ปราจีนบุรี = เชอร์โนบิล? แม้ไม่ร้ายแรงเท่า แต่ประมาทเหมือนกัน

20 มีนาคม 2566 - 07:51

chernobyl-cs137-prachinburi-radioactive-SPACEBAR-Thumbnail
  • เหตุการณ์กัมมันตรังสีที่ปราจีนบุรีอาจฟังดูไม่ร้ายแรงเท่ากับโรงไฟฟ้าระเบิดที่เชอร์โนบิล แต่ไม่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งสองเหตุการณ์ล้วนเกิดจากความประมาทเหมือนกัน

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/12PAmb6DBH5waO0q7ihPW1/d3aff7bcfd7691e031b0fbc047e91a2a/chernobyl-cs137-prachinburi-radioactive-SPACEBAR-Photo02
เมืองปราจีนบุรี และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ลงพื้นที่ตรวจ 2 โรงหลอมเหล็กในเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี มีการยืนยันว่าพบสารกัมมันตรังสี จึงได้ทำการสั่งปิดโรงงานและกั้นพื้นที่เพื่อความปลอดภัย โดยโรงหลอมที่ใหญ่ที่สุดที่มีเตาหลอมรวม 8 เตา พบวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 (Cesium-137) มีการรายงานเบื้องต้นว่าวัสดุถูกบดเพื่อรอเข้าเตาหลอมให้สบายใจไปก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีออกมาแถลงแล้วว่าวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ถูกหลอมเป็นฝุ่นแดงเรียบร้อย พร้อมกับส่งไปที่โรงงานรีไซเคิลแล้ว 
 
ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการสูญหายของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 จากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้ได้บทสรุปแล้วว่าอาจถูกนำพามาที่โรงหลอมเหล็กเก่าเพื่อนำไปใช้ใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าวัสดุกัมมันตรังสีหายไปได้อย่างไร และถูกนำมาไว้ที่โรงหลอมเหล็กที่เขตกบินทร์บุรีตั้งแต่เมื่อไร
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/t7yg5lu5cERuBG8od1w8n/1dfee8c64b4a5168eb4759af468df27d/chernobyl-cs137-prachinburi-radioactive-SPACEBAR-Photo01
ซีเซียม-137 เป็นสารไอโซโทปของซีเซียม ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี จาก 300 ปี มีคุณสมบัติปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา ในแวดวงอุตสาหกรรม ซีเซียม-137 ถูกใช้ร่วมกับเครื่องมือหลายอย่าง เช่น เครื่องวัดความชื้นและความหนาแน่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, เครื่องวัดระดับ เพื่อตรวจวัดการไหลของของเหลวในท่อ,  เครื่องวัดความหนา สำหรับวัดความหนาของแผ่นโลหะ กระดาษ ฟิล์ม และอื่นๆ ,เครื่องหยั่งธรณีในอุตสาหกรรมขุดเจาะ เพื่อช่วยบอกลักษณะเฉพาะของชั้นหิน 
 
นายแพทย์สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา โพสต์ถึงอันตรายของซีเซียม-137 ในเฟซบุ๊ก ‘Somros MD Phonglamai’ โดยกล่าวว่าหากซีเซียมถูกเข้าเตาหลอมจริง ไอของซีเซียมที่เกิดขึ้นระหว่างการหลอมการลอยไปไกลถึงระยะพันกิโลเมตร และสามารถทำลายสิ่งมีชีวิตได้ในรัศมี ใช้เวลาย่อยสลายเกิน 100 ปี รวมถึงทำให้คนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไธรอยด์เฉลี่ยอีก 100 ปี คนที่สัมผัสตอนนี้อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และผิวหนังไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6xqOsokgM3nxJKIkzpVQn0/0aa93731957e0bcbdb4eadbd856c7930/chernobyl-cs137-prachinburi-radioactive-SPACEBAR-Photo03
ย้อนไปในเหตุการณ์โรงไฟฟ้าระเบิดในเมืองเชอร์โนบิล หลายคนอาจนึกถึงธาตุยูเรเนียมที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในโรงไฟฟ้า แต่จริงๆ แล้วในบางส่วนของโรงงานยังมีการใช้ซีเซียมอีกด้วยจากการพบเจอในบริเวณนอกเมืองเชอร์โนบิล แต่ไม่ว่าจะเป็นธาตุยูเรเนียม ซีเซียม หรือพลูโตเนียม ทั้งสามอย่างล้วนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง รวมถึงสามารถทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และผู้ติดสารอย่างรุนแรงสามารถเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่วัน 
 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปราจีนบุรีทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยถึงความหละหลวมของมาตรการโรงงานหลอมเหล็ก ซึ่งตามปกติควรมีการตรวจสารกัมมันตรังสีเบื้องต้นก่อนเข้าเตาหลอมเพื่อความปลอดภัย หากโรงงานละเลยจุดนี้จริงก็นับว่าเป็นความประมาท ไม่นับการรับมือของหน่วยงานราชการและเอกชนในการตามหาวัสดุกัมมันตรังสีที่หายไป และการแถลงข่าวที่ล่าช้าไปหลายสิบชั่วโมง ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องด่วนส่งผลกระทบต่อชีวิตคนหลายคน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/22psHsDYzJ4pdDY7htuyI/7bd98f60f609fc3054bac2d8a5f2b02c/chernobyl-cs137-prachinburi-radioactive-SPACEBAR-Photo04
Photo: โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล. Wikimedia
เรื่องนี้คนทั้งโลกเคยมีเหตุการณ์โรงไฟฟ้าระเบิดที่เชอร์โนบิลมาแล้ว ซึ่งสาเหตุหลักคือ ‘ความประมาท’ เช่นเดียวกัน เหตุการณ์เชอร์โนบิล (The Chernobyl disaster) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1986 โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดระเบิดขึ้นด้วยความประมาทในการทดสอบระบบของเจ้าหน้าที่ภายใน โดยจำนวนกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาจากแร่ยูเรเนียม 235 มีปริมาณมหาศาลทำให้หน่วยงานต้องเข้าไปจัดการด้วยหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกลบรังสีด้วยทรายจำนวนหลายตัน ใช้เจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บกวาดเศษแร่ยูเรเนียมที่กระเด็นออกมา สร้างที่กั้นเพื่อไม่ให้แม่น้ำปนเปื้อนรังสี ฆ่าสัตว์ทุกตัวในเมือง ไปจนถึงตัดต้นไม้ และฝังศพผู้เสียชีวิตจากรังสีด้วยการเทปูนทับก่อนฝังดิน เหตุการณ์นี้ได้สร้างความสูญเสียเป็นอย่างมาก หลังจากเหตุการณ์นี้เริ่มจัดการได้ ทางการสหภาพโซเวียตได้กลบข่าวจำนวนผู้เสียชีวิตว่ามีเพียง 31 คนเท่านั้น ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วคาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 200,000 คน ว่ากันว่าที่สหภาพโซเวียตทำเช่นนี้เพราะต้องการปกป้องชื่อเสียงของสหภาพเอาไว้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4kbmW2zOlTqb81BOomwOKI/c59dcde1f6d1a0111fa4f760c6e161c1/chernobyl-cs137-prachinburi-radioactive-SPACEBAR-Photo05
Photo: Wikimedia
ทางที่ดีเพื่อไม่ซ้ำรอยเดิมกับประวัติศาสตร์หายนะ รัฐบาลรวมถึงหน่วยงานควรมีการตรวจสอบเร่งด่วนหลังจากวัสดุกัมมันตรังสีหายไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ไม่ควรละเลยหรือประมาทมาตรฐานโรงงาน และในการตรวจสอบพื้นที่ จะสังเกตเห็นว่าหน่วยงานราชการยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งๆ ที่ควรมีการสวมชุด PPE แบบมิดชิดเพื่อความปลอดภัย 
 
ทุกเรื่องราวและประวัติศาสตร์ที่เคยจารึกไว้ล้วนมีความสำคัญ และเป็นอุทาหรณ์สำหรับอนาคตของมนุษยชาติ หากพวกเราเคยมีบทเรียนกันมาแล้ว นั่นหมายความว่าเราได้รู้จักมันดีพอที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเหตุการณ์เหล่านั้นกลับเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นหมายความว่าปัญหาอยู่ที่ ‘ความประมาท’ และ ‘ความไม่สนใจ’ ของผู้คนเหล่านั้นต่างหาก

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์