เมื่อปีพุทธศักราช 2547 มีการรายงานว่ามีวัดไทยร้างจำนวน 44 แห่ง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวเลขนี้นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร แต่ต่อมาในปี 2556 มีการรายงานเพิ่มเติมว่ามีวัดไทยร้างเพิ่มมากขึ้นเป็น 216 แห่ง แม้ว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ. บต. จะทำการฟื้นฟูพื้นที่พุทธศาสนาหลายแห่ง แต่ตัวเลขวัดร้างก็ยังลุ่มๆ ดอนๆ ขึ้นลงอย่างไม่แน่นอน
สื่อ ThaiPBS ทำการสัมภาษณ์กับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง โดยให้ความว่าสาเหตุที่วัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพระจำพรรษาน้อยลง เนื่องจากชาวไทยพุทธส่วนใหญ่ ที่อาศัยในชุมชน อพยพครอบครัวออกนอกพื้นที่ เพราะไม่มั่นใจความปลอดภัย ทำให้บุตรหลานที่อายุครบบวช ไม่สามารถบวชวัดในชุมชนได้ ส่วนพระจากต่างจังหวัด ไม่กล้าเดินทางเข้าจำพรรษา
สื่อ ThaiPBS ทำการสัมภาษณ์กับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง โดยให้ความว่าสาเหตุที่วัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพระจำพรรษาน้อยลง เนื่องจากชาวไทยพุทธส่วนใหญ่ ที่อาศัยในชุมชน อพยพครอบครัวออกนอกพื้นที่ เพราะไม่มั่นใจความปลอดภัย ทำให้บุตรหลานที่อายุครบบวช ไม่สามารถบวชวัดในชุมชนได้ ส่วนพระจากต่างจังหวัด ไม่กล้าเดินทางเข้าจำพรรษา

นอกจากพื้นที่ดังกล่าวยังมีอีกหลายชุมชนที่ประสบปัญหาวัดร้าง หรือมีพระจำพรรษาอยู่น้อย โดยให้เหตุผลเดียวกันคือ ‘ความไม่ปลอดภัยในชุมชน’ ที่ไม่ได้มีแค่ปัญหาระหว่างพุทธศาสนิกชนกับชาวมุสลิมในท้องที่ แต่ยังมีเรื่องการเมืองท้องถิ่น ปัญหายาเสพติด และความยากจน โดยมีต้นเหตุคือเรื่องของเศรษฐกิจ เยาวชนในพื้นที่ไม่มีการศึกษาที่ควรได้รับ หรือต่อให้มีนโยบายการศึกษาฟรีก็ยังไม่สามารถหยุดโน้มน้ามไม่ให้เยาวชนแตะต้องกับยาเสพติดได้ ทั้งหมดเป็นสภาพแวดล้อมที่ยากเกินจะแก้ไข
เรื่องราวปัญหาเหล่านี้สามารถยืนยันได้จากคนภายใจอย่าง มิน-สูฮัยมี ลือแบซา นักกิจกรรมเยาวชนที่ให้สัมภาษณ์กับทาง Amnesty International Thailand เกี่ยวกับปัญหาภายในของจังหวัดสามชายแดน
เรื่องราวปัญหาเหล่านี้สามารถยืนยันได้จากคนภายใจอย่าง มิน-สูฮัยมี ลือแบซา นักกิจกรรมเยาวชนที่ให้สัมภาษณ์กับทาง Amnesty International Thailand เกี่ยวกับปัญหาภายในของจังหวัดสามชายแดน

“คนในหมู่บ้าน (บ้านโสร่ง จังหวัดปัตตานี) จะทำอาชีพสวนยางกับสวนผลไม้สลับกัน แต่ปัญหาในชุมชนเอง คือการที่เยาวชนหลายคนมากครับ ที่ต้องออกจากระบบการศึกษา และติดยาเสพติด บางคนถึงกับต้องติดคุก มีเด็กน้อยมากที่สามารถถีบตัวเองเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ด้วยสภาพแวดล้อม และต้นทุนชีวิต”
“ต้นทุนชีวิตของพวกเขาไม่เพียงพอในการต่อยอดการศึกษาเข้าไปในระดับมัธยม ง่าย ๆ คือ เขาไม่มีเงินที่จะส่งเสียให้เรียนจบ เด็กบางคนเองก็ถูกตำรวจจับเพราะติดยาเสพติด ติดคุกก็มี ทำให้อนาคตของเขามันไปต่อไม่ได้ ด้วยสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในหมู่บ้านที่เราอยู่ แต่ละแวกใกล้เคียงในสามจังหวัดเองก็เจอกับปัญหาแบบนี้” มินกล่าวกับสื่อ Amnesty
ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ยังไม่จบไม่สิ้น และยังเรื้อรังต่อเนื่องมานานหลายร้อยปี โดยเกิดจากปัจจัยหลายอย่างสะสมตั้งแต่สมัยอยุธยาจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และดำเนินต่อกันมาถึงปัจจุบัน
“ต้นทุนชีวิตของพวกเขาไม่เพียงพอในการต่อยอดการศึกษาเข้าไปในระดับมัธยม ง่าย ๆ คือ เขาไม่มีเงินที่จะส่งเสียให้เรียนจบ เด็กบางคนเองก็ถูกตำรวจจับเพราะติดยาเสพติด ติดคุกก็มี ทำให้อนาคตของเขามันไปต่อไม่ได้ ด้วยสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในหมู่บ้านที่เราอยู่ แต่ละแวกใกล้เคียงในสามจังหวัดเองก็เจอกับปัญหาแบบนี้” มินกล่าวกับสื่อ Amnesty
ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ยังไม่จบไม่สิ้น และยังเรื้อรังต่อเนื่องมานานหลายร้อยปี โดยเกิดจากปัจจัยหลายอย่างสะสมตั้งแต่สมัยอยุธยาจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และดำเนินต่อกันมาถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์ที่หลายคนเชื่อว่าก่อเป็น ‘ไฟใต้’ ในยุคปัจจุบัน คือเหตุการณ์กรณีตากใบในปี 2547 ที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ทั้ง 6 คน ถูกใส่ความว่าเป็นหนอนบ่อนไส้ให้กับผู้ก่อการร้าย นำไปสู่การชุมนุมของชาวบ้านเรียกร้องให้เห็นว่า 6 คนนี้เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่เหตุการณ์กลับร้ายแรงกว่าเดิม นั่นคือมี 7 คน เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม 7 คน สูญหายจากเหตุการณ์ 1,370 คน ถูกควบคุมตัวไปสอบสวน 78 คน เสียชีวิตขณะถูกลำเลียงในรถบรรทุก และ 58 คน ถูกเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดีในฐานะแกนนำการชุมนุม เหตุการณ์นี้ทำให้ความเชื่อมั่นต่อรัฐของคนท้องที่เสื่อมลง และมองว่าเป็นสิ่งที่ ‘ไม่เป็นธรรม’ ยังไม่นับเหตุการณ์กรือเซะที่รัฐใช้อำนาจเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตร่วมเกือบ 120 คน
อาณาจักรปาตานีที่ (เคย) รุ่งเรือง
ในบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยาวไปออกเกือบครึ่งของประเทศมาเลเซียเคยเป็นอาณาจักรรุ่งเรืองที่มีชื่อว่า ‘อาณาจักรปาตานี’ นักวิชาการเห็นตรงกันว่าน่าจะก่อตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1457 (พ.ศ. 2018) แต่เรื่องราวที่มาของอาณาจักรนั้นไม่มีใครทราบ และมีเพียงเอกสารชิ้นสำคัญเดียวคือ ‘ฮิกายัต ปาตานี’ (Hikayat Patani) หรือแปลเป็นไทยว่า ‘ประวัติศาสตร์แห่งปาตานี’ เอกสารเขียนทั้งหมดเป็นภาษายาวี บอกเล่าที่มาและประวัติศาสตร์ของอาณาจักรปาตานีรวม 6 ส่วน
ในฮิกายัต ปาตานี เล่าถึงที่มาของอาณาจักรว่าก่อตั้งโดยพระเจ้าพาญา ตู นักปา (แปลว่า กษัตริย์ผู้ชื่นชอบเข้าป่าลำไพร) โดยมีเรื่องราวอยู่ว่าหลังจากที่พระองค์ไม่สามารถล่ากระจงเผือกได้ พระองค์เหลือบไปเห็นกระท่อมหลังหนึ่ง ซึ่งมีชายชรานักประมงกับภรรยาอาศัยอยู่ พระองค์ถามว่าชายชรานั้นว่าเป็นใคร ชายชราจึงตอบว่าเขาชื่อ เอนชิก ตานี (Encik Tani) เดิมทีเขาคือคนจากโคตา มาลิไก (Kota Maligai) ที่เคยนำพาพระอัยกาของพระองค์ไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อสร้างถิ่นฐานที่นั่น เนื่องจากตัวเขามีโรคทางผิวหนัง จึงถูกทิ้งให้มาอยู่ที่หาด จากนั้นพระเจ้าพาญา ตู นักปา จึงตั้งถิ่นฐานที่นี่ ซึ่งเป็นที่ที่ตัวกระจูกเผือกวิ่งหนีหายไป โดยตั้งชื่อว่า ‘ปาดา ปานไต อิตี’ (pada pantai iti) แปลว่า ‘บนหาดแห่งนี้’ หรือ ปาตานี (patani)

เรื่องยังเล่าว่าเดิมทีพระเจ้าพาญา ตู นักปา นับถือศาสนาพุทธ อยู่มาวันหนึ่งผิวหนังพระองค์กลับแห้งแตกจนทรุดหนัก พระองค์จึงสั่งให้มุขมนตรีป่าวประกาศทั่วเมือง ใครผู้ใดที่สามารถรักษาพระองค์ได้จะหยิบยื่นบุตรีของตนให้ เผอิญพ่อค้าชาวมุสลิมนามว่า เฉก เซด (Shaykh Said) ได้ยินเข้า จึงขออาสาช่วยเหลือ แต่มีเงื่อนไขคือพระราชาต้องเปลี่ยนมานับถืออิสลาม พระราชาตอบตกลง เลยเป็นที่มาของอาณาจักรปาตานีที่ปกครองโดยระบบสุลต่าน โดยพระองค์เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น สุลต่านอิชเมล ซยา ซิลลุลลาห์ ฟิล-อาลาม
เนธาน โปแรธ (Nathan Porath) นักมนุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยไลเดน เห็นว่าเรื่องที่มาที่เล่ามานั้นเป็นเพียงตำนาน สองสามีภรรยาชาวประมงเป็นสัญญะแทนถึงคนท้องถิ่นที่ต้องการผู้ปกครอง อยุธยาไม่ใช่หนึ่งในตัวเลือกจึงแสดงภาพเป็นโรคทางผิวหนัง เช่นเดียวกับอาการโรคผิวของของพระเจ้าพาญา ตู นักปา แสดงถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้ปกครองและอาณาจักร จึงได้ เฉก เซด และศาสนาอิสลาม เป็นสัญญะแทนความเป็นหนึ่งอันเดียวกันเข้ามาช่วยค้ำจุน
ถ้าว่ากันในเชิงประวัติศาสตร์นั้นไม่มีใครรู้ที่มาของเมืองปาตานีอย่างแท้จริง มีเพียงสันนิษฐานว่าเจ้าชายสยามบุกเข้าทำลายเมืองโคตา มาลิไก และก่อตั้งเมืองขึ้นมาใหม่เป็นเมืองปาตานี ซึ่งเดิมทีปาตานีเป็นเมืองพุทธ ก่อนเจ้าชายจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในภายหลัง ข้อมูลส่วนใหญ่มักกล่าวว่าปาตานีเริ่มมาจาก อาณาจักรลังกาสุกะในสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 แต่ก็มีบางคนคัดค้านว่าเมืองปาตานีนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ยังไม่ขึ้นมาเป็นอาณาจักรใหญ่ (จีรวุฒิ บุญรัศมี)
เนธาน โปแรธ (Nathan Porath) นักมนุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยไลเดน เห็นว่าเรื่องที่มาที่เล่ามานั้นเป็นเพียงตำนาน สองสามีภรรยาชาวประมงเป็นสัญญะแทนถึงคนท้องถิ่นที่ต้องการผู้ปกครอง อยุธยาไม่ใช่หนึ่งในตัวเลือกจึงแสดงภาพเป็นโรคทางผิวหนัง เช่นเดียวกับอาการโรคผิวของของพระเจ้าพาญา ตู นักปา แสดงถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้ปกครองและอาณาจักร จึงได้ เฉก เซด และศาสนาอิสลาม เป็นสัญญะแทนความเป็นหนึ่งอันเดียวกันเข้ามาช่วยค้ำจุน
ถ้าว่ากันในเชิงประวัติศาสตร์นั้นไม่มีใครรู้ที่มาของเมืองปาตานีอย่างแท้จริง มีเพียงสันนิษฐานว่าเจ้าชายสยามบุกเข้าทำลายเมืองโคตา มาลิไก และก่อตั้งเมืองขึ้นมาใหม่เป็นเมืองปาตานี ซึ่งเดิมทีปาตานีเป็นเมืองพุทธ ก่อนเจ้าชายจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในภายหลัง ข้อมูลส่วนใหญ่มักกล่าวว่าปาตานีเริ่มมาจาก อาณาจักรลังกาสุกะในสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 แต่ก็มีบางคนคัดค้านว่าเมืองปาตานีนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ยังไม่ขึ้นมาเป็นอาณาจักรใหญ่ (จีรวุฒิ บุญรัศมี)

อย่างไรก็ตาม ในสมัยอยุธยา ทั้งอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรปาตานีเป็นสองอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เพราะปาตานีอยู่ภายใต้อำนาจของสยาม มีการส่งเครื่องบรรณาการให้อยู่สม่ำเสมอ แต่มีอยู่วันหนึ่งอาณาจักรปาตานีอยากปลีกตัวเป็นอิสระ อยุธยาจึงส่งกองทัพเข้ามาปราบนำโดยพระเจ้าปราสาททอง แต่ไม่สำเร็จเพราะปาตานีได้กองทัพจากยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู มาช่วยรบ แถมอยุธยายังโดนตีต้อนถูกปกครองโดยชาวปาตานีไปช่วงหนึ่ง ก่อนมีกองทัพจากพิษณุโลกมาช่วยให้ปาตานีร่นถอยไป
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นว่าปาตานีเป็นภัยต่อหัวเมืองทางใต้ของสยาม จึงยกทัพเข้ามาตีปาตานีอีกครั้งจนสามารถยึดเป็นประเทศราช แต่ด้วยความไม่สงบภายในเมือง เลยแยกออกเป็น 7 หัวเมือง ได้แก่ ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง รามัน ยะลา สายบุรี และระแงะ อันหมายถึงการสิ้นสุดของเอกราชปัตตานี
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นว่าปาตานีเป็นภัยต่อหัวเมืองทางใต้ของสยาม จึงยกทัพเข้ามาตีปาตานีอีกครั้งจนสามารถยึดเป็นประเทศราช แต่ด้วยความไม่สงบภายในเมือง เลยแยกออกเป็น 7 หัวเมือง ได้แก่ ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง รามัน ยะลา สายบุรี และระแงะ อันหมายถึงการสิ้นสุดของเอกราชปัตตานี
การยัดเยียดของสยาม และการเมืองไทยปัจจุบัน
จะสังเกตเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับปัตตานีนั้นไม่เคยสู้ดีมาตั้งแต่อดีต และยังสร้างความบาดหมางใหักับคนในพื้นที่สามจังหวัดอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในสมัยสงครามโลก หรือหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ก็มีนโยบายรัฐนิยมของ จอมพลป. พิบูลสงคราม ที่พยายามกดทับอัตลักษณ์และศาสนาของคนในพื้นที่ เสนอให้ชาวมลายูในพื้นที่แต่งตัวแบบคนไทย บรรดาเจ้าเมืองที่เข้าไปมาขัดขืนถูกจับกุมจนต้องหนีไปมาเลเซีย จนกระทั่งมาถึงช่วงที่ ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี หันมาแก้ไขปัญหาด้วยการลงพื้นที่และพูดคุยกับคนท้องถิ่น
ปรีดี พนมยงค์ ทำการเจรจากับ หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำคนสำคัญของปัตตานี โดยหะยีสุหลงร่างข้อเสนอร่วมกับผู้นำอิสลามในสี่จังหวัด (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล) ทั้งหมด 7 ข้อ แต่กลับเจอรัฐประหารจากทหาร ข้อเสนอเหล่านี้จึงจางหายไปกับอากาศ และปัญหาความขัดแย้งที่เคยมีร่วมกันมายังไม่ถูกแก้ไข หะยีสุหลงถูกมองว่าเป็นศัตรูของรัฐ แม้ว่าเรื่องของที่เสนอนั้นเป็นเพียงเรื่องพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยก็ตาม

หะยีสุหลงถูกอุ้มหายไปหลังรัฐประหาร 2 ปี เป็นชนวนสำคัญก่อให้ชาวบ้านเริ่มลุกฮือขึ้นมาต่อต้านรัฐไทยมากขึ้น การฆาตกรรมเริ่มเกิดขึ้น เศรษฐกิจถดถอย อาชญากรรมเริ่มก่อตัว ชาวพุทธในพื้นที่ถูกข่มขู่ คนบางกลุ่มย้ายออกนอกประเทศ สามจังหวัดชายแดนเริ่มกลายเป็นเมืองไม่ปลอดภัย มีวัดไทยร้างหลายแห่ง ชาวบ้านถูกใส่ร้ายจนถูกจับกุมอย่างไม่ธรรม จากปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยสันติวิธีกลายเป็นการแก้ไขด้วยความรุนแรง ทั้งหมดเกิดจากการความไม่เป็นธรรมที่ชาวมลายู หรือชาวปัตตานีได้รับ ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งนั้นยากเกินจะแก้ไข เพราะเหมือนติดกระดุมผิดเม็ดนับตั้งแต่รัฐประหาร
ปัญหายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเรื่องในชุดรัฐบาลของ พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครั้งนี้เป็นการรับมือกับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Nasional หรือ BRN) ขบวบการที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2503 โดย อุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน เริ่มต้นจากการเป็นกองกำลังติดอาวุธ ปัจจุบันเป็นองค์กรหลักในการเจรจาเรื่องสันติกับรัฐบาลไทย
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวกับปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “ผมไม่เคยหยุดคิด ตั้งแต่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกปีแรก ไม่เคยหยุดคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีมีความสุขจะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมไปได้” และในเดือนมกราคม ปี 2563 มีการแถลงการณ์ว่ามีความรุนแรงจากอาชญากรรมน้อยลง และพยายามจัดการทุกอย่างให้รัดกุม
ปัญหายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเรื่องในชุดรัฐบาลของ พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครั้งนี้เป็นการรับมือกับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Nasional หรือ BRN) ขบวบการที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2503 โดย อุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน เริ่มต้นจากการเป็นกองกำลังติดอาวุธ ปัจจุบันเป็นองค์กรหลักในการเจรจาเรื่องสันติกับรัฐบาลไทย
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวกับปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “ผมไม่เคยหยุดคิด ตั้งแต่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกปีแรก ไม่เคยหยุดคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีมีความสุขจะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมไปได้” และในเดือนมกราคม ปี 2563 มีการแถลงการณ์ว่ามีความรุนแรงจากอาชญากรรมน้อยลง และพยายามจัดการทุกอย่างให้รัดกุม

อย่างไรก็ตาม ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้สัมภาษณ์กับ BBC Thai ว่าสถิติความรุนแรงนั้นลดลงจริงนับตั้งแต่ปี 2556 จากปีละกว่า 1,000 เหตุการณ์เหลือประมาณ 300 เหตุการณ์ในปี 2563 และเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงลดลง คือ
หลังจากการเลือกตั้ง 2566 จู่ๆ ก็มีกระแสเรื่องแบ่งแยกดินแดนโดย ‘ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ’ หรือ เปลาจาร์ บังซา นำโดยนายอิรฟาน อูมา โดยมีการจัดปาฐกถาเรื่อง ‘สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง กับสันติภาพปาตานี’ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมีการแจกเอกสารลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช มีข้อความว่า “คุณเห็นด้วยกับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองหรือไม่ ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกต้อง”
- การพูดคุยสันติสุขของรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น ที่แม้อาจไม่เห็นผลในเชิงความก้าวหน้าของการพูดคุย แต่ก็มีผลให้การก่อความไม่สงบในพื้นที่ลดลง
- หลังเหตุการรัฐประหาร 2557 รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารเพื่อ ‘การควบคุม’ เพิ่มขึ้น เห็นภาพจางบประมาณการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเดิมที่อยู่ระดับ 10,000-20,000 ล้านบาทต่อปี ก็ขยับมาเป็น 30,000-40,000 ล้านบาทต่อปี
รัฐควรทำอย่างไร?
“ทำไมปัญหาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่สิ้นสุดเสียที?” นี่อาจเป็นคำถามที่พบมากที่สุดบนโซเชียล หรืออาจเป็นคำถามที่สามารถผุดขึ้นมากลางบทสนทนาในวงเหล้าได้อย่างง่ายดาย และคำตอบสำหรับคำถามนี้นั้นเกือบจะเป็นคำว่า ‘สายเกินแก้’ แต่ไม่เสียทีเดียว สิ่งที่รัฐควรทำตอนนี้คือค่อยๆ ตะล่อมให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทางอย่างช้าๆหลังจากการเลือกตั้ง 2566 จู่ๆ ก็มีกระแสเรื่องแบ่งแยกดินแดนโดย ‘ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ’ หรือ เปลาจาร์ บังซา นำโดยนายอิรฟาน อูมา โดยมีการจัดปาฐกถาเรื่อง ‘สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง กับสันติภาพปาตานี’ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมีการแจกเอกสารลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช มีข้อความว่า “คุณเห็นด้วยกับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองหรือไม่ ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกต้อง”

การแบ่งแยกดินแดนถือว่าเป็นการผิดรัฐธรรมนูญมาตราที่ 1 “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” ซึ่งกรณีความพยายามแบ่งแยกดินแดนของพื้นที่สามจังหวัดนั้นต้องมองพวกเขาด้วยความเห็นอกเห็นใจ เพราะความพยายามดิ้นรนเพื่อเอกราชไม่ได้เกิดจากความอหังการ หรือก่อตั้งตัวเองเป็นขบถ แต่พวกเขาอดทนแร้นแค้นมานาน และถูกละเลยจากรัฐบาลไทยจนสังคมเริ่มผุพัง ดังนั้น มาตรการในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่กฎอัยการศึก แต่ควรเป็นการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจตัวตนของผู้คน เข้าใจรากของความเป็นปาตานี ยอมรับความหลากหลายของพวกเขาเหล่านั้นดังที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ มาตราที่ 37
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”