การแสดงสุดพิเศษ จูเลียง โบดีม็อง นักเดี่ยวฟลู้ทบรรเลงร่วมกับวง RBSO

17 ก.พ. 2566 - 05:51

  • มูลนิธิรอยัลแบงค์ค็อกซิมโฟนีออร์เคสตร้า ร่วมกันจัดการแสดงสุดพิเศษกับ จูเลียง โบดีม็อง นักเดี่ยวฟลู้ทจากประเทศฝรั่งเศส ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

julien_beudiment_orchestra_SPACEBAR_Hero_7875e6cb28.jpeg
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2023 มูลนิธิรอยัลแบงค์ค็อกซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Royal Bangkok Symphony Orchestra) หรือ RBSO ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ร่วมกับ บี.กริม ร่วมกันจัดการแสดงสุดพิเศษ โดย จูเลียง โบดีม็อง (Julien Beaudiment) นักเดี่ยวฟลู้ทจากประเทศฝรั่งเศสบรรเลงร่วมกับวง RBSO โดยมีศาสตราภิธาน ดร.วานิช โปตะวนิช เป็นวาทยากร แสดง ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  
  
สำหรับบทเพลงแรกที่หยิบขึ้นมาบรรเลงในค่ำคืนนี้คือ Candide Overture เป็นผลงานการประพันธ์ของนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา เลโอนาร์ด เบอร์นสไตน์ (Leonard Bernstein) ในปี 1953 นักแต่งเพลงละครผู้มีชื่อเสียงอย่าง ลิลเลียน เฮลแมน (Lillian Hellman) ได้ให้เลโอนาร์ดประพันธ์เพลงสำหรับ Candide ละครแนวตลกเสียดสีของ วอลแตร์ (Voltaire) เพื่อใช้เล่นในละครเพลงที่จะแสดงในปี 1956 อย่างไรก็ตาม ในผลงานเพลงละครชิ้นนี้มีหลายจุดที่พวกเขาต้องกลับไปแก้ไขกันอยู่หลายครั้ง แต่ท่อนโหมโรง “Overture to Candide” กลับมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่จักกว้างขวาง โดยมีการตัดตอนเรียบเรียงในรูปแบบ Concert Overture โดย จอห์น เมาเซรี (John Mauceri) ผลงานชิ้นนี้แสดงรอบปฐมทัศน์โดย New York City Opera ในปี 1982 ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมของวงว่าเมื่อมีบรรเลงเพลงนี้เมื่อไหร่ วงจะบรรเลงแบบที่ไม่มีวาทยากร
julien_beudiment_orchestra_SPACEBAR_Photo01_68e195ba2e.jpeg
การแสดงในค่ำคืนนี้ได้รับเกียรติจากนักเดี่ยวฟลู้ทชาวฝรั่งเศส จูเลียง โบดีม็อง มาร่วมแสดง ครั้งยังอายุเพียง 22 ปี และยังศึกษาอยู่ใน Conservatoire National Superieur de Musique de Paris เขาเป็นได้ถึงตำแหน่ง Pricipal Flute หรือเป็นหมายเลขหนึ่งของ section ฟลู้ทของ Orchestre de l'Opéra National de Lyon ที่ปัจจุบันมี คาซูชิ โอโนะ (Kazushi Ono) เป็นวาทยากร และความมีชื่อเสียงและฝีมือที่ยากจะเทียบ ทำให้เขาได้รับเลือกเป็นศิลปินของแบรนด์ฟลู้ทอันดับต้นของโลกอย่าง SANKYO มาหลายปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน  
 
บทเพลงที่จูเลียงหยิบขึ้นมาบรรเลง เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงยุค Impressionism ในปี 2006 โดย แมทธิว ฮินด์สัน (Mathew Hindson) ชื่อเพลง House Music (Flute Concerto) เป็นบทเพลงที่ผสมผสานระหว่างดนตรี 2 แนวคือ ดนตรีร่วมสมัยแนว ‘Techno’ ในลักษณะดนตรีอิเล็กทรอนิคแดนซ์ และ ดนตรี ‘House Music’ มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่หลากหลายต่างจากดนตรีร่วมสมัยในยุคก่อนหน้านี้
julien_beudiment_orchestra_SPACEBAR_Photo02_2d2dfd7228.jpeg
เพลง House Music จะแบ่งออกเป็น 4 ท่อนต่อเนื่องกัน ท่อนแรก มีชื่อว่า Kitchen, Garage, Workshop เปิดตัวด้วยเสียงประสานทั้งวงอย่างอึกทึกคึกโครม ถาโถมกันเข้ามาเป็นแผงและหายริบไปอย่างไม่ทันตั้งตัว แทรกขึ้นมาด้วยเสียงเดี่ยวฟลู้ทที่โชว์เทคนิคที่แตกต่างจากเพลงฟลู้ททั่วไป ทำให้รู้สึกถึงอารมณ์ คาแรคเตอร์ บรรยากาศ เช่น ความวุ่นวาย ความรู้สึกว่าต้องแข่งขันกับเวลาที่มักจะเกิดขึ้นจากการทำอาหารในห้องครัว ความสับสนความสงสัย ความดิบ ความสนุกที่เกิดขึ้นในโรงรถและห้องทำงาน (workshop) 
 
ท่อนต่อมาชื่อท่อน Foyer, Swimming Pool เป็นท่อนที่มีจังหวะการดำเนินเรื่องช้ากว่าท่อนแรก สะท้อนความรู้สึกฉงนใจ เนิบนาบไม่รีบร้อน ผ่อนคลาย ถูกชักนำความรู้สึกเหล่านั้นดวยเสียงเดี่ยวฟลู้ทที่มีเนื้อเสียงกังวาล แน่น แต่ในขณะเดียวกัน ปลายเส้นเสียงในทุกๆครั้งที่จบตัวโน้ตลง ก็รู้สึกได้ถึงความพริ้วไหวปลิวไปกับอากาศรอบๆ เริ่มมาด้วยเสียงเดี่ยวฟลู้ทที่ประสานคู่ไปกับเสียงฮาร์พ ก่อนที่จะมีเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆเช่น Piccolo Bass clarinet และ เครื่องสาย
julien_beudiment_orchestra_SPACEBAR_Photo03_6c712a0472.jpeg
ท่อนที่สาม Lounge เป็นท่อนที่สนุกสนาน ฟังสบายและเนื้อหาไม่ซับซ้อน ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในห้องนั่งเล่น 
 
ท่อนสุดท้าย Nursery, Games Room เป็นท่อนที่มีจังหวะการดำเนินเรื่องเร็วที่สุดใน concerto นี้ มีความสนุกสนาน เมโลดี้มีความเป็นดนตรียุคใหม่ มีเสียงกระทืบเท้าเพื่อเร่งจังหวะ มีการใช้เสียง Conga และ cowbell เพื่อให้อารมณ์ของเพลงกว้างขึ้น บวกกับการใช้เทคนิคเฉพาะในการเล่นดนตรีแต่ละเครื่องที่หลากหลายด้วยเช่นกัน เนื้อหาเพลงมีการขึ้นและลงสลับกันไปแบบแทบจะไร้รูปแบบที่ชัดเจน สะท้อนความรู้สึกเหมือนตอนเล่นเกม ที่จะมีแพ้บ้างชนะบ้าง เล่นผ่านด่านบ้างไม่ผ่านบ้างตามปกติ
julien_beudiment_orchestra_SPACEBAR_Photo04_25b0d76cfb.jpeg
หลังบรรเลงเดี่ยวจบลง จูเลียงได้เชิญนักฟลู้ทจากวง RBSO ขึ้นร่วมเล่นเพลง Encore ด้วยกัน ซึ่งโดยปกติและ การเล่นเพลง Encore ของศิลปินรับเชิญ จะบรรเลงเพียงเครื่องเดียวคนเดียวเท่านั้น แต่จูเลียงให้เหตุผลว่า เขาไม่ชอบบรรเลง Encore คนเดียวเพราะตอนที่บรรเลงเพลงตามโปรแกรมหลัก ทางวงก็ร่วมบรรเลงกับเขาด้วยเหมือนกัน โดยนักฟลู้ทที่จูเลียงเชิญขึ้นมาเล่นประสาน Trio ด้วยคือ กัลยาณ์ พงศธร และ ธีรัฒม์ เกตุมี 
 
บทเพลงสุดท้ายในค่ำคืนนี้คือ Grand Canyon Suite ประพันธ์โดย Ferde Grofé คีตกวีชาวอเมริกัน เพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงปี 1920 ในขณะที่เขาได้พำนักอยู่ในรัฐอริโซนา และได้ใช่เวลาช่วงหนึ่งท่องเที่ยวไปยัง Grand Canyon บทเพลงนี้ถูกถ่ายทอดผ่านท่อนเพลงทั้งหมด 5 ท่อน ได้แก่ Sunrise, Painted Desert, On the Trail, Sunset, Cloudburst ซึ่งในแต่ละท่อน จะสะท้อนอัตลักษณ์อันสวยงามตระการตาและสะท้อนลักษณะทางธรรมชาติของหุบเขานี้ผ่านเสียงเพลงได้อย่างชัดเจน โกรเฟได้รับการยกย่องสรรเสริญจากวงการดนตรีให้เป็น “ผู้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับอเมริกา” หรือ “Apostle of Americana” อย่างแท้จริง
julien_beudiment_orchestra_SPACEBAR_Photo05_80a21c637f.jpeg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์