ท่ามกลางฝุ่นที่คละคลุ้งจนมองไม่เห็น ฝุ่น PM 2.5 เปลี่ยนทัศนียภาพของเมืองโดยสิ้นเชิง จากตึกระฟ้าที่สังเกตมองเห็นได้แต่ไกล ตอนนี้กลับกลายเป็นแค่หมอกควันจนรู้สึกอึดอัดพลางอยากหาอะไรอุดจมูกไปโดยอัตโนมัติ ตอนที่ผมกำลังยืนรอบีทีเอสเพื่อกลับบ้าน ผมเคยแหงนหน้าขึ้นไปมองพระอาทิตย์ จู่ๆ ก็รู้สึกว่าทำไมรูปทรงพระอาทิตย์มันดูคุ้นๆ เหมือนกับอยู่ในภาพของ โกลด โมเนต์ (Claude Monet) ไปเสียงั้น แต่ยังแอบคิดว่าเป็นเพียงความบังเอิญ เพราะโมเนต์คงไม่ฉงนสนเท่ห์หรือทึ่งอะไรกับพระอาทิตย์ในหมอกควัน
แต่แล้วความบังเอิญก็กลายเป็นความจริง ภาพพระอาทิตย์ที่ปกลุมไปด้วยหมอกนั้นไม่ได้มาจากมุมมองการถ่ายทอดของโมเนต์ ทว่าเขาเห็นมันจริงๆ ระหว่างที่กำลังใช้พู่กันป้ายลงไปบนผืนผ้าใบ ในจดหมายที่เขาส่งให้กับภรรยาเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1901 โกลด โมเนต์ ได้พร่ำบ่นเกี่ยวกับสภาพอากาศอันไม่เป็นใจ ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำหรับการทำงาน
“ทุกอย่างมันย่ำแย่มาก ไม่เห็นรถไฟ ไม่เห็นควัน ไม่เห็นเรือ ไม่มีอะไรที่น่าดลใจเลยสักนิด” โมเนต์ เขียนอยู่ในจดหมาย
แต่แล้วความบังเอิญก็กลายเป็นความจริง ภาพพระอาทิตย์ที่ปกลุมไปด้วยหมอกนั้นไม่ได้มาจากมุมมองการถ่ายทอดของโมเนต์ ทว่าเขาเห็นมันจริงๆ ระหว่างที่กำลังใช้พู่กันป้ายลงไปบนผืนผ้าใบ ในจดหมายที่เขาส่งให้กับภรรยาเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1901 โกลด โมเนต์ ได้พร่ำบ่นเกี่ยวกับสภาพอากาศอันไม่เป็นใจ ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำหรับการทำงาน
“ทุกอย่างมันย่ำแย่มาก ไม่เห็นรถไฟ ไม่เห็นควัน ไม่เห็นเรือ ไม่มีอะไรที่น่าดลใจเลยสักนิด” โมเนต์ เขียนอยู่ในจดหมาย

หลักฐานนี้ยิ่งถูกตอกย้ำด้วยผลงานหลายชิ้นของเขา เช่น Sunrise (1872), The Houses of Parliament, Sunset (1903), The Thames below Westminster (1871) ที่ภาพไม่ได้เผยอะไรที่น่าทึ่งตึงตราใจนอกจากเงาคุ่มๆ ของตึก สะพาน และเรือ โมเนต์สร้างผลงานรวม 100 กว่าชิ้น ระหว่างอยู่ที่ลอนดอนช่วงปี 1899-1901 ซึ่งเป็นยุคอุตสาหกรรมโรงงานกำลังรุ่งเรือง นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ทัศนียภาพถูกบดบังไปด้วยควันจากเรือยนต์ รถไฟ และโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ทั้งหมดนี้กลายเป็นองค์ประกอบชวนฝันที่ปรากฎอยู่ในงานของโมเนต์ไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม คำกล่าวนี้เป็นเพียงทฤษฎีที่รอการพิสูจน์ ซึ่งภายหลังนักวิทยาศาสตร์สามารถหาข้อสรุปได้แล้ว
ประเด็นนี้ถูกต่อยอดและทำการค้นคว้าโดย แอนนา เลีย อัลไบร์ท (Anna Lea Albright) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) ในปารีส ร่วมกับ ปีเตอร์ ฮัยเบอร์ส (Peter Huybers) อาจารย์วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Havard University) โดยอัลไบร์ทพยายามหาคำตอบผ่านผลงานของโมเนต์ รวมถึงศิลปินร่วมยุคอย่าง เทอร์เนอร์ (Turner) และวิสต์เลอร์ (Whistler) ที่หอศิลป์เทตต์ (Tate Art Gallery) ในลอนดอน และพิพิธภัณฑ์ดอร์เซย์ (Musée d'Orsay) ในปารีส
ประเด็นนี้ถูกต่อยอดและทำการค้นคว้าโดย แอนนา เลีย อัลไบร์ท (Anna Lea Albright) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) ในปารีส ร่วมกับ ปีเตอร์ ฮัยเบอร์ส (Peter Huybers) อาจารย์วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Havard University) โดยอัลไบร์ทพยายามหาคำตอบผ่านผลงานของโมเนต์ รวมถึงศิลปินร่วมยุคอย่าง เทอร์เนอร์ (Turner) และวิสต์เลอร์ (Whistler) ที่หอศิลป์เทตต์ (Tate Art Gallery) ในลอนดอน และพิพิธภัณฑ์ดอร์เซย์ (Musée d'Orsay) ในปารีส

“ลายเส้นในงานของพวกเขาดูเบลอเป็นหมอกๆ มากขึ้น สีบนจานดูมากขึ้น และรูปแบบสไตล์ของผลจากที่เด่นชัดมันกลายเป็นแนวประทับใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้เป็นผลจากมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อแสงในเวลานั้น” อัลไบร์ท อธิบาย
เช่นเดียวกับงานของ โจเซฟ มาลลอร์ด วิลเลียม เทอร์เนอร์ (Joseph Mallord William Turner) อีกหนึ่งศิลปินแนวประทับใจรุ่นใหญ่ บนภาพของเขาก็ถูกปกคลุมด้วยหมอกควันโดยเฉพาะในส่วนของท้องฟ้า เมื่อดูช่วงเวลาที่เขาวาด จะพบว่าเทอร์เนอร์สร้างสรรค์ผลงานในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม
ในช่วงปี 1796-1901 อุตสาหกรรมถ่านหินกำลังเป็นที่แพร่หลายเพื่อใช้สำหรับเครื่องยนต์ต่างๆ ประเทศอังกฤษสามารถผลิตถ่านหินได้มากถึง 2.9 ล้านตันต่อปี และพุ่งมากสุดถึง 275 ล้านตันต่อปี ผลกระทบนั้นทำให้ประเทศอังกฤษเต็มไปด้วยหมอกควันที่เป็นพิษต่อสุขภาพประชาชน มากสุดคือช่วงปี 1850-1890
เช่นเดียวกับงานของ โจเซฟ มาลลอร์ด วิลเลียม เทอร์เนอร์ (Joseph Mallord William Turner) อีกหนึ่งศิลปินแนวประทับใจรุ่นใหญ่ บนภาพของเขาก็ถูกปกคลุมด้วยหมอกควันโดยเฉพาะในส่วนของท้องฟ้า เมื่อดูช่วงเวลาที่เขาวาด จะพบว่าเทอร์เนอร์สร้างสรรค์ผลงานในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม
ในช่วงปี 1796-1901 อุตสาหกรรมถ่านหินกำลังเป็นที่แพร่หลายเพื่อใช้สำหรับเครื่องยนต์ต่างๆ ประเทศอังกฤษสามารถผลิตถ่านหินได้มากถึง 2.9 ล้านตันต่อปี และพุ่งมากสุดถึง 275 ล้านตันต่อปี ผลกระทบนั้นทำให้ประเทศอังกฤษเต็มไปด้วยหมอกควันที่เป็นพิษต่อสุขภาพประชาชน มากสุดคือช่วงปี 1850-1890

ทีแรกโมเนต์รู้สึกไม่พอใจกับปรากฏการณ์นี้ แต่ภายหลังเขากลับรู้สึกประทับกับภาพเมืองที่ถูกปกคลุมด้วยควันอุตสาหกรรม เขาเขียนถึงภรรยาเล่าว่า เขารู้สึกเกรงกลัวตอนที่หมอกหายไป และรู้สึกสบายใจขึ้นตอนฝุ่นหมอกพวกนี้กลับคืนมา
“เทอร์เนอร์กับโมเนต์เป็นสองศิลปินที่ต้องเดินทางไปดูสถานที่จริงๆ อย่างโมเนต์เขาชอบบรรยากาศของแต่ละสถานที่ เขาไม่ชอบลอนดอนที่หมอกเยอะเกิน และไม่ชอบตอนที่ไม่มีหมอกจนท้องฟ้าใสเกินไปด้วยกัน โดยให้เหตุผลว่ามันดูไม่เป็นลอนดอน เขาถึงกับทำลายงานบางงานที่เขาวาดท้องฟ้าใสเกินไปอีกด้วย” โจนาธาน ริบเนอร์ (Jonathan Ribner) อาจารย์ศิลปะยุโรปที่มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University) กล่าว
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และแปลกประหลาดไม่น้อย เราอาจพูดได้ว่าอิทธิพลต่อความเป็นโมเนต์กับภาพที่ขมุกขมัวคือควันถ่านหินในเมือง จินตนาการเล่นๆ ไปว่าถ้าโมเนต์มาเห็นกรุงเทพในม่านหมอก PM แบบนี้ เขาอาจนั่งตรงไหนสักแห่งในเมือง แล้วหยิบผ้าใบขึ้นมาวาดก็เป็นได้
“เทอร์เนอร์กับโมเนต์เป็นสองศิลปินที่ต้องเดินทางไปดูสถานที่จริงๆ อย่างโมเนต์เขาชอบบรรยากาศของแต่ละสถานที่ เขาไม่ชอบลอนดอนที่หมอกเยอะเกิน และไม่ชอบตอนที่ไม่มีหมอกจนท้องฟ้าใสเกินไปด้วยกัน โดยให้เหตุผลว่ามันดูไม่เป็นลอนดอน เขาถึงกับทำลายงานบางงานที่เขาวาดท้องฟ้าใสเกินไปอีกด้วย” โจนาธาน ริบเนอร์ (Jonathan Ribner) อาจารย์ศิลปะยุโรปที่มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University) กล่าว
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และแปลกประหลาดไม่น้อย เราอาจพูดได้ว่าอิทธิพลต่อความเป็นโมเนต์กับภาพที่ขมุกขมัวคือควันถ่านหินในเมือง จินตนาการเล่นๆ ไปว่าถ้าโมเนต์มาเห็นกรุงเทพในม่านหมอก PM แบบนี้ เขาอาจนั่งตรงไหนสักแห่งในเมือง แล้วหยิบผ้าใบขึ้นมาวาดก็เป็นได้