‘Hostile architecture’ การดีไซน์ม้านั่งเพื่อสังคม หรือเพื่อเป็นปฏิปักษ์กันแน่?

2 สิงหาคม 2566 - 04:58

get-to-know-unfriendly-chairs-SPACEBAR-Thumbnail
  • ม้านั่งไม่เป็นมิตรถูกสร้างเพื่อกีดกันคนไร้บ้าน เพื่อสร้างพื้นที่ให้ปลอดภัย และควบคุมพื้นที่ให้กับกลุ่มคนเหล่านั้น

  • ม้านั่งไม่เป็นมิตรจัดเป็น hostile architecture พบได้มากในเมืองที่มีปริมาณคนไร้บ้านสูง เช่น ในสหรัฐอเมริกา

  • Hostile architecture ยังสร้างความไม่สะดวกแก่ประชาชนในเมือง เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ จนเกิดการท้วงติงให้ยุติการสร้าง

มีโอกาสไม่มากที่เราจะพบกับม้านั่งสาธารณะที่ออกแบบมาอย่างน่าขัดใจ ตามปกติเรามักเจอกับม้านั่งสาธารณะที่มีลักษณะกว้างพอที่จะเอนหลังนอน  แต่ม้านั่งที่น่าขัดใจที่ว่ากลับออกแบบให้มีแท่ง หรือแง่งอะไรออกมาให้รู้สึกว่าเอนหลังนอนไม่ได้ หรือแบ่งเป็นส่วนๆ ด้วยที่วางแขน ยากต่อการนั่งใกล้ชิดกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วม้านั่งแบบนี้มีชื่อเรียก ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเรียกว่า ไฮโจเบนจิ (排除ベンチ) แปลว่า “ม้านั่งสำหรับกำจัด” ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษดีๆ คงเป็น Exclusion bench แปลว่า “ม้านั่งเพื่อกีดกัน (คน)” บางแห่งเรียกว่า Unfriendly bench หรือ “ม้านั่งไม่เป็นมิตร” เหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะม้านี้ลักษณะนี้ไม่ค่อยเอื้อให้นั่งอย่างสบายอกสบายใจ และมีจุดประสงค์หลักคือ ตั้งใจไว้กีดกันคนไร้บ้านห้ามมานอนในที่สาธารณะ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5no8pjGhABLcDq8QOI1AYR/730498d9715df80974fdcf593d5ab6bd/get-to-know-unfriendly-chairs-SPACEBAR-Photo_V01
Photo: สร้างเพื่อกันคนนั่ง. (Wikimedia)
การออกแบบอย่างไม่เป็นมิตรนี้มีอยู่เกือบทั่วโลก กลายเป็นหนึ่งในการออกแบบมาตรฐานสำหรับพื้นที่สาธารณะมาร่วมหลายสิบปี และเป็นหนึ่งในมาตรฐานระบบอำนวยความสะดวกในเมืองอีกด้วย โดยมีชื่อเรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบเป็นปฏิปักษ์ หรือ Hostile architechture หรือสถาปัตยกรรมแบบแปลกแยก หรือ Exclusionary architecture ซึ่งเป็นการออกแบบเกี่ยวกับผังเมืองที่ถูกพัฒนาเพื่อกีดกันคนไร้บ้านเป็นหลัก เช่น บริเวณที่นั่งมีหนามตะปู, กำแพงที่ตรวจจับปัสสาวะด้วยการใช้แสงยูวี, ม้านั่งห้ามนอน รวมถึงการวางวัตถุเพื่อกีดกันคนไร้บ้านโดยเฉพาะ การออกแบบเช่นนี้มักมีอยู่ในประเทศที่มีประชากรคนไร้บ้านสูง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกัน ประชาชนในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่คนไร้บ้านกลับไม่ค่อยชอบการออกแบบเชิงนี้ โดยให้เหตุผลว่าทำให้ใช้พื้นที่สาธารณะลำบาก ทั้งๆ ที่พื้นที่สาธารณะเป็นของส่วนรวม ส่งผลกระทบโดยตรงไปยังผู้สูงอายุ และผู้พิการ แถมยังมอบทัศนียภาพที่ย่ำแย่อีกด้วย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6L2g9MyBqgNHd4fnBtVAVW/56d9f377868332cdd01f434dcd67b20c/get-to-know-unfriendly-chairs-SPACEBAR-Photo01
Photo: พื้นสร้างเพื่อกันคนไร้บ้านนอน. (Wikimedia)
สหรัฐฯ มีวิธีการไล่คนไร้บ้านที่แตกต่างกันไป อย่างในปี 2013 ร้านหนังสือแสตรนด์ (Strand Bookstore) ในกรีนวิชวิลเลจ นิวยอร์ก มีการติดตั้งสปริงเกอร์ฉีดน้ำ กรณีมีคนไร้บ้านใช้พื้นที่แถวนั้นเพื่อเป็นที่หลับนอน หรือในปี 2019 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในพอร์ตแลนด์ โอเรกอน มีการติดตั้งสัญญาณเสียงไว้ใช้ไล่คนไร้บ้าน (แต่ภายหลังถูกเตือนว่าละเมิดกฎของเมือง) จากสถิติ ในนิวยอร์กนั้นมีจำนวนคนไร้บ้านประมาณ 70,000 คน โดย 5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอาศัยอยู่ข้างทาง มีพื้นที่สาธารณะกว่า 550 แห่ง ออกแบบด้วย Hostile architecture  

อย่างไรก็ตาม โทนี เวอร์นัล (Tony Vernall) ประธานอาวุโสที่ทำหน้าที่สร้างบ้านสำหรับคนไร้บ้านกล่าวว่า “การออกแบบด้วย ‘ดีไซน์ไม่เป็นมิตร’ ทำให้คนไร้บ้านไม่มีที่หลับนอน” เขาให้เหตุผลว่าโดยทั่วไปแล้วคนไร้บ้านไม่ชอบนอนในพื้นที่อยู่อาศัยเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยเท่ากับการนอนในที่สาธารณะ นั่นคือสาเหตุที่ในช่วงปี 1990 สหรัฐฯ มีนโยบายในการเอาเก้าอี้สาธารณะออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้คนไร้บ้านมาพักพิง ทั้งหมดนี้นำไปสู่คำถามว่า “คนไร้บ้านไม่ใช่ประชาชนหรือ?” และ “อะไรที่คือมาตรวัดคนที่สมควรใช้พื้นที่สาธารณ?” 

หลังมีกระแสนี้ทำให้รัฐบางรัฐ หรือบางประเทศ มีการทำพื้นที่ให้ประชาชนได้กลับมาใช้ม้านั่งแบบปกติเหมือนเดิม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงคนส่วนใหญ่ที่อาจจำเป็นต้องใช้เช่นกัน บางคนอาจไม่ได้หลับไม่ได้นอน และต้องการใช้ม้านั่งเพื่อนอนพักกลางวันระหว่างวัน ส่วนกรณีของคนไร้บ้านอาจต้องมีการตักเตือนตามแต่ละท้องที่ เพราะท้ายที่สุดพวกเขาก็คือมนุษย์ และเป็นประชาชนที่เข้าถึงระบบอำนวยความสะดวกของเมือง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2owhz22aOHg3ICOO5b2uW8/5b7d49e61213b4bd285bbe3bd6b27be9/get-to-know-unfriendly-chairs-SPACEBAR-Photo_V02
Photo: ม้านั่งแห่งเมืองฟูกุอิ. (Reddit)
ในทางกลับกัน ประเทศญี่ปุ่นที่เคร่งครัดเรื่องระเบียบเมือง มีการใช้ดีไซน์นี้เกือบทุกเมือง แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีคนไร้บ้านน้อยที่สุดประเทศหนึ่งก็ตาม แต่เพื่อความเรียบร้อย ปราศจากคนนอนพร่ำเพรื่อ ทั้งจากการเมาก็ดี หรือนอนค้างคืนก็ดี เพื่อความปลอดภัย ญี่ปุ่นจึงปรับใช้ม้านั่งและพื้นที่อื่นๆ ด้วยดีไซน์นี้กันอย่างแพร่หลาย ล่าสุดมานี้เมืองฟูกุอิที่ขึ้นชื่อเรื่องฟอสซิลไดโนเสาร์ ยังมีการออกแบบม้านั่งสาธารณะด้วยรูปร่างไดโนเสาร์ แต่ไม่ลืมที่จะออกแบบให้หลังของไดโนเสาร์ไว้ใช้เป็นที่กั้นระหว่างม้านั่งเพื่อกันคนเอนหลังนอน ตอกย้ำให้เห็นว่าการออกแบบแบบ Hostile architecture ยังคงนิยมอยู่ในประเทศญี่ปุ่น แต่ถึงกระนั้นญี่ปุ่นก็ยังมีการคิดเผื่อประชาชนอย่างผู้สูงอายุ และผู้พิการ มีการออกแบบพื้นที่เพื่อจุดนี้โดยเฉพาะ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/46UBo0Ntk568FsXFivowAG/ee33544416540ba75718ee589ac64f03/get-to-know-unfriendly-chairs-SPACEBAR-Photo02
Photo: เหล็กติดมุมเพื่อกันคนเล่นสเก็ตบอร์ด. (Wikimedia)
สำหรับประเทศไทยเองนั้นน้อยนักที่จะพบเจอ Hostile architecture เรื่องนี้คงเป็นแค่การสมมติฐานว่าประเทศไทยมีประชากรที่เป็นคนไร้บ้านกระจุกเป็นพื้นที่ พร้อมกับมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ การที่พบเห็นคนไร้บ้าน (เทียบกับสหรัฐฯ) นั้นน้อยมาก และสามารถอาศัยแรงจาก รปภ. ในการห้ามปรามได้ มองอีกแง่หนึ่ง เรื่องนี้อาจสะท้อนถึงนิสัยใจของชาวไทยที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากกว่า และน้อยนักที่จะเจอความเดือดร้อนจากคนไร้บ้าน ขณะที่คนไร้บ้านในสหรัฐฯ นั้นค่อนข้างดื้อดึง และบางทีก่ออาชญากรรมได้ทุกเมื่อ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์