อนมาแต่สงคราม คลองมหานาค ในรัชกาลที่ 1 ขุดโดยกองอาสาจามชาวเขมรและชาวมลายูปัตตานีขุดคลองแสนแสบช่วงนี้ (คลองแสนแสบใต้) คลองแสนแสบเหนือ 63.4 กิโลเมตร จ้างชาวจีนขุด ส่วนที่ออกแม่น้ำบางปะกงเกณฑ์ชาวมลายูปัตตานีที่กวาดต้อนมาสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแนวคลองมาช่วยกันขุดคลองจนทะลุออกแม่น้ำบางปะกง 
 
คลองสุนัขหอน สมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2372 ใช้แรงงานชาวจีน  พอถึงรัชกาลที่ 4 คลองผดุงกรุงเกษมจ้างแรงงานชาวจีนขุด  คลองเปรมประชากร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ขุดต่อเนื่องจากคลองผดุงกรุงเกษมที่กรุงเทพฯ ขึ้นเหนือไปที่อยุธยาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางราว 51 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง เปิดพื้นที่ทำนาทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ และกลายเป็นบริเวณที่มีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่จำนวนมากขุดโดยจ้างแรงงานชาวจีน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7nqHqTKvC9iRcK0v51nZFe/859a1efc1d12a6865dddf36bf0d7e677/What-is-Labor-Create-Bangkok-Plan-SPACEBAR-Photo01
นอกจากการขุดคลองการสร้างวัด วัง สถานที่ราชการ ในยุคแรกใช้ทั้งช่างและแรงงานชาวจีน มาถึงรัชกาลที่5 เริ่มใช้สถาปนิกเป็นฝรั่ง แต่แรงงานยังคงใช้ไทยผสมจีนอยู่ดี มีบางสถานที่ที่ใช้ช่างฝีมือแขก อย่างทุ่งพระเมรุสนามหลวงได้ฝีมือการจัดสวนของชาวชวา ไม่นับบ้านเรือนของพ่อค้า ข้าราชการในยุคนี้ล้วนใช้ช่างฝีมือชาวจีนทั้งสิ้น  
 
สรุปคือแรงงานสร้างกรุงเทพฯส่วนใหญ่คือ แรงงานชาวจีน รองลงมามีแขก เขมร ไทย มอญหรือลาวบ้างในกรณีที่งานก่อสร้างในพื้นที่ที่เชื้อชาตินั้นตั้งบ้านเรือนอยู่ ที่นำมากล่าวคือส่วนที่บันทึกไว้มีที่ไม่ได้บันทึกอีกมาก น่าแปลกใจที่วันนี้แรงงานหลักกลายเป็นนายทุน คนจ้างแต่ก่อนบางส่วนเป็นแรงงานบางส่วนไปทำอย่างอื่นนี่แหละความเปลี่ยนแปลง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์