หน้าร้อนของเราไม่เท่ากัน ในขณะที่เมืองไทยเข้าหน้าร้อนในช่วงเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ทางฝั่งยุโรปนั้นกลับเข้าฤดูร้อนในเดือนมิถุนายนนานไปจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งถ้าพูดถึงฤดูร้อน หลายคนอาจนึกหงุดหงิดใจต่อความร้อนแรง เหงื่อไคล และความเหนื่อยหน่าย แต่ถ้าพูดถึงในเชิงวัฒนธรรมและประเพณี ฤดูร้อนนั้นมีความสำคัญทั้งในเชิงสัญลักษณ์และศาสนา รวมถึงส่งต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในพื้นที่ สำคัญจนถึงขั้นที่ว่าผู้คนมักนับช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงปีใหม่ ไม่ใช่ปีใหม่สากลในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี อย่างที่เข้าใจกัน

ดังนั้นแล้วการเข้าสู่ฤดูร้อนจะมีการเฉลิมฉลองอยู่เสมอ สาเหตุที่ทุกคนถือฤดูร้อนเป็นฤดูสำคัญเพราะเป็นฤดูของการเก็บเกี่ยว ท้องฟ้าแจ่มใส ดอกไม้ผลิบาน และยังแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราเห็นเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงหน้าร้อนในหลายๆ ประเทศ อย่างประเทศไทยมีเทศกาลสงกรานต์ ญี่ปุ่นมีเทศกาลโฮเน็นไซ และประเทศแถบยุโรปบางประเทศมีการเฉลิมฉลองวันที่เรียกว่า ‘Solstice Festival’ หรือเทศกาลวันครีษมายัน หรือวันที่มีช่วงกลางวันนานที่สุด และนับเป็นวันเริ่มต้นหน้าร้อนอย่างเป็นทางการของชาวยุโรปมาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยจะเกิดขึ้นช่วงวันที่ 18-21 มิถุนายนของทุกปี
ชาวอังกฤษมักเรียกเทศกาลนี้ว่า ‘Stonehenge Festival’ เพราะเทศกาลจัดขึ้นที่สโตนเฮนจ์ สถาปัตยกรรมหินโบราณที่สร้างขึ้นโดยคนบนเกาะอังกฤษช่วงยุคหินกลาง อีกทั้งเป็นที่เฉลิมฉลองเทศกาลของชาวเคลต์ บรรพบุรุษของชาวอังกฤษ
ชาวอังกฤษมักเรียกเทศกาลนี้ว่า ‘Stonehenge Festival’ เพราะเทศกาลจัดขึ้นที่สโตนเฮนจ์ สถาปัตยกรรมหินโบราณที่สร้างขึ้นโดยคนบนเกาะอังกฤษช่วงยุคหินกลาง อีกทั้งเป็นที่เฉลิมฉลองเทศกาลของชาวเคลต์ บรรพบุรุษของชาวอังกฤษ

วันครีษมายัน คือวันที่มีช่วงกลางวันนานที่สุดของปี มักเกิดขึ้นในวันที่ 21 มิถุนายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกโดยเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศในแถบซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกใต้ สำหรับชาวอังกฤษคือการเฉลิมฉลองเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว และยังแสดงความอุดมสมบูรณ์ โดยเทศกาลนี้เชื่อว่าถูกจัดขึ้นที่สโตนเฮนจ์เมื่อหลายพันปีย้อนไปถึงยุคหินใหม่ เป็นเทศกาลที่สืบทอดตั้งแต่ชาวเคลต์มาถึงปัจจุบัน ในทุกๆ ปีชาวอังกฤษจะมารวมตัวกันเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น โอบรับแสงแดด ราวกับโอบรับพลังอันเต็มเปี่ยมจากธรรมชาติ

เทศกาล Stonehenge Festival เชื่อว่าเป็นผลมาจากการจัดงาน Stonehenge Free Festival งานดรตรีที่เคยจัดขึ้นระหว่างปี 1974-1984 ในวันที่ 21 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันครีษมายัน หลังจากเกิดเหตุการณ์ Battle of the Beanfield เมื่อตำรวจเมืองวิลต์ไชส์เข้าปราบปรามกลุ่ม Peace Convoy หรือกลุ่มฮิปปี้จากการจัดแสดงงานดนตรีทั่วประเทศรวมถึงบริเวณสโตนเฮนจ์ ในปี 1984 Stonehenge Free Festival มีผู้ร่วมงานมากถึง 30,000 คน
นับตั้งแต่ปี 1999 ผู้คนเริ่มเข้าไปจัดกิจกรรมอีกครั้งและเรียกว่า Solstice Festival หรือ Stonehenge Festival มีกิจกรรมให้ทำตั้งแต่การร้องเพลง การเต้นรำ การกล่าวสุนทรพจน์ ไปจนถึงการแข่งกีฬา ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าในอดีตเคยมีการกิจกรรมทำนองนี้มาหลายพันปีแล้วเช่นกัน
นับตั้งแต่ปี 1999 ผู้คนเริ่มเข้าไปจัดกิจกรรมอีกครั้งและเรียกว่า Solstice Festival หรือ Stonehenge Festival มีกิจกรรมให้ทำตั้งแต่การร้องเพลง การเต้นรำ การกล่าวสุนทรพจน์ ไปจนถึงการแข่งกีฬา ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าในอดีตเคยมีการกิจกรรมทำนองนี้มาหลายพันปีแล้วเช่นกัน

วันครีษมายันแบ่งออกเป็นสองวันคือ วันครีษมายันในหน้าร้อน และครีษมายันในหน้าหนาว (ช่วงกลางเดือนธันวาคม) วันครีษมายันในช่วงฤดูหนาวนั้นก็มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเช่นกัน และมักพ่วงเทศกาลฮาโลวัน และเทศกาลคริสต์มาสเข้าด้วยกัน โดยในยุคโรมันโบราณเรียกงานนี้ว่าวันซาเทอร์นาเลีย (Saturnalia) ทุกครั้งที่จัดงานนี้ร้านค้า รวมถึงสำนักงานในโรมันจะปิดลงเพื่อเฉลิมฉลอง ที่บ้านแต่ละครอบครัวมีการตกแต่งอย่างสวยงาม ภายในบ้านมีการกินดื่มสังสรรค์ แขกที่เข้าร่วมแต่งตัวสีสันสดใส มีการมอบของขวัญแก่กัน (คาดว่าเป็นธรรมเนียมที่ส่งต่อมาในเทศกาลคริสต์มาส) เหตุผลที่ตั้งชื่อว่าซาเทอร์นาเลีย เพราะชาวโรมันถือว่าเป็นวันบูชาเทพเจ้าซาเทิร์น ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรมและกาลเวลา
ชาวอังกฤษคิดว่าการเฉลิมฉลองครีษมายันฤดูร้อนนั้นเปี่ยมไปด้วยพลังงาน ถ้าใครเผอิญเที่ยวอังกฤษในช่วงปลายเดือนมิถุนายน การไปเยือนสโตนเฮนจ์ในช่วงนี้อาจเป็นประสบการณ์ที่ดีเลยทีเดียว
ชาวอังกฤษคิดว่าการเฉลิมฉลองครีษมายันฤดูร้อนนั้นเปี่ยมไปด้วยพลังงาน ถ้าใครเผอิญเที่ยวอังกฤษในช่วงปลายเดือนมิถุนายน การไปเยือนสโตนเฮนจ์ในช่วงนี้อาจเป็นประสบการณ์ที่ดีเลยทีเดียว
