มิลาน คุนเดอรา ผู้ปลดเปลื้องความโสมมและความหนักอึ้งของชีวิต

2 สิงหาคม 2566 - 08:44

in-memory-of-milan-kundera-SPACEBAR-Thumbnail
  • มิลาน คุนเดอรา นักเขียนที่มอบอิทธิพลความคิดให้กับโลกศิลปะหลากแขนง เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 94 ปี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม

  • ช่วงชีวิตของเขาทฝ่าฟันช่วงเวลาอันยากลำบากภายใต้การมาของพรรคคอมมิวนิสต์ ก่อนเดินทางไปเป็นพลเมืองฝรั่งเศส

  • The Unbearable Lightness of Being ผลงานเลื่องชื่อของเขา ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันโดย ฟิลิป คาฟแมน

มิลาน คุนเดอรา (Milan Kundera) นักเขียนชาวเชก-ฝรั่งเศส เจ้าของนวนิยาย ‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ (The Unbearable Lightness of Being) เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 94 ปี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2023 คุนเดอราถูกขนานว่าเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ในแวดวงวรรณกรรมโลก (World Literature) ผลงานของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับโลกศิลปะหลายแขนง อีกทั้งยังตอกย้ำถึงความเป็นมนุษย์ที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อนน่าฉงน  

คุนเดอรามีความโดดเด่นในการพรรณนาปรากฏการณ์ทางความคิดและอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างแสบสัน ในหลายๆ งานของเขามักมีภาพลางๆ เกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์ และการลี้ภัยอยู่เสมอ เนื่องจากทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับเขาเมื่อปี 1975 ที่เขาได้ลี้ภัยไปอยู่ประเทศฝรั่งเศสหลังจากถูกขับไล่จากพรรคคอมมิวนิวต์ในประเทศเชกโกสโลวาเกียนในข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรค ในระหว่างนั้นเองที่เขาเริ่มเขียนผลงานชื่อดัง ‘The Unbearable Lightness of Being’ และหลังจากคุนเดอรากลายเป็นพลเมืองฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์ เขาเริ่มเขียนผลงานเป็นภาษาฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกด้วยนวนิยาย ‘แช่มช้า’ (Slowness) ในปี 1995 ตราบจนถึงผลงานสุดท้ายชื่อ ‘The Festival of Insignificance ในปี 2014 แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม แต่นักวิจารณ์ และนักอ่านหลายคนเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาสมควรได้รับอย่างไม่ต้องสงสัย  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1uw6DDukPstCZFBpO6ZDBW/56cc3c53443f7e25ce946f062de73324/in-memory-of-milan-kundera-SPACEBAR-Photo_V01
Photo: The Unbearable Lightness of Being
มิลาน คุนเดอรา เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี 1929 ในเมืองบราโน เชกโกสโลวาเกีย และเติบโตท่ามกลางเสียงดนตรีที่ฝากฝังโดยพ่อของเขา คุนเดอรามีแววเป็นนักดนตรีจนกระทั่งหันเหเปลี่ยนไปขีดเขียนหนังสือจนได้ไปพูดเลคเชอร์ในหัวข้อเรื่องวรรณกรรมโลก (ภายหลังถูกรวบรวมเป็นหนังสือ ‘The Art of the Novel’) ในเทศกาลภาพยนตร์เชกในปี 1952 คุนเดอรามีงานเขียนมากมายในช่วงปี 1950s แต่เขาปฏิเสธว่าเป็นผลงานของตัวเองเหตุเป็นเพราะว่า เขากำลังค้นหาตัวเอง และมีทิศทางทางความคิดที่ต่างจากตอนนี้ 

เหมือนกับประชากรในประเทศคอมมิวนิสต์ทั่วไป คุนเดอร่าเติบโตด้วยแนวคิดคอมมิวนิสต์แต่เยาว์วัย พอเติบขึ้นเป็นผู้ใหญ่เขาถูกขับไช่จากพรรคถึงสองครั้ง ครั้งแรกด้วยข้อหาทำกิจกรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรคเมื่อปี 1950 ครั้งที่สองในปี 1970 หลังจากเขาคว้าไมค์พูดบนเวทีปราศัยเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ช่วงที่คุกรุ่นและร้อนเรืองนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับ ‘The Joke’ ผลงานชิ้นแรกในปี 1967 แต่ถูกริบคืนออกจากร้านหนังสือตอนที่รัสเซียบุกเข้ามายังจัตุรัสเวนเซสลัส (Wenceslas Square) คุนเดอราติดบัญชีดำ ไม่สามารถสอนหนังสือ หรือให้เลคเชอร์ได้อีกต่อไป ทำให้เขาต้องออกไปเป่าทรัมเป็ตให้กับคณะคาบาเรต์ในเมืองเล็กๆ แทน  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4dxACWMVhBMyMXBUUSJpWc/710766ebb654c80d8ade18ecb21f4056/in-memory-of-milan-kundera-SPACEBAR-Photo01
Photo: AFP
คุนเดอราย้ายถิ่นฐานไปที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 1975 ถูกแบนไม่ได้เป็นประชาชนของเชกอีกต่อไปในปี 1979 และกลายเป็นประชาชนฝรั่งเศสในปี 1981 โชคดีที่ ฟิลิป รอธ (Philip Roth) ผู้รับผิดชอบการตีพิพม์ผลงานของคุนเดอราในชุดซีรีส์นักเขียนจากยุโรป ผลงานนั้นคือ The Unbearable Lightness of Being ทำให้คุนเดอรากลายเป็นนักเขียนต่างประเทศที่เป็นที่จับตามอง มอบความหวังและโอกาสในฐานะนักเขียนต่อไป 

The Unbearable Lightness of Being หรือแปลไทย ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต (แปลโดย ภัควดี วิระภาสพงษ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541) อยู่ในฉากช่วงที่คอมมิวนิวส์เข้ามาบทบาทในกรุงปรากปี 1968 เนื้อเรื่องดำเนินโดยสองคู่รักที่กำลังดิ้นรนกับภาวะความรู้สึก ความสัมพันธ์เชิงชู้สาว และความไม่สัตย์ซื่อของหัวใจ คุนเดอราไม่เพียงแต่เป็นนักเขียนที่สาธยายบอกเล่าเรื่องเพศได้อย่างตรงไปตรงมา แต่ยังขับเคลื่อนตัวละครด้วยแนวคิดเชิงปรัชญา การตั้งคำถามต่อชีวิต และการประชดประชันกัดจิกความจริงของโลกได้อย่างละเอียดละออ ลึกซึ้ง และน่าสมเพศไปในคราวเดียวกัน ความประสบความสำเร็จของนวนิยายเรื่องนี้ดลใจให้ ฟิลิป คาฟแมน (Philip Kaufman) ดัดแปลงไปเป็นฉบับภาพยนตร์ในปี 1988 ในชื่อเดียวกัน นำแสดงโดย ดาเนียล เดย์-เลวิส (Daniel Day-Lewis) และจูเลียต บิโนช (Juliette Binoche)  หลังจากหนังเข้าฉาย ทำให้คุนเดอรากลายเป็นนักเขียนที่มีคนพูดถึงจำนวนมาก 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1gyFpIyuyjS8QmQ8k1Uidk/9ada031aebb8f0d95ce8c1534913aacc/in-memory-of-milan-kundera-SPACEBAR-Photo02
Photo: IMDb / The Unbearable Lightness of Being ฉบับหนัง IMDb
นับตั้งแต่ปี 1990 คุนเดอราเขียนผลงานเป็นภาษาฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง เช่น Immortality (1990), Slowness (1995), Identity (1998) และ Ignorance (2000) เป็นต้น และได้รับรางวัลงานวรรณกรรมหลายรางวัล เช่น รางวัล Mondello Prize, รางวัล Jerusalem Prize, รางวัล The Austrian State Prize for European Literature, รางวัล Franz Kafka Prize เป็นต้น ทางด้านชีวิตเขานั้น คุนเดอราเป็นคนที่สัมภาษณ์กับสื่อค่อนข้างน้อย เป็นนักเขียนที่หลบแสงและใช้ชีวิตอย่างสงบ สำหรับประเทศไทย มีนักอ่านชาวไทยจำนวนหนึ่งที่ติดตามงานเขียนของคุนเดอรา และมีงานแปลมากมาย ทั้งของสำนักพิมพ์บทขจร แปลโดย ภัควดี วิระภาสพงษ์ และสำนักพิมพ์กำมะหยี่ แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/RFtwiH3yUd1CZomKxgqIB/2aa850a97ae05094ca13535e75ef3ef4/in-memory-of-milan-kundera-SPACEBAR-Photo03
Photo: AFP
ใครที่สนใจอยากอ่านผลงานของ มิลาน คุนเดอรา สามารถซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป หรือผ่านทางออนไลน์ได้ที่ Gnebookstore หรือ นายอินทร์ และซีเอ็ดบุ๊ค

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์