‘แม่’ เป็นสุดยอดแห่งคำในภาษาไทย และมักถูกใช้เรียกแทนสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่าง ‘แม่ทัพ’ ไปจนถึงสีพื้นฐานที่เราเรียกกันว่า ‘แม่สี’ รวมถึงคำอื่นๆ อีกมากมายที่ให้ความหมายไปในเชิงของสิ่งที่เป็นหลัก เป็นพื้นฐาน ที่มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้คำว่า ‘แม่’ ยังเป็นคำแรกๆ ที่เราทุกคนพูดออกมาเมื่อครั้งที่เรายังเป็นเด็ก หากเราหันไปมองดูภาษาอื่นๆ อย่างเช่น ภาษาอังกฤษ จะพบว่าเด็กเจ้าของภาษาก็ออกเสียงคำว่าแม่เป็น ‘ma’ หรือ ‘mother’ ซึ่งเป็นการออกเสียง ม เช่นเดียวกันกับเรา
ฟังดูอาจเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ถ้าเราลองไปดูภาษาจีน เขาก็ออกเสียงคำว่าแม่เป็น ‘ma’ เช่นกัน เหมือนที่ชาวไทยเชื่อสายจีนเรียกแม่ตัวเองว่า ‘หม่าม้า’ และภาษาอื่นๆ เกือบ 100 ภาษาที่เรียกแม่ขึ้นต้นด้วยการอ่านออกเสียง ม แบบนี้คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่ๆ
แต่ก่อนอื่นมาดูกันว่าคำว่า ‘แม่’ และคำว่า ‘mother’ มีรากศัพท์ และความเป็นมาอย่างไรบ้าง
ฟังดูอาจเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ถ้าเราลองไปดูภาษาจีน เขาก็ออกเสียงคำว่าแม่เป็น ‘ma’ เช่นกัน เหมือนที่ชาวไทยเชื่อสายจีนเรียกแม่ตัวเองว่า ‘หม่าม้า’ และภาษาอื่นๆ เกือบ 100 ภาษาที่เรียกแม่ขึ้นต้นด้วยการอ่านออกเสียง ม แบบนี้คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่ๆ
แต่ก่อนอื่นมาดูกันว่าคำว่า ‘แม่’ และคำว่า ‘mother’ มีรากศัพท์ และความเป็นมาอย่างไรบ้าง

ที่แน่นอนคือคำว่า ‘mother’ มาจากตระกูลภาษาอินโดยูโรเปียนที่เรียกได้ว่าเป็นแม่ของทุกภาษาเกือบทั่วยุโรป คำว่า ‘mother’ นั้นมาจากคำว่า ‘mater’ หรือมาแตร์ คำนี้ฟังคุ้นๆ เหมือนชื่อโรงเรียนสักแห่งในประเทศไทย นั่นเป็นเพราะว่ามาแตร์นั้นแปลว่า ‘แม่’ ซึ่งเรียกแทนพระแม่มารีในศาสนาคริสต์ คำว่า ‘mater’ เป็นภาษาลาตินที่รับมาจากภาษาอินโดยูโรเปียนที่ออกเสียงคล้ายกัน
สำหรับเมืองไทยก็รับคำว่า ‘มารดา’ มาจากสันสกฤตที่รับมาจากอินโดยูโรเปียนเช่นกัน จะสังเกตเห็นถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างการออกเสียงคำว่า ‘มารดา’ และ ‘mother’
หากกลับมาที่คำว่า ‘แม่’ ซึ่งตามหลักแล้วเป็นภาษาไทยแท้ แต่หากจะพูดว่าแท้เลยก็คงไม่เชิง เพราะคำว่า ‘แม่’ เป็นการรับมาจากภาษากลุ่มไทกะไดที่เกือบจะเรียกได้ว่ามีบรรพบุรุษร่วมกับภาษาจีนเลยเสียด้วยซ้ำ อย่างที่รู้กันในแวดวงวิชาการว่าภาษาไทยของเรามาจากชนชาติที่เรียกว่า ‘ชาวจ้วง’ ซึ่งเป็นชาวจีนที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน
กลับมาที่คำถามว่าทำไมแต่ละประเทศออกเสียงเรียกคำว่าแม่ขึ้นต้นด้วยเสียง ม กันเกือบหมดเลย ซึ่งเรื่องนี้สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์
เจนน์ แคมป์เบล (Jenn Campbell) นักวิจัยจาก UBC ศึกษาเรื่องการอ่านออกเสียงของเด็กในสหรัฐอเมริกาและจีน โดยเด็กเหล่านี้มีอายุระหว่าง 8-16 เดือน ที่มาจากครอบครัวที่ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษากวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง
งานวิจัยของแคมป์เบลพบว่าเด็กอายุ 6 เดือน สามารถเรียกหรือเข้าใจได้ว่าใครเป็นพ่อหรือแม่ แม้ว่ายังพูดออกเสียงไม่ได้
สำหรับเมืองไทยก็รับคำว่า ‘มารดา’ มาจากสันสกฤตที่รับมาจากอินโดยูโรเปียนเช่นกัน จะสังเกตเห็นถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างการออกเสียงคำว่า ‘มารดา’ และ ‘mother’
หากกลับมาที่คำว่า ‘แม่’ ซึ่งตามหลักแล้วเป็นภาษาไทยแท้ แต่หากจะพูดว่าแท้เลยก็คงไม่เชิง เพราะคำว่า ‘แม่’ เป็นการรับมาจากภาษากลุ่มไทกะไดที่เกือบจะเรียกได้ว่ามีบรรพบุรุษร่วมกับภาษาจีนเลยเสียด้วยซ้ำ อย่างที่รู้กันในแวดวงวิชาการว่าภาษาไทยของเรามาจากชนชาติที่เรียกว่า ‘ชาวจ้วง’ ซึ่งเป็นชาวจีนที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน
กลับมาที่คำถามว่าทำไมแต่ละประเทศออกเสียงเรียกคำว่าแม่ขึ้นต้นด้วยเสียง ม กันเกือบหมดเลย ซึ่งเรื่องนี้สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์
เจนน์ แคมป์เบล (Jenn Campbell) นักวิจัยจาก UBC ศึกษาเรื่องการอ่านออกเสียงของเด็กในสหรัฐอเมริกาและจีน โดยเด็กเหล่านี้มีอายุระหว่าง 8-16 เดือน ที่มาจากครอบครัวที่ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษากวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง
งานวิจัยของแคมป์เบลพบว่าเด็กอายุ 6 เดือน สามารถเรียกหรือเข้าใจได้ว่าใครเป็นพ่อหรือแม่ แม้ว่ายังพูดออกเสียงไม่ได้

การศึกษาของเธอเป็นการสังเกตเด็กอายุ 6 เดือน จำนวน 40 คน จากวิดีโอเพื่อสังเกตพฤติกรรมของเด็กขณะที่พ่อแม่กำลังถามให้เด็กอ่านออกเสียงไปมาระหว่างคำว่า ‘พ่อ’ กับ ‘แม่’ ซึ่งผลสรุปคือจากมุมมองเรื่องสัทศาสตร์ทำให้รู้ว่าเด็กออกเสียงคำว่า ‘mama’ มากกว่าคำว่า ‘dada’
ส่วนเหตุผลนั้นง่ายมาก เป็นเพราะเด็กนั้นออกเสียง ม หรือ m ได้ เพียงแค่เผยอปากออกเพียงนิดเดียว ส่วนเสียง ด หรือ d ต้องใช้ลิ้นดันเพดาน ซึ่งมีความยุ่งยากกว่ามาก นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ในภาษาแต่ละประเทศนิยมใช้คำแทนว่าแม่ด้วยเสียง ม หรือ m เพราะเป็นการออกเสียงแรกของเด็ก และยามที่เด็กต้องการเรียกหาแม่นั้นมักใช้เสียง ม หรือ m ในการเปล่งออกมานั่นเอง
ทีนี้ก็คลายความสงสัยกันได้บ้างแล้วว่าทำไมชาวจีน ชาวไทย หรือกลุ่มคนใช้ภาษาอังกฤษ ถึงเรียกแม่ขึ้นต้นด้วยเสียง ม ซึ่งนอกจากเด็กจะเห็นแม่เป็นคนแรกในชีวิตแล้ว คำว่า ‘มา’ หรือ ‘แม่’ ก็เป็นเสียงแรกของเขาด้วยเช่นกัน
ส่วนเหตุผลนั้นง่ายมาก เป็นเพราะเด็กนั้นออกเสียง ม หรือ m ได้ เพียงแค่เผยอปากออกเพียงนิดเดียว ส่วนเสียง ด หรือ d ต้องใช้ลิ้นดันเพดาน ซึ่งมีความยุ่งยากกว่ามาก นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ในภาษาแต่ละประเทศนิยมใช้คำแทนว่าแม่ด้วยเสียง ม หรือ m เพราะเป็นการออกเสียงแรกของเด็ก และยามที่เด็กต้องการเรียกหาแม่นั้นมักใช้เสียง ม หรือ m ในการเปล่งออกมานั่นเอง
ทีนี้ก็คลายความสงสัยกันได้บ้างแล้วว่าทำไมชาวจีน ชาวไทย หรือกลุ่มคนใช้ภาษาอังกฤษ ถึงเรียกแม่ขึ้นต้นด้วยเสียง ม ซึ่งนอกจากเด็กจะเห็นแม่เป็นคนแรกในชีวิตแล้ว คำว่า ‘มา’ หรือ ‘แม่’ ก็เป็นเสียงแรกของเขาด้วยเช่นกัน