หนังสือ 5 เล่ม น่าอ่านของ มิลาน คุนเดอรา พาสำรวจก้นบึ้งภาวะความเป็นมนุษย์

20 สิงหาคม 2566 - 03:18

milan-kundera-recommended-books-SPACEBAR-Thumbnail
  • ชวนอ่านนวนิยายทั้ง 5 เล่ม ของ มิลาน คุนเดอรา พาสำรวจภาวะความเป็นมนุษย์ ทั้งความงดงาม และความโสมม ที่ทุกคนล้วนประสบแต่มิได้คำนึงถึงจนกลายเป็นภาวะหลงลืม

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/NfetTwFz5Ln5HOe2FdzU2/ef745d2008109fbd9ec8a7470ea5d90b/milan-kundera-recommended-books-SPACEBAR-Photo01

Slowness  

ผลงานนวนิยายชิ้นแรกของคุนเดอราที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ปี 1995 มีความยาวไม่เกิน 200 หน้า Slowness เป็นเรื่องเล่าความสัมพันธ์ทั้งหมด 5 พล็อต ภายใต้ธีม ‘ความเชื่องช้า’ ที่สุดท้ายทั้ง 5 เรื่องจะมาบรรจบเข้าด้วยกัน ความเชื่องช้าของคุนเดอราเป็นการสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ของมนุษย์ที่มีต่อโลก แน่นอนว่าทั้งเรื่องเขาไม่ได้เขียนเกี่ยวกับความเชื่องช้าไปเสียทั้งหมด แต่เป็นการสอดแทรกแง่มุมความคิดต่อสิ่งต่างๆ บนโลกที่เปลี่ยนไปทั้งในด้านเทคโนโลยี ความเป็นโลกสมัยใหม่ รวมถึงบริบทสังคม ที่เร่งเร้าให้เราทุกคนหลงลืมอยู่ในความรวดเร็วจนเกินไป ในบางช่วงของหนังสือเล่มนี้จะมีการเปรียบเปรยเรื่องต่างๆ เช่น การขับขี่รถยนต์อย่างรวดเร็วทำให้คนขับพลาดพลั้งต่อสิ่งรอบกาย หรือทวงท่าที่ใช้บนเตียงส่งผลต่อความรู้สึก และประสาทสัมผัสอย่างไร เป็นต้น นำไปสู่ข้อเสนอว่า ความแช่มช้าอาจมอบการตัดสินใจที่ดีกว่าความรวดเร็วที่ทำให้คนหุนหันพลันแล่น และฉุนเฉียว 

Slowness แปลไทยโดย อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง ในชื่อ ‘แช่มช้า’ โดยสำนักพิมพ์กำมะหยี่ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7pYKh3fJXvv37ImLJNbS5J/6ecb8952555d3e96ebe508a6e64a6b71/milan-kundera-recommended-books-SPACEBAR-Photo02

The Unbearable Lightness of Being 

ตั้งอยู่ในฉากช่วงที่คอมมิวนิวส์เข้ามาบทบาทในกรุงปรากปี 1968 เนื้อเรื่องดำเนินโดยสองคู่รักที่กำลังดิ้นรนกับภาวะความรู้สึก ความสัมพันธ์เชิงชู้สาว และความไม่สัตย์ซื่อของหัวใจ คุนเดอราไม่เพียงแต่เป็นนักเขียนที่สาธยายบอกเล่าเรื่องเพศได้อย่างตรงไปตรงมา แต่ยังขับเคลื่อนตัวละครด้วยแนวคิดเชิงปรัชญา การตั้งคำถามต่อชีวิต และการประชดประชันกัดจิกความจริงของโลกได้อย่างละเอียดละออ ลึกซึ้ง และน่าสมเพศไปในคราวเดียวกัน ความประสบความสำเร็จของนวนิยายเรื่องนี้ดลใจให้ ฟิลิป คาฟแมน (Philip Kaufman) ดัดแปลงไปเป็นฉบับภาพยนตร์ในปี 1988 ในชื่อเดียวกัน นำแสดงโดย ดาเนียล เดย์-เลวิส (Daniel Day-Lewis) และจูเลียต บิโนช (Juliette Binoche)  หลังจากหนังเข้าฉาย ทำให้คุนเดอรากลายเป็นนักเขียนที่มีคนพูดถึงจำนวนมาก 

The Unbearable Lightness of Being แปลไทยโดย ภัควดี วิระภาสพงษ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 ในชื่อ ‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2bYQrjshei2EXja2AeuuU8/a0fd108d7edaf6bdc126319aca0f10a2/milan-kundera-recommended-books-SPACEBAR-Photo03

Identity 

ผลงานนวนิยายเล่มที่สองต่อจาก Slowness ที่คุนเดอราเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1998 Identity มีฉากการเล่าเรื่องที่ประเทศฝรั่งเศส ดำเนินเรื่องโดยตัวละครสองคนคือ ฌอง-มาร์ค และฌองตาล สองคู่รักที่ประสบกับประเด็นเชิงปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องตัวตนที่ก่อร่างขึ้นมาโดยได้รับอิทธิพลจาก ‘ความเป็นตัวตนคนอื่น’ ของคนรอบข้าง คุนเดอราพยายามเล่าเรื่องสะท้อนให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านไป ความเป็นตัวตนของตัวเรานั้นแปรเปลี่ยนไปเพียงใด อะไรที่หัวใจหลักของความเป็นตัวเรา โดยทั้งหมดจะถูกเล่าผ่านตัวละครตลอดทั้งเรื่อง  

นักวิจารณ์และนักอ่านส่วนใหญ่มักเทียบเคียง Identity กับนวนิยายเรื่องอื่นของคุนเดอรา อย่าง The Unbearable Lightness of Being และ The Book of Laughter and Forgetting แม้ว่าตัวเรื่องจะมีการพัฒนาตัวละครไม่มากนัก แต่สื่อใหญ่ๆ อย่าง The Guardian ให้ความเห็นว่า “เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องง่าย แต่มีประเด็นเชิงปรัชญาที่น่าสนใจ” 

Identity ถูกแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทยโดย อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง จากสำนักพิมพ์กำมะหยี่ โดยแปลเป็นชื่อไทยว่า ‘ตัวตน’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4xIfAaDMZXQ6JpAaM2zzur/19667ae927daf8f108dcb03b29467b9a/milan-kundera-recommended-books-SPACEBAR-Photo04

The Art of the Novel 

ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1986 The Art of the Novel เป็นหนังสือเรียงความที่คุนเดอราเขียนเกี่ยวกับพัฒนาการของวรรณกรรมตะวันตกที่ตอนนี้ได้กลายเป็นวรรณโลก (World Literature) ไปแล้ว โดยได้รับอิทธิพลหลักๆ จาก เซอวานเตส (Cervantes), เดกาตส์ (Descartes), บัลแซค (Balzac), เจมส์ จอยซ์ (James Joyce) และตอลสตอย (Tolstoy) นอกจากนี้คุนเดอรายังเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเขียนวรรณกรรม และประสบการณ์ที่เขาพบเจอมานับตั้งแต่เริ่มเขียนหนังสือ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3M0JOYg9a3ASGUnd3bbXT3/4c7063d1bec466d5b2bd404874614af1/milan-kundera-recommended-books-SPACEBAR-Photo05

Ignorance

นวนิยายเล่มที่สามถัดจาก Identity ที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสของคุนเดอรา ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2000 Ignorance เป็นการหยิบยกประสบการณ์ส่วนตัวที่เขาเคยประสบเมื่อครั้งเป็นผู้ลี้ภัยก่อนจะมาประเทศฝรั่งเศสในปี 1975 ว่าด้วยความหลงลืม ความโหยหา การพรากจาก และความคิดถึง นำเรื่องโดยหลากตัวละคร หนึ่งในนั้นคือ ไอรีนา ผู้ลี้ภัยในฝรั่งเศสนานร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับไปยังประเทศบ้านเกิดตัวเองอีกครั้งด้วยความรู้สึกที่แตกต่างจากเดิม บ่อยครั้งที่คุนเดอราพยายามเทียบสถานการณ์นี้กับโอดิสซุส (Odysseus) ตัวละครเอกในเรื่อง The Odyssey บทประพันธ์ของโฮเมอร์ (Homer) ผู้ร่อนเร่บนทะเลนานหลายสิบปีเพื่อกลับสู่บ้านเกิดหลังจากตนออกเดินทางเพื่อร่วมสงครามทรอย Ignorance เป็นหนึ่งนวนิยายของคุนเดอราที่ร้อยเรียงแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเนียบแนน สะท้อนถึงภาวะความเป็นมนุษย์ และสามารถพาสำรวจลึกไปถึงก้นบึ้งใจจิตใจ และจิตใต้สำนึกได้อย่างดีเยี่ยม  

Ignorance แปลภาษาไทยโดย ภัควดี วัระภาสพงษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2548 ในชื่อ ‘ความเขลา’

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์