รู้หรือไม่? ภาพวาดโมนาลิซา ไม่ได้โด่งดังจนกระทั่งโดนขโมย

1 มีนาคม 2566 - 10:04

mona-lisa-stolen-SPACEBAR-Thumbnail
  • เหตุการณ์โจรกรรมโลกจารึก ‘ขโมยภาพวาดโมนาลิซา’ จากภาพที่ไม่มีผู้ใดสังเกตเห็นสู่ความโด่งดังที่ไม่ว่าใครก็อยากได้รับชมใกล้ๆ

หากจะพูดถึงเหตุโจรกรรมที่ทำให้คนทั่วโลกต้องจารึก กับแรงกระเพื่อมที่สั่นสะเทือนไปทั่ววงการศิลปะ คงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ ‘ขโมยภาพวาดโมนาลิซา’ ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ในปี ค.ศ. 1911 จากภาพวาดที่ไม่มีผู้ใดสังเกตเห็น กลับกลายเป็นความโด่งดัง ที่ไม่ว่าใครก็อยากจะได้รับชมใกล้ๆ สักครั้งในชีวิต สำหรับวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้ถึงเรื่องราวของเหตุการณ์โจรกรรมภาพวาด ‘โมนาลิซา’ งานศิลปะระดับโลกกันเลย!  
 
เล่าย้อนกลับไปในปี 1503 มีข้อสันนิษฐานว่าศิลปินชาวฟลอเรนซ์นามว่า ลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ได้รับว่าจ้างให้วาดภาพภรรยาให้กับ ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo) นักธุรกิจท้องถิ่น ได้แก่ภาพ ‘โมนาลิซา (Mona Lisa)’ ,‘ลาโจกอนดา (La Gioconda)’ ในภาษาอิตาลี และ ‘ลาโชกงด์ (La Joconde)’ ในภาษาฝรั่งเศษ 
 
ดาวินชีร่ายพู่กันจุ่มสีน้ำมันบรรเลงลงบนเฟรมสูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่ได้พิเศษอะไร เนื่องจากเป็นภาพวาดครึ่งตัวแนวตั้งของสุภาพสตรีผู้มีรอยยิ้มอันชวนฉงน ไม่รู้ว่าเธอกำลังยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ซึ่งสายตาของแบบหันไปยังผู้ชมโดยจัดวางตำแหน่งเอาไว้ในบริเวณที่ 3 ส่วน 4 ของภาพ ซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ผิดแผงไปจากศิลปะดั้งเดิมของอิตาลี แต่ภายหลังกลับได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 21  
 
จนคืนหนึ่งในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.1911 ‘วินเชนโซ เปรูจา (Vincenzo Peruggia)’ ชายอิตาลีผู้ที่อดีตเคยเป็นช่างซ่อมบำรุงในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ได้ซ่อนตัวอยู่ในตู้เก็บไม้กวาด รอจนห้องจัดแสดงปลอดคน จึงได้งัดแงะรูปโมนาลิซาออกมาเก็บไว้ภายใต้เสื้อคลุม ก่อนเดินออกมาจากประตูราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6nS37T8OyZLtSJmZI72VT9/d2d0e0f49275e79b2823e29ef7f866ef/mona-lisa-stolen-SPACEBAR-Photo01
Photo: ภาพของ วินเชนโซ เปรูจา จอมโจรขโมยภาพโมนาลิซา
ซึ่งปกติภาพโมนาลิซาได้ถูกนำแสดงแขวนไว้อยู่ตรงกลางระหว่างภาพวาดสองภาพซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และผู้คนแทบไม่เคยสังเกตเห็นภาพนี้เลย จนแม้กระทั่งภาพนี้ถูกขโมยไปแล้ว 28 ชั่วโมง ทางทีมงานพิพิธภัณฑ์ถึงได้สังเหตเห็นว่ามีบางอย่างหายไปจากกำแพงระหว่างภาพใหญ่สองภาพ และนั่นคือภาพโมนาลิซา  
 
โดยเรื่องราวภาพโมนาลิซาที่ถูกขโมยได้แพร่สะพัดไปทั่ว ทำให้ผู้คนตี๊ต่างกันว่าภาพโมนาลิซ่านี่เป็นภาพที่มีมูลค่า เพราะหัวขโมยไม่ได้สนใจผลงานชิ้นเอกที่เหลือ แต่กลับพุ่งเป้าไปที่ภาพนี้โดยเฉพาะ เมื่อเรื่องราวได้แพร่ไปยังหูของสำนักพิมพ์ต่างๆ สื่อยักษ์ใหญ่ทุกสำนักของยุโรปและอเมริกาต่างออกมาประโคมข่าวการหายไปของภาพ รวมถึงตำรวจที่ต้องทำงานกันอย่างหนัก และมีการว่าจ้างนักสืบกว่า 60 คน รวมถึงศิลปินชื่อดัง ปาโบล ปีกัสโซ (Pablo Picasso) ยังกลายเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยอีกด้วย จากเรื่องราวเหล่านี้จึงทำให้ทุกคนต่างก็อยากรู้ว่าผลงานชิ้นเอกที่ถูกขโมยไปคือภาพใด และในไม่ช้าภาพโมนาลิซาจึงกลายเป็นภาพวาดชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกไปโดยปริยาย 
 
จนในสองปีให้หลัง ภาพวาดดังกล่าวถูกค้นพบอีกครั้งเมื่อหัวขโมยพยายามขายให้กับนายหน้าค้างานศิลปะชาวอิตาลี ในเมืองฟลอเรนซ์ ก่อนถูกส่งคืนพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนแห่แหนมาดูกันจนแน่นขนัด โดย อองรี ออยเล็ตต์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ได้เผยว่าในแต่ละปีมีผู้คนถึง 6 ล้านชีวิต เดินทางมาที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เพียงเพื่อชมภาพวาดโมนาลิซา 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6Qb5924wjg3sxkWBRP4jYa/9a19b21485dd3dbf8184085d7ce160f2/mona-lisa-stolen-SPACEBAR-Photo02
Photo: ภาพวาดโมนาลิซาหลังถูกส่งคืนให้พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า ‘การให้คุณค่ากับสิ่งที่ขาดแคลน’ (Scarcity Heuristic) เมื่อผู้คนอยากได้สิ่งใดแบบสุดๆ สิ่งนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่ขาดแคลน ดั่งเช่นภาพวาดโมนาลิซาที่ไม่มีผู้ใดให้คุณค่า จนกระทั่งเมื่อภาพนั้นหายสาบสูญไป ก่อนจะกลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ ที่ไม่ว่าใครก็ต้องอยากสัมผัสใกล้ๆ สักครั้งหนึ่งในชีวิต

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์