รู้จักข้าวพันธุ์ผกาลำดวน พันธุ์ข้าวที่แซงหน้าข้าวไทยหอมมะลิ

23 พ.ย. 2565 - 08:47

  • ข้าวหอมมะลิผกาลำดวน เป็นข้าวหอมมะลิเมล็ดยาวที่กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้ซื้อต่างประเทศ และสามารถคว้ารางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลกเป็นครั้งที่ 5

phka-rum-duol-rice-SPACEBAR-Hero
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีการจัดการประชุมข้าวโลก The Rice Trader หรือ TRT ที่จังหวัดภูเก็ต โดยพันธุ์ข้าวที่สามารถคว้ารางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลก (World’s Best Rice)  คือ ข้าวหอมมะลิพันธุ์ผกาลำดวน ของประเทศกัมพูชา ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 แล้วสำหรับการรับรางวัลนี้ 
 
ข้าวหอมมะลิผกาลำดวน เป็นข้าวหอมมะลิเมล็ดยาวที่กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้ซื้อต่างประเทศและเป็นหนึ่งในพันธุ์ที่ส่งออกภายใต้แบรนด์ ‘Angkor Malys’ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้รับรางวัลมาแล้ว 4 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ปีตั้งแต่ปี 2555-2557 และอีกครั้งในปี 2561 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม และยังครองอันดับ 2 ติดต่อกันถึง 3 ปีตั้งแต่ปี 2558-2560
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3NdBkIWWVsXRpcHgRyLm8P/481bda3a7f90c9f63d4a2e5b0565a883/phka-rum-duol-rice-SPACEBAR-Photo01
Photo: Photo: AFP
ข้าวหอมมะลิผกาลำดวน (Phka Rumduol) มีอีกชื่อเรียกหนึ่งคือ ผกามาลิส (Phka Malis) หรือข้าวหอมมะลิกัมพูชา ถือเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศกัมพูชามาหลายปี และเป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกพัฒนาภายใต้การสนับสนุนของโปรเจกต์ Cambodia-IRRI-Australia ระหว่างปี 1988-2001 จากนั้นได้วางขายในตลาดโดยสถาบันการวิจัยและพัฒนาการเกษตรกัมพูชา (Cambodian Agricultura Research and Development) หรือ CARDI ในปี 1991 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สถาบันนี้ก่อตั้ง 
 
ท่ามกลางตลาดการขายข้าวหลากหลายสายพันธุ์ในประเทศ ข้าวพันธุ์ผกาลำดวนเพิ่งถูกรับการสนับสนุนจากรัฐบาลกัมพูชาในปลายปี 2010 ทำให้ข้าวพันธุ์นี้กลายเป็นที่รู้จักกันทั่วกัมพูชา 
 
ข้าวผกาลำดวนสามารถผลิตได้จำนวน 3.5-5 ตันต่อเฮกตาร์ในพื้นราบลุ่มชุ่มชื้นจากฝน ลักษณะเม็ดนั้นมีความเรียวยาว มีกลิ่นหอมมะลิที่ดี ไม่มีฝุ่นขาว และมีปริมาณอะมิโลส (amylose) ต่ำอยู่ที่ 13.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถทำให้เม็ดข้าวมีความเหนียวเมื่อปรุงสุก มีความโปร่งแสง ไม่แตกออกจากกัน และรสชาติอร่อย
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/WBH7XLdQRCeftRT28Cfne/e17ea56011ceb06996dae6e54d42bd84/phka-rum-duol-rice-SPACEBAR-Photo02
Photo: Photo: AFP
ทางฝั่งประเทศไทยที่มีข้าวไทยหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สายพันธุ์ 105 เป็นตัวชูโรง ซึ่งสามารถเพาะปลูกได้เฉพาะพื้นที่ภาคอีสานในประเทศไทยเพราะให้ผลผลิตที่ดีกว่า หลังจากทดสอบมาแล้วในภาคต่างๆ เมื่อปี 2500 พบว่า ข้าวหอมมะลิไม่เหมาะที่จะปลูกในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในภาคกลาง เพราะเมล็ดข้าวจะอ้วน ไม่แกร่ง และหักง่าย ส่วนในภาคอีสาน ข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ 105 (รวงที่ 105) ให้ผลดีมาก รวงดีที่สุด เมล็ดยาวเรียวสมบูรณ์ 
 
มีข้อมูลมาว่าที่ประเทศไทยไม่ได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดอาจเป็นเพราะฝนที่ตกชุกทำให้ข้าวไม่สามารถสร้างกลิ่นที่แรงได้เท่ากับปีก่อนๆ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณในการบอกเกษตรกรไทยให้ทำการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น เพื่อไปแข่งขันกับข้าวพันธุ์ผกาลำดวนในการประชุมข้าวโลกครั้งต่อไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์