มหาตมะ คานธี วีรบุรษ หรือปีศาจ? ผู้นำพาอิสรภาพกับเรื่องราวสุดดำมืดของเขา

2 ต.ค. 2566 - 07:27

  • เผยเรื่องราวสุดดำมืดของ มหาตมะ คานธี ผู้นำอิสรภาพมาให้แก่ชนชาติฮินดู ที่อาจขัดกับบริบทสังคมในปัจจุบัน

gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Hero.jpg
gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Photo V01.jpg

ในเรื่อง Gandhi (1982) เบน คิงส์ลีย์ (Ben Kingsley) สามารถแสดงศักยภาพในบทของ มหาตมะ คานธี ได้อย่างดีเยี่ยม ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งจะให้เครดิตกับคิงส์ลีย์เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ คงต้องยกความดีความงามให้กับ ริชาร์ด แอตทันเบอรัฟ (Richard Attenborough) ผู้กำกับ และ จอห์น ไบรลีย์ (John Briley) นักเขียนบท 

Gandhi เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของ โมหนทาส กรมจันท์ คานธี (Mohan Karamchand Gandhi) นักกฎหมายจากโรงเรียนกฎหมายในลอนดอนที่ภายหลังกลายเป็นนักปฏิวัติด้วยวิธีสันติต่อกรกับอาณาจักรอังกฤษ หรือบริติชราชจนนำไปสู่ชัยชนะในที่สุด เกือบทุกตำราเรียนที่เราเคยได้เรียน มหาตมะ คานธี ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้รักสันติ ปลดแอกนำพาอิสรภาพมาให้กับชนชาติอินเดียจากการกดขี่ของชาวอังกฤษ และคำสอนขึ้นชื่อที่เรียกว่า ‘อหิงสา’ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณธรรมของศาสนาอินเดียว่าด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น

gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Photo V02.jpg
gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Photo01.jpg

ที่กล่าวมาข้างต้นคงเป็นข้อมูลที่พอจำได้จากตำราเรียนเมื่อสมัยมัธยมศึกษา กว่าจะมาเห็นคานธีอีกทีก็คือในวิดีโอเกม Civilization และมีมบนโซเชียลมีเดียที่เผยให้เห็นรูปปั้นคานธีกับดวงตาสีแดงฉาน ในวิดีโอเกม Civilization คานธีถูกสร้างภาพให้กลายเป็นผู้กระหายสงครามในคราบของผู้รักสันติ การสร้างภาพเช่นนี้ไม่ได้ไร้ที่มาที่ไป รวมถึงรูปปั้นคานธีที่เป็นมีมนั้นก็ไม่ได้ถูกทำขึ้นมาเพราะความสนุกเท่านั้น เพราะเรื่องราวชีวิตของคานธีดำมืดกว่าที่คิด มากกว่าสิ่งที่ เบน คิงสลีย์ นำเสนอไว้ในเรื่อง Gandhi เสียด้วยซ้ำ

gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Photo V03.jpg
Photo: Wikimedia

ในหนังสือประวัติศาสตร์/สังคม เช่น Sex and Power ของ ริตา บาเนอร์จิ (Rita Banerji), On Pacificism ของ เดอร์ริก เจนเซน (Derrick Jensen) และผลงานเขียนของคานธี มีเรื่องราวที่น่าสนใจที่สามารถถ่ายทอดความเป็นตัวตนของคานธีได้อย่างชัดเจนอยู่ 3 อย่าง คือ เขาเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติ, เหยียดเพศหญิง และสนับสนุนการล้างฆ่าเผ่าพันธุ์ ซึ่งสรุปได้ทั้งหมด ดังนี้ 

1. คานธีเคยวิพากษ์ว่าชาวยิวไม่ควรต่อต้านการล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาควรฆ่าตัวตายยกเผ่าพันธุ์เพื่อสร้างความละอายให้กับชาวเยอรมัน 

2. คานธีเคยเขียนจดหมายแนะให้ชาวอังกฤษยอมจำนนต่อฝ่ายอักษะ (เยอรมัน) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อให้เป็นการล้างเผ่าพันธุ์ตัวเองก็ตาม 

3. คานธีเหยียดคนผิวดำ เขาไม่ได้มองคนผิวดำในเชิงรังเกียจ แต่เขามองว่าคนผิวดำเป็นเผ่าพันธุ์ที่เกียจคร้าน และล้อนจ้อนไม่มีอารยธรรม  แถมยังป่าเถื่อนอีกด้วย คานธีพยายามพิสูจน์ให้กับชาวอังกฤษว่าชาวอินเดียนั้นสูงส่งกว่าคนผิวดำในประเทศแอฟริกาใต้

gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Photo V04.jpg
Photo: Wikimedia

4. ปฏิเสธไม่ให้ภรรยารับการรักษาทางการแพทย์ เพราะเหตุผลทางศาสนา แต่ตัวเองกลับทำตรงกันข้ามเวลาอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน คานธีไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาตลอดการแต่งงาน เหตุผลคือเขานิยมหญิงสาวมากกว่า นั่นรวมไปถึงหลานสาวตัวเอง และควรนอนเปลือยอยู่ข้างเขาตลอดทั้งคืนด้วย นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าผู้หญิงที่ถูกข่มขืนสูญเสียคุณค่าของการเป็นมนุษย์ 

5. ตอนที่คานธีเดินทางไปแอฟริกาใต้ เขาพบว่าสองผู้ติดตามที่เป็นผู้หญิงถูกลวนลาม เขาแก้ไขด้วยการตัดผมผู้ติดตามทั้งสอง อ้างว่าเป็นการชำระล้างสายตาของผู้มีบาป เขาบันทึกว่าผู้หญิงควรรับผิดชอบทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทางเพศ และยืนยันว่าผู้เป็นพ่อไม่มีความผิดในการฆ่าลูกสาวตัวเองถ้าเป็นการทำเพื่อครอบครัวและชุมชน 

6. เขาเห็นว่าประจำเดือนผู้หญิงเป็นสิ่งสกปรก ทำให้จิตวิญญาณบิดเบี้ยว และมีทัศนคติว่าผู้หญิงจะนำพาทั้งสิ่งที่ดีและความอับอายมาสู่คนที่เป็นเจ้าของ

gandhi-jayanti-hero-or-devil-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: Wikimedia

ทั้งหมดเป็นการกระทำที่สะท้อนทัศนคติของตัวคานธีเอง และเมื่อคนรู้เรื่องนี้เข้าทำให้เขากลายเป็นเหมือนปีศาจในคราบนักบุญ อย่างไรก็ตาม หากมองด้วยมุมมองเชิงสังคม สิ่งที่คานธีกระทำนั้นมีความเป็นชาตินิยมสูง และยังสะท้อนในเรื่องความเชื่อตามจารีตฮินดูอยู่พอสมควร เช่น การมองเรื่องประจำเดือนผู้หญิงเป็นสิ่งสกปรก หรือมุมมองที่มีต่อเพศหญิงสะท้อนให้เห็นสังคมแบบปิตาธิปไตยในแดนภารตะ ดังนั้นแล้วจึงไม่แปลกที่คนยุคสมัยนี้ที่มีค่านิยม จารีต ธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างจากเดิม จะมองคานธีเป็นคนที่มีจิตใจเลวร้าย ส่วนในสายตาของชาวฮินดู เขายังคงเป็นวีรบุรุษที่เชิดชูทั้งอุดมการณ์ทางการเมือง ศาสนา และความเป็นชาติฮินดูด้วยชัยชนะเหนือประเทศอาณานิคม 

หากถามอีกครั้งว่า คานธีเป็นวีรบุรุษหรือปีศาจ เราคงตอบได้ยาก เพราะมีเรื่องของค่านิยมที่แปรเปลี่ยนตามวิถีของมัน ในช่วงของเขามันอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับชาวฮินดู แต่แน่นอนว่าเมื่อเราอยู่กับปัจจุบัน เราเองก็ไม่ควรเชิดชูทัศนคติที่คานธีมีต่อโลก ยกเว้นในเรื่องของ ‘อหิงสา’ และความสงบสุขของโลก

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์