ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่เข้าใจความหมายของคำว่า ‘ปรัชญา’ ดีนัก และสำหรับกลุ่มผู้ศึกษาก็มักรู้จักกับปรัชญาตะวันตกมากกว่าปรัชญาอื่นๆ นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งมาจากการบรรจุวิชาปรัชญาเข้าไปในหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยที่จัดระบบการศึกษาตามแบบตะวันตก ทำให้นักศึกษารู้จักกับชื่อวิชาประหลาดๆ ที่ไม่คุ้นเคย เช่น ตรรกศาสตร์ อภิปรัชญา ญาณวิทยา ปรากฏการณ์วิทยา เป็นต้น แต่เชื่อว่าหลายคนอาจรู้สึกคุ้นเคยกับวิชาตรรกศาสตร์ เพราะเคยเรียนมาแล้วในวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยม
ปัจจุบันปรัชญาตะวันตกกลายเป็นวิธีการหาความจริงที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการใช้มองประเด็นปัจจุบันอย่างเรื่องเอไอ หรือเรื่องจริยศาสตร์ว่าใครควรทำอะไรอย่างไรเพื่อสังคมที่ดีงาม เมื่อใครสักคนพูดถึงเพลโต (Plato) หรือฌอง ปอล ซาร์ต (Jean-Paul Sartre) ทุกคนล้วนรู้จัก บางคนอาจรู้เรื่องแนวคิดของพวกเขาแล้วด้วยซ้ำ แต่เชื่อว่าทุกคนต้องสะอึก หรือนิ่งไปสักพัก เมื่อมีใครพูดถึง ‘ปรัชญาอินเดีย’
หากพูดถึงปรัชญาอินเดีย ชาวไทยคงนึกถึงเรื่องศาสนาเป็นอันดับแรก เนื่องจากชาวไทยมีคตินับถือเทพเจ้าฮินดูมาหลายชั่วอายุคนแล้ว จนเรียกได้ว่าแทบเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อชาวไทย สำหรับใครที่ไม่รู้จัก พวกเขาอาจคิดว่ามันเป็นคำสอนและคำอธิบายทางศาสนาฮินดูที่เกี่ยวโยงกับเทพฮินดูไปเลยก็ได้ อันที่จริงนั้นปรัชญาอินเดียแทบไม่มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับปรัชญากรีกโบราณ คำถามเรื่องสสารของโลกเป็นคำถามที่มีอยู่ในปรัชญาอินเดียมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แต่การจะเทียบกันระหว่างปรัชญาสองฝ่ายนั้นอาจผิดตั้งแต่แรก และไม่ควรเทียบเคียงกัน เพราะมีความแตกต่างเรื่องวิธีการ (methodology) ในการหาความจริง
ปัจจุบันปรัชญาตะวันตกกลายเป็นวิธีการหาความจริงที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการใช้มองประเด็นปัจจุบันอย่างเรื่องเอไอ หรือเรื่องจริยศาสตร์ว่าใครควรทำอะไรอย่างไรเพื่อสังคมที่ดีงาม เมื่อใครสักคนพูดถึงเพลโต (Plato) หรือฌอง ปอล ซาร์ต (Jean-Paul Sartre) ทุกคนล้วนรู้จัก บางคนอาจรู้เรื่องแนวคิดของพวกเขาแล้วด้วยซ้ำ แต่เชื่อว่าทุกคนต้องสะอึก หรือนิ่งไปสักพัก เมื่อมีใครพูดถึง ‘ปรัชญาอินเดีย’
หากพูดถึงปรัชญาอินเดีย ชาวไทยคงนึกถึงเรื่องศาสนาเป็นอันดับแรก เนื่องจากชาวไทยมีคตินับถือเทพเจ้าฮินดูมาหลายชั่วอายุคนแล้ว จนเรียกได้ว่าแทบเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อชาวไทย สำหรับใครที่ไม่รู้จัก พวกเขาอาจคิดว่ามันเป็นคำสอนและคำอธิบายทางศาสนาฮินดูที่เกี่ยวโยงกับเทพฮินดูไปเลยก็ได้ อันที่จริงนั้นปรัชญาอินเดียแทบไม่มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับปรัชญากรีกโบราณ คำถามเรื่องสสารของโลกเป็นคำถามที่มีอยู่ในปรัชญาอินเดียมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แต่การจะเทียบกันระหว่างปรัชญาสองฝ่ายนั้นอาจผิดตั้งแต่แรก และไม่ควรเทียบเคียงกัน เพราะมีความแตกต่างเรื่องวิธีการ (methodology) ในการหาความจริง

เพื่อที่จะเข้าใจปรัชญาอินเดียมากขึ้น เราจึงพูดคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร. สุมาลี มหณรงค์ชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันตกและปรัชญาอินเดีย และวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดคนถึงนิยมปรัชญาตะวันตกมากกว่า ความสำคัญของปรัชญาอินเดียที่ส่งผลทำให้อินเดียกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และส่งอิทธิพลแนวคิดนี้ไปยังประเทศรอบข้าง (รวมถึงประเทศไทย) และความจำเป็นในเรื่องจิตวิญญาณ (spiritruality) ที่แทบไม่เกี่ยวกับอะไรกับศาสนา (religion) ในโลกปัจจุบัน
“เวลาเราพูดถึงปรัชญาตะวันตก เราพูดถึงการรักในความรู้ รักที่จะแสวงหาความรู้อะไรบางอย่าง เราอยากได้ความรู้และอยากครอบครองความรู้อันนี้ ความรู้เป็นเหมือนวัตถุที่ถูกแสวงหา พอครอบครองแล้วจบ บรรลุวัตถุประสงค์ในคราวหนึ่ง แต่ปรัชญาอินเดียสัมพันธ์กับวิธีการแบบจารีต มันไม่ใช่แค่มีความรู้ในวัตถุหนึ่งๆ แล้วพอ แต่ความท้าทายคือเราสามารถเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับความรู้นั้นได้ด้วยหรือไม่” อาจารย์สุมาลีอธิบาย
อาจารย์สุมาลีกล่าวว่า บางทีชาวไทยอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาตั้งแต่เรื่องการใช้คำนิยามศัพท์ระหว่างคำว่า ‘philosophy’ และคำแปลไทยว่า ‘ปรัชญา’
“philos (ความรู้) กับ sophia (ความรัก) ที่แปลว่า “the love of wisdom” หรือรักในความรู้ของกรีก พอเราแปลคำนี้ในภาษาไทยเนี่ย มันเป็นอะไรที่ตลกประหลาด คือเราใช้คำที่มีรากเหง้าความหมายมาจากตะวันตก แต่แปลความหมายในภาษาไทยผ่านภาษาสันสกฤตหรือบาลีที่สะท้อนความคิดของตะวันออกโดยเฉพาะอินเดีย คำศัพท์ “philosophy” เราเขียนภาษาไทยตามภาษาสันสกฤตว่า ‘ปรัชญา’ หรือ ‘ปัญญา’ ในภาษาบาลี ซึ่งคำว่าปรัชญาในบริบทของอินเดียมันคือตัวความรู้ที่ใหญ่มาก คนที่จะรู้ต้องเป็นผู้มีปัญญา รู้ที่ยิ่งใหญ่คือรู้แจ้งและคุณต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของความจริง คนฮินดูจึงมองปรัชญาว่าเป็น ‘ญาณทัศนะ’ หรือ ‘vision’ หรือการที่ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้หลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งความยิ่งใหญ่ของความรู้นี้มันสอดรับได้ดีกับแนวคิดเอกนิยมที่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่ยุคพระเวท”
ปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาอินเดีย: ความแตกต่างที่ควรแยกกันไว้
เราไม่ควรนำปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาอินเดีย มาวางเทียบเคียงกันแบบแนวราบ และชี้ว่าตรงไหนเหมือน หรือไม่เหมือน เนื่องจากปรัชญาทั้งสองฝั่งต่างมีวิธีการศึกษาและเป้าหมายของการศึกษาปรัชญาที่แตกต่างกัน การศึกษาปรัชญาแบบตะวันตกนั้นเป็นการศึกษาที่ไม่ได้เอาตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความรู้นั้น ผู้ศึกษาเป็นเพียงผู้สะสมความรู้ เปรียบเทียบให้เห็นภาพเหมือนการที่เรารู้ว่าเราควรทอดไข่ดาวอย่างไรให้สุกอร่อยแต่ไม่ต้องลงมือทำ ดังนั้น การที่เราจะเรียกตัวเองว่าเป็น ‘ผู้ทอดไข่ดาวที่เก่งที่สุด’ นักปราชญ์อินเดียเสนอว่าเราต้องเป็นคนที่รู้ทั้งวิธีการและปฏิบัติได้จริง“เวลาเราพูดถึงปรัชญาตะวันตก เราพูดถึงการรักในความรู้ รักที่จะแสวงหาความรู้อะไรบางอย่าง เราอยากได้ความรู้และอยากครอบครองความรู้อันนี้ ความรู้เป็นเหมือนวัตถุที่ถูกแสวงหา พอครอบครองแล้วจบ บรรลุวัตถุประสงค์ในคราวหนึ่ง แต่ปรัชญาอินเดียสัมพันธ์กับวิธีการแบบจารีต มันไม่ใช่แค่มีความรู้ในวัตถุหนึ่งๆ แล้วพอ แต่ความท้าทายคือเราสามารถเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับความรู้นั้นได้ด้วยหรือไม่” อาจารย์สุมาลีอธิบาย
อาจารย์สุมาลีกล่าวว่า บางทีชาวไทยอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาตั้งแต่เรื่องการใช้คำนิยามศัพท์ระหว่างคำว่า ‘philosophy’ และคำแปลไทยว่า ‘ปรัชญา’
“philos (ความรู้) กับ sophia (ความรัก) ที่แปลว่า “the love of wisdom” หรือรักในความรู้ของกรีก พอเราแปลคำนี้ในภาษาไทยเนี่ย มันเป็นอะไรที่ตลกประหลาด คือเราใช้คำที่มีรากเหง้าความหมายมาจากตะวันตก แต่แปลความหมายในภาษาไทยผ่านภาษาสันสกฤตหรือบาลีที่สะท้อนความคิดของตะวันออกโดยเฉพาะอินเดีย คำศัพท์ “philosophy” เราเขียนภาษาไทยตามภาษาสันสกฤตว่า ‘ปรัชญา’ หรือ ‘ปัญญา’ ในภาษาบาลี ซึ่งคำว่าปรัชญาในบริบทของอินเดียมันคือตัวความรู้ที่ใหญ่มาก คนที่จะรู้ต้องเป็นผู้มีปัญญา รู้ที่ยิ่งใหญ่คือรู้แจ้งและคุณต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของความจริง คนฮินดูจึงมองปรัชญาว่าเป็น ‘ญาณทัศนะ’ หรือ ‘vision’ หรือการที่ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้หลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งความยิ่งใหญ่ของความรู้นี้มันสอดรับได้ดีกับแนวคิดเอกนิยมที่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่ยุคพระเวท”

พระเวท (vedas) เป็นคัมภีร์ชุดแรกของชาวฮินดูคาดว่าประพันธ์ขึ้นในช่วงราว 1500-1200 ปีก่อนคริสตกาล พระเวทในภาษาสันสกฤตแปลว่า ‘ความรู้’ โดยเชื่อว่าเป็นความรู้แบบศรุติ หรือความรู้ที่ถูกเผยหรือส่งออกมาจากเบื้องบน ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ประกอบด้วยคัมภีร์ทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ ฤคเวท (บทสวดสรรเสริญเทพ), สามเวท (บทสวดและร้อยกรอง), ยชุรเวท (บทสวดเพื่อใช้ในพิธีกรรมบวงสรวงเทพ) และอาถรรพเวท (รวมมนตร์และคาถา)
“ด้วยการที่พระเวทเป็นความรู้แบบญาณทัศนะ (ผู้รู้ ความรู้ และสิ่งที่ถูกรู้ กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน) ความรู้แบบนี้จึงเกี่ยวข้องกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่คนอินเดียเรียกว่า ‘โมกษะ’ ความรู้ที่แสวงหาเอกภาพและมีเป้าหมายที่การบรรลุอุดมคติสูงสุดของชีวิต (โมกษะ) จึงถูกเอาไปใช้ทั้งในด้านการเมือง และถูกนำไปเป็นมิติทางด้านศาสนา มันทำให้คนที่เรียนปรัชญาแบบวิธีการตะวันตกไม่เข้าใจ ไปต่อไม่ได้ เกิดเป็นคำถามว่า เราจะศึกษาความรู้ยังไงถ้าผู้ศึกษากลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้”
การมองความรู้ในมุมมองนี้สอดคล้องไปได้ดีกับความจริงสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ นั่นคือ ‘อาตมัน’ หรือ ‘พรหมัน’ ชาวฮินดูเชื่อว่าพรหมันคือสิ่งสูงสุดในชีวิต ทุกสรรพสิ่งถือกำเนิดมาจากสิ่งนี้ และเป็นที่มาของชุดความคิดเรื่องการแบ่งวรรณะ ทั้ง 4 ได้แก่ พราหมณ์, กษัตริย์, แพศย์ และศูทร โดยเปรียบเทียบส่วนต่างๆ เป็นเหมือนร่างกายของพรหมัน เพื่อก่อความสมดุลในจักรวาล แนวคิดนี้ถูกนิยามด้วยคำว่า ‘เอกนิยม’
“ด้วยการที่พระเวทเป็นความรู้แบบญาณทัศนะ (ผู้รู้ ความรู้ และสิ่งที่ถูกรู้ กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน) ความรู้แบบนี้จึงเกี่ยวข้องกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่คนอินเดียเรียกว่า ‘โมกษะ’ ความรู้ที่แสวงหาเอกภาพและมีเป้าหมายที่การบรรลุอุดมคติสูงสุดของชีวิต (โมกษะ) จึงถูกเอาไปใช้ทั้งในด้านการเมือง และถูกนำไปเป็นมิติทางด้านศาสนา มันทำให้คนที่เรียนปรัชญาแบบวิธีการตะวันตกไม่เข้าใจ ไปต่อไม่ได้ เกิดเป็นคำถามว่า เราจะศึกษาความรู้ยังไงถ้าผู้ศึกษากลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้”
การมองความรู้ในมุมมองนี้สอดคล้องไปได้ดีกับความจริงสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ นั่นคือ ‘อาตมัน’ หรือ ‘พรหมัน’ ชาวฮินดูเชื่อว่าพรหมันคือสิ่งสูงสุดในชีวิต ทุกสรรพสิ่งถือกำเนิดมาจากสิ่งนี้ และเป็นที่มาของชุดความคิดเรื่องการแบ่งวรรณะ ทั้ง 4 ได้แก่ พราหมณ์, กษัตริย์, แพศย์ และศูทร โดยเปรียบเทียบส่วนต่างๆ เป็นเหมือนร่างกายของพรหมัน เพื่อก่อความสมดุลในจักรวาล แนวคิดนี้ถูกนิยามด้วยคำว่า ‘เอกนิยม’

“ครูพราหมณ์พยายามอธิบายทุกๆ อย่างให้อยู่ภายใต้ธงที่เป็นทั้งรากฐานและจุดหมายเดียวกัน นั่นคือพรหมัน ถ้านิยามความรู้เท่ากับญาณทัศนะแบบนี้ มันสวมได้กับความรู้แบบพระเวท ทำให้ปรัชญาอินเดียเป็นปรัชญาที่มีความลี้ลับอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความเป็นรูปธรรม และนี่ก็เป็นปัญหาใหญ่ของการทำปรัชญาอินเดียด้วย คือมันทำให้ปรัชญาอินเดียสูญเสียอัตลักษณ์ของตัวเอง และถูกผลักไปอยู่ในเรื่องของศาสนา”
หนึ่งในสิ่งที่อาจเป็นข้อด้อยของการสูญเสียอัตลักษณ์จนกลายเป็นศาสนาคือทำให้แนวคิดเรื่องจริยศาสตร์นั้นกลายเป็นเรื่องของศาสนาไปด้วย โดยอาจารย์สุมาลีกล่าวว่า ปรัชญาอินเดียอาจมอบอะไรแก่สังคมได้น้อยกว่า หากเทียบกับปรัชญาจริยศาสตร์อย่างเรื่องประโยชน์นิยมของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) หรือเรื่องกฎสากลของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) ที่มีการชั่งน้ำหนักด้วยเหตุและผล ถ้าเป็นเรื่องของกรรม (karma) และกุศลกรรม (kusala-karma) ที่ปรากฎอยู่ในศาสนาพุทธ หรือศาสนาที่กำเนิดอยู่ในอนุทวีปอินเดีย การตัดสินเชิงจริยศาสตร์ที่อ้างพลังเหนือธรรมชาตินั้นแทบไม่มีความยุติธรรมเลย เพราะไม่มีมาตรวัดความถูกผิดที่สมเหตุสมผลพอ
“โอกาสที่ปรัชญาอินเดียตามความหมายข้างต้นจะให้คำอธิบายด้านจริยศาสตร์ในสังคม อาจารย์ว่าน้อย แถมบิดเบือนด้วย ยกตัวอย่างคำว่า ‘กรรม’ ถ้าเชื่อว่ากรรมสัมพันธ์กับรากฐานบางอย่างที่อยู่เบื้องหลังเช่นพรหมลิขิต เราแทบทำอะไรไม่ได้ ต้องปล่อยทุกอย่างไม่ตามยถา เพราะมันเป็นกรรมของเธอที่จะต้องเจออะไรแย่ๆ คือถ้าเรามองว่ากรรมคือการมีพลังบางอย่างในอดีตชาติมาส่งผลในปัจจุบัน มันไม่แฟร์เท่าไร เพราะชาติก่อนเราไม่รู้ว่าเราทำอะไรมา อีกอย่างมันเป็นอะไรที่เราแตะต้องไม่ได้ มันเกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์”
หนึ่งในสิ่งที่อาจเป็นข้อด้อยของการสูญเสียอัตลักษณ์จนกลายเป็นศาสนาคือทำให้แนวคิดเรื่องจริยศาสตร์นั้นกลายเป็นเรื่องของศาสนาไปด้วย โดยอาจารย์สุมาลีกล่าวว่า ปรัชญาอินเดียอาจมอบอะไรแก่สังคมได้น้อยกว่า หากเทียบกับปรัชญาจริยศาสตร์อย่างเรื่องประโยชน์นิยมของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) หรือเรื่องกฎสากลของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) ที่มีการชั่งน้ำหนักด้วยเหตุและผล ถ้าเป็นเรื่องของกรรม (karma) และกุศลกรรม (kusala-karma) ที่ปรากฎอยู่ในศาสนาพุทธ หรือศาสนาที่กำเนิดอยู่ในอนุทวีปอินเดีย การตัดสินเชิงจริยศาสตร์ที่อ้างพลังเหนือธรรมชาตินั้นแทบไม่มีความยุติธรรมเลย เพราะไม่มีมาตรวัดความถูกผิดที่สมเหตุสมผลพอ
“โอกาสที่ปรัชญาอินเดียตามความหมายข้างต้นจะให้คำอธิบายด้านจริยศาสตร์ในสังคม อาจารย์ว่าน้อย แถมบิดเบือนด้วย ยกตัวอย่างคำว่า ‘กรรม’ ถ้าเชื่อว่ากรรมสัมพันธ์กับรากฐานบางอย่างที่อยู่เบื้องหลังเช่นพรหมลิขิต เราแทบทำอะไรไม่ได้ ต้องปล่อยทุกอย่างไม่ตามยถา เพราะมันเป็นกรรมของเธอที่จะต้องเจออะไรแย่ๆ คือถ้าเรามองว่ากรรมคือการมีพลังบางอย่างในอดีตชาติมาส่งผลในปัจจุบัน มันไม่แฟร์เท่าไร เพราะชาติก่อนเราไม่รู้ว่าเราทำอะไรมา อีกอย่างมันเป็นอะไรที่เราแตะต้องไม่ได้ มันเกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์”
ปรัชญาอินเดียกับชาตินิยมฮินดู
ปรัชญาอินเดียในปัจจุบันยังมีกลุ่มนักวิชาการที่สนใจศึกษาอยู่จำนวนหนึ่ง (แต่ไม่มากเท่าปรัชญาตะวันตก) บางกลุ่มพยายามศึกษาด้วยวิธีการตะวันตก ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาปรัชญาอินเดียแบบ ‘ร่วมสมัย’ ที่อาจนิยมในกลุ่มประเทศตะวันตก ทว่าคำว่า ‘ร่วมสมัย’ ก็เป็นที่ถกเถียงและดูเหมือนไม่เป็นที่นิยมในอินเดีย เพราะอิทธิพลของจารีตนิยมมีมากกว่า แม้แต่ในประเทศไทยยังมีหนังสือตำราเขียนโดยนักวิชาการไทยรุ่นเก่าที่ยังมีการกล่าวถึงปรัชญาอินเดียในเชิงจารีตมากกว่าร่วมสมัย ส่งผลทำให้คนไทยรู้จักปรัชญาอินเดียแบบร่วมสมัยน้อยลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม ความเป็นจารีตนิยมถือว่าเป็นกำลังสำคัญของชนชาติฮินดู เพราะสามารถก่อให้เกิดความเป็นปึกเป็นแผ่นในประเทศได้
“ชาวฮินดูนั้นสู้มาเยอะ พวกเขาจึงต้องการหาอะไรที่มันสร้างเอกภาพได้ทั้งในทางการเมืองและในทางศาสนา อะไรที่สามารถเชื่อมโยงให้คนอินเดียมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเอกภาพร่วมกัน และเอกภาพนั้นก็คือการย้อนกลับไปหารากเหง้าของตัวเอง คือการกลับไปที่พระเวท กลับไปที่ความเชื่อเรื่องญาณทัศนะแบบเก่า นักคิดอินเดียจำนวนมาก (รวมทั้งนักปรัชญาอินเดียด้วย) ไม่ได้มองว่าการที่ทัศนะทางความคิดหรือปรัชญาถูกรวมเข้ากับศาสนาจะเป็นปัญหาอะไร”
ดินแดนเอเชียใต้ก่อนที่จะเป็นประเทศอินเดียในปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยการแบ่งแยกอาณาจักรและสงครามนองเลือด ตั้งแต่สงครามที่รบกันเองระหว่างเมืองที่นักวิชาการตีความว่าเป็นต้นแบบให้กับสงครามคุรุเกษตรในมหากาพย์มหาภารตะ การมาถึงของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การถูกรุกรานทางเหนือของชาวจีน การถูกปกครองภายใต้ระบอบสุลต่านของชาวมุสลิมในราชวงศ์โมกุล ไปจนถึงยุคอาณานิคมจากอังกฤษที่เรียกว่า ‘บริติชราช’ โดยอาจารย์สุมาลีเล่าว่า ยุคที่การสร้างความเอกภาพแบบฮินดูเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเต็มรูปแบบอยู่ในสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราวปี ค.ศ. 319-467) ยุคนั้นเป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับความเป็นฮินดูที่ได้รับความหมายใหม่ทั้งในทางการเมืองและในทางศาสนา มีการนำทุกเทพทั้งชั้นน้อยชั้นใหญ่รวมเข้าอยู่ในพรหมัน และเป็นยุคที่พระวิษณุเป็นเทพที่ชาวฮินดูยกย่องให้เป็นเทพสูงสุด วิษณุเทพถูกนำไปเชื่อมต่อกับเทพที่ชาวอารยันนับถือ นั่นคือ อินทรเทพ และเป็นต้นสายโคตรวงศ์ของกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ
ดินแดนเอเชียใต้ก่อนที่จะเป็นประเทศอินเดียในปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยการแบ่งแยกอาณาจักรและสงครามนองเลือด ตั้งแต่สงครามที่รบกันเองระหว่างเมืองที่นักวิชาการตีความว่าเป็นต้นแบบให้กับสงครามคุรุเกษตรในมหากาพย์มหาภารตะ การมาถึงของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การถูกรุกรานทางเหนือของชาวจีน การถูกปกครองภายใต้ระบอบสุลต่านของชาวมุสลิมในราชวงศ์โมกุล ไปจนถึงยุคอาณานิคมจากอังกฤษที่เรียกว่า ‘บริติชราช’ โดยอาจารย์สุมาลีเล่าว่า ยุคที่การสร้างความเอกภาพแบบฮินดูเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเต็มรูปแบบอยู่ในสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราวปี ค.ศ. 319-467) ยุคนั้นเป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับความเป็นฮินดูที่ได้รับความหมายใหม่ทั้งในทางการเมืองและในทางศาสนา มีการนำทุกเทพทั้งชั้นน้อยชั้นใหญ่รวมเข้าอยู่ในพรหมัน และเป็นยุคที่พระวิษณุเป็นเทพที่ชาวฮินดูยกย่องให้เป็นเทพสูงสุด วิษณุเทพถูกนำไปเชื่อมต่อกับเทพที่ชาวอารยันนับถือ นั่นคือ อินทรเทพ และเป็นต้นสายโคตรวงศ์ของกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ

“วิษณุ คือชื่อปรากฎในเทพท้องถิ่น แต่ถูกนำมาเป็นเทพในพระเวท เช่น วิษณุมากลายเป็นญาติพี่น้องของพระอินทร์ เป็นต้น มันคือการทำให้เกิดเรื่องราวใหม่ขึ้นมา เพราะว่าพระอินทร์เคยเป็นเทพที่สำคัญมากในยุคอารยัน วิษณุเทพก่อนหน้านี้อาจจะไม่มีความเชื่อมโยงกับพระอินทร์เลยก็ได้ แต่ถูกจับมาเชื่อมโยงกันชัดเจนเมื่อหลังคริสตกาลตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะ การเชื่อมโยงเทพอารยันเข้ากับเทพท้องถิ่นซึ่งมีมากมายได้รับการจัดลำดับชั้นตามโครงสร้างการปกครองแนวดิ่ง คือเทพทั้งหลายก็มีออราและอำนาจหลายระดับ อยู่ในตำแหน่งแห่งที่สูงต่ำไล่ลงไป เหมือนคนเกิดมามีหลายวรรณะ สูงต่ำไม่เท่ากัน เรื่องราวของเทพจึงสนับสนุนการจัดแบ่งคนตามโครงสร้างอำนาจได้ดีด้วย นอกจากนี้ พระวิษณุยังมีภาพลักษณ์คือความอุดมสมบูรณ์ และเชื่อมโยงกับเทพสุริยะ โดยคนท้องถิ่นอย่างชาวดราวิเดียนก็นับถือดวงอาทิตย์อยู่ก่อนแล้ว”
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อินเดียโบราณตั้งแต่ก่อนยุคพระเวทนั้นเรียกว่า ‘ดราวิเดียน’ นักวิชาการตั้งทฤษฎีว่าชาวดราวิเดียนถูกรุกรานจากชนเผ่าเร่ร่อนจากตะวันออกกลางที่เรียกว่า ‘อารยัน’ พร้อมกับนำเทพเจ้าของตนเข้ามาด้วย หลังจากปักหลักตั้งฐานทำให้ทั้งเทพท้องถิ่นดราวิเดียนผสมปนเปเข้ากับเทพของอารยัน หรือเทพในพระเวท
“ครูพราหมณ์พยายามจัดทุกอย่างให้อยู่ในโครงสร้างอำนาจแนวดิ่ง ทำให้วิษณุเทพมีภาคอวตารเยอะแยะเลย รวมทั้งอวตารเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วย ในแง่นึงเรื่องของตำนานก็มีส่วนทำให้ทุกอย่างมีแกนเดียวกันไปกับพรหมันที่เป็นรากฐานของทุกสิ่งในจักรวาล ทั้งหมดนี้คือเอกนิยมแบบสัมบูรณนิยม (absolutism) ของฮินดู ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับคนวรรณะสูง และราชวงศ์ที่ต้องการรักษาอำนาจ”
“มันก็ยังคงอยู่แหละค่ะ การศึกษาวิทยาศาสตร์กายภาพตอนนี้ก็ลดทอนสิ่งต่างๆ ไปเยอะแยะเลย เราลดคนเป็นอะตอมแล้ว แต่อย่าลืมนะว่าสิ่งที่เล็กกว่าอะตอมก็ยังมี อะตอมยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด วิทยาศาสตร์กำหนดนิยามศัพท์ใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ใช่คำศัพท์สุดท้ายของคำอธิบายชีวิต โลก และจักรวาล ต่างจากคำศัพท์ของพราหมณ์ฮินดูที่พยายามเรียกบางสิ่งสุดท้ายหรือมีอยู่อย่างสมบูรณ์สูงสุดว่าพรหมันก็ดี อาตมันก็ดี ปรมาตมันก็ดี แม้จะอธิบายไม่ได้ว่ามันคืออะไร ไม่ว่าจะยังไง คำศัพท์ทางศาสนาเหล่านี้กับคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ล้วนสื่อถืออะไรบางอย่างที่เป็นนามธรรมเหมือนกัน เราอาจเข้าใจว่าคำว่าอะตอมเป็นคำศัพท์ที่รูปธรรม จริงๆ ไม่ใช่ อะตอมยังเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสไม่ได้ เพียงแต่เราเชื่อในเครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์ แม้แต่การศึกษาเรื่องประสาทวิทยา ตอนนี้เซลล์ประสาทหรือนิวรอน (neuron) ไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดแล้ว เพราะข้างในนิวรอนก็ยังมีไมโครทิวบูล (microtubule) หรือโปรตีนอย่างน้อย 13 ขด และนักประสาทวิทยาก็จะค้นพบอะไรที่มันเล็กลงไปอีกเรื่อยๆ หรือเรื่องจิตใต้สำนึก (consciousness) ก็เช่นกัน ก็ยังถกเถียงกันว่าเป็นเรื่องของจิต (mind) หรือสมอง”
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อินเดียโบราณตั้งแต่ก่อนยุคพระเวทนั้นเรียกว่า ‘ดราวิเดียน’ นักวิชาการตั้งทฤษฎีว่าชาวดราวิเดียนถูกรุกรานจากชนเผ่าเร่ร่อนจากตะวันออกกลางที่เรียกว่า ‘อารยัน’ พร้อมกับนำเทพเจ้าของตนเข้ามาด้วย หลังจากปักหลักตั้งฐานทำให้ทั้งเทพท้องถิ่นดราวิเดียนผสมปนเปเข้ากับเทพของอารยัน หรือเทพในพระเวท
“ครูพราหมณ์พยายามจัดทุกอย่างให้อยู่ในโครงสร้างอำนาจแนวดิ่ง ทำให้วิษณุเทพมีภาคอวตารเยอะแยะเลย รวมทั้งอวตารเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วย ในแง่นึงเรื่องของตำนานก็มีส่วนทำให้ทุกอย่างมีแกนเดียวกันไปกับพรหมันที่เป็นรากฐานของทุกสิ่งในจักรวาล ทั้งหมดนี้คือเอกนิยมแบบสัมบูรณนิยม (absolutism) ของฮินดู ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับคนวรรณะสูง และราชวงศ์ที่ต้องการรักษาอำนาจ”
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ และความสำคัญของจิตวิญญาณ
ในวันที่วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า และมีเหตุผลรองรับในเกือบทุกปรากฏการณ์ ศาสนายังคงมีความสำคัญต่อชีวิตผู้คนในปัจจุบัน คนไทยเองก็เริ่มหันมาสนใจเรื่องการดูดวง และของขลัง มากขึ้น หรือเรียกรวมๆ ว่าเป็น ‘มูเตลู’ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี การนิยมสายมูของคนไทยไม่ได้หมายถึงการคงไว้ซึ่งอำนาจทางศาสนา แต่เป็นการปลอบประโลมจิตใจด้วยความศรัทธา เราจึงถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์กับศาสนาว่าในวันที่ผู้คนเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นขนาดนี้ ศาสนาจะเสื่อมลงหรือไม่ในอนาคต“มันก็ยังคงอยู่แหละค่ะ การศึกษาวิทยาศาสตร์กายภาพตอนนี้ก็ลดทอนสิ่งต่างๆ ไปเยอะแยะเลย เราลดคนเป็นอะตอมแล้ว แต่อย่าลืมนะว่าสิ่งที่เล็กกว่าอะตอมก็ยังมี อะตอมยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด วิทยาศาสตร์กำหนดนิยามศัพท์ใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ใช่คำศัพท์สุดท้ายของคำอธิบายชีวิต โลก และจักรวาล ต่างจากคำศัพท์ของพราหมณ์ฮินดูที่พยายามเรียกบางสิ่งสุดท้ายหรือมีอยู่อย่างสมบูรณ์สูงสุดว่าพรหมันก็ดี อาตมันก็ดี ปรมาตมันก็ดี แม้จะอธิบายไม่ได้ว่ามันคืออะไร ไม่ว่าจะยังไง คำศัพท์ทางศาสนาเหล่านี้กับคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ล้วนสื่อถืออะไรบางอย่างที่เป็นนามธรรมเหมือนกัน เราอาจเข้าใจว่าคำว่าอะตอมเป็นคำศัพท์ที่รูปธรรม จริงๆ ไม่ใช่ อะตอมยังเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสไม่ได้ เพียงแต่เราเชื่อในเครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์ แม้แต่การศึกษาเรื่องประสาทวิทยา ตอนนี้เซลล์ประสาทหรือนิวรอน (neuron) ไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดแล้ว เพราะข้างในนิวรอนก็ยังมีไมโครทิวบูล (microtubule) หรือโปรตีนอย่างน้อย 13 ขด และนักประสาทวิทยาก็จะค้นพบอะไรที่มันเล็กลงไปอีกเรื่อยๆ หรือเรื่องจิตใต้สำนึก (consciousness) ก็เช่นกัน ก็ยังถกเถียงกันว่าเป็นเรื่องของจิต (mind) หรือสมอง”

ในปรัชญาอินเดียมีสำนักปรัชญา 6 สำนักที่ยอมรับว่าอยู่ในฝ่ายจารีต (คือฝ่ายที่ยอมรับพระเวทและความรู้ตามนิยามแบบพระเวท) ได้แก่ นยายะ, ไวเศษิกะ, เวทานตะ, สางขยะ, โยคะ และมิมางสา ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวไทยไม่ค่อยคุ้นหู ซึ่งเนื้อหาภายในปรัชญาแต่ละสำนักมีการอธิบายสรรพสิ่งรอบตัวด้วยการนิยามศัพท์ บางสำนักอธิบายไม่ต่างจาก เดโมคริตุส (Democritus) หรือมีการพูดเรื่องทวินิยมไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่ เรเน เดการ์ต (Rene Decartes) คิดเกี่ยวกับเรื่องกายและจิต (mind/body)
“ยูวัล ฮารารี (Yuval Harari) คนเขียนหนังสือเซเปียนส์ บอกว่าจริงๆ แล้วศาสนากับวิทยาศาสตร์เป็นเหมือนคู่แต่งงานกัน สองอย่างนี้พูดกันคนละเรื่องแต่จริงๆ แล้วตัวรูปแบบมันคล้ายกันและส่งเสริมกันได้ ในขณะที่วิทยาศาสตร์อยู่กับความจริง ศาสนาอยู่กับระเบียบทางสังคม วิทยาศาสตร์ต้องการความช่วยเหลือของศาสนาในการเผยแพร่ความจริง ส่วนศาสนาก็ต้องการการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์เพื่อให้คำสอนของตัวเองน่าเชื่อถือ การที่ศาสนาดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าเป็นเพราะยังเชื่อมกับวิทยาศาสตร์ได้ไม่ดีพอ ไม่รู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรไปยืนยันหรือตรวจสอบสิ่งที่มองไม่เห็นอธิบายไม่ได้ เช่น ไม่รู้ว่าจะไปตรวจสอบ พรหมัน หรือ นิพพาน ยังไง จริงๆ วิทยาศาสตร์ก็มีความคลุมเครือแต่เขาสามารถโต้แย้งได้ ส่วนศาสนาเป็นเรื่องที่คนไม่แน่ใจว่าแตะได้หรือเปล่า มันสร้างข้อโต้แย้งไม่ได้ ถ้าสองเรื่องนี้ (คือศาสนากับวิทยาศาสตร์) เชื่อมโยงกันได้อย่างสมบูรณ์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็จะขยายไปได้ไกลในหมู่ชาวบ้าน ส่วนศาสนาก็จะไม่ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นแค่ความเชื่อเทววิทยา แต่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์บางอย่างรับรอง”
นอกจากเรื่องของวิทยาศาสตร์แล้ว ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล และการศึกษาที่เพ่งสนใจไปที่เหตุผล ทำให้หลายคนกลายเป็นนักเหตุผลนิยม คนเริ่มไม่นับถือศาสนามากขึ้น เหตุผลหลักๆ เกิดมาจากการที่เห็นศาสนาเป็นต้นกำเนิดของการเข่นฆ่ากัน สถาบันทางศาสนามีจุดด่างพร้อย และหลงระเริงในอำนาจ แทนที่ศาสนาจะกลายเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ กลับกลายเป็นสิ่งที่ขัดจากคำสอนเดิมที่มีอยู่ไปมากโข
“ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาพูดว่าเราเป็นชาวพุทธ เรามักอ้างว่านี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ศาสนาพุทธทุกวันนี้มันไม่มีแค่คำสอนไงคะ ทุกวันนี้มันมีแง่มุมต่างๆ งอกขึ้นมาเยอะแยะเลย ทั้งองค์ประกอบ สถาบัน พิธีกรรม และประวัติศาสตร์ใหม่ที่ไม่มีในสมัยพุทธกาล เพราะฉะนั้นคำว่าศาสนาในปัจจุบันมันจึงรวมเป็นสถาบันทางศาสนา เช่น สังฆมณฑล เป็นต้น ซึ่งมันไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว มันเป็นกลายเป็นเรื่องข้อตกลง และการจัดระเบียบทางสังคม”
“ดังนั้น เวลาเขาต้องการให้คนกตัญญูแล้วอ้างเรื่องศาสนา เราต้องดูว่าเขาอ้างศาสนาในแบบที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือเขาอ้างศาสนาเพื่อให้เรายอมเป็นสมาชิกที่เชื่องและว่าง่ายอยู่ในสถาบันทางศาสนาเดียวกัน”
“ยูวัล ฮารารี (Yuval Harari) คนเขียนหนังสือเซเปียนส์ บอกว่าจริงๆ แล้วศาสนากับวิทยาศาสตร์เป็นเหมือนคู่แต่งงานกัน สองอย่างนี้พูดกันคนละเรื่องแต่จริงๆ แล้วตัวรูปแบบมันคล้ายกันและส่งเสริมกันได้ ในขณะที่วิทยาศาสตร์อยู่กับความจริง ศาสนาอยู่กับระเบียบทางสังคม วิทยาศาสตร์ต้องการความช่วยเหลือของศาสนาในการเผยแพร่ความจริง ส่วนศาสนาก็ต้องการการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์เพื่อให้คำสอนของตัวเองน่าเชื่อถือ การที่ศาสนาดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าเป็นเพราะยังเชื่อมกับวิทยาศาสตร์ได้ไม่ดีพอ ไม่รู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรไปยืนยันหรือตรวจสอบสิ่งที่มองไม่เห็นอธิบายไม่ได้ เช่น ไม่รู้ว่าจะไปตรวจสอบ พรหมัน หรือ นิพพาน ยังไง จริงๆ วิทยาศาสตร์ก็มีความคลุมเครือแต่เขาสามารถโต้แย้งได้ ส่วนศาสนาเป็นเรื่องที่คนไม่แน่ใจว่าแตะได้หรือเปล่า มันสร้างข้อโต้แย้งไม่ได้ ถ้าสองเรื่องนี้ (คือศาสนากับวิทยาศาสตร์) เชื่อมโยงกันได้อย่างสมบูรณ์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็จะขยายไปได้ไกลในหมู่ชาวบ้าน ส่วนศาสนาก็จะไม่ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นแค่ความเชื่อเทววิทยา แต่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์บางอย่างรับรอง”
นอกจากเรื่องของวิทยาศาสตร์แล้ว ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล และการศึกษาที่เพ่งสนใจไปที่เหตุผล ทำให้หลายคนกลายเป็นนักเหตุผลนิยม คนเริ่มไม่นับถือศาสนามากขึ้น เหตุผลหลักๆ เกิดมาจากการที่เห็นศาสนาเป็นต้นกำเนิดของการเข่นฆ่ากัน สถาบันทางศาสนามีจุดด่างพร้อย และหลงระเริงในอำนาจ แทนที่ศาสนาจะกลายเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ กลับกลายเป็นสิ่งที่ขัดจากคำสอนเดิมที่มีอยู่ไปมากโข
“ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาพูดว่าเราเป็นชาวพุทธ เรามักอ้างว่านี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ศาสนาพุทธทุกวันนี้มันไม่มีแค่คำสอนไงคะ ทุกวันนี้มันมีแง่มุมต่างๆ งอกขึ้นมาเยอะแยะเลย ทั้งองค์ประกอบ สถาบัน พิธีกรรม และประวัติศาสตร์ใหม่ที่ไม่มีในสมัยพุทธกาล เพราะฉะนั้นคำว่าศาสนาในปัจจุบันมันจึงรวมเป็นสถาบันทางศาสนา เช่น สังฆมณฑล เป็นต้น ซึ่งมันไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว มันเป็นกลายเป็นเรื่องข้อตกลง และการจัดระเบียบทางสังคม”
“ดังนั้น เวลาเขาต้องการให้คนกตัญญูแล้วอ้างเรื่องศาสนา เราต้องดูว่าเขาอ้างศาสนาในแบบที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือเขาอ้างศาสนาเพื่อให้เรายอมเป็นสมาชิกที่เชื่องและว่าง่ายอยู่ในสถาบันทางศาสนาเดียวกัน”

ก่อนจะจบการพูดคุยเรื่องปรัชญาอินเดีย ร่ายยาวจนมาถึงเรื่องของศาสนาและวิทยาศาสตร์ เราจึงอยากให้อาจารย์สุมาลีแสดงความคิดเห็นว่า เราควรทำอย่างไรให้กลับมาศรัทธาในศาสนาอีกครั้ง และเรื่องของจิตวิญญาณยังจำเป็นอยู่ไหมในปัจจุบัน และอนาคต ต่อให้ตัวเองเป็นพวกเหตุผลนิยมก็ตาม
“คือเราควรฝึกให้สามารถแยกความต่างระหว่างศาสนา (religion) กับจิตวิญญาณ (spirituality) ศาสนาเป็นคำกำกวม มีหลายนัย และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองได้ง่าย ศาสนาแปลว่าคำสอนก็ได้ หรือแปลว่าสถาบันทางสังคมแบบหนึ่งก็ได้ ถ้ามองศาสนาในฐานะเป็นสถาบันทางสังคมแบบหนึ่ง เราก็ต้องยอมรับว่าศาสนาเป็นเรื่องข้อตกลง ส่วนจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการเดินทางเข้าไปภายในตัวเอง ความหลุดพ้นจึงเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ไม่ใช่เรื่องของศาสนา แต่การที่เรามีความเข้าใจว่าศาสนาเป็นเรื่องของวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ หรือเข้าใจว่าศาสนาเป็นเรื่องของระบบอำนาจที่เอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง นั่นเป็นเพราะว่าเราผ่านการคิดด้วยเหตุผลมาพอสมควร”
“อาจารย์ฮารารีกล่าวไว้อีกว่า ‘religion is a deal; spirituality is a journey’ (ศาสนาคือข้อตกลง ส่วนจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการเดินทาง) เราไม่จำเป็นต้องมีศรัทธาในศาสนา เพราะศาสนาในปัจจุบันมักเป็นเรื่องของข้อตกลง การตอบแทน และผลประโยชน์ ศาสนากับจิตวิญญาณเป็นคนละเรื่องกัน ส่วนเรื่องจิตวิญญาณนี่ไม่ใช่เรื่องลี้ลับอย่างที่เข้าใจกันนะคะ คำว่า จิตวิญญาณ มันหมายถึงการที่เราพยายามมีสติพิจารณาตัวเอง เดินทางเข้าไปข้างในตัวเองจนสามารถปลดปล่อยตัวเองจากบ่วง การเกิด หรือทุกข์บางอย่างได้จริง”
“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านเคยบอกว่าถ้ามนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาได้ เราไม่ควรพัฒนาแค่ร่างกายของเรา เราต้องพัฒนาจิตใจของเราด้วย พัฒนาให้เรารู้คิดแหลมคมขึ้น เห็นความเห็นที่หลากหลายขึ้น มีมายเซ็ตที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่การพัฒนาจิตใจก็อาจยังไม่ใช่การเดินทางเข้าไปดูจิตวิญญาณของตนเอง บางทีจิตใจถูกมองว่าเป็นเรื่องของความคิดเท่านั้น แต่จิตวิญญาณจึงเป็นเรื่องของการที่เราเอาตัวเองไปเกี่ยวข้อง (engage) และมีประสบการณ์ตรงกับความรู้สึกข้างในของตัวเอง ต่อให้คุณรู้เรื่องจิตวิทยามากขนาดไหน ถ้าคุณไม่พยายามเอาตัวเองเข้าไปก็คงไม่มีความสุข ดังนั้น จิตวิญญาณมีความจำเป็นมากค่ะ เราทิ้งศาสนาไปเลยก็ได้”
“คือเราควรฝึกให้สามารถแยกความต่างระหว่างศาสนา (religion) กับจิตวิญญาณ (spirituality) ศาสนาเป็นคำกำกวม มีหลายนัย และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองได้ง่าย ศาสนาแปลว่าคำสอนก็ได้ หรือแปลว่าสถาบันทางสังคมแบบหนึ่งก็ได้ ถ้ามองศาสนาในฐานะเป็นสถาบันทางสังคมแบบหนึ่ง เราก็ต้องยอมรับว่าศาสนาเป็นเรื่องข้อตกลง ส่วนจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการเดินทางเข้าไปภายในตัวเอง ความหลุดพ้นจึงเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ไม่ใช่เรื่องของศาสนา แต่การที่เรามีความเข้าใจว่าศาสนาเป็นเรื่องของวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ หรือเข้าใจว่าศาสนาเป็นเรื่องของระบบอำนาจที่เอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง นั่นเป็นเพราะว่าเราผ่านการคิดด้วยเหตุผลมาพอสมควร”
“อาจารย์ฮารารีกล่าวไว้อีกว่า ‘religion is a deal; spirituality is a journey’ (ศาสนาคือข้อตกลง ส่วนจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการเดินทาง) เราไม่จำเป็นต้องมีศรัทธาในศาสนา เพราะศาสนาในปัจจุบันมักเป็นเรื่องของข้อตกลง การตอบแทน และผลประโยชน์ ศาสนากับจิตวิญญาณเป็นคนละเรื่องกัน ส่วนเรื่องจิตวิญญาณนี่ไม่ใช่เรื่องลี้ลับอย่างที่เข้าใจกันนะคะ คำว่า จิตวิญญาณ มันหมายถึงการที่เราพยายามมีสติพิจารณาตัวเอง เดินทางเข้าไปข้างในตัวเองจนสามารถปลดปล่อยตัวเองจากบ่วง การเกิด หรือทุกข์บางอย่างได้จริง”
“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านเคยบอกว่าถ้ามนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาได้ เราไม่ควรพัฒนาแค่ร่างกายของเรา เราต้องพัฒนาจิตใจของเราด้วย พัฒนาให้เรารู้คิดแหลมคมขึ้น เห็นความเห็นที่หลากหลายขึ้น มีมายเซ็ตที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่การพัฒนาจิตใจก็อาจยังไม่ใช่การเดินทางเข้าไปดูจิตวิญญาณของตนเอง บางทีจิตใจถูกมองว่าเป็นเรื่องของความคิดเท่านั้น แต่จิตวิญญาณจึงเป็นเรื่องของการที่เราเอาตัวเองไปเกี่ยวข้อง (engage) และมีประสบการณ์ตรงกับความรู้สึกข้างในของตัวเอง ต่อให้คุณรู้เรื่องจิตวิทยามากขนาดไหน ถ้าคุณไม่พยายามเอาตัวเองเข้าไปก็คงไม่มีความสุข ดังนั้น จิตวิญญาณมีความจำเป็นมากค่ะ เราทิ้งศาสนาไปเลยก็ได้”

อาจารย์สุมาลี มหณรงค์ชัย เคยเดินทางเพื่อศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยยวาฮาร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru University) ประเทศอินเดีย นานเกือบ 3 ปี ปัจจุบันสอนวิชาปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) วิชาพุทธปรัชญา (Buddhist Philosophy) วิชาปรัชญาอินเดีย (Indian Philosophy) วิชาปรัชญาศาสนา (Philosophy of Religion) โดยมีความหวังว่าจะมีนักศึกษาสักคนจะสานต่องานวิชาการเกี่ยวกับปรัชญาอินเดียร่วมสมัยมากขึ้น เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ในประเทศไทยน้อยมาก อาจารย์ยังคงผลิตผลงานผ่านงานเขียนในวารสารต่าง ๆ รวมทั้งวารสารธรรมศาสตร์ และมีหนังสือตีพิมพ์แล้วหลายเล่ม ผลงานล่าสุดของอาจารย์คือหนังสือ ‘ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญา ชุดที่ 1 ทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน’ โดยสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นสนใจปรัชญาอินเดียแบบละเอียด ปัจจุบันอาจารย์กำลังเขียนหนังสือเรื่อง ‘ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ ชุดที่ 2 นักบวชในอินเดียโบราณ’
“ในแต่ละสำนักความคิดของอินเดียมันมีการสร้างข้อโต้แย้งที่แหลมคมมากๆ ซึ่งถ้าสามารถเข้าใจตรงนี้ได้ อาจารย์คิดว่ามันเกิดพัฒนาการทางสติปัญญาอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มนุษย์มีความคิดที่ดีขึ้น มีเหตุผลขึ้น และมีความใจกว้างในแง่ที่เราไม่ได้คิดแบบอคติหรือมองมุมเดียว เห็นตรรกะในทุกๆ มุมอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจารย์คิดว่ามันเป็นผลประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว” อาจารย์สุมาลี กล่าว
“ในแต่ละสำนักความคิดของอินเดียมันมีการสร้างข้อโต้แย้งที่แหลมคมมากๆ ซึ่งถ้าสามารถเข้าใจตรงนี้ได้ อาจารย์คิดว่ามันเกิดพัฒนาการทางสติปัญญาอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มนุษย์มีความคิดที่ดีขึ้น มีเหตุผลขึ้น และมีความใจกว้างในแง่ที่เราไม่ได้คิดแบบอคติหรือมองมุมเดียว เห็นตรรกะในทุกๆ มุมอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจารย์คิดว่ามันเป็นผลประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว” อาจารย์สุมาลี กล่าว