“อนาคตมันสิ้นหวังสำหรับเรา ในขณะที่อดีตมันก็…ไม่ได้สวยงาม (หัวเราะ) ก็เลยรู้สึกว่ากูไม่มีหวังในไทม์ไลน์นี้นี่ เราเลยสร้างอีกไทม์ไลน์หนึ่ง พูดถึงเรื่องง่ายๆ ที่มันเกิดขึ้นไม่ได้”
โมโม่ - พราวฟ้า สันติอัศวราภรณ์ (Proudfa) เล่าคอนเซปต์ให้เราฟังด้วยประโยคสั้นๆ แต่เป็นคอนเซปต์ที่ทำให้เธอวาดรูปต่อเนื่องมาได้เป็นปี ขณะเดียวกันโฮมสตูดิโอขนาดกระทัดรัดของเธอก็ต้อนรับเราด้วยงานเพนต์สีละมุนตา มีพู่กันวางตรงนู้นที ตรงนี้ที มีหนังสือและของแต่งบ้านสวยๆ วางบนชั้น และมีชาเขียวที่โมโม่บรรจงชงมาเสิร์ฟระหว่างนั่งคุยกัน
“อย่างอันนี้ชื่อ Where There’s Room and Sunlight for Everyone พูดถึงเรื่องอสังหาฯ ในโลกที่เราใช้เก็งกำไร ยุคสมัยนี้การมีแสงแดดในห้องเลยเป็นพริวิเลจมากๆ เรารู้สึกว่าแค่พระอาทิตย์มันจะอะไรกันนักหนา ก็เลยวาดงานนี้ขึ้นมา มองได้สี่ด้าน แต่ละด้านจะมีรูปแมวเพราะแมวมันมีความสงบกว่า เราไม่อยากใช้รูปคน”
งานของโมโม่โดดเด่นด้วยคู่สีที่ตัดกันลงตัว ใช้ของแต่งบ้านและแพทเทิร์นรอบตัวมาผสมผสานจนเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังแฝงการเสียดสีไว้ในทุกรายละเอียด ซึ่งงานของเธอกำลังจะกลายเป็นคอลเลกชันที่จัดแสดงที่ ATT 19 เดือนสิงหาคมนี้
โมโม่ - พราวฟ้า สันติอัศวราภรณ์ (Proudfa) เล่าคอนเซปต์ให้เราฟังด้วยประโยคสั้นๆ แต่เป็นคอนเซปต์ที่ทำให้เธอวาดรูปต่อเนื่องมาได้เป็นปี ขณะเดียวกันโฮมสตูดิโอขนาดกระทัดรัดของเธอก็ต้อนรับเราด้วยงานเพนต์สีละมุนตา มีพู่กันวางตรงนู้นที ตรงนี้ที มีหนังสือและของแต่งบ้านสวยๆ วางบนชั้น และมีชาเขียวที่โมโม่บรรจงชงมาเสิร์ฟระหว่างนั่งคุยกัน
“อย่างอันนี้ชื่อ Where There’s Room and Sunlight for Everyone พูดถึงเรื่องอสังหาฯ ในโลกที่เราใช้เก็งกำไร ยุคสมัยนี้การมีแสงแดดในห้องเลยเป็นพริวิเลจมากๆ เรารู้สึกว่าแค่พระอาทิตย์มันจะอะไรกันนักหนา ก็เลยวาดงานนี้ขึ้นมา มองได้สี่ด้าน แต่ละด้านจะมีรูปแมวเพราะแมวมันมีความสงบกว่า เราไม่อยากใช้รูปคน”
งานของโมโม่โดดเด่นด้วยคู่สีที่ตัดกันลงตัว ใช้ของแต่งบ้านและแพทเทิร์นรอบตัวมาผสมผสานจนเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังแฝงการเสียดสีไว้ในทุกรายละเอียด ซึ่งงานของเธอกำลังจะกลายเป็นคอลเลกชันที่จัดแสดงที่ ATT 19 เดือนสิงหาคมนี้
โมโม่เรียนอะไรมา แล้วตอนนี้ทำอะไรบ้าง
เราเรียนออกแบบนิเทศศิลป์ที่ SoA+D แต่เรารู้สึกว่ามันเรียนกว้างไปสำหรับความชอบเรา ปีแรกเราไม่ได้ทำงานวาดเลย ต้องทำรีเสิร์ชนู่นนี่ ออกไปในเชิงดีไซน์มากกว่า พอโควิดมาเราเลยรู้สึกว่าจังหวะนี้เรียนไปก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี เราเลยดรอปเรียนตั้งแต่ปี 2 ออกมาทำของตัวเอง กลับมาวาดรูป เราคิดถึงสิ่งนี้ วาดไปวาดมาเราก็ไม่อยากมานั่งคิดคอนเซปต์ทุกรูป เราเลยคิดว่าวางแพลนยาวๆ ดีกว่า น่าจะช่วงปลายปี 2021 ที่เริ่มวาดจริงจังที่บอกว่าคิดถึงการวาดรูป ก่อนหน้านี้เราวาดตอนไหน
ตอนเราติวเข้าเราก็เรียนดรออิ้งเนอะ แล้วก่อนเข้าปี 1 เราก็นั่งวาด still life รู้สึกชอบไปทาง illustration มากกว่า ไม่ได้อยากให้มันเรียลลิสติกจ๋า เราเลยวาดไปเรื่อยๆ ว่าเราชอบอะไร แล้วช่วงนั้นเราเริ่มสังเกตว่าตัวเองชอบของแต่งบ้าน ของจุกจิก เริ่มรู้สึกว่าโต๊ะมุกที่บ้าน เซรามิกจีนที่บ้านสวยดี เราชอบดูสี ดูลายที่มันอยู่ด้วยกัน เรารู้สึกว่ามันน่าจะเป็นทางเรามากกว่าเรียลลิสติกก็เลยลองเอามาประกบๆ ดูว่าเป็นยังไงแสดงว่าที่บ้านก็มีอิทธิพลเยอะเหมือนกัน
ใช่ (หัวเราะ) จริงๆ เมื่อก่อนประมาณ ม.ต้น เราชอบมินิมัล เป็นสายขาวดำหรือสีเทาๆ มันจะมีช่วงหนึ่งที่พินเทอเรสต์มีเทรนด์ normcore แล้วเราก็พยายามคุมโทนทุกอย่างให้เป็นสีเทา สีขาว พออยู่ไปเรื่อยๆ เราก็รู้สึกชอบสีมากกว่า แล้วพอเรากลับมาดูที่บ้านก็เห็นว่า เอ้า ของที่บ้านเราก็มี พอดูไปเรื่อยๆ ว่าอากงสะสมอะไรบ้างปรากฏว่า เอ้า สวยๆๆ เราว่าที่บ้านค่อนข้างมีอิทธิพลโดยที่เราไม่รู้ตัวเราเริ่มชอบศิลปะตั้งแต่ตอนเด็กเลยไหม
อนุบาลค่ะ จำได้ว่าเรียนพิเศษศิลปะเป็นการเรียนที่ชอบมาก ขอพ่อแม่เรียนทำคราฟต์ ที่จำได้หลักๆ คือย้อมผ้าเช็ดหน้าบาติก ชอบมาก อยู่บ้านก็มีเรียนศิลปะเสาร์อาทิตย์ด้วย คือเราเอนจอยกับสิ่งนี้อะ เราเรียนศิลปะในทุกช่วงชีวิตเลยอะ เปลี่ยนไปเรื่อยๆหลังจากดรอปเราคิดจะกลับไปเรียนไหม
เรายังพูดได้ไม่เต็มร้อยว่าไม่เรียนแล้วอยู่ได้ แต่ถามว่าอยากกลับไปเรียนไหม ใจร้อยเปอร์เซ็นต์คือไม่อยากกลับ เราก็พยายามหนีเรื่อยๆ จนพี่ห้องทะเบียนตามให้กลับมาเรียน แล้วช่วงนั้นมันคือกลางเทอมซึ่งมีโปรเจกต์ที่ว่ากันว่า suffer เกือบที่สุดแล้วในสี่ปี พอเราโทรปรึกษาทั้งเพื่อนทั้งอาจารย์ก็ซัพพอร์ตเรามาก อาจารย์อยากให้เราจบมาก (หัวเราะ)แต่เราก็คุยกับเพื่อนนอกกลุ่มที่มีทั้งคนดรอป คนซิ่ว คนลาออก เพื่อนก็ถามกันว่าอยากได้อะไรจากการเรียนมหา’ลัย เราไม่ได้อยากเรียนเพื่อความรู้ เราอยากได้สกิลการทำงาน เช่น เราต้องเขียนใบโควตราคายังไง ขายโปรเจกต์ให้ลูกค้ายังไง เพื่อนก็บอกว่าก็ไปฝึกงานสิจะเรียนทำไม เราเลยตัดสินใจตอนนั้นเลยว่าฝึกงานก่อน ถ้าไม่เวิร์กจะกลับไปเรียนแน่ๆ ซึ่งพอฝึกงานแล้วเราก็ได้อะไรเยอะมาก แล้วเราก็ลาออกเลย
แล้วที่บ้านคิดยังไงกับการที่เราลาออก
ด้วยความที่เราค่อนข้างรู้จักผู้ใหญ่วัยทำงาน ก็มีคนมาบอกเราว่า เอ้ย เราเก่งแล้วนะ เข้าใจว่าทำไมเราถึงดรอปเรียน เราก็พยายามให้คนพวกนั้นคุยกับพ่อแม่เรา (หัวเราะ) ให้เขาช่วยขายให้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเรียนนะ คือประสบการณ์วงการนี้มันไม่เหมือนวงการอื่นอะ ปริญญามันไม่จำเป็นขนาดนั้น เราว่าการให้พ่อแม่คุยกับคนที่มีประสบการณ์ในวงการน่าจะช่วยได้เยอะ จากตอนแรกที่ยังหวังให้เรากลับไปเรียนอยู่ ตอนนี้เขาเข้าใจแล้วว่าไม่เรียนก็ได้รีวิวการศึกษาไทยหน่อยว่ามันเอื้อให้เราหาตัวเองเจอแค่ไหน เท่าที่ฟังเราได้ยินคำว่า ‘เรียนพิเศษ’ เยอะอยู่
โม่น่าจะชอบขีดเขียนตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาลด้วยซ้ำ ถามว่าการศึกษาไทยช่วยเสริมตรงนี้ไหม ก็ไม่ ถามว่าทำให้แย่ลงยังไงดีกว่า กลับมาย้อนดูตัวเองเรารู้สึกว่าเรากลัวการโดนติมาก ไม่ว่าเขาจะใช้คำซอฟต์แค่ไหนเราก็จะรู้สึกไม่ดีคือเราเรียนเซนโยเซฟคอนแวนต์มา เราไม่แน่ใจว่ามันเกิดจากที่เวลาเขียนวันที่ต้องตีเส้นใต้นะ ถ้าไม่ตีจะโดนดุ คือการที่ไม่ได้ตีเส้นใต้แล้วโดนครูเรียกชื่อออกมามันเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับเราอะ มันก็เป็นเนเจอร์เราด้วยที่กลัวอะไรแบบนี้ แต่การไปอยู่ในสังคมแบบนั้นยิ่งทำให้มันแย่ลง
จำได้ว่าตอนปี 1 มีวิชาที่เราไม่เข้าใจบรีฟเลย เราได้เกรดห่วยแตกมาก ก็เลยลองไปถามอาจารย์ว่าเราควรปรับปรุงตรงไหนไหม อาจารย์ถามเราว่า มัธยมยูเรียนไหน พอตอบไปว่าเซนต์โยฯ เขาบอกว่าลองไปถามพวกเรียนรุ่งอรุณนะว่าเขาคิดยังไง ตอนนั้นเราแบบ (อึ้ง) คือเราปิ๊งเลยว่าการศึกษาแต่ละที่มันต่างกันแล้วมันดูออกขนาดนั้นเลย ต่อให้ไปเรียนติวที่ไหนแต่ถ้าโดนกรอบมา 12 ปีมันก็…อืม วิธีคิดมันต่างกันจริงๆ ถ้าถามว่าการศึกษาช่วงมัธยมให้อะไร เราว่าน่าจะให้ทรอม่า แต่ถ้าในมหา’ลัยเราว่าแล้วแต่คน
จริงๆ เหตุผลหนึ่งที่เราดรอปคือการศึกษามันมีหลักสูตรว่าต้องเรียนอันนี้ๆๆๆ วิชาเลือกต้องเรียนอันนี้เป็นอย่างต่ำนะ มันไม่ได้ tailor-made ให้ทุกคน แล้วคนเรามีวิธีเรียนรู้ต่างกัน เราเป็นคนที่ค่อนข้างเรียนรู้ช้า แล้วอยากเข้าใจสิ่งนั้นก่อนถึงจะเอนจอยกับมันได้
ตอนที่เราเรียนเราโคตรเกลียดกราฟิก โคตรเกลียดดิจิทัลอาร์ต ทำงานส่งไม่ได้เพราะเรารู้สึกอุบาทว์มากเลย จนเราได้ฝึกงานแล้วรู้จัก tools มากกว่าเดิม ซึ่งมหา’ลัยมันก็ไม่มีเวลาสอนอีกนั่นแหละเพราะมันสอนกว้างมาก พอเรียนกว้างมันก็ไม่สามารถลงลึกได้ เราเลยรู้สึกว่าการเรียนแบบนี้ไม่เหมาะกับเราแล้ว
ตอนที่เราเรียนเราโคตรเกลียดกราฟิก โคตรเกลียดดิจิทัลอาร์ต ทำงานส่งไม่ได้เพราะเรารู้สึกอุบาทว์มากเลย จนเราได้ฝึกงานแล้วรู้จัก tools มากกว่าเดิม ซึ่งมหา’ลัยมันก็ไม่มีเวลาสอนอีกนั่นแหละเพราะมันสอนกว้างมาก พอเรียนกว้างมันก็ไม่สามารถลงลึกได้ เราเลยรู้สึกว่าการเรียนแบบนี้ไม่เหมาะกับเราแล้ว
แล้วถ้าเป็นจิตรกรรมไปเลยล่ะ คิดว่าจะเรียนได้ไหม
จริงๆ เราชอบ communication design เพราะมันไม่ได้ทำงานให้ตัวเราคนเดียวอะ เรารู้สึกว่ามันต้องมีทางที่จะสื่อสารผ่านเทคนิคต่างๆ ซึ่งมันสนุกกว่าการแค่เพนต์ไปเรื่อยๆ เราพยายาม explore ตรงนี้อยู่ว่าทำยังไงให้คนรู้สึกร่วมกับเราได้ ต่อให้งานเราเป็นแค่เพนต์ติ้งแต่บางอย่างที่เราได้มาจาก communication design มันก็ช่วยเราได้ประมาณหนึ่ง เราว่าจิตรกรรมยังมีความหัวโบราณมากๆ ไม่ใช่แค่เรื่องงานแต่พวกกฎระเบียบต่างๆ ที่เราไม่โอเคเริ่มรู้สึกว่างานเราเป็นตัวเองเมื่อไร
(ชี้งานที่ตั้งอยู่บนโต๊ะทำงาน) ชิ้นนี้เป็นชิ้นแรกที่เริ่มเพนต์ติ้งจริงจัง ใช้เวลา 3 เดือนซึ่งไร้สาระมาก คือเรารู้ว่าบางอย่างมันลดทอนเวลาได้มากกว่านี้ แต่เราก็ได้ explore ตัวเอง เราเอาดีไซน์ที่ชอบมาทำ อย่างเข็มขัด LOEWE แล้วก็มีกระเป๋า Gucci ที่เอามาทำเป็นแก้วน้ำ มีเชนของ JW Anderson เอามาแปะตรงแจกัน เราพยายามหาๆ ว่าเราชอบอะไรแต่งานชิ้นที่รู้สึกว่าเป็นตัวเองคือชิ้นที่เป็นเหมือน self-portrait แล้วก็เริ่มเสียดสีทุนนิยมด้วย circus คือเริ่มวาดเป็นคอนเซปต์ แล้วก็เป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่าใช่ หลังจากนั้นก็เริ่มขยายสเกลมาเรื่อยๆ
ถ้าให้นิยามแนวงานของตัวเองจะนิยามว่าอะไร
ยากอะ มันมีความเซอร์เรียล แต่พอดูไปเรื่อยๆ พวกดอกไม้หรือองค์ประกอบที่เราวาดมันมีในธรรมชาติเกือบหมดเลยนะ นึกว่าวาดเพ้อๆ ของตัวเอง เอ้า ดอกนี้มีจริง ถ้าถามว่ามันเซอร์เรียลไหมเราเลยไม่แน่ใจ มันนิยามตายตัวไม่ค่อยได้ ก็…ไม่นิยามละกัน (หัวเราะ)เราตั้งใจจะวาดเป็นคอลเลกชันเพื่อทำนิทรรศการตั้งแต่แรกเลยไหม
เรารู้จักพี่มุก (พรทิพย์ อรรถการวงศ์) อยู่แล้ว เจอกันตามงานนู้นงานนี้ แล้วเขาก็บอกให้ลองเอางานมาดูเผื่อจัดนิทรรศการที่ ATT 19 ได้ สรุปคือเดี๋ยวจะจัด group exhibition เดือนสิงหาคม คอนเซปต์ชิ้นแรกที่ทำเป็น circus กับทุนนิยม แล้วมันก็แตกออกไปได้อีกหลายเรื่อง มีงานที่เป็น escapism ซึ่งมันก็ไปด้วยกันได้เห็นว่ามีช่วงที่รู้สึกไม่ชอบความเฟมินีนในตัวเอง เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม
ตอนเด็กๆ เรารู้สึกว่าภาพจำของผู้หญิงที่สวยหรือมีความซอฟต์มันเป็นด้านลบหมดเลยอะ มันไม่เท่อะ แล้วก็รู้สึกว่าเซนต์โยฯ มีความเกลียดชังผู้หญิง (misogyny) สูงมาก คำว่า ‘สวยใสไร้สมอง’ ก็คือได้ยินมาตั้งแต่เด็ก คนสวยก็จะโดนด่าว่าสวยแต่ไม่ฉลาด มีการว่าคนที่รักษารูปลักษณ์ตัวเองว่าห่วงสวยไปทำไม มันก็ฝังหัวอะ แล้วช่วงนั้นหนังที่คาแรกเตอร์แบบ I’m not like other girls เยอะ สมัยนั้นเราก็รู้สึกว่ามันเท่ เราก็ติดตรงนั้นมา แล้วก็พยายามแอ๊บมัสคิวลีนขึ้น มีช่วงที่คนรอบข้างคิดว่าเราจะเป็นทอมด้วยจนกระทั่ง ม.ปลาย เริ่มเล่นเน็ตมากขึ้น อ่านนู่นอ่านนี่ พอเข้ามหา’ลัยก็ได้อยู่กับเพื่อนที่ลิเบอรัล หลักๆ เลยคือ ขิม (ปัทมาลักษณ์ ทองสี–เจ้าของเพจ Dearmedearyou) มีช่วงหนึ่งที่ขิมทวิตประมาณว่า สวยไปวันๆ แล้วไง คือมันปลดล็อกตัวเองมาก รู้สึกว่ากูไม่ต้องทำอะไรเพื่อรับใช้ทุนนิยมก็ได้ แค่สวยไปวันๆ นอนหายใจตอแหลไปวันๆ ฉันก็มีคุณค่าได้ คือพออ่านเยอะๆ แล้วเราเชื่อจริงๆ อะ มันเปลี่ยนตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้
คือจริงๆ เราชอบอะไรกุ๊กกิ๊กมาก โบว์หรือโมทีฟหลายๆ อันที่เราว่าสวยมันก็มีความเฟมินีน ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองโดนกดทับมาว่าต้องพยายามซ่อนมัน ตอนนี้เลยยิ่งอยากเอามาประโคมตรงหน้าว่า แล้วไง ฉันชอบแบบนี้
คือจริงๆ เราชอบอะไรกุ๊กกิ๊กมาก โบว์หรือโมทีฟหลายๆ อันที่เราว่าสวยมันก็มีความเฟมินีน ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองโดนกดทับมาว่าต้องพยายามซ่อนมัน ตอนนี้เลยยิ่งอยากเอามาประโคมตรงหน้าว่า แล้วไง ฉันชอบแบบนี้
แล้วตอนที่เรามัสคิวลีนมากๆ เราชอบตัวเองไหม
คือเรามีทั้งสองอย่างในตัวแหละ แล้วแต่วันหรือสถานการณ์มากกว่า เราเลเบลตัวเองเป็นนอน-ไบนารี ตอนนั้นเราก็รู้สึกเป็นตัวเราเหมือนกัน แต่เหมือนเราชูแค่ด้านเดียวมีเรื่องอื่นที่เรากำลังพยายามคอนเนคอยู่ไหมในช่วงนี้
ตอนนี้มีเรื่อง inner child เราเพิ่งมาคอนเนคได้หลายๆ อย่างว่านิสัยที่เราไม่ชอบ อย่างการเป็น people pleaser (คนที่ชอบตามใจคนอื่น) หรือการเป็นคนควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หลักๆ มันคือเรื่อง inner child ว่าตอนเด็กเรามีปมเรื่องอะไรบ้าง มันสั่งสมจนเราแสดงออกบางแบบเพื่อให้คนรอบข้างพอใจ ก็พยายามเวิร์กอยู่เราจัดการวินัยยังไงในการลุกขึ้นมาวาดรูปทุกวัน
นั่นแหละ…ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ (หัวเราะ) คือถ้ามันมีจุดไหนที่เราอยากทำมาก มันก็จะตื่นเต้นแล้วก็ทำๆๆๆ ไปได้เรื่อยเลย แต่ตอนนี้มันไม่มี ซึ่งวิธีกระตุ้นตัวเองคือแบ่งงานให้ย่อยที่สุด บางทีก็แบ่งเป็นชั่วโมงหรือเป็นส่วนๆ ไป เพื่อที่จะติ๊กได้เยอะๆ ว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้างอีกอย่างคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เราชอบมากๆ ถ้าเราอยู่ตรงนี้แล้วมีความสุขมันก็ช่วยกระตุ้นประมาณหนึ่งนะ เมื่อก่อนเราวาดในห้องนอน อีกนิดก็คือจะนอนได้แล้ว แล้วนอนทีก็ 3 ชั่วโมง การมีห้องทำงานเลยช่วยได้เยอะมากเหมือนกัน
อยากแนะนำอะไรกับคนที่พยายามหาลายเซ็นตัวเองอยู่
เราว่ามันก็ต้องวาดไปเรื่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ คือเราวาดไม่กี่ชิ้นก็ได้เลย แต่ถามว่าก่อนหน้านี้เราวาดอะไรมาบ้าง (โห ถ้านับตั้งแต่อนุบาลนี่…) ใช่ มันเยอะมาก แล้วหลายๆ อย่างก็เป็นการก็อปปี้ เราไม่ค่อยได้วาดคาแรกเตอร์ของตัวเองเท่าไร แต่มันก็เป็นการสั่งสมอะไรในหัวเยอะจนเอามาวาดได้เราไม่มีคำแนะนำไหนที่คนอื่นไม่เคยพูด ขอให้กำลังใจละกันมันยากตรงที่ตอนนี้ทุกคนแข่งกันด้วยยอดเอนเกจเมนต์ มันท้อง่ายมากเลยอะ บางทีในไอจียอดลดลงสามเท่า จนตอนนี้ปลงแล้วว่าถ้าเหลือร้อยไลก์ก็ช่างมัน อยากบอกว่าสู้ๆ ทุกคน
เรื่องยอดนี่บางคนคือยอมไม่เป็นตัวเองเลย
มันก็เป็นความจริงนะที่งานบางแบบมันจะได้ยอดรีช หรือขายแมสได้มากกว่างานบางแบบ แต่เราว่าคุณค่าของงานศิลปะมันขึ้นอยู่กับแต่ละยุคด้วย อย่างในยุคนี้ส่วนตัวเราว่าแค่วาดรูปแล้วมีความสุข หรือส่งต่อความสุขให้คนอื่นได้เราก็ถือว่าล้ำค่ามากแล้ว ทุกคนมี struggle ที่ต่างกันทั้งนั้นแหละ บางทีการขายวิญญาณก็อาจจะเป็นทางรอดของเขา แค่เราทำแล้วทรมานเกินไป ไม่รอดกับเรา (หัวเราะ)ที่บอกว่ามองโลกแล้วไม่มีหวัง ทุกวันนี้ก็ยังรู้สึกแบบนั้นอยู่เหรอ
ก็หวังว่าเลือกตั้งแล้วจะดีขึ้น คือเรารู้สึกไม่มีหวังในแง่ที่ว่าเทคโนโลยีที่เข้ามามันมีผลเสียมากกว่าผลดีอะ ด้วยวิธีการที่คนเอาไปใช้งาน อย่างจะให้ AI มีจริยธรรมนี่คาดหวังเยอะไปแล้ว แค่เรื่องเบสิกๆ คนยังไม่เข้าใจกันเลย มันมีอะไรแบบนี้โผล่ขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆ แล้วมันทำให้ชีวิตเรายากขึ้น แทนที่จะง่ายขึ้นแล้วทั่วโลกตอนนี้ค่อนข้างเอนไปทางขวา ซึ่งเรางงมากว่ามันเป็นแบบนั้นไปได้ยังไง นั่นน่าจะเป็นจุดที่ทำให้รู้สึกว่าไปที่ไหนก็ไม่รอดแล้วในโลกนี้ ไม่มีที่ไหนปลอดภัย ถ้าช่วงที่เราซึมหนักมากๆ เรามองว่าที่เราวาดรูปอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้หวังจะเปลี่ยนอะไร ไม่ได้ทำเพราะเอนจอย แต่ทำเพื่อให้สุขภาพจิตของตัวเองยังรอดไปได้ แต่ในวันที่ดีมากๆ เราก็ไม่รู้สึกแบบนี้นะ
หรือถ้าพูดถึงเรื่องสิทธิก็ยังรู้สึกว่ามันไปๆ กลับๆ อะ พูดไม่ถูก พอออกนอกบับเบิ้ลไปเจอกรุ๊ปเบียวก็ เอ้า คนที่เบียวก็เยอะนี่หว่า
ในฐานะคนทำงานศิลปะ นโยบายในฝันคืออะไร
ถ้านโยบายครีเอทีฟเราให้เพื่อไทย เขาแบ่งเป็นนโยบายหนังสือ นโยบายแฟชั่น นโยบายศิลปะ นโยบายดนตรี ฯลฯ แยกย่อยเยอะมาก อย่างนโยบายหนังสือก็มีลดภาษีกระดาษ แปลหนังสือไทยเป็นภาษาต่างประเทศมากขึ้นแล้วก็มี TCDC ทุกจังหวัด คือมันเป็นเรื่องที่เราเคยคุยกับเพื่อนว่าอยากกระจายการรวมตัวกันของกราฟิกหรือครีเอทีฟรุ่นใหม่ เพราะทุกวันนี้ไปงานอะไรก็เจอแต่คนหน้าเดิม รู้จักกันแค่นี้ ในขณะที่มันควรจะกว้างกว่านี้มากเลย ประเทศไทยไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ อะ พอเจอนโยบายนี้เลยรู้สึกว่ามันจะคอนเนคกันง่ายขึ้นเยอะเลย
มีลดภาษีอุปกรณ์ศิลปะด้วย คือมันโคตรแพง ทุกวันนี้เราซื้อแค่ตอนมันลด 50% เท่านั้นอะ สีอะคริลิกหลอดหนึ่งสี่ร้อยกว่าบาท บ้าเปล่า แคนวาสอันนี้ถ้าไม่ลดราคาคือสองพัน
เราเข้าใจว่าพรรคใหญ่มันมีเงินจ้างครีเอทีฟมากกว่าอยู่แล้ว เขาทำนโยบายซอยย่อยออกมาชัดเจนเลยว่าจะทำอะไรบ้าง ในขณะที่เราไปอ่านพรรคอื่นมันยังกว้างๆ หลวมๆ ไปหน่อย คือแต่ละพรรคมันก็มีด้านอื่นๆ อย่างสุราก้าวหน้าพรรคก้าวไกลก็อาจจะเด่นกว่า เราไปคุยกับพี่ที่เป็นบาร์เทนเดอร์ เขาก็เลือกเพราะอยากทำมากแล้ว แต่ละคนก็มีเหตุผลแหละ