ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่อยู่คู่ชาวไทยมาหลายร้อยปี ชาวไทยที่นับถือพุทธส่วนมากมักปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธมาตั้งแต่ยังเด็ก ทั้งการบิณฑบาตร เข้าวัดฟังธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่รู้ว่าทุกครั้งที่ไหว้พระต้องมีการจุดธูปสามดอก ส่วนหนึ่งดอกนั้นไว้สำหรับไหว้คนตายในงานศพ
แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมการไหว้พระต้องมีการจุดธูป ธูปนั้นมีที่มาอย่างไร และมีวิธีการทำงานของมันเป็นอย่างไรตามความเชื่อศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ
ต้นกำเนิดของธูปนั้นมีอยู่มากมาย ในปัจจุบันมีหลักฐานว่าธูปมีต้นกำเนิดมาจากสองประเทศหลักๆ ประเทศแรกคืออินเดีย มีหลักฐานชี้ว่าอินเดียมีการผลิตธูป เครื่องหอม และกำยาน มาตั้งแต่ 1,500-2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาการมาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ส่วนประเทศที่สองคือจีน ซึ่งนักวิชาการกล่าวว่าจีนเริ่มนำดอกไม้แห้งมาทำเป็นธูปมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12
บางหลักฐานกล่าวว่าจีนน่าจะได้รับอิทธิพลการทำธูปมาจากประเทศอินเดียในสมัยที่พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาในจีนเมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่นประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ศาสนาพุทธเข้ามาในเมืองไทยราว 300 ปีก่อนคริสตกาล เพราะฉะนั้นถ้าเราจะสืบที่มาของการใช้ธูปคงต้องเจาะจงไปที่ประเทศอินเดีย แหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธและความเชื่อทางศาสนาที่เข้ามามีอิทธิพลในไทย
แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมการไหว้พระต้องมีการจุดธูป ธูปนั้นมีที่มาอย่างไร และมีวิธีการทำงานของมันเป็นอย่างไรตามความเชื่อศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ
ต้นกำเนิดของธูปนั้นมีอยู่มากมาย ในปัจจุบันมีหลักฐานว่าธูปมีต้นกำเนิดมาจากสองประเทศหลักๆ ประเทศแรกคืออินเดีย มีหลักฐานชี้ว่าอินเดียมีการผลิตธูป เครื่องหอม และกำยาน มาตั้งแต่ 1,500-2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาการมาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ส่วนประเทศที่สองคือจีน ซึ่งนักวิชาการกล่าวว่าจีนเริ่มนำดอกไม้แห้งมาทำเป็นธูปมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12
บางหลักฐานกล่าวว่าจีนน่าจะได้รับอิทธิพลการทำธูปมาจากประเทศอินเดียในสมัยที่พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาในจีนเมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่นประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ศาสนาพุทธเข้ามาในเมืองไทยราว 300 ปีก่อนคริสตกาล เพราะฉะนั้นถ้าเราจะสืบที่มาของการใช้ธูปคงต้องเจาะจงไปที่ประเทศอินเดีย แหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธและความเชื่อทางศาสนาที่เข้ามามีอิทธิพลในไทย

คำว่า ‘ธูป’ นั้นเป็นภาษาสันสกฤตที่อ่านว่า ‘ทู-ปะ’ (dhupa) เคยมีบันทึกไว้ในพระเวท ชุดคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดของพราหมณ์-ฮินดู โดยเฉพาะในส่วนของคัมภีร์อาถรรพ์เวท ซึ่งเป็นคัมภีร์เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา และไสยศาสตร์ และในคัมภีร์ฤคเวท คัมภีร์เกี่ยวกับบทสวด
ธูปนั้นมีจุดประสงค์อยู่สองอย่าง หนึ่งคือเพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองคือเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย ลบพลังลบออกไป ความเชื่อทั้งสองนี้ยังส่งอิทธิพลไปถึงจีน และญี่ปุ่นอีกด้วย
ธูปนั้นมีจุดประสงค์อยู่สองอย่าง หนึ่งคือเพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองคือเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย ลบพลังลบออกไป ความเชื่อทั้งสองนี้ยังส่งอิทธิพลไปถึงจีน และญี่ปุ่นอีกด้วย

ในหนังสือความเรียงของ แลฟคาดิโอ เฮิร์น (Lafcadio Hearn) นักเขียนชาวกรีกที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น มีการกล่าวถึงเรื่องธูปในความเรียงเรื่อง ‘Incense’ แลฟคาดิโอกล่าวว่า ธูปในญี่ปุ่นถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 551 โดยรับมาจากประเทศเกาหลีอีกที ในช่วงนั้นญี่ปุ่นรับทั้งโต๊ะหมู่บูชา ธูป และภาพวาดของพระพุทธเจ้ามาจากเกาหลี พร้อมกับความเชื่อที่ว่าธูปสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไปได้ ทั้งวิญญาณอันชั่วร้าย ไปจนถึงโยไค (Yokai) ปีศาจญี่ปุ่น
นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังเชื่อว่าการจุดธูปคือการติดต่อกับโลกเหนือธรรมชาติ ควันธูปเป็นเหมือนสารที่ส่งต่อไปยังอีกโลก นี่จึงเป็นที่มาของการจุดธูปพร้อมกับการสวดมนต์และอธิษฐาน เพราะว่ากันว่าสารที่เราเอ่ยออกมาจะถูกนำไปพร้อมควันธูปไปสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิญญาณ หรือสิ่งชั่วร้ายเพื่อรับสารนั้นๆ
นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังเชื่อว่าการจุดธูปคือการติดต่อกับโลกเหนือธรรมชาติ ควันธูปเป็นเหมือนสารที่ส่งต่อไปยังอีกโลก นี่จึงเป็นที่มาของการจุดธูปพร้อมกับการสวดมนต์และอธิษฐาน เพราะว่ากันว่าสารที่เราเอ่ยออกมาจะถูกนำไปพร้อมควันธูปไปสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิญญาณ หรือสิ่งชั่วร้ายเพื่อรับสารนั้นๆ

ความเชื่อเหล่านี้ล้วนปรากฎอยู่ทั่วโลก แต่ละประเทศมีการพัฒนาความเชื่อแตกต่างกันไป แต่ความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือเรื่องการปัดเป่าความชั่วร้ายด้วยควัน เพราะในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ชาวนอร์สโบราณยังมีการเผาดอกไม้แห้งเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปในพิธีกรรมบูชาเทพเจ้า เช่นเดียวกันกับศาสนาคริสต์ที่มีการเผากำยานเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ไร้มลทิน ดังนั้น หากเราจะพูดว่าธูปเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ก็คงไม่ผิดนัก
อย่างไรก็ตาม ในโลกปัจจุบันมีการรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับผลเสียที่ได้รับจากการสูดดมควันจากธูป โดยธูปนั้นมีส่วนประกอบของขี้เลื่อย กาวกั๊วะก่า และกลิ่นที่สกัดจากพืชหรือสารเคมี เมื่อถูกเผาไหม้จะทำให้เกิดฝุ่นละอองและมีสารพิษระเหยออกมา เช่น สารเบนโซเอไพรีน สารเบนซีน และสารบิวทาไดอีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แถมยังมีสารที่เป็นมลพิษอื่นๆ อีก เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ผู้ที่สูดดมเข้าไปก็จะเกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ เกิดการจาม ไอ ระคายคอ หายใจลำบาก รวมถึงปวดศีรษะอีกด้วย
มาถึงตรงนี้ก็คงพอเข้าใจว่าธูปมีผลดีต่อจิตใจ และผลร้ายต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่เราควรรู้ไว้คือศาสนาพุทธไม่เคยมีการบังคับใช้ธูปเลย การใช้ธูปเพื่อไหว้ในพิธีกรรมต่างๆ เป็นเพียงวัฒนธรรมที่ส่งทอดมาจากอดีตเท่านั้น เพราะฉะนั้นขอให้เรามีเพียงจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน มีสติและศรัทธาที่แน่วแน่ตรงพระรัตนตรัยเท่านี้ก็เกินพอสำหรับการเป็นพุทธศาสนิกชนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในโลกปัจจุบันมีการรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับผลเสียที่ได้รับจากการสูดดมควันจากธูป โดยธูปนั้นมีส่วนประกอบของขี้เลื่อย กาวกั๊วะก่า และกลิ่นที่สกัดจากพืชหรือสารเคมี เมื่อถูกเผาไหม้จะทำให้เกิดฝุ่นละอองและมีสารพิษระเหยออกมา เช่น สารเบนโซเอไพรีน สารเบนซีน และสารบิวทาไดอีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แถมยังมีสารที่เป็นมลพิษอื่นๆ อีก เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ผู้ที่สูดดมเข้าไปก็จะเกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ เกิดการจาม ไอ ระคายคอ หายใจลำบาก รวมถึงปวดศีรษะอีกด้วย
มาถึงตรงนี้ก็คงพอเข้าใจว่าธูปมีผลดีต่อจิตใจ และผลร้ายต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่เราควรรู้ไว้คือศาสนาพุทธไม่เคยมีการบังคับใช้ธูปเลย การใช้ธูปเพื่อไหว้ในพิธีกรรมต่างๆ เป็นเพียงวัฒนธรรมที่ส่งทอดมาจากอดีตเท่านั้น เพราะฉะนั้นขอให้เรามีเพียงจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน มีสติและศรัทธาที่แน่วแน่ตรงพระรัตนตรัยเท่านี้ก็เกินพอสำหรับการเป็นพุทธศาสนิกชนแล้ว