คเณศจตุรถี ไม่ใช่ วันเกิดพระคเณศ

10 ก.ย. 2566 - 06:33

  • เรื่องราวของวันคเณศจตุรถี วันที่ผู้คนทำความเคารพพระคเณศกันเป็นจำนวนมากกับความจริงบางประการที่หลายคนยังสับสนกันอยู่

GANESH-CHATURTHI-IS-NOT-BIRTHDAY-GANAESH-SPACEBAR-Thumbnail
วันที่ 19 กันยายน 2566 ปีนี้ ตรงกับวัน ‘คเณศจตุรถี’ วันที่คนซึ่งเคารพพระคเณศจะบูชาและขอพร มีคนจำนวนมากเข้าใจว่า ‘คเณศจตุรถี’ คือ วันเกิดของพระคเณศ เราจึงไปบูชาท่าน เหมือนที่เราบูชาเทพเจ้าองค์อื่นในวันเกิด ความจริงแล้ว คเณศรจตุรถี ไม่ใช่วันเกิดของพระคเณศ มีความจริงบางอย่างที่เราสับสน  
 
‘คเณศจตุรถี’ จริงๆ แล้ว คือ เทศกาลฉลอง เมื่อเป็นเทศกาลจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด คือประมาณ 10-11 วัน เริ่มจากวันขึ้น 4 ค่ำ ไปสิ้นสุดวันขึ้น 14 ค่ำ ปีนี้ตรงกับวันที่ 18-28 กันยายน 2566
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4tZ2mb4BhJ8Xtrw29uEfkG/37ef9856f240c20e4de2ef5baa1a1a6d/GANESH-CHATURTHI-IS-NOT-BIRTHDAY-GANAESH-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6eb2ueznB96zeJaVnmX34v/9eeaec2e1c263c51575af930630e2810/GANESH-CHATURTHI-IS-NOT-BIRTHDAY-GANAESH-SPACEBAR-Photo02
วันเกิดของพระคเณศ ผ่านมาแล้ว วันเกิดพระคเณศ หนือที่เรียกว่า ‘ศุทธ มาฆจตุรถี’ คือวันขึ้น 4 ค่ำ ในเดือน มาฆะ (ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งต่างจากปฏิทินที่ไทยใช้ไม่มากนัก) เดือนมาฆะ คือ ประมาณกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ในช่วงเวลาวันเกิดของพระคเณศจะมีการฉลองหรือ ‘ชยันตี’ (แปลว่า การฉลองชัย) คนอินเดียที่เป็นชาวฮินดู จะเอาดินผสมดินเหนียว ขมิ้น มาผสมกับเครื่องหอม แล้วปั้นเป็นองค์พระคเณศ นำเครื่องบูชามาบูชา มีขนมโมทกะที่ทำจากงา อาบน้ำนมผสมงา ทำพิธีบูชาครบก็จะนำเทวรูปไปลอยน้ำ คนที่เคารพท่านมากๆ และอยากให้การบูชาบริสุทธิ์จะต้องถือศีล กินเจในช่วงเวลานั้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/38kRcpJh9moAmyJgvQlXfL/db2d1e2705741687f9e181a45cf77e65/GANESH-CHATURTHI-IS-NOT-BIRTHDAY-GANAESH-SPACEBAR-Photo03__1_
แล้วคเณศจตุรถีที่เราทำกันในเดือนนี้คือ ทำอะไร? ย้อนไปในสมัยโบราณ อินเดียกับจีน และไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จะมีพิธีเพื่อแสดงถึงการเริ่มต้นเวลาแห่งการเพาะปลูก การฉลองพระคเณศในเดือนนี้จึงเป็นการบูชา ‘ก่อนการเพาะปลูก’ พระคเณศนั้นเป็นเทพแห่งความสำเร็จ คือ ขัยชนะเหนืออุปสรรคทั้งปวง การบูชาพระองค์คือการขอพรเพื่อให้การเพาะปลูกให้ได้ผลดี มีความสมบูรณ์ บริบูรณ์สำเร็จทุกประการ อีกเรื่องคือพระคเณศ คือ ธาตุน้ำ ถือเป็นการอวยพรให้สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการทำการเกษตรมีความบริบูรณ์สมบูรณ์

คเณศจตุรถีจึงไม่ใช่เทศกาลฉลอง ‘ประสูติ’ แต่เป็นการบูชาเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก ความจริงการบูชาเทพเป็นเรื่องดี แต่การบูชา ถ้าหวังให้เกิดผล ควรบูชาตามหลักการบูชา การบูชาต้องทำให้ถูกต้อง ที่สำคัญ คือ ต้องเข้าใจตามความเป็นจริงว่าเราทำการบูชาในช่วงเวลานั่นโดยมีจุดมุ่งหมายอะไร

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์