ในทุกๆ ปี ทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร มีการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ไทยในชื่อ ‘สงกรานต์แฟร์’ (Songkran Fair) และใช้เป็นพื้นที่สำหรับการจัดนิทรรศการให้คนในเมืองกรุงเทพสามารถเข้ามาร่วมสนุกพร้อมกับศึกษาหาความรู้ไปในตัว แต่ใครจะนึกว่าในปี 2566 ทางกรมศิลปากรผู้แทนตัวเองด้วยสัญลักษณ์องค์พระพิฆเนศจะเป็นผู้ริเริ่มสนับสนุน ‘กาชาปองพระพิฆเนศ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของงานที่มีคนกล่าวถึงมากที่สุดบนโลกโซเชียล แถมยังหมดลอตไปภายในไม่กี่ชั่วโมงอีกด้วย
สงกรานต์แฟร์ในปีนี้ทางพิพิธภัณฑ์ตั้งใจให้กิจกรรมทุกอย่างอยู่ในธีมของ “นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ” โดยเชื่อว่าความเป็นนพเคราะห์นั้นหวุนเวียนอยู่รอบตัวเรา และส่งผลต่อทุกวงจรการใช้ชีวิต ตัวงานจัดตั้งแต่วันที่ 7-9 เมษายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ภายในงานมีนิทรรศการรวม 8 งาน ได้แก่ นิทรรศการเก้าดารา, ทัวร์เก้ามณี, ล่าขุมทรัพย์เก้าแต้ม,ตลาดเก้าล้าน, เวิร์กชอปสถานีเก้าสิปป์, จิบชาจิ๋วชงฉ่า, กาชาปองนวพ่าห์ และกาชาปองนวคเณศ
นิทรรศการทั้งหมดควบคุม จัดสรรดูแลโดย โอ๋- ศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการประจำพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ภายใต้การดูแลของสำนักพิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ กรมศิลปากร โดยเธอมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับคนทุกรุ่นด้วยความแปลกใหม่อย่าง ‘อาร์ตทอย’ และความเชื่อแบบ ‘มูเตลู’
หน้าที่ของภัณฑารักษ์ไม่ได้จบแค่ศึกษา ดูแลรักษา และค้นคว้า แต่ยังมีหน้าที่ย่อยข้อมูลวิชาการให้มันเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไป” คุณโอ๋กล่าวด้วยน้ำเสียงที่สดใส
นิทรรศการทั้งหมดควบคุม จัดสรรดูแลโดย โอ๋- ศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการประจำพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ภายใต้การดูแลของสำนักพิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ กรมศิลปากร โดยเธอมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับคนทุกรุ่นด้วยความแปลกใหม่อย่าง ‘อาร์ตทอย’ และความเชื่อแบบ ‘มูเตลู’
หน้าที่ของภัณฑารักษ์ไม่ได้จบแค่ศึกษา ดูแลรักษา และค้นคว้า แต่ยังมีหน้าที่ย่อยข้อมูลวิชาการให้มันเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไป” คุณโอ๋กล่าวด้วยน้ำเสียงที่สดใส

“ตอนที่เราคุยกันเรื่องโครงการตัวนี้ มันเกิดมาจากความต้องการของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ต้องการย่อยข้อมูลให้มันเข้าถึงได้ ส่วนฝ่ายศิลปินอาร์ตทอยนั้น เขามีฝีมือ เขามีไอเดีย แต่ว่าเขาไม่มีพื้นที่ในการนำเสนอเรามองเห็นว่าพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ให้คนหลายช่วงวัยสามารถต่อกันติด เราจึงต้องการใช้อาร์ตทอยในการนำเสนอข้อมูลวิชาการให้คนรุ่นใหม่ โดยทำให้เขารู้สึกอยากมาก่อน”
เมื่อเดินเข้าไปในส่วนของงาน จะมีหน้าโต๊ะให้ผู้เข้าชมลงชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทัวร์เก้ามณี เรียนรู้ถึงที่มาของเทวดานพเคราะห์และเทศกาลมหาสงกรานต์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในห้องจัดแสดงต่างๆ โดยทัวร์มีวันละหนึ่งรอบเท่านั้น หากเดินเข้าไปข้างในอีกนิดในส่วนของห้องแสดงโบราณวัตถุไทยจะมีการจัดส่วนของ ‘ตลาดเก้าล้าน’ ที่รวบรวมร้านค้าและศิลปินเข้าขายของแฮนเมด ตุ๊กตา งานศิลปะ และอาร์ตทอย ซึ่งมีตั้งแต่ภาพวาดศิลปะฮินดู อาร์ตทอยพระพิฆเนศ กาชาปองรามเกียรติ์ ไปจนถึงยักษ์ไทยในรูปทรงหุ่นยนต์
เมื่อเดินเข้าไปในส่วนของงาน จะมีหน้าโต๊ะให้ผู้เข้าชมลงชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทัวร์เก้ามณี เรียนรู้ถึงที่มาของเทวดานพเคราะห์และเทศกาลมหาสงกรานต์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในห้องจัดแสดงต่างๆ โดยทัวร์มีวันละหนึ่งรอบเท่านั้น หากเดินเข้าไปข้างในอีกนิดในส่วนของห้องแสดงโบราณวัตถุไทยจะมีการจัดส่วนของ ‘ตลาดเก้าล้าน’ ที่รวบรวมร้านค้าและศิลปินเข้าขายของแฮนเมด ตุ๊กตา งานศิลปะ และอาร์ตทอย ซึ่งมีตั้งแต่ภาพวาดศิลปะฮินดู อาร์ตทอยพระพิฆเนศ กาชาปองรามเกียรติ์ ไปจนถึงยักษ์ไทยในรูปทรงหุ่นยนต์

สิ่งที่มีคนกล่าวถึงมากที่สุด และจัดว่าเป็นไฮไลต์ของงานสงกรานต์แฟร์คือกาชาปอง ‘นวคเณศ’ จำนวน 15 แบบ ออกแบบโดย 15 ศิลปิน ผลิตจำนวนจำกัด ทั้งหมดผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ‘นวัคคหายุสมธัมม์’ ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม มาแล้ว เปิดให้เล่นกันสองเวลาคือช่วงเช้า 8 โมง และช่วงบ่ายเวลาบ่ายโมง ซึ่งแม้ว่าจะเปิดเป็นสองเวลาก็ตาม แต่ผู้คนต่างรีบกุลีกุจอเข้าไปต่อแถวจนยาวเป็นหางว่าว

“สำหรับคนทั่วไป พระพิฆเนศคืออะไรที่คนเข้าใจง่ายที่สุด สิ่งสำคัญคือท่านไม่ใช่พระพุทธรูป ถ้าเป็นพระพุทธรูป มันยากที่จะทำอะไรที่มันแปลกแหวกแนวออกไป เราเลยมองไปที่พระคเณศดีกว่า ซึ่งแต่ละองค์ ศิลปินมีคาแรกเตอร์เฉพาะในการออกแบบ มันเป็นการเจอกันครึ่งทาง คนทั่วไปรู้จัก กรมศิลปากรรู้จัก แล้วตัวเขา (ศิลปิน) เองก็รู้จัก เลยกลายมาเป็นกาชาปองนวคเณศชุดนี้ขึ้นมา”

ถือว่าเป็นเรื่องแปลกไม่น้อยที่กรมศิลปากรเป็นตัวตั้งตัวตีในการสนับสนุนการทำพระพิฆเนศที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทั้งชาวไทยและชาวฮินดูให้เป็นอาร์ตทอยสำหรับกาชาปอง แน่นอนอยู่แล้วความต้องการของคุณโอ๋ไม่ใช่การลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เธอต้องการให้สิ่งๆ นี้เป็นการเชื่อมต่อระหว่างความเชื่อกับป๊อปคัลเจอร์เพื่อดึงคนทุกรุ่นให้หันมาศึกษาความรู้จากความสนใจใคร่รู้ อย่างการหยิบเรื่องมูเตลูที่เป็นที่นิยมกันในหมู่คนรุ่นใหม่มาสร้างความเข้าใจใหม่ให้กลายเป็น ‘มูอย่างถูกต้อง’ เป็นต้น
“เคยได้ยินไหมว่าการไหว้พระราหูด้วยของดำ เราต้องใช้ของดำกี่อย่าง” คุณโอ๋ยิงคำถามขึ้นมาเสียดื้อๆ ถ้าตอบตามความเข้าใจ ณ เวลานั้น สิ่งที่นึกได้คงเป็น 8 ไม่ก็ 9 อย่าง ตามการคาดเดาว่าอาจเป็นเลขมงคล
“เคยได้ยินไหมว่าการไหว้พระราหูด้วยของดำ เราต้องใช้ของดำกี่อย่าง” คุณโอ๋ยิงคำถามขึ้นมาเสียดื้อๆ ถ้าตอบตามความเข้าใจ ณ เวลานั้น สิ่งที่นึกได้คงเป็น 8 ไม่ก็ 9 อย่าง ตามการคาดเดาว่าอาจเป็นเลขมงคล


“คนชอบยึดว่าพระราหูเป็นองค์ที่ 8 ในนพเคราะห์ แต่จริงๆ เราต้องดูที่กำลังราหู ซึ่งคือ 12 ดังนั้นเราต้องไหว้ของดำ 12 อย่าง หลายคนอาจตอบ 8 เพราะเราไม่รู้ที่มาที่ไป นี่คือสาเหตถว่าทำไมพิพิธภัณฑ์หรือหน่วยงานหลายๆ ที่ พยายามใช้อธิบายว่าทำไมมันถึงมูแบบนี้ เช่นเดียวกันกับงานนี้ จะเห็นว่ามันมีความมูอยู่ทุกมุม แต่ว่าเราต้องการให้พวกเขามูอย่างเข้าใจ” คุณโอ๋อธิบาย
เรื่องนี้เลยส่งต่อกลายเป็นธีมหลักของงานว่าด้วยเทพนพเคราะห์ที่คุณโอ๋เชื่อว่าส่งผลต่อชีวิตของเราในทุกแง่มุมชีวิต เธอไม่ได้เพียงนำเทพนพเคราะห์เพื่อกราบไหว้บูชาเพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากคนไทยในยุคนี้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเชื่อดวงวันเกิดกันมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสในการหยิบมาใช้อธิบายความเป็นมาแล้วความเป็นไปของเทพนพเคราะห์อีกด้วย
เรื่องนี้เลยส่งต่อกลายเป็นธีมหลักของงานว่าด้วยเทพนพเคราะห์ที่คุณโอ๋เชื่อว่าส่งผลต่อชีวิตของเราในทุกแง่มุมชีวิต เธอไม่ได้เพียงนำเทพนพเคราะห์เพื่อกราบไหว้บูชาเพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากคนไทยในยุคนี้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเชื่อดวงวันเกิดกันมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสในการหยิบมาใช้อธิบายความเป็นมาแล้วความเป็นไปของเทพนพเคราะห์อีกด้วย

“คนไทยสมัยก่อนไม่ใช่ทุกคนจะรู้วันเกิดตัวเอง เพราะฉะนั้นเขาจะนับอายุตัวเองช่วงสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทย ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ในแต่ละปีดวงดาวจะเคลื่อนไปเรื่อยๆ นพเคราะห์จะเปลี่ยนเวียนเข้ามาในชีวิตเราทั้งดีและไม่ดี ชาวไทยจึงนิยมไหว้นพเคราะห์ช่วงสงกรานต์กัน
“เราใช้แกนแนวคิดเกี่ยวกับนพเคราะห์มาเล่าเรื่องว่าจริงๆ แล้ว ความเชื่อเรื่อง 9 ดวงดาว มันอยู่ในวิถีชีวิตเราโดยที่เราไม่รู้ตัว รสขมที่เรากิน รสหวาน รสเฝื่อน มันเชื่อมโยงกับดาวทั้ง 9 รวมถึงหินนพรัตน์ 9 ชิ้น 9 สี ก็เชื่อมกับเทวดานพเคราะห์”
“เราใช้แกนแนวคิดเกี่ยวกับนพเคราะห์มาเล่าเรื่องว่าจริงๆ แล้ว ความเชื่อเรื่อง 9 ดวงดาว มันอยู่ในวิถีชีวิตเราโดยที่เราไม่รู้ตัว รสขมที่เรากิน รสหวาน รสเฝื่อน มันเชื่อมโยงกับดาวทั้ง 9 รวมถึงหินนพรัตน์ 9 ชิ้น 9 สี ก็เชื่อมกับเทวดานพเคราะห์”


นอกจากกาชาปองนวคเณศแล้วในงานยังมีกาชาปองที่เรียกว่า ‘นวพ่าห์’ รวมอาร์ตทอยสัตว์พาหนะของเทพนพเคราะห์ทั้ง 9 จัดเป็นชุดกาชาปองไว้นำร่องกระแสตอบรับ ซึ่งปรากฎว่าได้เสียงตอบรับที่ดีเกินคาด คุณโอ๋เล่าว่านวพ่าห์ทำออกมาทั้งหมดสามลอต ลอตละประมาณ 300-400 ตัว เริ่มจากลอตแรกใช้เวลาสามวันกว่าจะหมด พอปล่อยลอตสองใช้เวลา 5 ชั่วโมง ตบท้ายด้วยลอตสามที่ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งหมดเป็นการแสดงให้เห็นว่าอาร์ตทอยเป็นสื่อที่ดีในการเรียกคนให้กลับมาสนใจเรื่องราวเหล่านี้ อีกทั้งยังสามารถสะกิดต่อมความกระหายรู้ให้ไปศึกษาหาอ่านเองต่อที่บ้านได้อีกด้วย

เดิมทีงานสงกรานต์ของพิพิธภัณฑ์จะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 เมษายน ของทุกปี แต่เนื่องจากเป็นสงกรานต์แรกที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เริ่มเบาบางลง คุณโอ๋จึงเล็งเห็นว่าวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่น่าจะเดินทางท่องเที่ยวกันมากกว่า เลยทำการเลื่อนเวลาจัดงานสงกรานต์แฟร์ให้ทุกคนสามารถเยี่ยมชมได้ก่อนไปเที่ยว และยังคงมีงานสรงน้ำพระธาตุและเทพนพเคราะห์ตามเดิมในวันที่ 12-14 เมษายน 2566 สำหรับผู้ที่ยังอาศัยอยู่ในตัวเมืองกรุงเทพ
อย่างไรก็ตาม คุณโอ๋เห็นว่าโปรเจกต์นี้เป็นเพียงตัวไพลอตเพื่อตรวจดูจุดอ่อนต่างๆ ไว้ใช้พัฒนาต่อๆ ไปในอนาคต สิ่งที่คุณโอ๋คิดภาพเอาไว้คือการให้คนไทยนึกถึงเทศกาลปีใหม่ไทยมากขึ้นให้ทัดเทียมเหมือนเวลาเรานึกถึงงานคริสต์มาส หรือตลาดดอกไม้ในวันตรุษจีน ซึ่งดูเหมือนว่ากาชาปองนวคเณศ และอาร์ตทอยต่างๆ จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์สุดสร้างสรรค์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม คุณโอ๋เห็นว่าโปรเจกต์นี้เป็นเพียงตัวไพลอตเพื่อตรวจดูจุดอ่อนต่างๆ ไว้ใช้พัฒนาต่อๆ ไปในอนาคต สิ่งที่คุณโอ๋คิดภาพเอาไว้คือการให้คนไทยนึกถึงเทศกาลปีใหม่ไทยมากขึ้นให้ทัดเทียมเหมือนเวลาเรานึกถึงงานคริสต์มาส หรือตลาดดอกไม้ในวันตรุษจีน ซึ่งดูเหมือนว่ากาชาปองนวคเณศ และอาร์ตทอยต่างๆ จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์สุดสร้างสรรค์เท่านั้น