ที่ฮ่องกงในทุกๆ วันอาทิตย์ แรงงานต่างด้าวที่ห่างบ้านมาเพื่อทำงานหลายร้อยชีวิตจะออกมาใช้ชีวิต บ้างก็ปิกนิก บ้างก็มานอนหลับพักผ่อน บ้างก็มาเพื่อพบปะเพื่อนฝูง แลกเปลี่ยนปัญหา ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักมาทั้งอาทิตย์ และแน่นอนว่าทุกกิจกรรมที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นอยู่ ‘ข้างถนน’
เราเดินทางไปฮ่องกงช่วงกลางเดือนกรกฏาคม 2023 ที่ผ่านมา และเข้าพักแถวย่านเซ็นทรัล (Central) ซึ่งในวันธรรมดาจนถึงวันเสาร์ถนนย่านนี้จะเต็มไปด้วยพนักงานออฟฟิศและนักท่องเที่ยวที่มาเพลินเพลินกับแหล่งช็อปปิงและสถานบันเทิงยอดฮิตอย่าง ‘ลานไควฟง - Lan kwai fong’ ในช่วงค่ำคืน
บรรยากาศมันจะเป็นแบบคลิปนี้เลย:
พื้นที่ใต้ตึกออฟฟิศที่เคยพลุกพล่านไปด้วยพนักงานออฟฟิศใส่สูทผูกไทด์ บัดนี้เต็มไปด้วย ประชากรหลายร้อยคนที่เป็น ‘แรงงานต่างด้าว’ จับจองพื้นที่จนเต็มพื้นที่ใต้ตึก ลามมาจนถึงถนน และปิดการจราจร 1 ช่องทางเป็นที่เรียบร้อย
เราได้แต่ยืนอึ้งอยู่อย่างนั้น ปล่อยให้รถแทมป์ที่เราตั้งใจจะมานั่งเคลื่อนผ่านไปต่อหน้าต่อตา เพราะมัวแต่ตกใจกับสิ่งที่เห็น ในหัวเกิดคำถามมากมาย แต่เสียงในหัวที่ดังที่สุดคือ ‘เขามาทำอะไรกันข้างถนนวะ’ เพราะนอกจากการปูเสื่อนอนข้างถนนแล้ว เขายังทำกิจกรรมพื้นฐานมากมาย ไม่ว่าจะกินข้าว พูดคุย ประหนึ่งนั่งอยู่ในสวนสาธารณะอะไรอย่างนั้น
เราเดินทางไปฮ่องกงช่วงกลางเดือนกรกฏาคม 2023 ที่ผ่านมา และเข้าพักแถวย่านเซ็นทรัล (Central) ซึ่งในวันธรรมดาจนถึงวันเสาร์ถนนย่านนี้จะเต็มไปด้วยพนักงานออฟฟิศและนักท่องเที่ยวที่มาเพลินเพลินกับแหล่งช็อปปิงและสถานบันเทิงยอดฮิตอย่าง ‘ลานไควฟง - Lan kwai fong’ ในช่วงค่ำคืน
แต่บรรยากาศในวันอาทิตย์มันช่างต่างออกไป..
เราเดินออกจากที่พักในช่วงสายของวันอาทิตย์ เพื่อนั่งรถแทมป์ (รถราง) สำรวจเมืองในวันหยุด รวมถึงสรรหาอาหารยอดนิยมของคนพื้นที่ แต่แล้วพื้นที่ฟุตปาธข้างถนนที่เคยกว้างขวางก็เปลี่ยนไป กว่าครึ่งของทางเท้ามีกองกระดาษลังวางกองท่วมหัว พร้อมมวลมหาประชาชนที่คาดว่าน่าจะเป็นชาว ‘ฟิลิปปินส์’ หอบข้าวของพะรุงพะรัง มาจับกลุ่มนั่งพักผ่อน และนอนอยู่ริมถนนบรรยากาศมันจะเป็นแบบคลิปนี้เลย:
พื้นที่ใต้ตึกออฟฟิศที่เคยพลุกพล่านไปด้วยพนักงานออฟฟิศใส่สูทผูกไทด์ บัดนี้เต็มไปด้วย ประชากรหลายร้อยคนที่เป็น ‘แรงงานต่างด้าว’ จับจองพื้นที่จนเต็มพื้นที่ใต้ตึก ลามมาจนถึงถนน และปิดการจราจร 1 ช่องทางเป็นที่เรียบร้อย
เราได้แต่ยืนอึ้งอยู่อย่างนั้น ปล่อยให้รถแทมป์ที่เราตั้งใจจะมานั่งเคลื่อนผ่านไปต่อหน้าต่อตา เพราะมัวแต่ตกใจกับสิ่งที่เห็น ในหัวเกิดคำถามมากมาย แต่เสียงในหัวที่ดังที่สุดคือ ‘เขามาทำอะไรกันข้างถนนวะ’ เพราะนอกจากการปูเสื่อนอนข้างถนนแล้ว เขายังทำกิจกรรมพื้นฐานมากมาย ไม่ว่าจะกินข้าว พูดคุย ประหนึ่งนั่งอยู่ในสวนสาธารณะอะไรอย่างนั้น

ภายใต้ความสงสัยที่เกิดขึ้นทำให้เราได้พูดคุยกับ ‘จิมมี่’ เพื่อนชาวฮ่องกงของเรา
จิมมี่บอกว่า มันเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาเหล่านี้จะออกมาใช้ชีวิตตามท้องถนนในวันอาทิตย์ แม้ฮ่องกงจะแออัดแต่ก็ยังพอมีสวนสาธารณะอยู่บ้างตามเมืองต่างๆ แต่จิมมี่บอกว่า สวนสาธารณะไม่ได้มีกฎห้ามแรงงานเข้ามาใช้บริการแต่อย่างใด แต่มันอาจจะ ‘เล็ก’ เกินไปสำหรับพวกเขา ซึ่งตรงนี้เราก็เห็นด้วยกับสิ่งที่จิมมี่พูด เพราะด้วยมวลชนที่หลั่งไหลออกมา (และมีแววว่าจะออกมาเรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน) สวนสาธารณะขนาดเล็กตามมุมตึกอาจจะไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาจริงๆ
จิมมี่บอกว่า มันเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาเหล่านี้จะออกมาใช้ชีวิตตามท้องถนนในวันอาทิตย์ แม้ฮ่องกงจะแออัดแต่ก็ยังพอมีสวนสาธารณะอยู่บ้างตามเมืองต่างๆ แต่จิมมี่บอกว่า สวนสาธารณะไม่ได้มีกฎห้ามแรงงานเข้ามาใช้บริการแต่อย่างใด แต่มันอาจจะ ‘เล็ก’ เกินไปสำหรับพวกเขา ซึ่งตรงนี้เราก็เห็นด้วยกับสิ่งที่จิมมี่พูด เพราะด้วยมวลชนที่หลั่งไหลออกมา (และมีแววว่าจะออกมาเรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน) สวนสาธารณะขนาดเล็กตามมุมตึกอาจจะไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาจริงๆ

เราพยายามขุดค้นข้อมูลเกี่ยวกับการออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านของพวกเขาจนเราได้รู้ที่มาของมันว่า มันเป็นเหมือน ‘สัญญะ’ บางอย่าง
บทความใน The Guardian เมื่อปี 2017 ก็พูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน เอ็มมา ลี-มอส ผู้เขียนบอกว่า ในวันอาทิตย์ คนงานรับใช้ราว 300 คน ออกมาเดินขบวนผ่านย่านใจกลางเมืองฮ่องกง โดยถือป้ายเรียกร้องค่าจ้างและเงื่อนไขการจ้าง ‘ที่ดีกว่า’ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ยอม ‘สละ’ ช่วงเวลาในวันหยุด (วันอาทิตย์) เพื่อออกมายืนหยัดและส่งเสียงของพวกเขา
การเดินขบวนดังกล่าวจัดขึ้นโดยกลุ่มสหภาพแรงงาน รวมถึง United Filipinas of Hong Kong และเป็นไปอย่างสันติ หลายคนหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่และมาถ่ายรูปขบวน ขณะที่บางคนก็ไม่ได้สนใจและปล่อยผ่านมันไปเช่นกัน ในการเรียกร้องจากแรงงาน ‘ผู้หญิง’ หลายๆ คน พยายามอย่างมากที่จะส่งสัญญาณของพวกเธอว่า ‘คนรับใช้ไม่ใช่ทาส’ และ ‘ชีวิตของเราก็สำคัญ’ หรือแปลง่ายๆ ว่า ก็คนเหมือนกัน!
บทความใน The Guardian เมื่อปี 2017 ก็พูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน เอ็มมา ลี-มอส ผู้เขียนบอกว่า ในวันอาทิตย์ คนงานรับใช้ราว 300 คน ออกมาเดินขบวนผ่านย่านใจกลางเมืองฮ่องกง โดยถือป้ายเรียกร้องค่าจ้างและเงื่อนไขการจ้าง ‘ที่ดีกว่า’ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ยอม ‘สละ’ ช่วงเวลาในวันหยุด (วันอาทิตย์) เพื่อออกมายืนหยัดและส่งเสียงของพวกเขา
การเดินขบวนดังกล่าวจัดขึ้นโดยกลุ่มสหภาพแรงงาน รวมถึง United Filipinas of Hong Kong และเป็นไปอย่างสันติ หลายคนหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่และมาถ่ายรูปขบวน ขณะที่บางคนก็ไม่ได้สนใจและปล่อยผ่านมันไปเช่นกัน ในการเรียกร้องจากแรงงาน ‘ผู้หญิง’ หลายๆ คน พยายามอย่างมากที่จะส่งสัญญาณของพวกเธอว่า ‘คนรับใช้ไม่ใช่ทาส’ และ ‘ชีวิตของเราก็สำคัญ’ หรือแปลง่ายๆ ว่า ก็คนเหมือนกัน!

เมื่อเริ่มขุดข้อมูลไปเรื่อยๆ ทำให้เราได้รู้ว่าการเรียกร้องที่เกิดขึ้นนี้ จริงๆ มันมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมแรงงานอพยพในฮ่องกง
ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 แรงงานอพยพได้รวมตัวกันในพื้นที่สาธารณะของฮ่องกงทุกวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในวันนั้นผู้หญิงนับหลายหมื่นคนจะออกมานั่งบนกระดาษลัง หรือเสื่อพลาสติกภายใต้ร่มเงาของโรงแรมระดับ 5 ดาว อาคารธนาคารขนาดใหญ่ และหน้าร้านแบรนด์เนมสุดหรูหรา
พื้นที่รอบจตุรัส Statue Square เต็มไปด้วยชุมชนชาวฟิลิปปินส์ และได้เปลี่ยนถนนย่านการเงินของฮ่องกงเป็น ‘Little Manila’ ที่จอแจเสียงดังและมีสีสันขึ้นมาทันตา
เอ็มมาได้ทำการสัมภาษณ์ แอนนี่ วัย 29 ปี และนิลดา วัย 36 ปี พวกเธอพบกันที่สำนักงานจัดหางาน และย้ายมานั่งคุยกันบนกระถางคอนกรีตนอกทางออกสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MTR – Mass Transit Railway) แอนนี่แชร์ประสบการณ์การทำงานของเธอว่า เธอพยายามออกไปข้างนอกให้ได้มากที่สุด เพราะบ้านนายจ้างทำให้เธอรู้สึกเศร้า
แอนนี่เล่าว่า นายจ้างปฏิบัติต่อเธอไม่ดี และไม่ให้อาหารเธออย่างเพียงพอ ทำให้เธอต้องตุนอาหารกระป๋องเพื่อความอยู่รอดตลอดทั้งสัปดาห์ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอตัดสินใจลาออก แม้จะมีสัญญาจ้างที่ค้ำคออยู่ก็ตาม
ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 แรงงานอพยพได้รวมตัวกันในพื้นที่สาธารณะของฮ่องกงทุกวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในวันนั้นผู้หญิงนับหลายหมื่นคนจะออกมานั่งบนกระดาษลัง หรือเสื่อพลาสติกภายใต้ร่มเงาของโรงแรมระดับ 5 ดาว อาคารธนาคารขนาดใหญ่ และหน้าร้านแบรนด์เนมสุดหรูหรา
พื้นที่รอบจตุรัส Statue Square เต็มไปด้วยชุมชนชาวฟิลิปปินส์ และได้เปลี่ยนถนนย่านการเงินของฮ่องกงเป็น ‘Little Manila’ ที่จอแจเสียงดังและมีสีสันขึ้นมาทันตา
เอ็มมาได้ทำการสัมภาษณ์ แอนนี่ วัย 29 ปี และนิลดา วัย 36 ปี พวกเธอพบกันที่สำนักงานจัดหางาน และย้ายมานั่งคุยกันบนกระถางคอนกรีตนอกทางออกสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MTR – Mass Transit Railway) แอนนี่แชร์ประสบการณ์การทำงานของเธอว่า เธอพยายามออกไปข้างนอกให้ได้มากที่สุด เพราะบ้านนายจ้างทำให้เธอรู้สึกเศร้า
แอนนี่เล่าว่า นายจ้างปฏิบัติต่อเธอไม่ดี และไม่ให้อาหารเธออย่างเพียงพอ ทำให้เธอต้องตุนอาหารกระป๋องเพื่อความอยู่รอดตลอดทั้งสัปดาห์ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอตัดสินใจลาออก แม้จะมีสัญญาจ้างที่ค้ำคออยู่ก็ตาม

แรงงานเหล่านี้คิดเป็นประชากร 5% ของฮ่องกง และประมาณ 98.5% เป็น ‘ผู้หญิง’ ในปี 2019 มีแรงงานราวๆ 400,000 คนที่เข้ามาทำงานในฮ่องกง ขณะที่แรงงานเหล่านี้จำเป็นต้อง ‘อยู่อาศัยในบ้าน’ ตามกฎหมายการจ้างงาน นิลดาเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องอยู่ห้องเดียวกับลูกแฝดของนายจ้าง เธอเล่าว่า สิ่งนี้น่าเหนื่อยใจ ที่ต้องอยู่อาศัยภายใต้กล้องวงจรปิดที่นายจ้างเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา
‘ฮ่องกง’ เมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเมืองหนึ่งของโลก รวมถึงพื้นที่ที่อยู่อาศัยก็เล็กมาก แต่ถึงอย่างนั้น แรงงานต่างด้าวก็มักจะถูกว่าจ้างโดยนายจ้างที่ไม่มีแม้แต่พื้นที่ที่เหมาะสมรองรับแรงงานเหล่านั้น
ฮานส์ เจ. เลดจ์การ์ด ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงโพลีเทคนิค (Hong Kong Polytechnic) ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องราวการทารุณกรรมแรงงานข้ามชาติ อธิบายว่ามีแรงงานหญิงจำนวนกว่า 380,000 คนที่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว และนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ไม่ได้มาตราฐาน
‘ฮ่องกง’ เมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเมืองหนึ่งของโลก รวมถึงพื้นที่ที่อยู่อาศัยก็เล็กมาก แต่ถึงอย่างนั้น แรงงานต่างด้าวก็มักจะถูกว่าจ้างโดยนายจ้างที่ไม่มีแม้แต่พื้นที่ที่เหมาะสมรองรับแรงงานเหล่านั้น
ฮานส์ เจ. เลดจ์การ์ด ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงโพลีเทคนิค (Hong Kong Polytechnic) ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องราวการทารุณกรรมแรงงานข้ามชาติ อธิบายว่ามีแรงงานหญิงจำนวนกว่า 380,000 คนที่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว และนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ไม่ได้มาตราฐาน

“แรงงานบางคนไม่ได้มีห้องนอนเป็นของตัวเอง เธอต้องนอนในห้องนั่งเล่น ห้องครัว หรือห้องน้ำ และบางคนถูกขังไว้ในแฟลตตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และไม่สามารถออกไปไหนได้ในระหว่างวัน” เลดจ์การ์ดกล่าว
งานวิจัยที่เผยแพร่ในปี 2016 โดยองค์กรต่างๆ รวมถึงสหภาพแรงงานทำงานบ้านต่างประเทศแห่งเอเชีย ระบุถึง ‘ช่องว่างร้ายแรง’ ในกรอบกฎหมายของฮ่องกงที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน จากการสำรวจแรงงานรับใช้ในบ้านชาวฟิลิปปินส์พบว่า แรงงานกว่า 84% จ่ายค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมายให้กับบริษัทจัดหางาน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจต้องทำงานโดยเฉลี่ย 16 ชั่วโมงต่อวัน และเกือบครึ่งหนึ่งบอกว่า พวกเขาขาดแคลนอาหาร
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วน่าจะทำให้เราเข้าใจการกระทำของแรงงานต่างด้าวในฮ่องกงมากขึ้น นอกเหนือจากความกดดันที่พวกเธอได้รับจากนายจ้างในแต่ละวันแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องปากท้อง ค่าครองชีพที่สูงลิ่วของฮ่องกงมากดทับเข้าไปอีก การได้ออกมาแฮงค์เอาท์ พบปะเพื่อนร่วมชาติในวันหยุดที่มีเพียงวันเดียวต่อสัปดาห์ของพวกเธอ คงจะช่วยเติมเต็มความสุขในวันที่ต้องห่างบ้านมาไกลได้พอสมควร
งานวิจัยที่เผยแพร่ในปี 2016 โดยองค์กรต่างๆ รวมถึงสหภาพแรงงานทำงานบ้านต่างประเทศแห่งเอเชีย ระบุถึง ‘ช่องว่างร้ายแรง’ ในกรอบกฎหมายของฮ่องกงที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน จากการสำรวจแรงงานรับใช้ในบ้านชาวฟิลิปปินส์พบว่า แรงงานกว่า 84% จ่ายค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมายให้กับบริษัทจัดหางาน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจต้องทำงานโดยเฉลี่ย 16 ชั่วโมงต่อวัน และเกือบครึ่งหนึ่งบอกว่า พวกเขาขาดแคลนอาหาร
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วน่าจะทำให้เราเข้าใจการกระทำของแรงงานต่างด้าวในฮ่องกงมากขึ้น นอกเหนือจากความกดดันที่พวกเธอได้รับจากนายจ้างในแต่ละวันแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องปากท้อง ค่าครองชีพที่สูงลิ่วของฮ่องกงมากดทับเข้าไปอีก การได้ออกมาแฮงค์เอาท์ พบปะเพื่อนร่วมชาติในวันหยุดที่มีเพียงวันเดียวต่อสัปดาห์ของพวกเธอ คงจะช่วยเติมเต็มความสุขในวันที่ต้องห่างบ้านมาไกลได้พอสมควร