ทุกคนมักคุ้นชินกับคำว่า “มัมมี่” (mummy) ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้เรียกศพในโลงตามบริเวณสถานที่โบราณลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ แต่ทางพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอนกล่าวว่า เราควรมีการใช้คำเรียกที่ดีกว่านั้น
“พวกเรามีซากศพมนุษย์จากทั่วทุกมุมโลก และพวกเราอาจมีคำเรียกที่ต่างออกไปตามสภาพที่ถูกรักษาไว้ อย่างศพที่ห่อหุ้มแบบธรรมชาติ (natural mummies) ในช่วงก่อนยุคราชวงศ์อียิปต์ พวกเราเรียกมันว่าศพที่ห่อหุ้มแบบธรรมชาติ เพราะพวกมันไม่ได้ถูกห่อหุ้มขึ้นมาใหม่” แดเนียล แอนตวน (Daniel Antoine) จากฝ่ายอียิปต์และซูดานในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ กล่าว
“พวกเรามีซากศพมนุษย์จากทั่วทุกมุมโลก และพวกเราอาจมีคำเรียกที่ต่างออกไปตามสภาพที่ถูกรักษาไว้ อย่างศพที่ห่อหุ้มแบบธรรมชาติ (natural mummies) ในช่วงก่อนยุคราชวงศ์อียิปต์ พวกเราเรียกมันว่าศพที่ห่อหุ้มแบบธรรมชาติ เพราะพวกมันไม่ได้ถูกห่อหุ้มขึ้นมาใหม่” แดเนียล แอนตวน (Daniel Antoine) จากฝ่ายอียิปต์และซูดานในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ กล่าว

ทางพิพิธภัณฑ์เสนอว่า แทนที่เราจะเรียกว่า มัมมี่ อยากให้ทุกคนเรียกใหม่ว่า “ซากศพที่ถูกห่อหุ้ม” (mummified remains) เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเหล่านี้เคยมีชีวิต เรื่องนี้เคยเกิดปัญหาขึ้นตอนที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมศพของหญิงชาวอียิปต์ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Irtyru และให้ความเห็นว่า ดูไม่ออกเลยว่าเธอเป็นคนจริงๆ”
อดัม โกลด์วาเทอร์ (Adam Goldwater) ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ อธิบายว่า ในการที่จะจัดแสดงศพของเธอให้ดีขึ้น เขาหวังว่านักท่องเที่ยวจะเห็นเธอเป็นศพคนที่เคยมีชีวิตจริงๆ มากกว่าเห็นเป็นเพียงวัตถุประหลาด อย่างไรก็ตาม คำว่า มัมมี่ ยังคงถูกใช้เรียกอยู่ตามเดิม เพียงแต่อาจมีการใช้ลดน้อยลง และสร้างความตระหนักให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้นว่า มัมมี่ ไม่ใช่ปีศาจหรือเกี่ยวข้องอะไรกับพลังลึกลับอย่างที่เราถูกปลูกฝังมาจากสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ หรือวิดีโอเกม
โฆษกของพิพิธภัณฑ์ยังอธิบายอีกว่า คำว่า มัมมี่ นั้นเป็นคำใหม่ไม่ใช่คำโบราณ และถูกใช้เพื่ออธิบายลักษณะของวัตถุเท่านั้น หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายมากขึ้น มันเป็นแค่คำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น การที่เห็นแก้วกาแฟใบหนึ่งถูกห่อหุ้มด้วยผ้าจนมิดชิด ก็สามารถเรียกว่า มัมมี่แก้วกาแฟ ได้เช่นกัน
อดัม โกลด์วาเทอร์ (Adam Goldwater) ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ อธิบายว่า ในการที่จะจัดแสดงศพของเธอให้ดีขึ้น เขาหวังว่านักท่องเที่ยวจะเห็นเธอเป็นศพคนที่เคยมีชีวิตจริงๆ มากกว่าเห็นเป็นเพียงวัตถุประหลาด อย่างไรก็ตาม คำว่า มัมมี่ ยังคงถูกใช้เรียกอยู่ตามเดิม เพียงแต่อาจมีการใช้ลดน้อยลง และสร้างความตระหนักให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้นว่า มัมมี่ ไม่ใช่ปีศาจหรือเกี่ยวข้องอะไรกับพลังลึกลับอย่างที่เราถูกปลูกฝังมาจากสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ หรือวิดีโอเกม
โฆษกของพิพิธภัณฑ์ยังอธิบายอีกว่า คำว่า มัมมี่ นั้นเป็นคำใหม่ไม่ใช่คำโบราณ และถูกใช้เพื่ออธิบายลักษณะของวัตถุเท่านั้น หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายมากขึ้น มันเป็นแค่คำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น การที่เห็นแก้วกาแฟใบหนึ่งถูกห่อหุ้มด้วยผ้าจนมิดชิด ก็สามารถเรียกว่า มัมมี่แก้วกาแฟ ได้เช่นกัน