Gyeongseong Creature กับความลับของ ‘คาราเมล’ ของมีค่าในยามสงครามที่ยังคงฝากภาพจำระยะยาวให้แก่คนเกาหลี

3 มกราคม 2567 - 06:26

the-important-of-caramel-from-korean-people-sight-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ไขความลับของ ‘คาราเมล’ ของหวานที่กลายเป็นสิ่งล้ำค่าในภาวะสงคราม กับอิทธิพลที่มีต่อชาวเกาหลีมาจนถึงปัจจุบัน

the-important-of-caramel-from-korean-people-sight-SPACEBAR-Photo V01.jpg
Photo: Netflix

Gyeongseong Creature หรือ สัตว์ประหลาดกยองซอง ออริจินัลซีรี่ส์บนสตรีมมิงแพลตฟอร์ม Netflix บอกเล่าเรื่องราวการทดลองทางชีววิทยาของกลุ่มทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จับผู้คนเกาหลีมาทดสอบกับสารต่างๆ เพื่อให้กลายพันธุ์เป็นสัตว์ประหลาดและใช้เป็นอาวุธในการรบ นำแสดงโดยนักแสดงดาวรุ่งอย่าง ฮันโซฮี (Han So Hee) และ พักซอจุน (Park Seo Joon) กวาดเสียงวิจารย์เชิงบวกและทะยานขึ้นสู่อันดับต้นของซีรีส์ที่น่าจับตามากที่สุดทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

หลังจากปล่อยครึ่งแรกออกมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา ซีรีส์สัตว์ประหลาดกยองซองกลายเป็นที่พูดถึงของผู้คน ผู้ชมต่างถกเถียงและพูดถึงเรื่องราวต่างๆ ภายในเนื้อหามากมาย ทั้งในเรื่องของการแสดง การเล่าเรื่อง และประวัติศาสตร์ที่นำเสนอ ซึ่งเราพบว่า 1 ในเรื่องที่น่าสนใจที่ปรากฏอยู่ในซีรีส์ตอนที่ 5 และยังคงดำรงตนสำคัญในสายตาของคนเกาหลีเป็นอย่างมากคือบริบทของ ‘คาราเมล’

the-important-of-caramel-from-korean-people-sight-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: Netflix

ย้อนกลับไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1941 พื้นที่เกือบทั่วโลกถูกตัดขาดจากการซื้อขายน้ำตาลจากฟิลิปปินส์โดยสิ้นเชิงเมื่อญี่ปุ่นบุกโจมตีหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติก การนำเข้าน้ำตาลจากเปอร์โตริโกและหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากการโจมตีด้วยเรือดำน้ำของเยอรมัน หลายพื้นที่ถูกตัดขาดและทำลาย หน้าดินขาดสารอาหาร ปุ๋ย อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงานทางการเกษตรเนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในสงคราม ส่วนผสมที่จำเป็นในการทำคาราเมลและช็อกโกแลตเริ่มไม่เพียงพอ ประชาชนทั่วไปเริ่มถูกจำกัดปริมาณน้ำตาลที่บริโภค และภาษีน้ำตาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสูงถึงห้าเท่า

แต่ถึงแม้ทั่วโลกกำลังขาดแคลน ‘น้ำตาล’ อาหารที่ให้พลังงานชั้นดีแก่ทหาร กลับกันในพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เกาหลี’ กลับมีปริมาณน้ำตาลมากจนน่ายินดี แต่ชีวิตของพวกเขากลับไม่น่าอภิรมย์ด้วยเลยสักนิด

ในช่วงปี 1910 หรือตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศเกาหลีถูกบังคับให้ผนวกเข้ากับประเทศญี่ปุ่นผ่านการคุกคามและการดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองอันชาญฉลาดจากจักรวรรดิญี่ปุ่น วัฒนธรรม ภาษา การใช้ชีวิตต่างๆ ของคนเกาหลีถูกทำลาย โรงเรียนและมหาวิทยาลัยสั่งห้ามใช้ภาษาเกาหลี ภาพยนตร์ถูกบังคับให้นำเสนอเป็นภาษาญี่ปุ่น สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะถูกยึดครอง การสอนประวัติศาสตร์โดยใช้หนังสือเรียนที่ไม่ได้รับอนุญาตกลายเป็นอาชญากรรม และทางการญี่ปุ่นได้เผาเอกสารทางประวัติศาสตร์ของเกาหลีมากกว่า 200,000 เล่ม ซึ่งถือเป็นการลบบันทึกทางประวัติศาสตร์ของเกาหลีโดยพื้นฐานแล้ว

the-important-of-caramel-from-korean-people-sight-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: 독립영웅

นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีการเน้นย้ำการใช้แรงงานและความภักดีต่อจักรพรรดิ พวกเขาเริ่มขโมยและกดขี่แรงงาน คนงานเกาหลีเกือบ 725,000 คน ลงเอยด้วยการทำงานในบริษัทญี่ปุ่นและประเทศอาณานิคมอื่นๆ โดยบริษัทที่มีแรงงานชาวเกาหลีมากเป็นอันดับต้นๆ ในสมัยนั้น คือ Nakaoka Confectionery และ Morinaga Confectionery บริษัทซัพพลายเออร์ที่ชื่อเสียงในด้านการผลิตคาราเมลนม อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จัดหาเสบียงการรบให้กับกองทัพญี่ปุ่นด้วย

ในยุคสมัยนั้น คาราเมลมีไว้สำหรับการจัดส่งให้ทหารแนวหน้าและคนชนชั้นสูงในสังคมเท่านั้น เป็นไปได้ยากมากที่ประชาชนทั่วไปจะมีสิทธิ์เข้าถึง พวกเขาเข้าใกล้คาราเมลได้มากสุดแค่เพียงเป็นผู้ผลิตที่ถูกกดขี่เท่านั้น ซึ่งแม้เวลาจะผ่านมานานหลายศตวรรษแล้ว แต่บาดแผลจากการถูกปกครองในครั้งนั้นไม่เคยเลือนหายไป พวกเขายังคงพยายามที่จะเอาชนะความเจ็บปวดจากการปกครองอาณานิคมอันโหดร้ายของญี่ปุ่น และคาราเมลยังคงล้ำค่าในสายตาของพวกเขาเสมอ มันเต็มไปด้วยเรื่องราวการต่อสู้จากการกดขี่ ความยากลำบากในการหาเงินทองเพื่อซื้อความหวานหล่อเลี้ยงชีวิต เราจึงพูดได้ว่าในยุคสมัยนั้นคาราเมลคือ ‘สมบัติล้ำค่า’ ดังที่เราจะเห็นได้ในการนำเสนอเรื่องราวผ่านซีรีส์และรายการวาไรตี้ต่างๆ เช่น รันนิงแมน ตอนเซียนพนันย้อนยุคที่ใช้คาราเมลแทนเงิน นั่นเอง

the-important-of-caramel-from-korean-people-sight-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: 밥사랑

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์