รถโดยสารประจำทางสาย 8 ที่ล่ำลือกันว่าเป็นมือซิ่งแห่งท้องถนน ล่าสุด้ไม่ผ่านคุณสมบัติในเส้นทางสัมปทานเดินรถ 77 เส้นทางของรถร่วมองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. จึงจะมีการเริ่มเปลี่ยนเป็นรถเมล์ในเส้นทางเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (EV) แทนในเดือนสิงหาคม พร้อมกับชื่อสายใหม่เป็นสาย 2-38
รถโดยสารประจำทางสาย 8 หรือรถเมล์สาย 8 อยู่เคียงคู่กับชาวกรุงเทพมหานครมาร่วมกว่า 90 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 จากข้อมูลปี 2557 รถเมล์สาย 8 มีรถธรรมดา หรือที่หลายคนมักเรียกว่า ‘รถร้อน’ จำนวน 72 คัน รถโดยสารปรับอากาศ หรือรถแอร์ 30 คัน ซึ่งทั้งหมดนี้มาจาก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัททรัพย์ 888 บริษัทไทยบัสขนส่ง และบริษัทกลุ่ม 39 ซึ่งบริษัทไทยบัสขนส่ง เป็นบริษัทเดียวที่กำลังถูกแทนที่ด้วยรถ EV และชื่อสายใหม่ ส่วนรถสาย 8 จากอีกสองบริษัทยังคงวิ่งต่อไป
ในอดีตรถเมล์สาย 8 นั้นมีเส้นทางวิ่งแค่ระหว่างลานพระบรมรูปทรงม้าไปสะพานพุทธ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นตลาดหมอชิต–สะพานพุทธ ในปี 2498 จากนั้นในปี 2505 เปลี่ยนเป็นวิ่งจากลาดพร้าว–สะพานพุทธ กิจการรถเมล์สาย 8 เริ่มโดยบริษัทนายเลิศ หลังจากนั้นรัฐบาลได้เข้ามาบริหารในปี 2519
บางคนอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘นายเลิศ’ ถ้าใครเคยเห็นเสาหมุดที่ดินที่คล้ายกับกระสุนปืนใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่สี่แยกเพลินจิต หรือที่เรียกกันว่า ‘หลักหมุดนายเลิศ’ จะพบว่านายเลิศที่ว่านั้นเป็นนายเลิศคนเดียวกันกับเจ้าของบริษัทนายเลิศที่เริ่มกิจการรถเมล์สายแรกของไทย
รถโดยสารประจำทางสาย 8 หรือรถเมล์สาย 8 อยู่เคียงคู่กับชาวกรุงเทพมหานครมาร่วมกว่า 90 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 จากข้อมูลปี 2557 รถเมล์สาย 8 มีรถธรรมดา หรือที่หลายคนมักเรียกว่า ‘รถร้อน’ จำนวน 72 คัน รถโดยสารปรับอากาศ หรือรถแอร์ 30 คัน ซึ่งทั้งหมดนี้มาจาก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัททรัพย์ 888 บริษัทไทยบัสขนส่ง และบริษัทกลุ่ม 39 ซึ่งบริษัทไทยบัสขนส่ง เป็นบริษัทเดียวที่กำลังถูกแทนที่ด้วยรถ EV และชื่อสายใหม่ ส่วนรถสาย 8 จากอีกสองบริษัทยังคงวิ่งต่อไป
ในอดีตรถเมล์สาย 8 นั้นมีเส้นทางวิ่งแค่ระหว่างลานพระบรมรูปทรงม้าไปสะพานพุทธ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นตลาดหมอชิต–สะพานพุทธ ในปี 2498 จากนั้นในปี 2505 เปลี่ยนเป็นวิ่งจากลาดพร้าว–สะพานพุทธ กิจการรถเมล์สาย 8 เริ่มโดยบริษัทนายเลิศ หลังจากนั้นรัฐบาลได้เข้ามาบริหารในปี 2519
บางคนอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘นายเลิศ’ ถ้าใครเคยเห็นเสาหมุดที่ดินที่คล้ายกับกระสุนปืนใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่สี่แยกเพลินจิต หรือที่เรียกกันว่า ‘หลักหมุดนายเลิศ’ จะพบว่านายเลิศที่ว่านั้นเป็นนายเลิศคนเดียวกันกับเจ้าของบริษัทนายเลิศที่เริ่มกิจการรถเมล์สายแรกของไทย

บริษัทนายเลิศ ริเริ่มโดยพระยาภักดีนรเศรษฐ หรือนายเลิศ เศรษฐบุตร แรกเริ่มนั้นตั้งใจให้เป็นบริษัทรับบริการขนส่งโดยสารด้วยรถม้าเช่า ซึ่งออกแบบโดยนายเลิศเอง ค่าโดยสารสำหรับรถม้าเดี่ยวชั่วโมงละ 75 สตางค์ รถม้าคู่ชั่วโมงละ 1 บาท ภายหลังนายเลิศเห็นว่าเป็นการทรมานสัตว์ จึงคิดเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ราวปี 2453 รู้จักกันในชื่อ ‘รถมล์ขาว’

รถเมล์สายแรกของนายเลิศ วิ่งจากประตูน้ำไปสี่พระยา เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าจึงขยายสายออกไปจนเกือบทั่วกรุงเทพมหานคร หนึ่งในนั้นก็คือรถโดยสารประจำทางสาย 8 ที่เริ่มวิ่งตั้งแต่ปี 2475 นั่นเอง
รถเมล์สาย 8 ถูกขนานนามว่าเป็นมือซิ่ง ขับรถแซงทุกคันด้วยความเร็วแบบมิดด้าม ถึงที่หมายอย่างทันใจ (แต่ไม่รับประกันเรื่องชีวิต) หากค้นดูรูปภาพในหน้าหนังสือพิมพ์เก่าๆ เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว จะพบกับภาพอุบัติเหตุของรถเมล์สาย 8 ที่มีสภาพยับเยิน เป็นหลักฐานที่สามารถชี้ได้ว่าสาย 8 นั้นขับซิ่งท้านรกมานานแล้ว
รถเมล์สาย 8 ถูกขนานนามว่าเป็นมือซิ่ง ขับรถแซงทุกคันด้วยความเร็วแบบมิดด้าม ถึงที่หมายอย่างทันใจ (แต่ไม่รับประกันเรื่องชีวิต) หากค้นดูรูปภาพในหน้าหนังสือพิมพ์เก่าๆ เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว จะพบกับภาพอุบัติเหตุของรถเมล์สาย 8 ที่มีสภาพยับเยิน เป็นหลักฐานที่สามารถชี้ได้ว่าสาย 8 นั้นขับซิ่งท้านรกมานานแล้ว

พฤติกรรมหลักๆ ที่พบได้จากรถสาย 8 คือการขับฝ่าไฟแดง ขับแข่ง ขับปาดหน้า ขับสวนเลน เร่งเครื่องแบบเต็มสปีด อีกทั้งไม่วายด่าผู้โดยสารไปพลาง ถ้าใครเคยชมภาพยนตร์เรื่อง ‘แฮรี พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน’ (Harry Potter and the Prisoner of Azkaban) จะรู้ในทันทีว่าการนั่งรถเมล์สาย 8 ให้ความรู้สึกคล้ายตอนแฮรี พอตเตอร์ กำลังนั่ง ‘รถอัศวิน’ (Knight Bus) ที่ขับซิ่งเร็วแรงทะลุมิติ
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการขับรถเร็วของรถเมล์สื่อให้เห็นถึงการดิ้นรนของคนทำมาหากิน และสะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างของสังคมได้อย่างชัดเจน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ เคยเล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เป็นรัฐมนตรีการคมนาคมว่าเคยรับมือกับผู้ขับรถสาย 8 มาก่อน และรู้สาเหตุว่าที่สาย 8 ต้องขับรถเร็ว เพราะต้องอาศัยรายได้จากผู้โดยสาร ยิ่งมีรถเมล์ฟรีจากรัฐบาลยิ่งต้องขับรถแซงเพื่อที่จะได้รับผู้โดยสารได้มากขึ้น ทางด้านประชาชนเองก็เคยมีคนให้ความเห็นว่าพฤติกรรมการขับรถไร้มารยาทของสาย 8 ไม่ได้มาจากคนขับ แต่มาจากความยากจนของคนขับ ทางที่ดีคือการเพิ่มรายได้ให้กับพนักงาน
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการขับรถเร็วของรถเมล์สื่อให้เห็นถึงการดิ้นรนของคนทำมาหากิน และสะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างของสังคมได้อย่างชัดเจน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ เคยเล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เป็นรัฐมนตรีการคมนาคมว่าเคยรับมือกับผู้ขับรถสาย 8 มาก่อน และรู้สาเหตุว่าที่สาย 8 ต้องขับรถเร็ว เพราะต้องอาศัยรายได้จากผู้โดยสาร ยิ่งมีรถเมล์ฟรีจากรัฐบาลยิ่งต้องขับรถแซงเพื่อที่จะได้รับผู้โดยสารได้มากขึ้น ทางด้านประชาชนเองก็เคยมีคนให้ความเห็นว่าพฤติกรรมการขับรถไร้มารยาทของสาย 8 ไม่ได้มาจากคนขับ แต่มาจากความยากจนของคนขับ ทางที่ดีคือการเพิ่มรายได้ให้กับพนักงาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตของผู้โดยสารขึ้นอยู่กับคนขับรถ ถ้าจะมีอีกเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของผู้โดยสารก็คงเป็นเรื่องสภาพรถเมล์ที่เก่าคร่ำครึยืนหยัดบนท้องถนนกรุงเทพมหานครมากว่าหลายสิบปี หากใครเคยมีประสบการณ์รถเมล์ดับกลางทางนับว่าเป็นเรื่องปกติที่พบเจอได้ ไหนจะเรื่องของมลพิษจากควันรถ จำนวนรถที่ไม่เพียงพอ และรถติด ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางไปทำงานและกลับบ้านปวดหัวได้ทั้งที่ยังถึงที่หมาย

เพจ ‘ญี่ปุ่นเบาเบา’ บนเฟซบุ๊ก เคยนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาประเทศไทยพร้อมกับกล่าวว่า ‘ถ้าอยากมาชมรถเมล์ญี่ปุ่นแบบคลาสสิกให้มาประเทศไทย’ เรื่องนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ารถเมล์ของไทยเก่ามากแค่ไหน และสำหรับมุมมองของชาวญี่ปุ่นนั้นคงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่รถเหล่านี้ยังพบเห็นได้ในประเทศไทย อย่างรถเมล์สาย 8 ในปัจจุบันก่อนที่จะสั่งปิดห้ามวิ่ง ยังมีการใช้รถ Isuzu รุ่น JCR600 รวมถึงรถ Hino ที่มีการผลิตในช่วงปี 2520-2530 ซึ่งนับว่าเก่ามากเลยทีเดียว
การหยุดวิ่งของรถเมล์สาย 8 นั้นไม่เพียงชักชวนให้ชาวกรุงเทพหันมาสนใจเรื่องคุณภาพรถเมล์ แต่ยังชวนตั้งคำถามไปถึงคุณภาพชีวิตที่ชาวกรุงเทพควรได้รับ เมื่อเทียบกับเงินภาษีที่เสียไปให้รัฐ ประชาชนควรได้รับการบริการจากขนส่งสาธารณะที่สมน้ำสมเนื้อมากกว่านี้ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดพอๆ กับการทำงานของชาวกรุงเทพ คือการเดินทางไปทำงานพร้อมกับจิตใจที่แจ่มใสไร้ความห่อเหี่ยว
การหยุดวิ่งของรถเมล์สาย 8 นั้นไม่เพียงชักชวนให้ชาวกรุงเทพหันมาสนใจเรื่องคุณภาพรถเมล์ แต่ยังชวนตั้งคำถามไปถึงคุณภาพชีวิตที่ชาวกรุงเทพควรได้รับ เมื่อเทียบกับเงินภาษีที่เสียไปให้รัฐ ประชาชนควรได้รับการบริการจากขนส่งสาธารณะที่สมน้ำสมเนื้อมากกว่านี้ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดพอๆ กับการทำงานของชาวกรุงเทพ คือการเดินทางไปทำงานพร้อมกับจิตใจที่แจ่มใสไร้ความห่อเหี่ยว