ผู้ประท้วงเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศออสเตรียโจมตีภาพวาดของ กุสตาฟ คลิมต์ (Gustav Klimt) ด้วยการสาดของเหลวสีดำ พร้อมกับนำมือที่ติดกาวไปยึดติดกับกระจกนิรภัยของภาพวาด
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผู้ประท้วงกลุ่มนี้เป็นสมาชิกของกลุ่ม Letzte Generation Österreich (Last Generation Austria) และมีความตั้งใจในการโจมตีผลงานภาพ ‘Death and Life’ ของ กุสตาฟ คลิมต์ ที่พิพิธภัณฑ์เลโอโพลด์ (Leopold Museum) ในกรุงเวียนนา เพื่อส่งสารประท้วงต่อรัฐบาลให้ยุติการใช้น้ำมันฟอสซิล
หลังจากที่สาดของเหลวใส่ภาพวาด แม้ว่าภาพวาดจะไม่ได้ความเสียหายใดๆ แต่หนึ่งในผู้ประท้วงถูกผลักออกไปโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ ขณะที่ผู้ประท้วงอีกคนหนึ่งกำลังนำไปยึดติดกาวไปที่กระจกนิรภัยของภาพวาด
กลุ่มผู้ประท้วงกล่าวว่าพวกเขากำลังประท้วงต่อการใช้งานน้ำมันและการขุดเจาะหาก๊าซ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “การลงโทษประหารชีวิตแก่สังคม”
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผู้ประท้วงกลุ่มนี้เป็นสมาชิกของกลุ่ม Letzte Generation Österreich (Last Generation Austria) และมีความตั้งใจในการโจมตีผลงานภาพ ‘Death and Life’ ของ กุสตาฟ คลิมต์ ที่พิพิธภัณฑ์เลโอโพลด์ (Leopold Museum) ในกรุงเวียนนา เพื่อส่งสารประท้วงต่อรัฐบาลให้ยุติการใช้น้ำมันฟอสซิล
หลังจากที่สาดของเหลวใส่ภาพวาด แม้ว่าภาพวาดจะไม่ได้ความเสียหายใดๆ แต่หนึ่งในผู้ประท้วงถูกผลักออกไปโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ ขณะที่ผู้ประท้วงอีกคนหนึ่งกำลังนำไปยึดติดกาวไปที่กระจกนิรภัยของภาพวาด
กลุ่มผู้ประท้วงกล่าวว่าพวกเขากำลังประท้วงต่อการใช้งานน้ำมันและการขุดเจาะหาก๊าซ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “การลงโทษประหารชีวิตแก่สังคม”

ในคลิปวิดีโอหนึ่งในผู้ประท้วงตะโกนกล่าวว่า
“พวกเรารู้ปัญหานี้มานานกว่า 50 ปี แล้ว พวกเราต้องลงมือทำอะไรบางอย่าง ไม่งั้นดาวดวงนี้จะล่มสลาย”
ส่วนทางทีมงานรักษาผลงานกล่าวว่าภาพวาดนั้นไม่ได้รับความเสียหาย ยกเว้นกระจก และกรอบภาพ เช่นเดียวกันกับกำแพง และพื้น เรื่องนี้ทำให้ ฮานส์-เพเทอร์ วิพพลิงเงอร์ (Hans-Peter Wipplinger) ประธานพิพิธภัณฑ์ออกมากล่าวว่า “การทำลายงานศิลปะไม่ใช่วิธีการในการหลีกเลี่ยงปัญหาทางภูมิอากาศ”
หากเทียบกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่กลุ่มผู้ประท้วงเพื่อสิ่งแวดล้อมเริ่มออกมาโจมตีงานศิลปะกันมากขึ้น มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันว่าในอนาคตเหตุการณ์เช่นนี้คงเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เว้นแต่ว่ารัฐบาลของประเทศจะหยุดสนับสนุนการใช้น้ำมันฟอสซิลกันอย่างจริงจัง
“พวกเรารู้ปัญหานี้มานานกว่า 50 ปี แล้ว พวกเราต้องลงมือทำอะไรบางอย่าง ไม่งั้นดาวดวงนี้จะล่มสลาย”
ส่วนทางทีมงานรักษาผลงานกล่าวว่าภาพวาดนั้นไม่ได้รับความเสียหาย ยกเว้นกระจก และกรอบภาพ เช่นเดียวกันกับกำแพง และพื้น เรื่องนี้ทำให้ ฮานส์-เพเทอร์ วิพพลิงเงอร์ (Hans-Peter Wipplinger) ประธานพิพิธภัณฑ์ออกมากล่าวว่า “การทำลายงานศิลปะไม่ใช่วิธีการในการหลีกเลี่ยงปัญหาทางภูมิอากาศ”
หากเทียบกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่กลุ่มผู้ประท้วงเพื่อสิ่งแวดล้อมเริ่มออกมาโจมตีงานศิลปะกันมากขึ้น มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันว่าในอนาคตเหตุการณ์เช่นนี้คงเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เว้นแต่ว่ารัฐบาลของประเทศจะหยุดสนับสนุนการใช้น้ำมันฟอสซิลกันอย่างจริงจัง