“ซูต่อซูผ่อซี่หม่อสองห่อใส่ คุณจะเข้าใจหรือไม่ เขาจ้องจะเล่นคุณ”
“ลันวูลี้นู้ไลปูไหลหนุยลามู”
สองประโยคนี้เรียกได้ว่าเป็นประโยคสุดคัลท์พูดฮิตสนุกปากคนไทยไปช่วงนึง ประโยคที่สองอาจเป็นข้อยกเว้น เพราะเป็นวิธีการพูดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่ม LGBTQ+ ส่วนประโยคแรกนั้นเข้าใจว่าอาจเป็นวิธีการสื่อสารกันในคุก? หากเราอ้างอิงตามสิ่งที่คุณต๊ะ ยมทูต มักกล่าวบนโซเชียลของเขาผ่านวิดีโอคลิป
อะไรที่สองประโยคนี้มีร่วมกัน? ภาษาที่พูดกันเฉพาะกลุ่ม? หรือเป็นภาษาที่คิดขึ้นมาเองโดยปราศจากเรื่องราวที่มาใดๆ? จาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองไทย เองก็มีการทวิตด้วยการใช้ภาษาดังกล่าว บอกว่าสิ่งนี้เรียกว่าภาษาลู ส่วนอีกประโยคเรียกว่าภาษาส่อ แต่ถ้าเราสังเกตจริงๆ มันเป็นเพียงการตั้งชื่อจากคำที่ปรากฎบ่อยๆ ในการใช้ภาษา ถ้าถ้า ล.ลิง กับสระอูเยอะก็เรียกภาษาลู ถ้า ซ. โซ่กับสระออเยอะก็เรียกมันว่าภาษาส่อ จริงๆ แล้วนั้นไม่ใช่
สิ่งที่ภาษาลูและภาษาส่อมีร่วมกันคือมีชื่อเรียกว่า ‘พิกลาติน’ (Pig Latin) เป็นปรากฎการณ์ทางภาษาที่มีอยู่ทั่วโลก ไม่จำกัดแค่ในภาษาไทย โดยจุดมุ่งหมายของภาษานี้คือต้องการเป็นโค้ดลับในการสื่อสาร เราจะมาดูที่มาของพิกลาตินว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเรียกว่าพิกลาติน และเกี่ยวอะไรกับหมู
วิธีการสร้างพิกลาตินนั้นง่ายมาก เพียงแค่เพิ่มคำต่อท้ายที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง และย้ายพยัญชนะต้นไปใส่ในคำๆ นั้น จากนั้นเพิ่มพยัญชนะใส่คำต้นโดยอาศัยสระเดิมของคำ ฟังดูอาจเข้าใจยาก แต่ถ้าสังเกตรูปประโยคนี้จะเข้าใจมากขึ้น
“ลันวูลี้นู้ไลปูไหลหนุยลามู”
สองประโยคนี้เรียกได้ว่าเป็นประโยคสุดคัลท์พูดฮิตสนุกปากคนไทยไปช่วงนึง ประโยคที่สองอาจเป็นข้อยกเว้น เพราะเป็นวิธีการพูดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่ม LGBTQ+ ส่วนประโยคแรกนั้นเข้าใจว่าอาจเป็นวิธีการสื่อสารกันในคุก? หากเราอ้างอิงตามสิ่งที่คุณต๊ะ ยมทูต มักกล่าวบนโซเชียลของเขาผ่านวิดีโอคลิป
อะไรที่สองประโยคนี้มีร่วมกัน? ภาษาที่พูดกันเฉพาะกลุ่ม? หรือเป็นภาษาที่คิดขึ้นมาเองโดยปราศจากเรื่องราวที่มาใดๆ? จาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองไทย เองก็มีการทวิตด้วยการใช้ภาษาดังกล่าว บอกว่าสิ่งนี้เรียกว่าภาษาลู ส่วนอีกประโยคเรียกว่าภาษาส่อ แต่ถ้าเราสังเกตจริงๆ มันเป็นเพียงการตั้งชื่อจากคำที่ปรากฎบ่อยๆ ในการใช้ภาษา ถ้าถ้า ล.ลิง กับสระอูเยอะก็เรียกภาษาลู ถ้า ซ. โซ่กับสระออเยอะก็เรียกมันว่าภาษาส่อ จริงๆ แล้วนั้นไม่ใช่
สิ่งที่ภาษาลูและภาษาส่อมีร่วมกันคือมีชื่อเรียกว่า ‘พิกลาติน’ (Pig Latin) เป็นปรากฎการณ์ทางภาษาที่มีอยู่ทั่วโลก ไม่จำกัดแค่ในภาษาไทย โดยจุดมุ่งหมายของภาษานี้คือต้องการเป็นโค้ดลับในการสื่อสาร เราจะมาดูที่มาของพิกลาตินว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเรียกว่าพิกลาติน และเกี่ยวอะไรกับหมู
วิธีการสร้างพิกลาตินนั้นง่ายมาก เพียงแค่เพิ่มคำต่อท้ายที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง และย้ายพยัญชนะต้นไปใส่ในคำๆ นั้น จากนั้นเพิ่มพยัญชนะใส่คำต้นโดยอาศัยสระเดิมของคำ ฟังดูอาจเข้าใจยาก แต่ถ้าสังเกตรูปประโยคนี้จะเข้าใจมากขึ้น

ตามจริงแล้วพิกลาตินมีชื่อเรียกอีกคือฮ็อกลาติน (hog latin) หรือด็อกลาติน (dog latin) เป็นการเรียกการใช้ภาษาลาตินในเชิงขบขัน อารมณ์แบบลาตินแบบหมูหมากาไก่ ซึ่งมีหลักฐานว่าการใช้ภาษาทำนองมีนานก่อนที่เชกสเปียร์ (Shakespeare) จะเกิดด้วยซ้ำ คาดว่าเกิดจากฝีมือของบาทหลวงที่ใช้พูดเพื่อให้สนุกปาก การใช้พิกลาตินยังปรากฎอยู่ในบทละคร ‘Love's Labour's Lost’ ของเชคเปียร์ในปี ค.ศ. 1598 อีกด้วย
สำหรับภาษาอังกฤษหลายคนคงนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ถ้าให้เรียกตามสิ่งที่เรามักเรียกคงเรียกว่า ภาษาเอย์ เช่น คำว่า food จะเป็น oodfay, คำว่า guide จะเป็น uidegay, คำว่า hair จะเป็น airhay เป็นต้น ซึ่งในระยะเวลาต่อมาพิกลาตินถูกใช้เป็นภาษาโค้ด หรือภาษาลับเพื่อให้คู่สนทนารับรู้ และกันไม่ให้คนอื่นร่วมรู้ด้วย
บางแห่งก็มีการใช้พิกลาตินต่างกันไป เช่น ในบทความปี 1866 มีการพูดถึงวิธีการใช้พูดที่เหมือนพิกลาตินคือการคั่นคำใหม่ระหว่างคำให้ดูยืดออกไป "เขาเพิ่มตัวอักษรใหม่เข้าไปในฮ็อกลาตินเพื่อใช้ทำให้พวกแอบฟังสับสน เด็กชายคนนั้นถามเพื่อนว่า ‘Wig-ge you-ge go-ge wig-ge me-ge? (Will you go with me?)' เพื่อนคนนั้นตอบปฏิเสธว่า 'Noge, Ige woge. (No, I won’t)' " การใช้ประโยคในลักษณะนี้ยังปรากฎอยู่ในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของไทย บางครอบครัวมีการใช้ในทำนองเติมคำที่เป็ ค. ควายเข้าไปเพื่อสื่อสารเฉพาะวงผู้ใหญ่ไม่ให้เด็กรู้ เช่น “วันนี้เธอจะไปไหน” จะกลายเป็น “วันคันหนี่คีเธอเคอจะคะไปไคไหน่ไค” เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คนไทยไม่นิยมเรียกภาษาทำนองนี้ว่าพิกลาติน แต่ไปเรียกตามชื่อที่ตั้งมากกว่า เช่น ภาษาลู หรือภาษาคุกอย่างที่กล่าวไปเป็นต้น ปัจจุบันภาษาพูดเหล่านี้เป็นที่นิยมกันเป็นกระแส ปรากฎแม้กระทั่งในสื่อบันเทิงมากมาย จากที่ว่าภาษาลับตอนนี้กลายเป็นว่าไม่เป็นภาษาลับอีกต่อไปแล้ว และกลายเป็นภาษาพูดที่ใช้เพื่อความสนุกสนานแทน
“Costard: Go to; thou hast it ad dungill, at the fingers' ends, as they say.
Holofernes: O, I smell false Latine; dunghill for unguem.”
Holofernes: O, I smell false Latine; dunghill for unguem.”
สำหรับภาษาอังกฤษหลายคนคงนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ถ้าให้เรียกตามสิ่งที่เรามักเรียกคงเรียกว่า ภาษาเอย์ เช่น คำว่า food จะเป็น oodfay, คำว่า guide จะเป็น uidegay, คำว่า hair จะเป็น airhay เป็นต้น ซึ่งในระยะเวลาต่อมาพิกลาตินถูกใช้เป็นภาษาโค้ด หรือภาษาลับเพื่อให้คู่สนทนารับรู้ และกันไม่ให้คนอื่นร่วมรู้ด้วย
บางแห่งก็มีการใช้พิกลาตินต่างกันไป เช่น ในบทความปี 1866 มีการพูดถึงวิธีการใช้พูดที่เหมือนพิกลาตินคือการคั่นคำใหม่ระหว่างคำให้ดูยืดออกไป "เขาเพิ่มตัวอักษรใหม่เข้าไปในฮ็อกลาตินเพื่อใช้ทำให้พวกแอบฟังสับสน เด็กชายคนนั้นถามเพื่อนว่า ‘Wig-ge you-ge go-ge wig-ge me-ge? (Will you go with me?)' เพื่อนคนนั้นตอบปฏิเสธว่า 'Noge, Ige woge. (No, I won’t)' " การใช้ประโยคในลักษณะนี้ยังปรากฎอยู่ในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของไทย บางครอบครัวมีการใช้ในทำนองเติมคำที่เป็ ค. ควายเข้าไปเพื่อสื่อสารเฉพาะวงผู้ใหญ่ไม่ให้เด็กรู้ เช่น “วันนี้เธอจะไปไหน” จะกลายเป็น “วันคันหนี่คีเธอเคอจะคะไปไคไหน่ไค” เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คนไทยไม่นิยมเรียกภาษาทำนองนี้ว่าพิกลาติน แต่ไปเรียกตามชื่อที่ตั้งมากกว่า เช่น ภาษาลู หรือภาษาคุกอย่างที่กล่าวไปเป็นต้น ปัจจุบันภาษาพูดเหล่านี้เป็นที่นิยมกันเป็นกระแส ปรากฎแม้กระทั่งในสื่อบันเทิงมากมาย จากที่ว่าภาษาลับตอนนี้กลายเป็นว่าไม่เป็นภาษาลับอีกต่อไปแล้ว และกลายเป็นภาษาพูดที่ใช้เพื่อความสนุกสนานแทน