ไซคีเดลิค (psychedelic) เคยเป็นแนวเพลงที่เยิ้มหูนักฟังเพลงเมื่อช่วงปี 1960s และถึงกับล่องลอยไปในอากาศหลังจากที่วง Pink Floyd ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงปี 1970s แม้ว่าช่วงแรกเพลงที่พวกเขาทำอาจมีกลิ่นอายของความเป็นร็อกแอนด์โรลมากกว่า แต่พอในปี 1973 อัลบั้ม ‘The Dark Side of the Moon’ ทำให้ Pink Floyd โด่งดังไปทั่วโลกในฐานะวงเพลงแนวไซคีเดลิคร็อก
เพลงแนวไซคีเดลิคไม่มีคำจำกัดความอะไรนอกจากเป็นท่วงทำนองที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับผู้เสพสารเสพติด (บางทีผู้แต่งก็เสพไปด้วยทำเพลงไปด้วย) นับตั้งแต่ปี 1960s วงแนวไซเคดีลิคถือกำเนิดขึ้นมากมายด้วยสไตล์เพลงและมีการใช้เครื่องดนตรีที่ต่างกัน แต่ใครๆ ก็ยกย่องวง Pink Floyd ในฐานะวงในตำนานตลอดกาล และเราคงไม่มีโอกาสได้ฟังเพลงเพลงกลิ่นอายในแบบ Pink Floyd ได้อีกแล้ว
เพลงแนวไซคีเดลิคไม่มีคำจำกัดความอะไรนอกจากเป็นท่วงทำนองที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับผู้เสพสารเสพติด (บางทีผู้แต่งก็เสพไปด้วยทำเพลงไปด้วย) นับตั้งแต่ปี 1960s วงแนวไซเคดีลิคถือกำเนิดขึ้นมากมายด้วยสไตล์เพลงและมีการใช้เครื่องดนตรีที่ต่างกัน แต่ใครๆ ก็ยกย่องวง Pink Floyd ในฐานะวงในตำนานตลอดกาล และเราคงไม่มีโอกาสได้ฟังเพลงเพลงกลิ่นอายในแบบ Pink Floyd ได้อีกแล้ว

ความคิดนี้ถึงกับต้องสลัดทิ้งออกไป หลังจากที่ฟังอัลบั้ม ‘Meet Your Maker’ ของวง Club Kuru วงดนตรีร็อกหน้าใหม่ที่มีข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และให้สัมภาษณ์กับสื่อน้อยที่สุด สิ่งเดียวที่พวกเขาฝากฝังไว้มีเพียงเสียงร้องที่โหยหวนท่ามกลางเสียงกีตาร์สุดบาดใจ พาลทำเอาถึงนึกสองคู่หู โรเจอร์ วอเทอร์ส (Roger Waters) และเดวิด กิลมอร์ (David Gilmor) แห่ง Pink Floyd เลยทันที

Club Kuru เป็นวงดนตรีสัญชาติอังกฤษ สำหรับอัลบั้ม Meet Your Maker นั้นเป็นอัลบั้มเพลงที่สองของพวกเขาทำขึ้นมาในปี 2019 ถัดจากอัลบั้ม Giving In ในปี 2018 ที่มีกลิ่นอายความเป็นดนตรีไซคีเดลิคไม่มากเท่า หัวหน้าวงของ Club Kuru ลอรี เอิร์กไซน์ (Laurie Erksein) หลังจากเป็นนักดนตรีแจ๊สเปียโนมาหลายปี เริ่มฟอร์มวงนี้ขึ้นมาในฐานะโปรเจกต์เดี่ยวของตัวเองคู่กับ ลอเรนซ์ แฮมเมอร์ตัน (Laurence Hammerton) มือกีตาร์มาดเซอร์ แน่ล่ะว่าหลายคนที่ฟังเพลงของเขาอาจนึกถึงวงรุ่นพี่อย่าง Pink Floyd แต่เอาเข้าจริงๆ ถ้าเราฟังเพลงทั้งหมด 12 เพลงในอัลบั้ม Meet Your Maker เพลงของเอิร์กไซน์กลับมีความพิเศษเฉพาะตัวที่แยกตัวออกมา
ก่อนอื่นคือเสียงร้องของเอิร์กไซน์นั้นมีความโดดเด่นในแบบของตัวเอง และสามารถสร้างคาแรคเตอร์ของความเป็นนักร้องเพลงแนวไซคีเดลิคออกมาได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องปกติ เสียงตะโกนที่โหยหวนเป็นต้น ที่น่าสนใจคือการหยิบเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ ทำให้เพลงหลายๆ เพลงของเขามีมิติที่น่าสนใจกว่าเดิม
ก่อนอื่นคือเสียงร้องของเอิร์กไซน์นั้นมีความโดดเด่นในแบบของตัวเอง และสามารถสร้างคาแรคเตอร์ของความเป็นนักร้องเพลงแนวไซคีเดลิคออกมาได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องปกติ เสียงตะโกนที่โหยหวนเป็นต้น ที่น่าสนใจคือการหยิบเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ ทำให้เพลงหลายๆ เพลงของเขามีมิติที่น่าสนใจกว่าเดิม

เพลงที่น่าพูดถึงของเขาคือ ‘Cherry Bloom’ ที่มีท่วงจังหวะและทำนองที่ติดหูไม่น้อย เอิร์กไซน์เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าเพลงนี้จริงๆ มันเกี่ยวกับ ‘จิตวิญญาณที่ป่วยไข้’ เป็นการตั้งชื่อตามโรคเสื่อมประสาทที่ตามมาจากการกินเนื้อคนหรือคันนิบัลลิสซึ่ม (cannibalism)
ในอัลบั้ม Meet Your Maker ยังคงใช้วิธีการเรียงเพลงในอัลบั้มแบบดั้งเดิม ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ศิลปินบางคนไม่ได้เรียงเพลงให้ฟังตามลิสต์ เอิร์กไซน์เริ่มอัลบั้มด้วยการใช้เพลง ‘Introduction’ มีเพลงที่เป็น ‘Interlude’ แต่เสียดายที่ไม่มีเพลงตอนจบอัลบั้ม ยังดีที่แต่ละเพลงยังมีการเริ่มอินโทรไว้สำหรับเพลงต่อไปเหมือนกันกับอัลบั้มเพลงเก่าๆ ในยุค 70s-80s การฟัง Meet Your Maker ไม่ต่างอะไรกับการได้กลับมาฟังเพลงในวิถีเดิมๆ อีกครั้ง เหมือนพาเราย้อนเวลาไปสู่จุดสูงสุดของเพลงร็อกยุค 70s-80s อย่างไม่ต้องสงสัย
ในอัลบั้ม Meet Your Maker ยังคงใช้วิธีการเรียงเพลงในอัลบั้มแบบดั้งเดิม ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ศิลปินบางคนไม่ได้เรียงเพลงให้ฟังตามลิสต์ เอิร์กไซน์เริ่มอัลบั้มด้วยการใช้เพลง ‘Introduction’ มีเพลงที่เป็น ‘Interlude’ แต่เสียดายที่ไม่มีเพลงตอนจบอัลบั้ม ยังดีที่แต่ละเพลงยังมีการเริ่มอินโทรไว้สำหรับเพลงต่อไปเหมือนกันกับอัลบั้มเพลงเก่าๆ ในยุค 70s-80s การฟัง Meet Your Maker ไม่ต่างอะไรกับการได้กลับมาฟังเพลงในวิถีเดิมๆ อีกครั้ง เหมือนพาเราย้อนเวลาไปสู่จุดสูงสุดของเพลงร็อกยุค 70s-80s อย่างไม่ต้องสงสัย