Chini and Turandot บทละครที่ยิ่งใหญ่สู่การแสดงเดี่ยวอันทรงพลังจากศิลปินศิลปาธร

28 พ.ย. 2565 - 10:40

  • Chini and Turandot การแสดงเดี่ยวของ ผศ.ดร. ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ ดัดแปลงจากบทละครอิตาลีของ จาโคโม ปุชชีนี นำแสดงโดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า ศิลปินศิลปาธร

chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Hero
เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2565 มีการแสดงประเภทเดี่ยวเรื่อง ‘Chini and Turandot’ ทั้งหมด 4 รอบ จัดโดยนายวรรณศักดิ์ ศิริหล้า ร่วมกับ ผศ.ดร. ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ คณะทำงานตามรอยกาลิเลโอคินี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 
 
Chini and Turandot เป็นบทการแสดงของ ผศ.ดร. ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ ดัดแปลงมาจากบทละครโอเปราเรื่อง ‘Turandot’ ของ จาโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini) นักประพันธ์ชาวอิตาลี ให้เป็นการแสดงเดี่ยว นำแสดงโดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2563
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4V5P5JisqyTjB6MAIQMd0T/55a0a6c8009ca33252fad02b84dec117/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo01
Photo: Photo: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ /Facebook
การแสดงจัดอยู่ในห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 3 ภายในมีเวทีที่ประดับด้วยผ้าขาวบางติดตั้งกันหลายชั้นเป็นฉากหลัง ข้างหน้าเป็นฝั่งของผู้ชมที่สามารถนั่งได้ทั้งบนเก้าอี้ บนม้านั่ง และบนพื้น ตรงข้างเวทีเป็นตำแหน่งของคณะวงดนตรีที่ประกอบด้วย เชลโล ไวโอลิน กลอง เปียโน และเครื่องเป่า ถัดมาเป็นฝ่ายเทคนิคที่คอยควบคุมเสียง ภายในห้องปฏิบัติการโดยรวมอาจดูไม่กว้างขวางมากนัก แต่เป็นข้อดีสำหรับการใช้เสียงของทีมงานสเตจ และนักแสดงหลัก เพราะสามารถสะท้อนเสียงจากกำแพงข้างหลังเพื่อให้เกิดความกังวานได้อย่างดี
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1y6KLahP5h7NBIWspA0TKa/a4e62ecc12e1976e32c1e4254ddd0405/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo02
Photo: Photo: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ /Facebook
ก่อนการแสดงจะเริ่มทีมงานสเตจเริ่มด้วยการใช้ไม้เคาะบนพื้น ซึ่งเป็นธรรมเนียมการแสดงบนเวทีที่เรียกว่า ‘ทรัวส์ กุปส์’ (Trois Coups) สัญญะแทนพระผู้เป็นเจ้า เพื่อเรียกความสนใจผู้ชมว่าการแสดงจะเริ่มขึ้นแล้ว จากนั้นนักแสดงก็ปรากฎขึ้นบนพื้นที่การแสดง ตามด้วยการบรรเลงของเครื่องดนตรีที่มีท่วงทำนองชวนฝัน 
 
เนื้อเรื่องย่อของ Chini and Turandot เป็นการเล่าเรื่องราวของเจ้าหญิงทูรันโดต์ผู้เย็นชา ได้ประกาศไปทั่วราชอาณาจักรเพื่อหาคู่ครอง แต่การที่จะอภิเษกกับเจ้าหญิงได้นั้นจำต้องถูกทดสอบด้วยคำถามปริศนา 3 ข้อ หากตอบข้อใดผิดชายผู้นั้นจะต้องถูกบั่นศีรษะ บทละครของปุชชินีเดิมทีเป็นบทละครโอเปราที่ประกอบด้วย 3 องก์ เพราะเสียชีวิตก่อนจะแต่งจบด้วยโรคมะเร็งในลำคอ จากนั้นในปี 1926 บทละครถูกแต่งให้เสร็จสิ้นโดย ฟรันโก อัลฟาโน (Franco Alfano) และเรียบเรียงเนื้อเรื่องโดย จูเซปเป อดามี (Giuseppe Adami) และเรนาโต ซิโมนี (Renato Simoni)
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/B6aHPI0LLgPUA6OaumKzw/c8578679eb52d91fa7fb0a0ed8bd2549/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo03
Photo: Photo: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ /Facebook
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7BQogG818tUu0wPFMg4Uer/15cae35629724fed8207f5e8fd08e3e7/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo04
Photo: Photo: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ /Facebook
ผศ.ดร. ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ ผู้แต่งและผู้กำกับการแสดงได้ดัดแปลงเรื่องราวทั้ง 3 องก์ กลายมาเป็นการแสดงเดี่ยวแบบตัดสลับตัวละครที่หนักแน่น และอ่อนไหว ตลอดตั้งแต่เริ่มจนจบ จุดที่น่าสนใจของการแสดงครั้งนี้คือการใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด เพิ่มความมีมิติให้กับพื้นที่ด้วยการใช้ผ้าขาวบางวางสลับพร้อมกับฉายโปรเจกเตอร์หลายมุม รวมถึงมีวิธีการใช้แสงและเล่นกับเงาได้อย่างน่าสนใจ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือการใช้บันไดไม้ไผ่ที่สามารถตัดสลับคุณประโยชน์ไปตามบทบาทของนักแสดง ไม่ว่าจะเป็นเรือ ไม้ค้ำ หรือหุ่นเชิด
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6txV6QDI2kmwFSmIZz9JEN/e41531a68bea91d0013b20e77909bad2/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo05
Photo: Photo: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ /Facebook

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสามารถของนักแสดงหลักที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ตัวละครแต่ละตัวภายในเสี้ยววินาทีได้อย่างช่ำชอง ดุดัน อ่อนไหว เพลิดเพลิน และหนักแน่น ดำเนินไปพร้อมกับทีมงานสเตจที่มีไหวพริบดี ทำให้การแสดงออกมาดูดีโดยสมบูรณ์

การแสดง Chini and Turandot ควบคู่ไปกับการฉายภาพฉากฝีมือของ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) จิตรกรชาวอิตาลี ผู้เขียนภาพพระราชกรณียกิจของบูรพกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีบนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคมภายในคลังของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6GsPu4BQW8DXKKQzdy2vVF/c5a16a67b25f4d755c38beb77a6b5ba0/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo06
Photo: Photo: Sarakadee Lite
สาเหตุที่เรียกว่า Chini and Turandot ซึ่งเป็นชื่อของ กาลิเลโอ คินี และชื่อบทละครรวมกัน นั่นเป็นเพราะปุชชินี และคินี ต่างเป็นศิลปินร่วมสมัย โดยปุชชินีเคยวานให้คินีช่วยวาดฉากบทละครโอเปราเรื่องนี้ให้ เนื่องจากฉากหลังของเรื่อง Turandot คือเมืองจีน ซึ่งเป็นดินแดนที่ปุชชินีและคินีไม่เคยเยือนมาก่อน คินีจึงอาศัยการอ้างอิงจากพื้นที่เยาวราชในแดนสยามแทน
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3zpTJbqaOC0EAu5oRH3l1j/3fd9dd5a7b8ba02e8eff09a66f84f5e5/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo07
Photo: Photo: Wikimedia
กาลิเลโอ คินี เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นจิตรกรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรด หลังจากเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรงานเวนิสเบียนนาเล (La Biennale di Venezia) จึงเกิดการทำสัญญาว่าจ้างคินีเป็นเวลา 30 เดือน เพื่อมาเขียนภาพในพระที่นั่งองค์ใหม่ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้าง ณ พระราชวังดุสิต ตอนนั้นคินีมีอายุ 38 ปี และเดินทางมาถึงสยามในปี พ.ศ.2454 คาบเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 6
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6qTyi6L6yyYR1qxTT1qS98/624144568f76d0881b09adaf5049be8c/chini-and-turandot-stage-play-SPACEBAR-Photo08
Photo: Photo: Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์ /Facebook
ระหว่างการแสดงเรื่อง Chini and Turandot มีการฉายภาพฉากฝีมือของคินีเป็นพักๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของภาพบนโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม เบื้องหน้าเป็นนักแสดงที่เคลื่อนสะบัดแกว่งแขนและลำตัวสไตล์การเต้นแบบร่วมสมัย นับว่าเป็นการแสดงที่ทรงพลัง และขับเคลื่อนอารมณ์อย่างที่สุด 
 
การแสดง Chini and Turandot จะจัดขึ้นอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว) ณ โรงละครทรงพล ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2565 รอบ 14.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ทางเพจ ‘Chini And Turandot : คินีและทูรันโดต์’ บน Facebook  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์