เป็นดั่งผ้ายันต์ที่มีแทบทุกร้านอาหารในย่านปทุมธานีกับ ‘เซียนแปะโรงสี’ ชายไทยเชื้อสายจีนที่มีพ่อค้าแม่ค้าให้ความเคารพนับถือมาอย่างยาวนาน ด้วยความเชื่อที่ว่าการไหว้บูชายันต์ ‘ฟ้าประทานพร’ ของเซียนแปะโรงสีจะช่วยส่งเสริมในด้านการทำมาค้าขาย แต่ความจริงแล้วเซียนแปะโรงสีคือใคร? เหตุใดผู้คนจึงศรัทธา? วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเขากัน
‘เซียนแปะโรงสี’ หรือ ‘อาจารย์โง้ว กิมโคย’ เดิมทีมีชื่อว่า ‘นที ทองศิริ’ และ ‘กิมเคย แซ่โง้ว’ เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2441 และ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นชาวจีนที่อพยพมาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ โดยได้เริ่มทำงานจากการประกอบอาชีพทั่วไป
ต่อมาเขาได้จับพลัดจับผลูเป็นพ่อค้าส่งข้าวตามโรงสี ก่อนจะได้เป็นหุ้นส่วนกับโรงสีบางโพธิ์ในเวลาต่อมา และด้วยความขยันขันแข็งก็ทำให้เขาได้มีโรงสีเป็นของตัวเองและครอบครัวโดยใช้ชื่อว่า ‘โรงสีไฟทองศิริ’ ตั้งอยู่ที่วัดบางกะดี ตรงข้ามวัดศาลเจ้า จังหวัด ปทุมธานี
ด้วยอุปนิสัยที่อาจารย์ชอบเป็นคนช่วยเหลือผู้อื่น เขาจึงกลายเป็นที่รักของชาวบ้านในละแวก ทั้งความที่เขาชอบทำบุญ ทำกุศล ชอบบูรณะศาลเจ้า ทำให้ชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะศาลเจ้าเล็กๆ จนกลายเป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่
เซียนแปะโรงสีขึ้นชื่อเรื่องความโอบอ้อมอารี ชอบชี้แนะช่วยเหลือผู้อื่น ทั้งยังเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านพิธิกรรม ความเชื่อจีน และฮวงจุ้ย ทำให้เขากลายเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของผู้คนในละแวกปทุมธานี เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ เขามักช่วยเหลือแนะนำผู้ที่ศรัทธาเกี่ยวกับเรื่องฮวงจุ้ย ที่ตั้งบริษัท บ้าน หรือ ห้างร้าน โดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งผู้ที่เขาได้ชี้แนะก็มักจะประสบความสำเร็จในธุรกิจ กิจการรุ่งเรื่อง เป็นที่รู้จักในวงการค้าต่อไป
เดิมทีอาจารย์โง้วได้เขียน ‘ยันต์ฟ้าประทานพร’ ไว้เพื่อแจกจ่ายแก่คณะศิษย์ แต่ด้วยความนิยมนำไปบูชาเป็นอย่างมาก ต่อมาได้มีลูกศิษย์ขอให้พิมพ์เป็นผ้ายันต์เพื่อใช้ในการแจกจ่ายเพิ่ม จนกลายเป็นสุดยอดวัตถุมงคลยอดฮิตที่มีติดอยู่คู่ร้านค้าจนถึงปัจจุบัน โดยผู้ใดที่พกติดตัวหรือบูชาในบ้านในร้าน จะประสบแต่ความสำเร็จ รุ่งเรือง นำพาโชคลาภเงินทอง ค้าขายดี ป้องกันสิ่งไม่ดี ที่สำคัญยังปรับฮวงจุ้ยคนที่บูชาไม่ให้ดวงตก
“ลื้อ เคยเห็นเมื่อตอนที่นก ยังมีชีวิตอยู่ไหม มันจะกินหนอนเป็นอาหาร แต่เมื่อมันจากไป นกก็ถูกหนอนกินเป็นอาหารเหมือนกัน ต้นไม้หนึ่งต้นนั้นสามารถทำเป็นไม้ขีดไฟได้มากมาย แต่ไม้ขีดไฟเพียงหนึ่งก้านก็สามารถเผาต้นไม้ได้มากมายเช่นกัน ชีวิตมีขึ้นมีลง” หนึ่งในคำสอนจากเซียนแปะโรงสี
‘เซียนแปะโรงสี’ หรือ ‘อาจารย์โง้ว กิมโคย’ เดิมทีมีชื่อว่า ‘นที ทองศิริ’ และ ‘กิมเคย แซ่โง้ว’ เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2441 และ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นชาวจีนที่อพยพมาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ โดยได้เริ่มทำงานจากการประกอบอาชีพทั่วไป
ต่อมาเขาได้จับพลัดจับผลูเป็นพ่อค้าส่งข้าวตามโรงสี ก่อนจะได้เป็นหุ้นส่วนกับโรงสีบางโพธิ์ในเวลาต่อมา และด้วยความขยันขันแข็งก็ทำให้เขาได้มีโรงสีเป็นของตัวเองและครอบครัวโดยใช้ชื่อว่า ‘โรงสีไฟทองศิริ’ ตั้งอยู่ที่วัดบางกะดี ตรงข้ามวัดศาลเจ้า จังหวัด ปทุมธานี
ด้วยอุปนิสัยที่อาจารย์ชอบเป็นคนช่วยเหลือผู้อื่น เขาจึงกลายเป็นที่รักของชาวบ้านในละแวก ทั้งความที่เขาชอบทำบุญ ทำกุศล ชอบบูรณะศาลเจ้า ทำให้ชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะศาลเจ้าเล็กๆ จนกลายเป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่
เซียนแปะโรงสีขึ้นชื่อเรื่องความโอบอ้อมอารี ชอบชี้แนะช่วยเหลือผู้อื่น ทั้งยังเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านพิธิกรรม ความเชื่อจีน และฮวงจุ้ย ทำให้เขากลายเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของผู้คนในละแวกปทุมธานี เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ เขามักช่วยเหลือแนะนำผู้ที่ศรัทธาเกี่ยวกับเรื่องฮวงจุ้ย ที่ตั้งบริษัท บ้าน หรือ ห้างร้าน โดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งผู้ที่เขาได้ชี้แนะก็มักจะประสบความสำเร็จในธุรกิจ กิจการรุ่งเรื่อง เป็นที่รู้จักในวงการค้าต่อไป
เดิมทีอาจารย์โง้วได้เขียน ‘ยันต์ฟ้าประทานพร’ ไว้เพื่อแจกจ่ายแก่คณะศิษย์ แต่ด้วยความนิยมนำไปบูชาเป็นอย่างมาก ต่อมาได้มีลูกศิษย์ขอให้พิมพ์เป็นผ้ายันต์เพื่อใช้ในการแจกจ่ายเพิ่ม จนกลายเป็นสุดยอดวัตถุมงคลยอดฮิตที่มีติดอยู่คู่ร้านค้าจนถึงปัจจุบัน โดยผู้ใดที่พกติดตัวหรือบูชาในบ้านในร้าน จะประสบแต่ความสำเร็จ รุ่งเรือง นำพาโชคลาภเงินทอง ค้าขายดี ป้องกันสิ่งไม่ดี ที่สำคัญยังปรับฮวงจุ้ยคนที่บูชาไม่ให้ดวงตก
“ลื้อ เคยเห็นเมื่อตอนที่นก ยังมีชีวิตอยู่ไหม มันจะกินหนอนเป็นอาหาร แต่เมื่อมันจากไป นกก็ถูกหนอนกินเป็นอาหารเหมือนกัน ต้นไม้หนึ่งต้นนั้นสามารถทำเป็นไม้ขีดไฟได้มากมาย แต่ไม้ขีดไฟเพียงหนึ่งก้านก็สามารถเผาต้นไม้ได้มากมายเช่นกัน ชีวิตมีขึ้นมีลง” หนึ่งในคำสอนจากเซียนแปะโรงสี