“คืนหมาหอน” ถือว่าเป็นคำศัพท์เชิงวิชาการในรัฐศาสตร์เลยทีเดียว ความหมายคือคืนสุดท้ายก่อนเลือกตั้งในวันรุ่งขึ้น ที่บางพรรคการเมืองวิเคราะห์แล้วว่าคะแนนตัวเองยังไม่ถึงเป้า ก็จะใช้โอกาสสุดท้ายในการออกซื้อเสียงตามบ้านเรือน ซึ่งอีกเหตุผลนึงที่ต้องเป็นคืนสุดท้าย ก็คือหากการซื้อเสียงมีการต่อสู้เกทับราคากันมา การออกซื้อเสียงคืนสุดท้ายก็จะทำให้พรรคที่มาท้ายๆ สามารถให้ราคาสูงสุดได้ แถมยังสร้างความจดจำได้ง่ายที่สุดเนื่องจากวันพรุ่งนี้ก็เลือกตั้งแล้ว เรียกง่ายๆ ว่าเป็นคืนสำคัญ ที่ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งไทยไม่ว่าระดับเล็กหรือใหญ่ ก็จะเกิดการพลิกสถานการณ์ทางการเมืองอยู่บ่อยๆ
และเหตุที่ต้องใช้คำว่าหมาหอนนั้นก็เพราะว่า ประเทศไทยตั้งแต่นมนานนิยมเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน เพื่อส่งเสียงเห่าหอนเตือนเจ้าของเวลาคนแปลกหน้ามาบุกรุกในยามวิกาล ซึ่งการซื้อเสียงซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย บรรดาหัวคะแนนจึงต้องแอบมาหาผู้ขายเสียงแบบลับๆ ล่อๆ ในยามวิกาล ส่งผลให้สุนัขเฝ้าบ้านเห่าหอนขึ้นมาระงมกันในคืนสุดท้ายที่การซื้อเสียงมากที่สุดกลายเป็นคำว่า คืนหมาหอน นั่นเอง
และเหตุที่ต้องใช้คำว่าหมาหอนนั้นก็เพราะว่า ประเทศไทยตั้งแต่นมนานนิยมเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน เพื่อส่งเสียงเห่าหอนเตือนเจ้าของเวลาคนแปลกหน้ามาบุกรุกในยามวิกาล ซึ่งการซื้อเสียงซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย บรรดาหัวคะแนนจึงต้องแอบมาหาผู้ขายเสียงแบบลับๆ ล่อๆ ในยามวิกาล ส่งผลให้สุนัขเฝ้าบ้านเห่าหอนขึ้นมาระงมกันในคืนสุดท้ายที่การซื้อเสียงมากที่สุดกลายเป็นคำว่า คืนหมาหอน นั่นเอง

ซึ่งในปัจจุบันคำว่าคืนหมาหอนก็อาจจะลดน้อยลงไป เพราะการซื้อเสียงขายเสียงนั้นก็เรียกได้ว่าพัฒนาขึ้นมาตามยุคสมัยจนมีหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องไปด้อมๆ มองๆ ลับๆ ล่อๆ กันในคืนก่อนเลือกตั้งเสมอไป ด้วยระบบอิเล็คโทรนิคที่แตะๆ จิ้มๆ ไม่กี่ทีก็โอนเงินกันได้อย่างดาย
แต่ก็อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การซื้อขายเสียงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะถือการกระทำที่ทุจริตผิดกฏหมาย โดยมีบทลงโทษตามกฏหมายดังนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือหัวคะแนนจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งถึง 10 ปี ส่วนผู้ขายเสียงเองก็ไม่รอด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเหนือสิ่งอื่นใดนอกจากโทษตามกฏหมายแล้ว การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบสังคมแบบประชาธิปไตย เป็นการแสดงเจตจำนงของประชาชนอย่างเราในการเลือกประเทศและสังคมในแบบที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรเลือกตั้งอย่างสุจริตโดยศึกษาจากข้อมูลและนโยบายของผู้แทนที่เราเชื่อมั่น หาใช่เลือกเพราะการทุจริตจากการซื้อขายเสียง เพราะหากแค่วิธีการจะเข้าไปบริหารประเทศก็เริ่มต้นด้วยการทุจริตแล้ว เราจะไว้ใจผู้แทนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ให้บริหารประเทศแทนเราแบบซื่อตรงได้อย่างไร?
แต่ก็อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การซื้อขายเสียงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะถือการกระทำที่ทุจริตผิดกฏหมาย โดยมีบทลงโทษตามกฏหมายดังนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือหัวคะแนนจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งถึง 10 ปี ส่วนผู้ขายเสียงเองก็ไม่รอด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเหนือสิ่งอื่นใดนอกจากโทษตามกฏหมายแล้ว การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบสังคมแบบประชาธิปไตย เป็นการแสดงเจตจำนงของประชาชนอย่างเราในการเลือกประเทศและสังคมในแบบที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรเลือกตั้งอย่างสุจริตโดยศึกษาจากข้อมูลและนโยบายของผู้แทนที่เราเชื่อมั่น หาใช่เลือกเพราะการทุจริตจากการซื้อขายเสียง เพราะหากแค่วิธีการจะเข้าไปบริหารประเทศก็เริ่มต้นด้วยการทุจริตแล้ว เราจะไว้ใจผู้แทนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ให้บริหารประเทศแทนเราแบบซื่อตรงได้อย่างไร?