ผ่านไปแล้วกลับช่วงเวลาเทศกาลเก้าคืนเก้าวันแห่งนวราตรี ที่เราได้เห็น การปิดท้ายเทศกาลด้วยการแห่พระเป็นเจ้า ที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขกสีลม ที่มีคนมาร่วมงานมากมาย จัดกัน ตั้งแต่เย็นถึงเที่ยงคืน เคยสงสัยมั้ยครับเทวาลัยในกรุงเทพกรุงเทพมหานครจัดงานนวราตรีเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน อย่างที่กรุงเทพ ใกล้กัน วัดแขก อีกเทวาลัย ที่เป็นฮินดูเหมือนกัน จัดงานนวราตรีเหมือนกันแต่ พิธีแตกต่างกัน อย่าง สิ้นเชิง วัดเทพมณเฑียร ไม่มีดนตรีขับ ไม่มีแห่เทพ ไม่มีการตั้งโต๊ะบูชาเทวะรูปไม่มีพิธีร้องรำขับกล่อม ไม่มีคนมารอลากจูงราชรถ ไม่มีการสาดสีเต็มถนน ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

เป็นเพราะสองเทวาลัยมีที่มาแตกต่างกัน ทำให้การฉลองแตกต่างกัน นวราตรี ไม่เหมือนกันที่อินเดียใต้ การฉลองวิชัยทัศมี เป็นการฉลองด้วยที่มาและความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ในอินเดียใต้ รวมถึงภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียย และบางรัฐทางเหนือของอินเดีย การฉลองวิชัยทัศมีในฐานะวันสุดท้ายของทุรคาบูชา เพื่อระลึกระลึกถึงชัยชนะของพระแม่ทุรคา เหนือมหิษาสูร หรือปีศาจควาย พระแม่ทรง ปกป้องและทำนุบำรุงธรรม นี่คือสายวัดแจก

ขณะที่ ทางเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตกของอินเดีย นิยมเรียกเทศกาลนี้ว่า ดุสเซห์รา (Dussehra) หรือ ดาซารา; Dasara, ทศาหรา; Dashahara) และฉลองในฐานะวันสุดท้ายของรามลีบา ที่ระลึกถึงชัยชนะของพระรา เหนือ ราวณะ หรือ ทศกัณฐ์ นี่คือ สายวัดเทพมณเฑียร ที่มาจากอินเดียเหนือ ช่วงท่วงทำนองของพิธีทางเหนือจะ จะเน้นการบูชาพระแม่โดยมีผู้เคารพเข้าร่วมพิธีและมีส่วนในการบูชาร่วมกันกับพราหมณ์ขณะที่อีกสายหนึ่งจะมีพราหมณ์เป็นตัวแทนในการบูชาเทพเจ้าการบูชาพระแม่ก็ยังทำเก้าวันเก้าคืนเหมือนกันเพียงแต่ท่วงทำนองวิธีการแตกต่างกันความเชื่อเป็นความเชื่อเดียวกันดังนั้นการที่เราคนไทยจะไปวัดแขกหรือวัดเทพมณเฑียรก็ไม่แตกต่างกันในเทศกาลนว ราตรีเพียงแต่จงเข้าใจถึงสิ่งที่เราได้เห็นว่าเป็นความงดงามความศรัทธาความเชื่อของแต่ละพื้นที่ในประเทศอินเดียที่มีต่อพิธีนี้

ในคติอินเดียเหนือ ดุชเชห์ร่า หรือ วิชยทัสมิ เป็นวันที่พระรามสังหารอสูรราวณะได้ และยังเป็นวันที่พระแม่ทุรคาเอาชนะมหิงสาสูร เป็นชัยชนะของความดีต่อความชั่วร้าย ในวันนี้ชาวฮินดูจึงนิยมเฉลิมฉลองกันทั่วไป
ทั้งวัดเทพมณเฑียรสมาคมฮินดูสมาช จึงมีการส่งรูปภาพพร้อมคำอวยพร ขอให้ศาสนิกชนทุกท่านมีความสุขความเจริญในชีวิต

นอกจากนี้เทศกาลนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการเตรียมตัวเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งแสง หรือ ดิวาลี ในอีก 12 วันนับจากวิชัยทศมี เทศกาลนี้หลายคนก็รอคอยดีเพราะวัยรุ่นหนุ่มสาวและเด็กเด็กเพราะเป็นเรื่องที่สนุกมีทั้งอาหารการกินเฉลิมฉลองดนตรีและการสาดสีที่สนุกกว่าสีที่สาดในเทศกาลโนราราตรี (จะสังเกตว่านวราตรีนิยมใช้สีแดงในการสาดหรือการอวยพรแก่ผู้มาร่วมพิธีสีแดงย่อมหมายถึงโลหิตและความทุ่มเทเสียสละกล้าหาญของพระเป็นเจ้าที่ได้เอาชนะหมู่มาร ส่วนเทศกาลแห่งแสงเป็นการเฉลิมฉลองด้วยการจุดไฟประทีป และขับกล่อมดนตรีสนุกสนานเป็นอย่างไรไว้จะมาเล่าให้ฟัง
