ความตายของโสกราตีส คดีโบราณที่ยังคงสะท้อนความอยุติธรรมได้อย่างดี

20 ก.ค. 2566 - 06:38

  • ย้อนรอยดูคดีโสกราตีส การสั่งประหารชีวิตนักปรัชญาคนสำคัญของกรีกโบราณ ที่ยังเสนอภาพความอยุติธรรมของอำนาจรัฐได้อย่างดี

good-men-have-no-stance-in-politics-SPACEBAR-Thumbnail
ย้อนกลับประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล มีนักปรัชญากรีกโบราณนามว่า โสกราตีส ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปรัชญาที่สำคัญแรกๆ ของวงการปรัชญาตะวันตก และเป็นคนที่เรียกได้ว่า ‘กล้าท้าทายออกไปในสังคม เพื่อถามคำถามกับชาวเมืองเอเธนส์’ คำถามยอดฮิตของเขาคือ ‘ความยุติธรรมคืออะไร’ เขาพยายามหาผู้ที่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ เพื่อจะได้รู้ว่าชาวเมืองเอเธนส์เข้าใจคำถามนี้อย่างถูกต้อง 
 
โสกราตีสเป็นคนช่างถาม เขาไม่ชอบตอบ จึงเป็นที่มาของประโยค ‘I know that I know nothing‘ เขามักจะทำตัวไม่รู้อยู่เสมอ แต่พยายามเติมเต็มความรู้จากผู้คนรอบข้าง ถึงเขาจะไม่ชอบตอบ แต่วิธีการของเขาคือการเอาคำตอบของคู่สนทนามาถามแย้งกันเองหากพบความย้อนแย้ง (เรียกว่า Socratic Dialectic) ทั้งนี้เพื่อที่เฟ้นหาคำตอบที่ดีที่สุด
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4XWWQZQCLAEfZGAlkrCit1/bbd39c13220695a73db7af87993265eb/good-men-have-no-stance-in-politics-SPACEBAR-Photo01
Photo: Wikimedia
เป็นที่รู้กันว่าเมืองเอเธนส์เป็นที่มาของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ตัวโสกราตีสเองจริงๆ แล้วไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรนัก เพราะเขามองว่าประชาธิปไตยจะใช้งานได้ดีก็ต่อเมื่อชาวเมืองมีการศึกษาที่ดี หากชาวเมืองไร้ซึ่งการศึกษา หรือแม้แต่ตอบคำถามเรื่องความยุติธรรมไม่ได้มาลงคะแนนเสียง กิจการบ้านเมืองจะถูกนำด้วยกลุ่มคนที่โง่เขลา พารัฐล่มจม ดังนั้น เท่าที่หลักฐานบันทึกโสกราตีสไม่เคยตอบว่าการปกครองแบบไหนดีที่สุด แต่สิ่งนี้เองที่ทำให้เขาประสบปัญหาในภายหลัง 
  
โสกราตีสถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษ ข้อหาทำให้เยาวชนชาวเอเธนส์เสื่อมเสีย แน่นอนว่าโสกราตีสสามารถตอบโต้ผู้พิพากษาได้ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถชนะเสียงส่วนมาก (ที่ต้องให้โสกราตีสรับโทษ) ได้อีกอยู่ดี ข้อหาของเขาคือ ‘ทำให้เยาวชนเสียหาย’ โดยศาลมองว่าโสกราตีสยัดเยียดความเชื่อที่ต่างจากขนบให้กับเยาวชน ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองการปกครอง เรื่องที่ไม่เชื่อในเทพเจ้า พูดง่ายๆ ว่าโสกราตีสเหมือนเป็นคนหัวก้าวหน้าในสมัยนั้นที่รัฐมองว่าเก่งเกินหน้าเกินตา แถมยังทำให้เยาวชนต้องโตมาแตกต่างจากขนบธรรมเนียมเดิมสอนความเชื่อผิดๆให้เยาวชน สร้างความวุ่นวายในเมือง ปฏิเสธต่อเทพเจ้า และไม่สนับสนุนประชาธิปไตย คิดว่าโสกราตีสเข้าข้าง 30 ทรราช ซึ่งเป็นคณาธิปไตยของชาวสปาตาร์ที่ปกครองเมืองเอเธนส์เมื่อปี 404 ก่อนคริสตกาล (จากหนังสือ The Republic เผยให้เห็นความคิดว่าโสกราตีสอาจฝักใฝ่การปกครองด้วยคนๆ เดียว เนื่องจากบ้านเมืองเต็มไปด้วยคนที่โง่เขลา ซึ่งนักวิชาการบางท่านเสนอว่าอาจเป็นความคิดของเพลโตที่สอดแทรกเข้าไปในงาน)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6MghocjSi534E8E3fn7v8j/58637a4d1420c64c36a74abbe1fd5e37/good-men-have-no-stance-in-politics-SPACEBAR-Photo02
Photo: Wikimedia
ในเรื่องนี้ เพลโต ศิษย์ของโสกราตีสรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาก ไม่เฉพาะเรื่องที่อาจารย์ของเขาเสียชีวิต แต่เป็นเรื่องระบบการปกครองที่เป็นอยู่นี้ด้วย นั่นทำให้เขาเขียนเรื่อง The Republic ขึ้นมา เพื่ออธิบาย ชี้แจงว่าสังคมและการเมืองควรเป็นแบบไหน อีกทั้งนำเสนอการนิยามเรื่องความยุติธรรม หรือเทียบความดีและไม่ดีระหว่างผู้ปกครองที่เห็นแก่ตัวและไม่เห็นแก่ตัว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่า ‘คนดีอยู่ในสังคมไม่ได้’ 
  
จาก 300 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลง ในระยะเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา มีคนอย่างโสกราตีสมากมาย แต่ก็ไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ ทีนี้เราควรตั้งคำถามกับตัวเองและกับสังคมว่า สังคมที่เราอยู่มันดีแล้วหรือ และสังคมมอบอะไรให้กับเราบ้าง หรือแม้กระทั่ง สังคมได้มอบความยุติธรรมให้แก่พวกเราแล้วหรือยัง? แน่นอนว่าเรื่องราวของโสกราตีสอาจเป็นเรื่องล้าสมัย และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่เผยให้เห็นถึงความโสมมของระบบยุติธรรม ความไม่เป็นธรรมที่ไม่คล้อยตามยุคสมัย ในโลกที่ควรเต็มไปด้วยความซิวิไลซ์ ทำไมบางประเทศถึงยังมีความอยุติธรรมเกิดขึ้นไม่ต่างจากโลกยุคเก่า?

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์