กรีกโบราณเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ให้กำเนิดประชาธิปไตย (democracy) ระบบการปกครองที่ถูกใช้งานโดยมนุษย์มาตลอดสองพันปี อย่างน้อยนี่อาจเป็นสิ่งที่พวกเราเคยได้ร่ำเรียนมาในชั้นเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย แต่ความจริงแล้วนั้น เราไม่สามารถกล่าวได้อย่างมั่นอกมั่นใจว่าระบบการปกครองแบบ ‘ประชาธิปไตย’ นั้นมีต้นกำเนิดมาจากกรีกโบราณจริง เพราะปัจจุบันมีนักโบราณคดีและนักวิชาการมากมายกำลังหาต้นตอของระบบการปกครองนี้ตามสถานที่ต่างๆ ที่เก่าแก่กว่ากรีกโบราณ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นภารกิจที่ท้าทาย เหตุผลคือสภาพสังคมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ยากต่อการสืบหาต้นตอสำหรับผู้คนที่ไม่มีบันทึกข้อมูลแบบลายลักษณ์อักษร

ว่ากันว่ากรีกโบราณหยิบการปกครองนี้มาจากพวกฟีนิเชียนพร้อมกับตัวอักษรที่เป็นต้นกำเนิดให้กับตัว A-Z นักวิชาการบางคนกล่าวว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในสังคมมนุษย์ เหมือนที่พวกเขาสามารถรู้วิธีจุดไฟ หรือหาวิธีทางในการหลอมสำริด เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกต่างมีประชาธิปไตยในแบบของตน ชนเผ่าในเยอรมันมีระบบการปกครองนี้แต่ดำเนินภายใต้ผู้นำของเผ่า แม้แต่ในอินเดียที่มีการเลือกผู้ปกครองในหมู่ชนชั้นสูง

กลับมาที่กรีกโบราณ ที่คนส่วนใหญ่ยกเครดิตประชาธิปไตยให้นั้นอาจเป็นเพราะว่าพวกเขาเป็นคนคิดค้นคำศัพท์ที่ใช้เรียกว่าระบบการปกครอง โดยมีต้นกำเนิดมาจากเมืองเอเธนส์ เป็นการผสานระหว่างคำสองคำว่า ‘ผู้คน’ (demos) และ ‘การปกครอง’ (kratos) แปลง่ายๆ คือ การปกครองด้วยกำลังของผู้คน และถ้าดูความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยของกรีกกับปัจจุบันจะพบว่ามันต่างกันมาก อย่างแรกคือขนาดของเมือง ในสมัยก่อนกรีกไม่ได้อยู่รวมกันเป็นประเทศ แต่แยกเป็นเมืองหรือนครรัฐที่มีการปกครองของตัวเอง เรียกว่า ‘โพลิส’ อย่างที่สอง ระบบในการคัดเลือกผู้ปกครอง และอย่างที่สาม ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกมีแต่ผู้ชายเท่านั้น ซึ่งสองเรื่องหลังจะเป็นเรื่องที่เราจะพูดถึงกัน
ระบบการปกครองประกอบด้วย 3 สถาบัน
ก่อนอื่นคือประชาธิปไตยในกรีกโบราณนั้นไม่มีพระราชา นายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี ประชาธิปไตยกรีกโบราณคือการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อโหวตคำตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเมือง ดังนั้น การเมืองจึงอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนชาวกรีก ไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรก็ตาม พวกเขาต้องออกเดินทางไปร่วมการประชุมเพื่อออกเสียงทุกครั้ง และกระทำภายใต้สถาบันที่แบ่งออกเป็น 3 สถาบัน
สถาบันแรกเรียกว่า ‘เอคเครเซีย’ (ekklesia) ผู้กำหนดเขียนกฎหมายและนโยบายการปกครอง เอคเครเซียจะเป็นการประชุมองค์รวมเพื่อมอบคำตัดสินใจกับประเด็นต่างๆ ในนครรัฐ รวมถึงเรื่องการทำสงคราม และการอัปเปหิประชาชนออกจากเมือง
สถาบันที่สอง ‘บูล’ (boule) สภาผู้แทนจากครอบครัวเอเธนส์ทั้งสิบ ครอบครัวหรือกลุ่มละ 50 คน รวม 500 คน พวกเขามีหน้าที่ในการหารือกันเกี่ยวกับกองกำลังทหารเรือและกองกำลังม้า รวมถึงเรื่องการทูต สมาชิกสภาจะรับเลือกด้วยการจับฉลาก (ซึ่งพวกเขามองว่าแฟร์กว่า)
สถาบันที่สาม ‘ดิคัสเทอเรีย’ (dikasteria) ศาลที่ประชาชนใช้โต้แย้งคดีต่อหน้าคณะตุลาการ โดยคณะตุลาการจำนวน 500 คนมาจากการจับฉลากจากประชาชนผู้ชายที่อายุมากกว่า 30 ปี เนื่องจากในกรีกโบราณไม่มีตำรวจ ประชาชนจึงใช้ดิคัสเทอเรียในการตัดสินคดีต่างๆ ภายในเมือง
จากคำพูดของ เฮโรโดโตส (Herodotos) บิดาแห่งประวัติศาสตร์ เมืองเอเธนส์มีประชากรราว 100,000 คน เท่านั้น ไม่รวมทาส และหากเลือกเฉพาะคนที่อายุเกิน 18 ปี จะมีเพียง 10,000 คนเท่านั้นที่สามารถออกเสียงได้ 5,000 คนอาจทำอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว หรืออยู่ในกรมทหารเพื่อปกป้องบ้านเมือง ลองนึกภาพเล่นๆ มันไม่ต่างอะไรกับการเรียกคนทั้งเมืองมารวมตัวกัน ถามความเห็นกับผู้คนว่าพวกเราควรทำแบบ A หรือแบบ B จากนั้นให้ทุกคนยกมือ และนับผลเสียงที่มีมากกว่า
สถาบันที่สอง ‘บูล’ (boule) สภาผู้แทนจากครอบครัวเอเธนส์ทั้งสิบ ครอบครัวหรือกลุ่มละ 50 คน รวม 500 คน พวกเขามีหน้าที่ในการหารือกันเกี่ยวกับกองกำลังทหารเรือและกองกำลังม้า รวมถึงเรื่องการทูต สมาชิกสภาจะรับเลือกด้วยการจับฉลาก (ซึ่งพวกเขามองว่าแฟร์กว่า)
สถาบันที่สาม ‘ดิคัสเทอเรีย’ (dikasteria) ศาลที่ประชาชนใช้โต้แย้งคดีต่อหน้าคณะตุลาการ โดยคณะตุลาการจำนวน 500 คนมาจากการจับฉลากจากประชาชนผู้ชายที่อายุมากกว่า 30 ปี เนื่องจากในกรีกโบราณไม่มีตำรวจ ประชาชนจึงใช้ดิคัสเทอเรียในการตัดสินคดีต่างๆ ภายในเมือง
จากคำพูดของ เฮโรโดโตส (Herodotos) บิดาแห่งประวัติศาสตร์ เมืองเอเธนส์มีประชากรราว 100,000 คน เท่านั้น ไม่รวมทาส และหากเลือกเฉพาะคนที่อายุเกิน 18 ปี จะมีเพียง 10,000 คนเท่านั้นที่สามารถออกเสียงได้ 5,000 คนอาจทำอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว หรืออยู่ในกรมทหารเพื่อปกป้องบ้านเมือง ลองนึกภาพเล่นๆ มันไม่ต่างอะไรกับการเรียกคนทั้งเมืองมารวมตัวกัน ถามความเห็นกับผู้คนว่าพวกเราควรทำแบบ A หรือแบบ B จากนั้นให้ทุกคนยกมือ และนับผลเสียงที่มีมากกว่า
คนที่มีสิทธิ์มีเสียงมีเพียงผู้ชายเท่านั้น
ในสังคมยุคกรีกโบราณ ผู้ชายถือชุดความคิดว่าผู้หญิงนั้นไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยทั้งสิ้น พวกเขามองว่าผู้หญิงควรมีหน้าที่เลี้ยงลูก และทำธุระต่างๆ ที่เกี่ยวกับบ้าน หากเรามองด้วยกรอบความคิดแบบปัจจุบัน นี่คือความไม่เท่าเทียมอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเรามองด้วยกรอบของผู้คนยุคนั้น การแบ่งหน้าที่ชายหญิงเป็นเพียงการกำหนดบทบาทในสังคม อีกนัยหนึ่งชาวกรีกโบราณคิดว่าคนที่เหมาะสมต่อการออกเสียงหรือทำหน้าที่เกี่ยวกับการเมืองควรเป็นคนที่รับใช้ชาติในกรมทหาร ใครก็ตามที่ไม่เคยได้ออกรบหรือรับใช้ชาติไม่ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง
อีกอย่างหนึ่งคือชาวเอเธนส์ไม่อนุญาตให้ทาสมีสิทธิ์มีเสียงเนื่องจากบุคคลที่เป็นทาสนั้นล้วนเป็นชาวต่างชาติ ชาวกรีกจะไม่จับพวกตัวเองเป็นทาสโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นเป็นคงแปลกไปหน่อยที่จะให้ต่างชาติมีสิทธิ์มีเสียงต่อการตัดสินใจเรื่องปัญหาบ้านเมือง
อย่างไรก็ตาม การมอบหน้าที่อยู่บ้านให้กับเพศหญิงอาจฟังดูเป็นหน้าที่จำเป็นเฉพาะเพศที่ปรากฎแค่ในเรื่องการเมือง ซึ่งถ้าเราศึกษาแนวคิดปรัชญาของทั้งเพลโต และอริสโตเติล พวกเขาไม่ได้มองเพศหญิงแค่นั้น แต่มองพวกผู้หญิงคือเพศที่มีอารมณ์แปรปรวน และชักนำเหตุผลอยู่ภายใต้อารมณ์อยู่เสมอ เราไม่มีหลักฐานว่าโสกราตีสคิดเห็นอย่างไรจริงๆ เกี่ยวกับเพศหญิง แต่จากหลักฐานเท่าที่มีตามบันทึกของเซโนโฟน (Xenophon) หรือหนังสือของเพลโตเผยให้เห็นว่า โสกราตีสมองเพศหญิงกับชายเท่ากัน ต่างกันแค่พละกำลัง อย่างไรก็ตามมีประโยคสนทนากล่าวทำนองว่า “เขา (โสกราตีส) คิดว่าหน้าที่การเมืองควรเป็นของผู้ชาย ผู้หญิงควรทำหน้าที่ในบ้านไป”
อย่างไรก็ตาม การมอบหน้าที่อยู่บ้านให้กับเพศหญิงอาจฟังดูเป็นหน้าที่จำเป็นเฉพาะเพศที่ปรากฎแค่ในเรื่องการเมือง ซึ่งถ้าเราศึกษาแนวคิดปรัชญาของทั้งเพลโต และอริสโตเติล พวกเขาไม่ได้มองเพศหญิงแค่นั้น แต่มองพวกผู้หญิงคือเพศที่มีอารมณ์แปรปรวน และชักนำเหตุผลอยู่ภายใต้อารมณ์อยู่เสมอ เราไม่มีหลักฐานว่าโสกราตีสคิดเห็นอย่างไรจริงๆ เกี่ยวกับเพศหญิง แต่จากหลักฐานเท่าที่มีตามบันทึกของเซโนโฟน (Xenophon) หรือหนังสือของเพลโตเผยให้เห็นว่า โสกราตีสมองเพศหญิงกับชายเท่ากัน ต่างกันแค่พละกำลัง อย่างไรก็ตามมีประโยคสนทนากล่าวทำนองว่า “เขา (โสกราตีส) คิดว่าหน้าที่การเมืองควรเป็นของผู้ชาย ผู้หญิงควรทำหน้าที่ในบ้านไป”

ทั้งหมดสรุปได้ว่า ที่เพศหญิงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิ์มีเสียงในการออกความเห็นเกี่ยวกับบ้านเมือง เพราะสังคมกรีกกลัวว่าผู้หญิงจะตัดสินใจด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล และรู้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่เท่ากับผู้ชาย
จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยของกรีกโบราณต่างจากประชาธิปไตยในปัจจุบันไปมากโข ไม่นับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิ์และเสียง ซึ่งเพิ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญในยุคเรืองปัญญา และถูกชูเป็นประเด็นสำคัญทางปรัชญาโดย ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) และจอห์น ล็อก (John Locke) ส่งอิทธิพลให้กับชุดความคิดที่ว่าทุกคนนั้นมีความเท่าเทียมกันและสิทธิ์ทุกประการในการแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้เพื่อก่อร่าง มอบสิ่งดีๆ ให้กับประเทศ และความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกเพศ และทุกชนชั้น
จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยของกรีกโบราณต่างจากประชาธิปไตยในปัจจุบันไปมากโข ไม่นับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิ์และเสียง ซึ่งเพิ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญในยุคเรืองปัญญา และถูกชูเป็นประเด็นสำคัญทางปรัชญาโดย ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) และจอห์น ล็อก (John Locke) ส่งอิทธิพลให้กับชุดความคิดที่ว่าทุกคนนั้นมีความเท่าเทียมกันและสิทธิ์ทุกประการในการแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้เพื่อก่อร่าง มอบสิ่งดีๆ ให้กับประเทศ และความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกเพศ และทุกชนชั้น