ส่องจุดเริ่มต้น กับการอยู่จุดสูงสุดของวัฒนธรรมดิสโก้

8 ธ.ค. 2566 - 09:35

  • ดิสโก้ เป็นวัฒนธรรมการเที่ยวกลางคืนที่โด่งดังในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1970s ที่ส่งอิทธิพลไปทั่วโลก ก่อให้เกิดแนวดนตรีมากมาย รวมถึงมีการสร้างหนัง และเป็นหนึ่งในกระแสแฟชั่น

highest-and-lowest-time-of-disco-music-SPACEBAR-Hero.jpg

หลายคนอาจเข้าใจว่าเพลง September ของ Earth Wind & Fire คือตัวอย่างที่ดีของเพลงดิสโก้ ซึ่งก่อนอื่นคงต้องบอกกันตรงนี้ว่า ‘ดิสโก้’ นั้นไม่ใช่แนวดนตรี แต่เป็นวัฒนธรรมการเที่ยวอย่างหนึ่งที่เรืองรองในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970s โดยการเที่ยวนี้ประกอบด้วยการเที่ยวตามคลับต่างๆ ที่ส่งอิทธิพลไปทั้งด้านแฟชั่น สังคม ภาพยนตร์ และสถานที่บันเทิงอีกมาก

highest-and-lowest-time-of-disco-music-SPACEBAR-Photo01.jpg

สำหรับใครหลายคนในยุคนี้อาจนึกถึงลูกบอลดิสโก้ และท่าเต้น แค่นั้น ทั้งที่จริงๆ แล้ววัฒนธรรมดิสโก้มีความยิ่งใหญ่มากกว่านั้น มันเป็นเหมือนกับการฟื้นคืนความหรูหรา และความสนุกสุดเหวี่ยงจากวงปาร์ตี้ยุค 1920s ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในปี 1970s 

เราจะมาส่องจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมดิสโก้ว่ามีจุดเริ่มต้นขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมถึงเป็นวัฒนธรรมการเที่ยวที่อยู่จุดสูงสุดอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็แผ่วลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน และในปัจจุบันนั้นอิทธิพลของดิสโก้นั้นมอบอะไรให้กับผู้คนบ้าง 

Dance Music เป็นเหตุ 

คนชอบนึกภาพว่าดิสโก้ต้องมีจุดกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาแน่ๆ ซึ่งความจริงแล้วนั้นก็ไม่เชิง เพราะจุดเริ่มต้นจริงๆ มาจากดนตรีแนวเต้น หรือ Dance Music ที่เริ่มก่อตัวมาในประเทศอังกฤษ ในยุคนั้นดนตรีแนวเต้นยังถูกเรียกว่าเป็นแนวป๊อป หรือป๊อปร็อก ที่พัฒนามาจากดนตรีแนวร็อกแอนด์โรล อย่างที่รู้กันว่าอังกฤษเป็นบ่อกำเนิดของวงดนตรีร็อกแอนด์โรลในตำนาน เช่น The Beatles เป็นต้น

ต่อมาในช่วงปี 1970 ดนตรีร็อกแอนด์โรงถูกพัฒนาต่อให้กลายเป็นเพลงที่มีความสนุกสนาน เต้นง่าย และติดหู ที่เด่นๆ ดังๆ ในยุคนั้นมีวงอย่าง ABBA, Bee Gees หรือศิลปินอย่าง Baccara พอกระแสเพลงแนวนี้โด่งดังขึ้น ก็มีวงต่างๆ เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และหยิบยืมกลิ่นอายดนตรีอาร์แอนด์บี ฟังก์ และลาติโน มาผสมผสานกัน จนหลายเป็นเพลงแนวดิสโก้ที่เราคุ้นหูกัน เกิดเป็นวง Boney M., Earth Wind & Fire, Sister Sledge, The Trammps และ The Village People เป็นต้น

highest-and-lowest-time-of-disco-music-SPACEBAR-Photo02.jpg

ความฮิตกระจายสู่คลับ 

ว่ากันว่าดิสโก้เธค หรือคลับ มีจุดเนิดมาตั้งแต่ปี 1940s โดยเริ่มมาจากคลับที่เต้นเพลงแจ๊สสวิง (Swing) ก่อนที่จะพัฒนากลายมาเป็นเพลงแนวบลูส์ที่มีจังหวะน่าโยก  

ตัดภาพมาที่วัฒนธรรมดิสโก้ที่เริ่มพัฒนาและก่อร่างจริงๆ ในคลับต่างๆ ตามเมืองใหญ่ๆ ซึ่งในแต่ละคลับจะมีดีเจ หรือคนเปิดเพลง มารับตำแหน่งเปิดเพลงให้คลับนั้นเกิดความครึกครื้น จุดเด่นของคลับดิสโก้ คือดีเจมักจะนำเพลงแนวเต้นมาเปิด และทำการมิกซ์เพลงให้มีความโดดเด่นเฉพาะตัว  

คลับดิสโก้ หรือดิสโก้เธค จึงกลายเป็นสถานบันเทิงที่มาแรงมากในยุคนั้น ประจวบเหมาะกับที่เป็นช่วงขาขึ้นของวงการแฟชั่นที่กำลังฮิตการออกแบบคอลเลกชันแบบระยิบระยับผสานความโก้หรู สถานท่องเที่ยวจึงมีการตกแต่งด้วยธีมของแสงที่วูบวาบไปมา ไหนจะมีเรื่องเทคโนโลยีแสงสีที่เพิ่งเข้ามา เลยทำให้ทุกอย่างผสมกันอยู่ในคลับ เกิดเป็นดิสโก้เธคอย่างที่เรารู้จักกัน ส่วนท่าเต้นจากที่เป็นการเต้นตามเพลงสวิง ก็ถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาเป็นท่าเต้นเหวี่ยงตัวแบบดิสโก้ โดยอิงท่าเต้นจากท่าเต้นลีลาศ และการเต้นบั๊ม

highest-and-lowest-time-of-disco-music-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: จอห์น ทราโวลตา ในคลับ Studio 54. Photo: Studio 54 /Facebook

คลับที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากในสหรัฐอเมริกา เช่น Crisco Disco, The Sanctuary, Leviticus, Artemis, The Library เป็นต้น ที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้คือ Studio 54 ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งรวมตัวของบุคคลที่มีชื่อในสังคมไม่ว่าจะเป็น ดารา นางแบบ นักร้อง ไปจนถึงนักการเมือง 

Studio 54 ตั้งอยู่ในเขตมิดทาวน์ แมนฮัตตัน ถูกขนานว่าเป็นคลับที่ดีที่สุดในโลก และเป็นคลับที่ทำให้วัฒนธรรมดิสโก้โด่งดังไปทั่วโลกเช่นกัน ก่อตั้งโดย สตีฟ รูเบล (Steve Rubell) และเอียน เชรเกอร์ (Ian Schrager) อย่างไรก็ตาม คลับ Studio 54 ยังมีภาพจำของปาร์ตี้ที่มั่วสุมไปด้วยเซ็กส์ และยาเสพติด  

ขยายอิทธิพลสู่วงกว้าง สู่ยุคตกต่ำ 

กระแสฮิตดิสโก้จุดประกายให้นักทำหนังหันมาทำหนังเกี่ยวกับดิสโก้กัน ซึ่งมีอยู่สองเรื่องเด่นๆ คือ Saturday Night Fever (1977) และ Thank God It's Friday (1978) ที่ปลุกกระแสวัฒนธรรมดิสโก้ให้กระจายไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ที่มีดิสโก้เธคชื่อดังอย่าง The Palace

highest-and-lowest-time-of-disco-music-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo: Photo: IMDb

เมื่อมีการกระจายตัว และแบ่งกิ่งก้านสาขามากขึ้น กลุ่มผู้ฟังจึงเกิดตัวเลือกมากขึ้น อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ต่อต้านดิสโก้ที่ริเริ่มโดยกลุ่มฟังเพลงร็อก พร้อมกับมีการทำเสื้อยืดพิมพ์ว่า “Disco Sucks” ดนตรีของ ร็อด สจ๊วต (Rod Stewart) และ เดวิด โบวี (David Bowie) ที่ผสมความเป็นดิสโก้เข้าไปถูกหาว่าเป็นดนตรีล้าสมัย ช่วงนี้เองที่วงดนตรีร็อกถือกำเนิดขึ้นทั้งแนวเฮฟวีร็อก และแนวพังก์ ทำให้ดิสโก้เสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็วในช่วงปี 1980s อย่างไม่ทันตั้งตัว

highest-and-lowest-time-of-disco-music-SPACEBAR-Photo05.jpg

อย่างไรก็ตาม ดนตรีดิสโก้ก็ยังไม่ได้หายไปเสียทีเดียวเพราะท่ามกลางกระแสดนตรีร็อก ดิสโก้ก็ทำให้เกิดดนตรีทายาทขึ้นมาใหม่เป็นแนวฮิปฮอป และแนวอิเล็กทรอนิกส์ และกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำเพลงป๊อปที่คนเจนนี้เรียกกันว่า ‘ซิตี้ป๊อป’ (City Pop) ซึ่งเป็นแนวดนตรีที่คนเจนใหม่กลับไปฟัง และพยายามเชื่อมต่อภาวะอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองเข้ากับดนตรีในวันวาน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์