ใครคิดว่าจะมีวันนี้ วันที่หนังสือการ์ตูนมังงะที่ถูกวาดด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ทั้งดุ้น เพิ่มเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับนักอ่านการ์ตูนที่สนใจอยากลองชมความสามารถของเอไอว่าไปสุดได้ถึงขนาดไหน นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนวงการหนังสือการ์ตูนที่กว่าจะสร้างสรรค์ออกมาแต่ละเล่มได้ต้องอาศัยทั้งแรงกายและแรงใจในการสร้างเรื่อง และวาดภาพประกอบกว่าหลายร้อยหน้ากระดาษ
หนังสือการ์ตูนเล่มนี้มีชื่อว่า ‘Cyberpunk: Peach John’ สร้างโดยนักเขียนมังงะนามว่า Rootport โดยมีหยิบเรื่องราวของโมโมะทาโร นิทานพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่น มาเล่าใหม่ในฉากหลังเป็นโลกดิสโทเปีย Rootport มีหน้าที่สร้างเนื้อเรื่อง ส่วนหน้าที่วาดภาพนั้นเขายกให้เอไอจัดการทั้งหมดตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย
หนังสือการ์ตูนเล่มนี้มีชื่อว่า ‘Cyberpunk: Peach John’ สร้างโดยนักเขียนมังงะนามว่า Rootport โดยมีหยิบเรื่องราวของโมโมะทาโร นิทานพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่น มาเล่าใหม่ในฉากหลังเป็นโลกดิสโทเปีย Rootport มีหน้าที่สร้างเนื้อเรื่อง ส่วนหน้าที่วาดภาพนั้นเขายกให้เอไอจัดการทั้งหมดตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย

การ์ตูนตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Shinchosha ภาพวาดนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือของโปรแกรม Midjourney ผ่านการคำสั่งพรอมต์ (prompt) ถือเป็นหนังสือการ์ตูนเล่มแรกที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ และเพิ่งวางขายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่วนวิธีการนั้น Rootport ใช้การอิงข้อความอธิบายเพื่อให้เอไอสร้างภาพให้ตรงกับเนื้อเรื่องหลัก และในส่วนของการวาดภาพ เขาใช้คำสั่งกำหนดลักษณะให้ออกมามีความเฉพาะกับแต่ละตัวละครเพื่อให้มีใบหน้าตรงกันตลอดเรื่อง เขาใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ในการทำงานชิ้นออกมาให้เสร็จ มีจำนวนหน้าทั้งหมด 100 กว่าหน้า แต่งเติมด้วยสีสันครบ 4 สีทุกหน้า
ส่วนวิธีการนั้น Rootport ใช้การอิงข้อความอธิบายเพื่อให้เอไอสร้างภาพให้ตรงกับเนื้อเรื่องหลัก และในส่วนของการวาดภาพ เขาใช้คำสั่งกำหนดลักษณะให้ออกมามีความเฉพาะกับแต่ละตัวละครเพื่อให้มีใบหน้าตรงกันตลอดเรื่อง เขาใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ในการทำงานชิ้นออกมาให้เสร็จ มีจำนวนหน้าทั้งหมด 100 กว่าหน้า แต่งเติมด้วยสีสันครบ 4 สีทุกหน้า

การเปิดตัวหนังสือการ์ตูนเอไอทำให้วงการการ์ตูนสั่นสะเทือน แต่สำหรับบางคนอาจไม่มากนัก เพราะขึ้นชื่อว่าหนังสือมังงะหลายคนยังคงให้คุณค่ากับงานศิลปะที่สร้างสรรค์ด้วยมนุษย์ ทั้งลายเส้น และเนื้อเรื่อง บางคนให้ความเห็นว่าหนังสือมังงะเอไอเป็นเพียงการทดลองที่ชักชวนคนที่สงสัยเข้ามาอ่าน แต่ถ้าเป็นระยะยาวคนอาจไม่ให้คุณค่ามากขนาดนั้นหากรู้ว่าเป็นผลงานของเอไอที่ทราบกันดีว่าเป็นการดูดข้อมูลจากภาพวาดของศิลปินหลายๆ คนบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้ยังคงเป็นกระแสดราม่าในวงการศิลปินอยู่

กระแสที่ว่านี้เริ่มขึ้นในเว็บไซต์ Artstation โดยมีความเห็นว่าผลงานเอไอเป็นการขโมยงานศิลปะของคนอื่นที่ใช้เวลาฝึกฝนหลายปีกว่าจะสร้างสรรค์งานหนึ่งงานมาได้ พร้อมกับพากันประท้วงด้วยการตั้งภาพเขียนว่า NO TO AI GENERATED IMAGES
เรื่องนี้ยังคงยกประเด็นเรื่องการขโมยงานศิลปะ อย่างบางคนทราบกันว่าศิลปะมักมีการหยิบยืมจากยุคก่อนเพื่อนำมาปรับใช้ บางทีเราอาจคิดกับเอไอในเชิงนั้นว่าเป็นเพียงการหยิบยืมมาใช้ แต่สิ่งที่คนเพ่งเล็งจริงๆ คือความง่ายดายต่อการขโมยทำให้คนมองว่า ‘การขาดความพยายามคือการโกง’
ใครที่สนใจอยากลองอ่านสามารถสั่งซื้อได้ที่ Amazon ในราคา 368 บาท (1,430 เยน)
เรื่องนี้ยังคงยกประเด็นเรื่องการขโมยงานศิลปะ อย่างบางคนทราบกันว่าศิลปะมักมีการหยิบยืมจากยุคก่อนเพื่อนำมาปรับใช้ บางทีเราอาจคิดกับเอไอในเชิงนั้นว่าเป็นเพียงการหยิบยืมมาใช้ แต่สิ่งที่คนเพ่งเล็งจริงๆ คือความง่ายดายต่อการขโมยทำให้คนมองว่า ‘การขาดความพยายามคือการโกง’
ใครที่สนใจอยากลองอ่านสามารถสั่งซื้อได้ที่ Amazon ในราคา 368 บาท (1,430 เยน)