สุสานรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 ในอาคารทรงโมเดิร์น

1 พ.ค. 2566 - 07:51

  • ญี่ปุ่นหยิบเทคโนโลยีสุดไฮเทคในการจัดเก็บอัฐิในอาคารสุสานดีไซน์ร่วมสมัยใจกลางเมือง ตอบโจทย์คนเมืองที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปกราบไหว้ผู้ล่วงลับหลังเวลาเลิกงาน

japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Thumbnail
พิธีศพเป็นอีกพิธีสำคัญที่มีมาแต่โบราณกาล เป็นธรรมเนียมประเพณีที่อยู่คู่กับมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละศาสนา แต่ละพื้นที่ก็จะมีการจัดพิธีศพที่แตกต่างกันไป ซึ่งโดยส่วนมากแล้วการทำพิธีศพไม่พ้นการฝังดิน อยู่ในสุสาน หรือเก็บอัฐิไว้ในตามวัดวาอารามต่างๆ  

ปัจจุบันประชากรโลกเยอะขึ้นเป็นเท่าตัว และจำนวนผู้เสียชีวิตก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้พื้นที่การเก็บอัฐิ หรือโลงศพ ภายในสุสานเริ่มน้อยลงโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองที่วัดมีบริเวณจำกัด การฝังศพ หรือเก็บอัฐิไว้นอกบริเวณเมืองก็ทำให้ยากลำบากกับญาติที่จะเข้าไปกราบไหว้ หรือเยี่ยมชม นี่จึงเป็นที่มาของการสร้าง ‘อาคารสุสาน’ ในโลกยุคใหม่ของประเทศญี่ปุ่น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3YGVsBDCIjHf4xexZyDAzj/76609d51616f0154e118538708cc1499/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo01
Photo: Behrouz Mehri /AFP
อาคารสุสานนั้นเริ่มมีมาสักพักในพื้นที่เมืองใหญ่ ด้วยอาคารที่สูง มีหลายชั้น สามารถแบ่งย่อยเป็นช่องให้เก็บอัฐิได้จำนวนมาก อีกทั้งยังเดินทางมากราบไหว้ได้อย่างสะดวกสบาย  

ในประเทศญี่ปุ่น่เรื่องพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นประเทศที่เมืองใหญ่ๆ มีอาคารมากมาย ไม่ต้องพูดถึงพื้นที่วัดที่แคบยิ่งกว่า ญี่ปุ่นจึงจัดการปัญหาด้วยการสร้างอาคารสุสานขึ้น แต่อาคารสุสานนี้ไม่เหมือนอาคารสุสานทั่วไป เพราะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ และมีการออกแบบอาคารด้วยดีไซน์ล้ำสมัย สมกับเป็นอาคารสุสานของญี่ปุ่น 

อาคารที่ว่า คือ อาคารสุสานรุริเด็น (Ruriden) ตั้งอยู่ที่วัดโกโกะกุจิ (Kokokuji) เมืองโตเกียว ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแนวสมัยใหม่ (Modern) โดยที่นี่สามารถเก็บอัฐิได้มากถึง 7,000 กล่อง อัฐิจะเก็บอยู่ในกล่องสีดำลักษณะคล้ายกล่องซูชิ ภายในกล่องเก็บอัฐิได้มากถึง 8 คน โดยผู้ที่เข้ามากราบไหว้ผู้่ล่วงลับสามารถสแกนไอดี และยืนรอให้เครื่องจักรหยิบกล่องอัฐิออกมาวาง พร้อมกับแสดงภาพข้อมูลของผู้ล่วงลับบนหน้าจอ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1s4s5oodCAtXCtPmmRZDaq/af9d1ae346853d59790afea5eaa05046/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo02
Photo: Behrouz Mehri /AFP
“ทีแรกฉันรู้สึกว่าอาคารสุสานนี้มันออกจะดูเย็นชาไปหน่อย จนบางทีรู้สึกชอบการฝังศพในดินมากกว่า” มาซาโยะ อิซึรึงิ (Masayo Isurugi) หญิงวัย 60 ปี ที่เข้ามากราบไหว้สามีผู้ล่วงลับของเธอ กล่าว “แต่ตอนนี้ฉันรู้สึกว่ามันดีมาก เพราะฉันมาเยี่ยมเมื่อไรก็ได้  เทียบกับสุสานของครอบครัวที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ไป”

จริงๆ แล้วครอบครัวของมาซาโยะต้องการการฝังศพแบบดั้งเดิม แต่การเดินทางไปยังสุสานประจำครอบครัวต้องใช้เวลา 2 ชั่วโมงบนรถไฟกว่าจะไปถึง ต่างจากอาคารสุสานที่นั่งรถเมล์ก็ไปถึงแล้ว และสามารถเข้ามาเยี่ยมได้หลังเวลางานได้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3Hy4opUeX2x13eSvSAylrs/3113ac2aa5f069a26d0684e6ebfbf6d3/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo03
Photo: Behrouz Mehri /AFP
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/DXC3Ho9rI8ZtGnqKYPTG5/606fa714b681da6d087637924d23b956/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo04
Photo: Behrouz Mehri /AFP
ตามธรรมเนียมของชาวญี่ปุ่น อัฐิของคนในครอบครัวต้องเก็บไว้ในสุสานประจำครอบครัวที่ต้องดูแลโดยลูกชายคนโต แต่ด้วยจำนวนประชากรสูงอายุที่มีมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดความต้องการพื้นที่ในการฝังศพใหม่ๆ ทุกปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนรุ่นหลังต้องจัดการ ในปัจจุบันครอบครัวญี่ปุ่นย้ายเข้ามาในพื้นที่เมืองเป็นจำนวนมาก และผู้สูงอายุหลายคนก็ไม่มีลูกชายที่สามารถจัดการพิธีศพให้่พวกเขาตามธรรมเนียมแบบดั้งเดิม 

“ประมาณครึ่งหนึ่งของสุสานภายในวัดที่ไม่ได้รับการดูแลต่อจากคนในครอบครัว” โทโมะฮิโระ ฮิโรเสะ (Tomohiro Hirose) กล่าว ท่านเป็นพระสงฆ์ที่คอยดูแลประจำอาคารสุสานสมัยใหม่ และหลุมฝังศพอีก 300 หลุมภายในวัด
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1azGfGt5k7UfZBZwZojAnK/8939090713fed5843bb7e84c9a13a4a2/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo06
Photo: โทโมะฮิโระ ฮิโรเสะ. Photo: Behrouz Mehri /AFP
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4FHQI2MdBdBaL147GO1BFr/9fc2158ce00fd49ed891ddd45ce77a97/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo07
Photo: สุสานตามธรรมเนียมเดิมบริเวณวัด. Photo: Behrouz Mehri /AFP
อัฐิสามารถนำมาเก็บไว้ในอาคารสุสานสมัยใหม่นี้ได้นานถึง 30 ปี ชื่อและข้อมูลส่วนตัว (สามารถสแกนด้วยคิวอาร์โค้ด) จะถูกเก็บเอาไว้เพื่อให้พระสงฆ์ที่คอยดูแลสวดมนต์ให้ดวงวิญญาณที่ล่วงลับ โทโมะฮิโระตัดสินใจสร้างอาคารสุสานนี้ขึ้นมาหลังจากวัด (ที่อยู่ข้างๆ ติดกับอาคารสุสาน) ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในปี 2011 ท่านรู้สึกว่าการสร้างอาคารสุสานด้วยดีไซน์สมัยใหม่นี้จะทำให้วัด ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 400 ปี กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5Elya3nGKAvbAgZ6Ds8PgF/93e640432420438b7f338063203cc102/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo08
Photo: Behrouz Mehri /AFP
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3VbkxMewqtKI4VUPE5Vn7c/b4db32721a3fed971bf724e219e4b6fa/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo09
Photo: Behrouz Mehri /AFP
การออกแบบอาคารนำโดยบริษัทไดฟูกุ (Daifuku) ซึ่งเป็นบริษัททำระบบโรงเก็บของ การขนส่ง และการจัดเก็บให้กับโรงงานต่างๆ  

“บริษัทได้ทำระบบจัดเก็บนี้ให้กับอาคารสุสานกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ” ฮิเดโนบุ ชินนากะ (Hidenobu Shinnaka) เจ้าหน้าที่อาวุโสบริษัทไดฟูกุ กล่าว “การสร้างระบบจัดเก็บสุสานของบริษัทเริ่มครั้งแรกเมื่อช่วงปี 1990s หลังจากนั้นตลาดในพื้นที่เอเชียก็เริ่มหันมาสนใจกันมากขึ้น”
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3GS2rdIaYkYFuz0ywYWD6i/f09ed2ce838f653620a9d4df11af8a2d/japan-modern-cemeteries-SPACEBAR-Photo10
Photo: Behrouz Mehri /AFP
ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการทำอาคารสุสานขึ้นตามวัดต่างๆ ในเมืองกรุงเทพ ซึ่งตอบโจทย์สำหรับคนเมืองที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปกราบไหว้ผู้ล่วงลับ ในปัจจุบันพื้นที่สุสานภายในกรุงเทพเริ่มมีมากขึ้น เมื่อไม่มีใครมาดูแลก็เริ่มกลายเป็นพื้นที่รกร้างจนถูกเรียกว่าเป็น ‘ป่าช้า’ เรื่องการจัดเก็บสุสาน หรืออัฐินับว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเช่นกันที่หน่วยงานรัฐต้องหันมาสนใจ เพราะประเทศไทยเองเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเช่นกัน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์