นักโบราณคดีพบแผ่นหินมายาโบราณ ใช้สำหรับบอกคะแนน ‘บอลมายา’

18 เม.ย. 2566 - 07:27

  • นักโบราณคดีในเม็กซิโกพบแผ่นหินทรงกลมในพื้นที่โบราณคดีชิเชนอิตซา คาดว่าใช้บอกคะแนนสำหรับกีฬาบอลมายาที่เคยนิยมเล่นกันเมื่อพันปีก่อน

ancient-mayan-scoreboard-found-SPACEBAR-Thumbnail
ชนเผ่ามายาทำให้เรานึกถึงอยู่ไม่กี่อย่าง สถาปัตยกรรมแบบพีระมิดขั้นบันได, ตำนานขุมทรัพย์ทองคำ, การบูชายันต์คนทั้งเป็น, และคำทำนายวันสิ้นโลก เป็นต้น แต่ยังมีอย่างหนึ่งที่คนนึกถึงเสมอเวลาศึกษาประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอล นั่นคือกีฬาบอลเกมส์ หรือฟุตบอลมายา และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาคนทั่วโลกได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬานี้มากขึ้นหลังมีการค้นพบ แผ่นหินบอกคะแนนกีฬาบอลมายา ที่คาบสมุทรยูกาตัน ประเทศเม็กซิโก
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/65Ze62d3V3dE2TMXuc6eJ7/97c68b63643c8bf354dc2470ad825e48/ancient-mayan-scoreboard-found-SPACEBAR-Photo01
Photo: WQAD News 8
สถานที่ค้นพบคืออยู่ในบริเวณพื้นที่โบราณคดีชิเชนอิตซา (Chichen Itza) ซึ่งเป็นบริเวณที่อารยธรรมมายาเคยรุ่งเรืองเมื่อราวปี ค.ศ. 800-900 เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะพื้นที่ที่มีพีระมิดขั้นบันไดตั้งตระหง่านอยู่ในป่าเขาเม็กซิโก แผ่นหินบอกคะแนนนี้มีรูปร่างเป็นทรงกลมกว้างยาว 32 เซนติเมตร หนักประมาณ 40 กิโลกรัม ไว้ใช้สำหรับบอกคะแนนกับกีฬาบอลมายา บนแผ่นหินนั้นมีรูปสลักนักกีฬาสองยืนอยู่ข้างลูกบอล ซึ่งนักโบราณคดีกำลังนำไปตรวจสอบเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุโบราณชิ้นนี้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/14WYH5Dt3nFt0QrSyd76gD/b5902c7fccfe853e7e401977ec7bdb5e/ancient-mayan-scoreboard-found-SPACEBAR-Photo02
Photo: WQAD News 8
กีฬาบอลมายามีอายุกว่า 3,000 ปีมาแล้ว และนิยมเล่นในอารยธรรมเมโสอเมริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อเผ่ามายัน ในบันทึกโปปอลวูห์ (Popol Vuh) ของชาวกีเชมีการอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของกีฬานี้เอาไว้ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับพลังมืดและพลังสว่างมาประจบกัน ตามตำนานเล่าว่าสองพี่น้องฮีโร่ของชาวมายานามว่า ฮูน ฮูนักซ์พู และชบาลังเค (Hun Hunaphu and Xbalanque) ใช้เวลาบนโลกเพื่อเล่นกีฬาบอลนี้ ด้วยเสียงเล่นที่ดังชวนหงุดหงิดจึงทำให้ วูคุบ คาเม (Vucub-Came) เทพแห่งความตายพิโรธ จึงเกิดการแข่งขันบอลแบบเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาระหว่างสองฝ่าย ผลสุดท้ายหนึ่งในสองพี่น้องถูกตัดศีรษะ ซึ่งถูกใช้เป็นลูกบอลในเกม ส่วนร่างที่ศีรษะโดนตัดนั้นมีเลือดพุ่งกระฉูดกลายร่างเป็นงู ชาวกีเชเชื่อว่าเลือดนี้แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ 
 
เรื่องราวทั้งหมดถูกบันทึกสลักไว้บนกำแพงของสนามการแข่งขันในพื้นที่ชิเชนอิตซา นอกจากสนามแล้วยังมีห่วงหิน หรือประตูทำคะแนนติดอยู่ข้างบน สำหรับกติกาของเกมนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากข้อมูลที่ค้นพบกติกาจะแบ่งผู้เล่นเป็นสองทีม แต่ละทีมมีผู้เล่นประมาณ 2-6 คน และการแข่งขันนั้นจะแข่งกันนาน 2 สัปดาห์
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/40yTy5ntsdlgFlRfiUSd3N/284e77d2b4f026b4951d91a8644f08cf/ancient-mayan-scoreboard-found-SPACEBAR-Photo03
Photo: AFP
ลูกบอลที่ใช้เป็นลูกบอลยาง ขนาดและน้ำหนักแปรเปลี่ยนไปตามช่วงปี แต่นักวิชาการคำนวณคร่าวๆ ว่ามีน้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ขนาดเท่ากับลูกสคิตเทิล (110-130 มิลลิเมตร) ทำจากยางต้นเคาชูด (caoutchouc) ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ในเขตร้อนมายาเท่านั้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3x27asHNhYg27NHPuEGgHj/3700c0c863296234d84a985954863a28/ancient-mayan-scoreboard-found-SPACEBAR-Photo04
Photo: Wikimedia
วิธีเล่นคือผู้เล่นต้องใช้สะโพกข้างขวา, ศอกข้างขวา, และหัวเข่าข้างขวา ในการส่งบอลเท่านั้น ที่สำคัญคือห้ามบริเวณของร่างกายที่กล่าวไปแตะพื้นโดยเด็ดขาด การทำคะแนนคือการส่งลูกเข้าห่วงหินของฝ่ายตรงข้าม ส่วนเรื่องการแต่งตัวนั้นจากภาพสลัก ผู้เล่นอาจมีการสวมเพื่อปกป้องแรงกระแทกให้กับร่างกาย เช่น หน้าอก เป็นต้น บางคนมีการสวมชุดพิเศษเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ทางศาสนา ทั้งหมดอาจฟังดูยาก แต่ทุกวันนี้ชาวมายาพื้นเมืองยังมีการจัดแสดงเพื่อสานต่อวัฒนธรรมมายาไม่ให้สูญหาย

กีฬาบอลเกมมายายังมีการกล่าวถึงในภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง Eldorado ของ DreamWorks เป็นอนิเมชันที่พยายามถ่ายทอดเรื่องราวของชาวยุโรปที่เข้ามาสำรวจในดินแดนเมโสอเมริกา กับตำนานขุมทรัพย์ทองคำในตำนาน อารยธรรมของชาวมายาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1521 จากบุกรุกของชาวสเปนนำโดย เฮอนาน คาร์เตส (Hernán Cortés)

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์