‘กุฎีต้นสน’ มัสยิดเก่าแก่ที่สุดของกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ

11 ธันวาคม 2566 - 06:00

Cubicle-Pine-In-Thonburi-SPACEBAR-Hero.jpg
  • เรื่องราวของ ‘กุฏีต้นสน’ มัสยิดเก่าแก่ที่สุดในย่านกรุงธนบุรีกับตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ถึงความสำคัญของ ‘กุฏีต้นสน’ แห่งนี้ที่มีอายุเกือบ 300 ปี พร้อมทั้งทำไมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับกุฏีแห่งนี้

เข้าเดือนธันวาคมเดือนที่นึกถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยในวันที่ 28 ธันวาคมวันนี้คือวันที่ระลึกการขึ้นของราชย์ของพระมหากษัตริย์ที่กอบกู้อิสรภาพให้กับแผ่นดินไทย  พอดีกับมีงานเมาลิด ที่ กุฎีต้นสน หรือ มัสยิดต้นสน หรือกุฎีใหญ่ (มาจากตั้งอยู่ต้นคลองบางกอกใหญ่) มัสยิดเก่าแก่โบราณของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งอยู่บนฝั่งเมืองธนบุรีและเคยโดดเด่นอยู่ที่คลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวง

Cubicle-Pine-In-Thonburi-SPACEBAR-Photo01.jpg

มัสยิดต้นสนนั้นถ้าว่ากัน ตามความเก่าแก่ก็มีอายุเกิน 200 ปี คาดว่าเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยพระไชยราชาธิราช ที่มีการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมกุฎีต้นสนปลูกด้วยไม้สักยกพื้นมุงหลัวคาด้วยกระเบื้องดินเผา รูปลักษณ์ยังเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมอิสลามจากต่างถิ่น กุฎีต้นสนที่เราเห็นทุกวันนี้เกิดขึ้นในปี 2495 สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและปลูกต้นสนคู่ไว้ที่หน้าประตูกำแพงมัสยิด ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นทางการว่า “มัสยิดต้นสน” ในยุคแรกกุฎีต้นสนเปิดรับพี่น้องชาวมุสลิมที่เดินทางมาถึงเมืองบางกอก ที่เวลานั้นเป็นเมืองท่าเป็นประตูสู่กรุงศรีอยุธยาเคยคล้าคล่ำด้วยชาวต่างประเทศทุกชาติทุกภาษาที่เดินทางมาถึงประเทศไทยทั้งจีน แขก เขมร มอญ ฝรั่ง ทุกคนมาที่บางกอกเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่แผ่นดินสยาม

Cubicle-Pine-In-Thonburi-SPACEBAR-Photo02.jpg

บทบาทของมัสยิดต้นสน เด่นชัดมากขึ้น หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ที่นี่เปิดรับพี่น้องมุสลิมที่มาจากกรุงศรีอยุธยาและทุกทิศทุกทาง ที่ประสบภัยสงครามเข้ามาพำนักอาศัยลงหลักปักฐาน เมื่อกู้อิสรภาพแล้ว พระเจ้าตากสินก็เป็นศาสนูปถัมภกอย่างเต็มพระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและดูแลให้ศาสนาต่างๆอยู่ที่กรุงธนบุรีด้วยความผาสุก

Cubicle-Pine-In-Thonburi-SPACEBAR-Photo03.jpg

กุฎีต้นสน ยังเป็นที่ฉากร่างของบุคคลสำคัญมากมายอาทิ เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุด) หรือเจ้าพระยาจักรีแขก ทหารเอกของพระเจ้าตากสิน ท่านเจ้าพระยาท่านนี้เป็นบรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระมารดาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 

เป็นที่พำนักของจุฬาราชมนตรี 9 ท่าน และจากการที่กุฎีต้นสนใช้เป็นศาสนสถานในช่วงตั้งกรุงธนบุรี ชาวมุสลิมที่อพยพมาทั้งนิกายซุนนี-ชีอะฮ์ ได้ใช้กุฎีต้นสนร่วมกันในการประกอบศาสนกิจ

Cubicle-Pine-In-Thonburi-SPACEBAR-Photo04.jpg

หลังสถาปนากรุงธนบุรีญาติ คนที่เคยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้อพยพมาอยู่ที่เมืองธนบุรี มีทั้งที่อพยพมาจากทางหัวแหลมและแถบคลองตะเคียน มีอาชีพหลักาขายสินค้าทางเรือประเภทแป้งกระแจะ น้ำอบร่ำ น้ำมันหอม เสื้อผ้า รวมทั้งเครื่องใช้ประจำวันและสินค้าที่มาจากต่างประเทศ คลองบางกอกใหญ่เวลานั้นกลับมาคึกคักด้วยแพของคนหลายชาติหลายภาษา ในจำนวนนี้มี “เรือเครื่องเทศ” อาชีพของแขกแพ ที่มาทำแพเป็นที่พักปักหลักผูกลอยอยู่ในน้ำจอดตามลำคลองบางกอกใหญ่เต็มสองฟากฝั่งและลึกเข้าไปจนถึงตลาดพลู ต่อมาจึงได้มีมุสลิมจากภูมิลำเนาอื่นอพยพมาสมทบด้วยก็ยังนิยมอยู่กันในเรือนแพ

Cubicle-Pine-In-Thonburi-SPACEBAR-Photo05.jpg

พอเข้าสู่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสร้าง “มัสยิดบางหลวง” หรือ “กุฎีขาว” ขึ้นที่ฝั่งตรงข้ามระหว่างคลองบางหลวง นอกจากกุฎีขาว สร้างโดยโต๊ะหยี พ่อค้ามุสลิม ยังมีกุฎีแดง ที่ก่อสร้างด้วยไม้เรียกว่ามีสระอาบน้ำละหมาดขนาดเล็ก น่าจะเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจบนฝั่งคลองของมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่บริเวณแพสองฝั่งคลองบางหลวง เมื่อมีผู้คนมากขึ้นจึงย้ายขึ้นบกสร้างชุมชนที่อยู่อาศัยฝั่งตรงข้ามวัดหงส์รัตนารามเรื่อยไปจนถึงคลองบุปผาราม 

กุฎีต้นสนในวันนี้ ยังคงต้องทำงานด้วยความมั่นคงจากความศรัทธาของศาสนิก จะเรียนไม้สัก เปลี่ยนเป็นอาคารก่ออิฐปูนสองชั้นผสมผสานศิลปะอิสลามจากต่างประเทศยังคงความเข้มแข็งศักดิ์สิทธิ์แห่งการเป็นศาสนสถานของพระเจ้าที่มีอายุกว่า 300 ปีบนแผ่นดินเมืองบางกอก

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์