สักครั้งในชีวิต! ต้องได้เห็นผลงานภาพถ่ายสงครามของ James Nachtwey

10 สิงหาคม 2566 - 09:30

Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Thumbnail
  • ภาพถ่ายเซ็ตพิเศษมาเผยสู่สายตาสาธารณะเป็นที่แรกของโลกกับภาพประวัติศาสตร์ของชีวิต ในสงครามยูเครนที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนให้คนไทยได้ชมก่อนใคร

  • เพื่อสะท้อนถึงผลกระทบต่างๆ ของสงครามที่สร้างความเสียหายแก่บ้านเมือง ชีวิตผู้คนที่ยากลำบาก และการมีชีวิตหลังการสูญเสีย ซึ่งเป็นผลพวงที่เกิดกับ มนุษยชาติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ช่างภาพ และคนที่รักการถ่ายภาพ

คำว่า ‘สงคราม’ ดูห่างไกลจากคนไทย โดยเฉพาะคนที่เกิดในเจเนอร์เรชัน X เป็นต้นไป บางคนได้เคยได้ยินเรื่องเล่า ถึงชีวิตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือ เรียนรู้จากหนังสือ ประวัติศาสตร์ต่างๆ  

แต่จะดีไม่น้อยหากได้ชมภาพถ่ายจากสถานที่จริง จากช่างภาพสงครามระดับโลกอย่าง  James Nachtwey (เจมส์ นาคท์เวย์) หนึ่งในช่างภาพสารคดีสงครามที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในโลก เขาเปรียบเสมือนผู้สังเกตุการณ์ และพยานของสงครามซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้ง รวมทั้งโศกนาฎกรรมภัยพิบัติทั่วโลก ที่นำมาจัดแสดง James Nachtwey: Memoria Exhibition นิทรรศการรวมผลงานภาพถ่ายสงครามของเจมส์ นาคท์เวย์ จำนวน 126 ภาพ พร้อมการฉายวีดีโอสั้นที่กำกับโดย Thomas Nordanstad (โทมัส นอร์ดานสตัด) จัดโดย สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ด้วยการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ระหว่างวันที่ 5 กันยายน 2566 - 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

ครั้งแรกในไทย-เอเชียแปซิฟิก และแสดงภาพถ่ายเซ็ตยูเครนที่แรกของโลก 

James Nachtwey: Memoria Exhibition คือ นิทรรศการรวมผลงานภาพถ่ายสงคราม และโศกนาฎกรรมภัยพิบัติตลอดอาชีพการเป็นช่างภาพสงครามกว่า 42 ปี ของ James Nachtwey ที่จะมาจัดแสดงครั้งแรกในไทยและเอเชียแปซิฟิก โดยนำภาพชุดเดียวกันกับที่นำไปจัดแสดง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, มิลาน ประเทศอิตาลี สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งจะเผยให้เห็นถึงชีวิตในขณะเกิดสงคราม และชีวิตหลังสงครามที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ของผู้คนและการพยายามใช้ชีวิตหลังจากการสูญเสีย 

พิเศษสำหรับประเทศไทย James Nachtwey นำภาพถ่ายเซ็ตพิเศษมาเผยสู่สาธารณะเป็นที่แรกของโลก กับภาพประวัติศาสต์ของชีวิตในสงครามยูเครนที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนให้คนไทยได้ชมก่อนใคร 

นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์ War Photographer สารคดีที่เล่าถึงชีวิตและการทำงานเป็นช่างภาพสารคดีสงคราม และโศกนาฎกรรมภัยพิบัติ และกิจกรรมพูดคุยกับ James Nachtwey ในวันที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 16.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 

สำหรับภาพยนตร์สารคดี  War Photographer ที่กำกับโดย Christian Frei (คริสเตียน เฟรย์) ได้ติดตามการทำงานของ James Nachtwey ช่างภาพสงครามเป็นเวลาเวลาสองปีในสงครามที่ประเทศอินโดนีเซีย, โคโซโว, ปาเลสไตน์ เป็นต้น โดยใช้กล้องขนาดเล็กพิเศษแนบไปกับกล้องถ่ายภาพของ James Nachtwey ทำให้ได้เห็นมุมมองของช่างภาพชื่อดังของโลก ได้ยินเสียงลมหายใจ ที่สะท้อนถึงแรงจูงใจและการทำงานในฐานะช่างภาพสงคราม 

หนึ่งภาพ...ล้านความหมาย

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6tlY5Te8a0nki30O50WHyd/0c227f65860be9ed41104d6d9513503a/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo01
Photo: Sudan Darfur 2004 (ซูดาน, ดาร์ฟูร์, 2004) แม่คนหนึ่งกำลังปลอบลูกที่เข้ารับการดูแลในศูนย์การแพทย์จัดตั้งโดยองค์การแพทย์ไร้พรมแดน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/f6mG4k3tKNM4yMYaBsnp0/40160385cdf0dcd61569793c1e2d0d84/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo02
Photo: West Bank Ramallah 2000 (เวสต์แบงก์, รอมัลลอฮ์, 2000) ระหว่างการประท้วงจุดหนึ่งในการลุกฮืออินติฟาดาของปาเลสไตน์ครั้งที่สอง ผู้ชุมนุมเริ่มขว้างปาก้อนหินและระเบิดขวดใส่ทหารอิสราเอลที่ติดอาวุธครบมือ จึงตอบโตด้วยการยิงปืนใส่โดยใช้ทั้งกระสุนจริง และกระสุนเหล็กกล้าเคลือบยาง ซึ่งทำให้บาดเจ็บร้ายแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/eYLTszoFiFOAQH2hyUoqF/c3765ec3aa01ebd296b2f83d737c60c9/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo03
Photo: Afghanistan Kabul 1996 (อัฟกานิสถาน, คาบุล, 1996) จุดที่เคยเป็นย่านการค้ากลาง ปัจจุบันมีสภาพเป็นซากไม่ต่างกับพื้นผิวดวงจันทร์
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5BaekAvy4cH6san90REP3/5d3bdf98961c4b2ac15af3ea690890b1/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo04
Photo: Greece Idomeni 2016 (กรีซ, อิโดเมนี, 2016) ทางการประกาศปิดพรมแดนระหว่างกรีซและมาซิโดเนีย ปล่อยให้ผู้อพยพต้องรออยู่หลายสัปดาห์กลางฝนและอากาศหนาวในค่ายอพยพที่เฉอะแฉะโคลน บางคนถึงกับพยายามเข้าผ่านเส้นทางอื่นด้วยการเดินหาช่องโหว่ตามแนวป่า จนมาถึงจุดที่ต้องเดินเท้าข้ามแม่น้ำเชี่ยวกรากเย็นเยียบด้วยหิมะละลายจากยอดเขา
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/olFNozJZOddc7WMIJZdAB/ca3d0a8aaba2de7423744a854a6fa10d/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo05
Photo: Bosnia-Herzegovina Mostar 1993 (บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา, มอสตาร์, 1993) การรบชิงเมืองมอสตาร์เกิดขึ้นตามบ้านแต่ละหลัง ห้องแต่ละห้อง บ้านใกล้เรือนเคียงสู้กันเอง แม้แต่ห้องนอนอันเป็นสถานที่พักเหนื่อยหรือสถานที่ถือกำเนิดชีวิตเองก็กลับกลายเป็นสนามรบ เมื่อกองกำลังติดอาวุธชาวโครเอเชียเข้ายึดอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งพร้อมขับไล่ผู้อยู่อาศัยชาวมุสลิมออกไป
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4c2Ga2ozBsfI0y9EnoL9Sc/4e42ec196fd3a74cd13e2ab66e173e39/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo06
Photo: El Salvador San Luis de la Reina 1984 (เอลซัลวาดอร์, ซาน ลูอิส เด ลา เรย์นา, 1984) ทหารลาดตระเวนเอลซัลวาดอร์ถูกซุ่มโจมตีโดยพลรบกองโจร และเมื่อนำส่งทหารบาดเจ็บมาถึงสนามฟุตบอลหมู่บ้าน เด็กหญิงสามคนในชุดฉลองประจำวันนักบุญออกมาจากโบสถ์เพื่อดูกองทหารอพยพออกจากพื้นที่ทางเครื่องบิน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3fo3KuU33NCz3G8fd8bUkb/98a5b4ae1782fa23c6d91b5b5c0c1d72/Photo-Story-James-Nachtwey-Memoria-Exhibition-SPACEBAR-Photo07
Photo: USA New York City 2001 (สหรัฐอเมริกา, นครนิวยอร์ก, 2001) อาคารฝั่งใต้ของตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่ม จากเหตุการณ์ 9/11

ไม่ใช่แค่ช่างภาพสงคราม แต่เป็นผู้สังเกตการณ์โลก 

James Nachtwey เกิด 14 มีนาคม 1948 เติบโตในแมสซาชูเซตส์และจบการศึกษาจาก Dartmouth College ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและรัฐศาสตร์ เขาเริ่มต้นในอาชีพช่างภาพกับ Abuquerque Journal ในปี 1976 ก่อนจะย้ายมาอยู่ New York และเริ่มทำงานเป็นช่างภาพอิสระ ในปี `1981 โดยเขาได้ทำงานในต่างประเทศครั้งแรกที่ไอร์แลนด์เหนือ เพื่อนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ สู่การเดินทางรอบโลก ทั้งในแอฟริกาใต้ ลาตินอเมริกา รัสเซีย ยุโรปตะวันออก เวียดนาม อัฟกานิสถาน เพื่อบันทึกภาพประวัติศาสตร์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำ และเคยเป็นช่างภาพให้กับนิตยสาร TIME ตั้งแต่ปี 1984- 2018 

ในปี 2003 เขาได้รับบาดเจ็บจากลูกระเบิด ระหว่างทำงานที่นครแบกแดดให้กับนิตยสาร TIME เพื่อบันทึกภาพการบุกอิรักโดยสหรัฐอเมริกา ในเหตุการณ์นั้นมีทหารสองนายได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับผู้สื่อข่าวของนิตยสาร TIME ส่วนตัวเขายังสามารถถ่ายภาพการช่วยชีวิตโดยแพทย์สนามได้หลายภาพก่อนที่จะหมดสติ James Nachtwey ได้รักษาตัวในโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาจนหายดี หลังจากนั้นได้เดินทางมาบันทึกภาพโศกนาฏกรรมจากคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ถล่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ได้อีกด้วย 

นิทรรศการ ‘Memoria’ ของ James Nachtwey ได้จัดแสดงความทรงจำในการทำงานตลอดชีวิตอันยาวนานหลายทศวรรษ ซึ่งเขามักจะอยู่ศูนย์กลางของวิกฤตการณ์และสถานที่ที่พังทลายจากสงคราม เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์สำคัญในเสี้ยววินาที ภาพถ่ายแต่ละภาพของ James Nachtwey มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของความอยุติธรรมและความรุนแรงอันเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขทั้งด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเร่งด่วน 

James Nachtwey เคยกล่าวไว้ในงานเปิดนิทรรศการ “Memoria” ที่ Fotografiska Tallinn ว่า สำหรับฉันแล้ว การถ่ายภาพไม่ใช่การยัดเยียดสิ่งที่ผมคิดว่าผมรู้ให้เป็นความจริง มันคือการสำรวจด้วยตาหนึ่งคู่ หนึ่งความคิด หนึ่งหัวใจ เคลื่อนผ่านโลกแห่งความเป็นจริงตามเวลาจริง พยายามบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผู้คนทีละคน ณ จุดที่เกิดสถานการณ์ความขัดแย้ง เรื่องราวที่สังคมต้องการเพื่อดำเนินไปอย่างถูกต้อง เพื่อประเมินเหตุการณ์ ตัดสินใจอย่างรอบรู้ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดภาพถ่ายงานของผมก็ขยายออกไปนอกสงคราม รวมไปถึงสถานการณ์อื่นๆ ที่มีความอยุติธรรม นำไปสู่การเรียกร้องให้มีการแก้ไข ทั้งด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน  ตลอดจนปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับความสนใจมากขึ้น 

ผู้สนใจสามารถชมงาน James Nachtwey: Memoria Exhibition นิทรรศการรวมผลงานภาพถ่ายสงคราม และภัยพิบัติของ เจมส์ นาคท์เวย์ ระหว่างวันที่ 5 กันยายน 2566 - 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rpst.or.th

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์