จูเลียส ซีซาร์ ไม่เคยเป็นจักรพรรดิมาก่อน แต่เป็นเพียงนายพลและรัฐบุรุษผู้เก่งกาจที่เหิมเกริมอยากเป็นเท่านั้น คนที่เป็นจักรพรรดิคนแรกของจักรวรรดิโรมันคือ ออกุสตุส ซีซาร์ หลานชายของจูเลียส โดยขึ้นมาครอบครองตำแหน่งหลังการตายของจูเลียส
หลายคนคงรู้จักเหตุการณ์โดนลอบฆ่าของจูเลียส ซีซาร์ แต่อาจไม่เข้าใจว่าเบื้องลึกเบื้องหลังเกิดอะไรขึ้น ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ความอหังการของตัวจูเลียสเองที่อยากขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองด้วยอำนาจเผด็จการ
หลายคนคงรู้จักเหตุการณ์โดนลอบฆ่าของจูเลียส ซีซาร์ แต่อาจไม่เข้าใจว่าเบื้องลึกเบื้องหลังเกิดอะไรขึ้น ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ความอหังการของตัวจูเลียสเองที่อยากขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองด้วยอำนาจเผด็จการ

ก่อนที่โรมันจะเป็นจักรวรรดิ โรมันปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ แต่ก่อนระบอบสาธารณรัฐ โรมันเคยถูกปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ในปี 509 ก่อนคริสตกาลโดยกษัตริย์ชาวอีทรัสคัน ระบอบสาธารณรัฐของโรมันถูกพัฒนามาจากประชาธิปไตยของกรีกโบราณ แต่การออกเสียงเพื่อกิจการบ้านเมืองจะถูกโหวตโดยสมาชิกที่มาจากครอบครัวที่มั่งคั่ง หรือพาทริเชียน (patricians) ส่วนเพลเบียน (plecians) หรือชนชั้นที่ต่ำกว่าไม่มีสิทธิ์ในการเป็นสมาชิกเพื่อทำกิจการบ้านเมือง (และมีสิทธิ์ในภายหลังราว 200 ปีต่อมา) ส่วนสมาชิกวุฒิสภานั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว โดยหน้าที่ของ สว. โรมันในตอนนั้นมีหน้าที่หารือเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง รวมถึงมีอิทธิพลต่อการสร้างกฎหมาย (แต่ไม่ใช่โดยตรง)
อย่างไรก็ตาม เมื่อยามที่ทุกข์ยาก มีปัญหารอบด้าน โดยเฉพาะกิจการสงคราม โรมันจะมีการเลือกคนขึ้นมาปกครองแบบเบ็ดเสร็จชั่วคราวราว 6 ปี หลังจากนั้นก็จะกลับคืนสู่ระบอบการปกครองเดิม และจูเลียส ซีซาร์ ก็เป็นหนึ่งในนั้นภายใต้ชุดปกครอง First Triumvirate เนื่องจากช่วงปี 58-50 ก่อนคริสตกาล โรมันต้องรับมือกับชาวกอล (Gaul) ที่บุกเข้ามา เนื่องจากเขาสามารถขยายอาณาจักรออกไปได้อย่างกว้างขวาง แถมปราบศัตรูได้มากมาย ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจประชาชน จนตอนนั้นเองที่เขาเริ่มคิดอยากปกครองอาณาจักรอย่างเบ็ดเสร็จในฐานะเผด็จการ
จูเลียส ซีซาร์ แต่งตั้งตัวเองเป็นผู้ปกครอง (แบบเผด็จการ) ระหว่างปี 46-44 ก่อนคริสตกาล ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกวุฒิสภาเป็นอย่างมาก แถมหวั่นเกรงว่าจูเลียสจะนำระบอบกษัตริย์กลับมาอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้กลุ่ม สว. โรมัน รวมผู้สมรู้ร่วมคิด 60 คน จึงวางแผนรวมกันลอบฆ่าจูเลียส ซีซาร์ มีการรายงานว่าเขาถูกแทงไปร่วม 23 แผล อันเป็นจุดสิ้นสุดของเผด็จการจูเลียส ซีซาร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อยามที่ทุกข์ยาก มีปัญหารอบด้าน โดยเฉพาะกิจการสงคราม โรมันจะมีการเลือกคนขึ้นมาปกครองแบบเบ็ดเสร็จชั่วคราวราว 6 ปี หลังจากนั้นก็จะกลับคืนสู่ระบอบการปกครองเดิม และจูเลียส ซีซาร์ ก็เป็นหนึ่งในนั้นภายใต้ชุดปกครอง First Triumvirate เนื่องจากช่วงปี 58-50 ก่อนคริสตกาล โรมันต้องรับมือกับชาวกอล (Gaul) ที่บุกเข้ามา เนื่องจากเขาสามารถขยายอาณาจักรออกไปได้อย่างกว้างขวาง แถมปราบศัตรูได้มากมาย ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจประชาชน จนตอนนั้นเองที่เขาเริ่มคิดอยากปกครองอาณาจักรอย่างเบ็ดเสร็จในฐานะเผด็จการ
จูเลียส ซีซาร์ แต่งตั้งตัวเองเป็นผู้ปกครอง (แบบเผด็จการ) ระหว่างปี 46-44 ก่อนคริสตกาล ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกวุฒิสภาเป็นอย่างมาก แถมหวั่นเกรงว่าจูเลียสจะนำระบอบกษัตริย์กลับมาอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้กลุ่ม สว. โรมัน รวมผู้สมรู้ร่วมคิด 60 คน จึงวางแผนรวมกันลอบฆ่าจูเลียส ซีซาร์ มีการรายงานว่าเขาถูกแทงไปร่วม 23 แผล อันเป็นจุดสิ้นสุดของเผด็จการจูเลียส ซีซาร์

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดไม่ได้ผลลัพธ์ดั่งใจที่หวัง เพราะหลังการตายของจูเลียส ซีซาร์ ประชาชนเกิดความเกลียดชังสมาชิกสภาที่มักเป็นตัวก่อสงครามกลางเมือง ช่วงนั้นเองที่ทำให้โรมันเปลี่ยนการปกครองจากสาธารณรัฐ (republic) เป็นจักรวรรดิ (empire) ภายใต้การนำของจักรพรรดิแทน โดยคนแรกที่เป็นจักรพรรดิโรมันอย่างเป็นทางการคือ ไกอุส ออคเทเวียน (Gaius Octavian) หลานชายของจูเลียส และตั้งชื่อตัวเองใหม่เป็น ออกุสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) หลังจากนั้นเป็นต้นมาโรมันถูกปกครองด้วยจักรพรรดิและสืบตำแหน่งผ่านสายเลือด จนกระทั้่งคริสต์ศาสนาเข้ามามีบทบาท ตำแหน่งจักรพรรดิจะถูกเลือกโดยโป๊ป
จูเลียส ซีซาร์ เป็นตัวอย่างของผู้นำที่ทำให้รู้ว่า ต่อให้เก่งขนาดไหน แต่ถ้ายังหลงระเริงในอำนาจตั้งตัวเป็นเผด็จการโดยไม่ผ่านความเห็นของคนหมู่มาก สุดท้ายก็ลงเอยด้วยโศกนาฏกรรม ใดๆ ก็ตามนั้นตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ล้วนมีเหตุการณ์ซ้ำรอยเกิดขึ้นมากมาย ดูเหมือนว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ไม่สามารถมอบบทเรียนให้มนุษยชาติรุ่นหลังได้เลย เพราะขนาดวันเวลาผ่านไปหลายพันปี ประวัติศาสตร์กลับเหยียบย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหน
จูเลียส ซีซาร์ เป็นตัวอย่างของผู้นำที่ทำให้รู้ว่า ต่อให้เก่งขนาดไหน แต่ถ้ายังหลงระเริงในอำนาจตั้งตัวเป็นเผด็จการโดยไม่ผ่านความเห็นของคนหมู่มาก สุดท้ายก็ลงเอยด้วยโศกนาฏกรรม ใดๆ ก็ตามนั้นตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ล้วนมีเหตุการณ์ซ้ำรอยเกิดขึ้นมากมาย ดูเหมือนว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ไม่สามารถมอบบทเรียนให้มนุษยชาติรุ่นหลังได้เลย เพราะขนาดวันเวลาผ่านไปหลายพันปี ประวัติศาสตร์กลับเหยียบย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหน