ภาพวาดกราฟิตี้ แท้จริงคือความหวังสุดท้ายของคนที่ไม่มีอะไรจะสู้

29 มีนาคม 2566 - 06:15

graffiti-the-act-of-rebel-for-a-good-cause-SPACEBAR-Thumbnail
  • กราฟิตี้ไม่จำเป็นต้องสวยงาม หากมองข้ามเรื่องกฎหมายไป จะเห็นว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของมัน คือการส่งสารถึงสาธารณชนให้ตระหนักรู้ถึงข้อเรียกร้องทั้งเป็นธรรมและไม่เป็นธรรมของคนในสังคม

Graffiti is one of the few tools you have if you have almost nothing. - Banksy

กราฟิตี้คืออาวุธที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่อย่าง ของคนที่ไม่เหลืออะไรอีกแล้ว

งานศิลปะของแบงก์ซี (Banksy) ไม่เคยเน้นแสดงถึงความสวยงามเป็นหลัก เราไม่เคยเห็นงานของเขาใช้เทคนิคสีที่งดงามสมจริงอะไรขนาดนั้น นั่นเป็นเพราะว่าสิ่งที่ทำให้เขาโด่งดังนั้นไม่ใช่เรื่องพวกนั้น แต่เป็นการสะท้อนเล่นประเด็นและเสียดสีสังคมที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนั้น อย่างล่าสุดที่ผ่านมาผลงานของเขาปรากฎอยู่ตามกำแพงและซากปรักหักพังของเมืองในประเทศยูเครน เพื่อแสดงออกถึงความรุนแรงของกองกำลังรัสเซีบที่กำลังบุกรุกรานยูเครนอย่างบ้าคลั่ง 

 
เราอาจเห็นว่ากราฟิตี้เป็นขยะศิลปะบนท้องถนนที่ไม่ได้สื่อหรือมีนัยยะอะไร เป็นเพียงแต่ความคะนึกคะนองของกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการปลดปล่อยความหุนหันพลันแล่นนั้นออกมา ซึ่งอันที่จริงแล้วกราฟิตี้อาจมีเป้าหมายหลายอย่าง (หรืออาจมากกว่าที่เราคิด) หนึ่งในนั้นคือเป็นการสื่อถึงข้อความบางอย่างของคนบางกลุ่มในสังคม
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3O8EOPh6LCzZVqI7DJiJiT/21820db37f6e3e38458ecfa79d9a32a4/graffiti-the-act-of-rebel-for-a-good-cause-SPACEBAR-Photo01
Photo: AFP
งานกราฟิตี้ (graffiti) คือ การพ่นสีบนกำแพงเป็นตัวอักษรต่างๆ หรืออาจเป็นการเขียนด้วยการพ่นสี และมีการออกแบบลายอักษรให้มีความโดดเด่นเฉพาะตัว บางคนเรียกงานกราฟิตี้ว่าเป็น ‘ศิลปะแห่งการปลดปล่อยอารมณ์’ เพราะจุดประสงค์หลักของกราฟิตี้คือการเขียนเพื่อระบาย หรือเขียนเพื่อแสดงสัญญะให้กับสังคม  
  
งานกราฟิตี้นั้นจะต่างจาก งานสตรีทอาร์ต (street art) ที่แม้จะเป็นการพ่นสีบนกำแพงเช่นกัน แต่มันเป็นการพ่นสีเป็นลวดลายงานศิลปะเน้นรูปทรง ตัวละคร เหมือนงานศิลปะทั่วไปที่เปลี่ยนจากผ้าใบ หรือกระดาษ มาเป็นกำแพง อย่างไรก็ตาม ประเภทงานทั้งสองอย่างก็มีจดประสงค์เป็นภาพเบลอๆ เชื่อมติดเข้าด้วยกัน จะกราฟิตี้หรือสตรีทอาร์ตล้วนส่งสารถึงกันได้ทั้งนั้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3PBLXZXKMKtbGv78VJbgwW/f685c815f4509d8907e99911220eb086/graffiti-the-act-of-rebel-for-a-good-cause-SPACEBAR-Photo02
Photo: AFP
เราสามารถพบเห็นสตรีทอาร์ตในกรุงเทพฯ ได้บางพื้นที่ เช่น บริเวณสะพานเหล็ก ใกล้เมกาพลาซ่า พื้นที่ส่วนกลางใกล้สถานีบีทีเอสราชเทวี หรือที่อื่นๆ อีก เช่น ซอยเจริญกรุง ใกล้ริเวอร์ซิตี้, ริมคลองแสนแสบ ซอยเกษมสันต์, คลองโอ่งอ่าง เป็นต้น ซึ่งในแต่ละที่มักจะเป็นสถานที่ที่จัดให้สำหรับทำงานสตรีทอาร์ตโดยเฉพาะ   
  
ส่วนงานกราฟิตี้จะพบเห็นทั่วไปตามเมือง ไม่ว่าจะเป็นตึก อาคาร ตรอก หรือซอกซอย คนทั่วไปมักไม่ค่อยชอบงานประเภทนี้ เพราะงานกราฟิตี้มักรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ รวมถึงส่วนตัว โดยไม่ได้รับอนุญาต หากว่าด้วยกฎหมายแล้ว การขีดเขียนใดๆ ก็ตามบนพื้นที่สาธารณะนับว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย 
 
ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ปีพุทธศักราช 2535 มาตราที่ 12 “ห้ามมิให้ผู้ใดขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี  หรือทำให้ปรากฎด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ ที่กำแพงที่ติดกับถนน บนถนนที่ต้นไม้หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่อยู่ติดกับถนนหรืออยู่ในที่สาธารณะ เว้นแต่เป็นการกระทำของราชการส่วนท้องถิ่น” เพราะฉะนั้นแล้วการพ่นสีบนกำแพง ตามหลักคือเป็นสิ่งผิดกฎหมายที่ไม่ควรทำ แต่น่าสงสัยว่าทำไมยังมีคนบางกลุ่มรู้สึกอยากพ่นสีบนกำแพงทั้งๆ ที่เป็นเรื่องไม่ควร
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6gGFqTyurMEgpAAsMjzYlf/d00d2697e2d99d57ebe96db96d40f065/graffiti-the-act-of-rebel-for-a-good-cause-SPACEBAR-Photo03
Photo: AFP
ในหลายๆ เหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงสิ่งแวดล้อม หรือเรียกร้องความเป็นธรรม มักจะเป็นงานกราฟิตี้อยู่เสมอ กราฟิตี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง การต่อต้าน และเรียกร้องให้ผู้คนเห็นดีเห็นชอบ คติเช่นนี้แฝงอยู่ในงานของ Banksy รวมถึงศิลปินคนอื่นๆ ที่พยายามสื่อข้อความด้วยภาพและลวดลายขีดเขียน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/74wbe6s4WTqGKLvqm0h8jM/969b8befe2dbbefb7fc65e805effa156/graffiti-the-act-of-rebel-for-a-good-cause-SPACEBAR-Photo04
Photo: AFP
สิ่งที่ทำให้ศิลปินหรือกลุ่มคนหันมาพ่นสีเพื่อประท้วง เป็นเพราะพื้นที่สาธารณะเป็นที่พื้นที่ที่ทุกคนสามารถรับรู้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่สำคัญ เพราะสามารถเรียกร้องให้คนหันมาสนใจได้มากที่สุด อย่างกรณีกลุ่มผู้ประท้วง Just Stop Oil ที่ออกมาทำลาย (จริงๆ คือสร้างจุดสนใจ) งานศิลปะชื่อดังตามพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ผู้ประท้วงทราบดีว่างานศิลปะไม่เสียหายจริง และสามารถบูรณะได้ตามปกติ เช่นเดียวกันกับกำแพงตามอาคารที่สามารถทาสีทับ หรือทำความสะอาดได้เช่นกัน  
 
จากหลายๆ เหตุการณ์ทำให้เราเข้าใจได้ว่าผู้ประท้วงหลายๆ กลุ่มมักทำทุกวิธีทางเพื่อให้คนสนใจในทางที่สันติที่สุดแล้ว และในเมื่อไม่มีใครสนใจ สิ่งที่พวกเขาทำได้คือการวาดลวดลายบนพื้นที่สาธารณะ และดูเหมือนว่าการกระทำเช่นนั้นจะเห็นผลได้ดีที่สุด
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2Lq4SEzmzfWDDZD0LEI4TZ/009a1a54c21203626679057641c7ffcf/graffiti-the-act-of-rebel-for-a-good-cause-SPACEBAR-Photo05
Photo: AFP
หนทางการแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ไม่มีอะไรไปมากกว่าการที่ผู้มีอำนาจควรออกมารับฟัง เห็นใจ รับรู้ และหาทางแก้ไขไปร่วมกัน การพูดคุยและประนีประนอมกันคือสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์สองกลุ่มควรพึงกระทำ เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อใดก็ตามที่มีกลุ่มคนมาพ่นสีกำแพงประท้วง นั่นหมายความว่าปัญหาถูกเพิกเฉยมานานมากพอ และพวกเขาอดทนอดกลั้นกันจนมาถึงขีดสุดแล้ว

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์