“บทความนี้คือการตีความเพิ่มเติมของผู้เขียนจากเนื้อหาที่ได้รับจากตัวภาพยนตร์ หาใช่การสรุปว่าเรื่องราวเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้สร้างภาพยนตร์ตั้งใจจะสื่อแต่อย่างใด”
ครึ่งแรกของภาพยนตร์แนวตามหาคนร้ายแบบนี้ ก็มักจะเต็มไปด้วยฉากการขุดบ่อล่อปลาตามสไตล์ เพื่อไม่ให้ภาพยนตร์จบลงตั้งแต่ 10 นาทีแรก ดังนั้นหน้าที่ของตัวภาพยนตร์กว่าครึ่งเรื่อง คือการหลอกล่อผู้ชมออกจากความจริงไปเรื่อยๆ แม้ตัวละครที่แทนสายตาเราอย่าง ‘สารวัตร’ (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา) จะกำลังตามหาความจริงอยู่ก็ตาม ซึ่งในขณะที่เขากำลังหลอกล่อเราอยู่นั้น ในแต่ละซีนก็มีฟังชั่นในการบอกเล่าบริบทความเป็นไทยหลายๆ อย่าง ที่เราปฏิเสธมันไม่ลง ทั้งความเชื่ออันคร่ำครึ สถานการณ์ของสภาพสังคมที่ย่ำแย่ ทำให้เรารับรู้ได้เลยตั้งแต่เริ่มเรื่องว่าผู้สร้างภาพยนตร์กำลังจะวิพากษ์อะไรบางอย่างบนสังคมไทยผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้
ซึ่งการใช้แนวภาพยนตร์แนว WHO’s dun it ? โดยผูกพลอตให้เรื่องราวเกิดขึ้นมาใครครอบครัวอีสานที่มีเขยฝรั่ง เพื่อนำมาเล่าเรื่องของสังคมไทย คิดดูดีดีมันก็เข้าท่าไม่หยอก เพราะในขณะที่เหตุร้ายในหนังเกิดขึ้น (การฆาตกรรม) สิ่งที่ฆาตกรตัวจริงหรือก็คือ ผู้สร้างภาพยนตร์ ต้องการคือหลอกล่อให้เราหลงผิดด้วยการสร้างผู้ร้ายอย่าง ‘เขยฝรั่ง’ ขึ้นมา ซึ่งในตัวภาพยนตร์ เขยฝรั่ง อย่าง ‘เอิร์ล’ (เจมส์ เลเวอร์) ที่ดูไม่มีพิษมีภัย กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรทั้งๆ ที่สิ่งที่ทำทั้งหมด มีจุดเริ่มต้นจากการที่อยากจะปกป้องบ้านหลังนี้ของครอบครัวไว้จากพายุ แต่ฝรั่งอย่าง ‘ชาร์ลีย์’ (โจนาธาน แซมสัน) ที่เข้ามาหาประโยชน์จากสังคมไทย ด้วยการเล่นไปตามน้ำในกติกาที่บิดเบี้ยว กลับถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ ‘ถูกต้อง’ ของชีวิต ซึ่งคุณอาจจะดูแคลนตัวละครอย่าง ‘ตุ๊กตา’ (ขวัญเรือน โลหากาศ) กับเส้นทางที่เธอเลือกจะเกาะชาร์ลีย์ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า แต่เชื่อเถอะว่าสังคมเราไม่ได้มีโอกาสให้กับทุกคนที่เพียงขอแค่มีความขยัน เข้ามาทำงานหนักในเมือง แล้วจะสามารถมีชีวิตที่ดีได้ทุกคน ดูจากสถานะของตัวละครเอกอย่าง ‘ทราย’ (อิษยา ฮอสุวรรณ) ก็น่าจะตอบคำถามนี้ได้ จะมองไปทางผัวเก่าคนไทยก็ดูไร้อนาคต ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับฝรั่งรวยๆ แต่สามานย์ ก็ดูไร้ค่า อยู่กับฝรั่งความคิดดีๆ แต่ไม่ได้ยกระดับฐานะ ก็โดนค่อนขอดจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าโดนหลอกโดนล้างสมอง ดูๆ ไปทางเลือกในเรื่องของตัวละครอย่างทราย เมื่อเอามาสะท้อนกับสภาพสังคมตอนนี้ก็อาจจะตรงกับชีวิตจริงของใครหลายคนไม่น้อย
ซึ่งการใช้แนวภาพยนตร์แนว WHO’s dun it ? โดยผูกพลอตให้เรื่องราวเกิดขึ้นมาใครครอบครัวอีสานที่มีเขยฝรั่ง เพื่อนำมาเล่าเรื่องของสังคมไทย คิดดูดีดีมันก็เข้าท่าไม่หยอก เพราะในขณะที่เหตุร้ายในหนังเกิดขึ้น (การฆาตกรรม) สิ่งที่ฆาตกรตัวจริงหรือก็คือ ผู้สร้างภาพยนตร์ ต้องการคือหลอกล่อให้เราหลงผิดด้วยการสร้างผู้ร้ายอย่าง ‘เขยฝรั่ง’ ขึ้นมา ซึ่งในตัวภาพยนตร์ เขยฝรั่ง อย่าง ‘เอิร์ล’ (เจมส์ เลเวอร์) ที่ดูไม่มีพิษมีภัย กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรทั้งๆ ที่สิ่งที่ทำทั้งหมด มีจุดเริ่มต้นจากการที่อยากจะปกป้องบ้านหลังนี้ของครอบครัวไว้จากพายุ แต่ฝรั่งอย่าง ‘ชาร์ลีย์’ (โจนาธาน แซมสัน) ที่เข้ามาหาประโยชน์จากสังคมไทย ด้วยการเล่นไปตามน้ำในกติกาที่บิดเบี้ยว กลับถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ ‘ถูกต้อง’ ของชีวิต ซึ่งคุณอาจจะดูแคลนตัวละครอย่าง ‘ตุ๊กตา’ (ขวัญเรือน โลหากาศ) กับเส้นทางที่เธอเลือกจะเกาะชาร์ลีย์ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า แต่เชื่อเถอะว่าสังคมเราไม่ได้มีโอกาสให้กับทุกคนที่เพียงขอแค่มีความขยัน เข้ามาทำงานหนักในเมือง แล้วจะสามารถมีชีวิตที่ดีได้ทุกคน ดูจากสถานะของตัวละครเอกอย่าง ‘ทราย’ (อิษยา ฮอสุวรรณ) ก็น่าจะตอบคำถามนี้ได้ จะมองไปทางผัวเก่าคนไทยก็ดูไร้อนาคต ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับฝรั่งรวยๆ แต่สามานย์ ก็ดูไร้ค่า อยู่กับฝรั่งความคิดดีๆ แต่ไม่ได้ยกระดับฐานะ ก็โดนค่อนขอดจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าโดนหลอกโดนล้างสมอง ดูๆ ไปทางเลือกในเรื่องของตัวละครอย่างทราย เมื่อเอามาสะท้อนกับสภาพสังคมตอนนี้ก็อาจจะตรงกับชีวิตจริงของใครหลายคนไม่น้อย
ย้อนกลับมามองในสังคมจริงๆ ถ้าหากเกิดปัญหาบางอย่างขึ้นมาอาทิ ปัญหา ‘ปากท้อง’ (ที่ทำให้เราต้องหาผัวฝรั่งแบบในหนังถึงจะอยู่ได้) สิ่งที่เหล่าผู้มีอำนาจตัวร้ายที่ได้ผลประโยชน์ทั้งหลายก็ต้องพยายามขุดบ่อล่อปลาให้ประชาชนอย่างเราๆ หลงทางไม่ต่างกันกับที่ภาพยนตร์พยายามทำ ในขณะที่เราและสารวัตรถูกหลอกว่าใครคือคนร้ายตัวจริง ตัวละครในเรื่องก็ถูกหลอกล่อเช่นกัน ด้วยลัทธิความเชื่อโบราณจากคนทรงว่า ‘เขยฝรั่ง’ ไม่ดีอย่างนู้นอย่างนี้ เลยเถิดไปถึงขนาดโดนใส่ร้ายว่าเป็น ‘ปีศาจร้าย’ หรือ ‘ฆาตกร’ โดยไม่มีเหตุผลรองรับไปมากกว่าความเชื่อลอยๆ หรือแม้กระทั่งข่าวจากวิทยุทางการเรื่องพายุที่เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรม ที่สุดท้ายแล้วมันเป็นแค่เฟกส์นิวส์ ซึ่งบางทีข้อมูลแค่เล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกปล่อยออกมาในสังคมที่ผู้คนสับสนหลงทาง ก็ทำให้เหตุการณ์เลยเถิดราวกับสุภาษิตน้ำผึ้งหยดเดียวแบบนี้ได้
ซึ่งนอกจอภาพยนตร์ เหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียวที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ที่ความปลิ้นปล้อนของเหล่าผู้มีอำนาจได้ทำให้พวกเราหลงทาง และสร้างแพะรับบาปที่ต้องถูกมองว่าเป็นปีศาจขึ้นมาไม่รู้กี่คนต่อกี่คน เหตุผลก็เพียงเพราะจะปิดบังความจริงบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ความจริงที่รู้แล้วอาจจะทำให้เราไม่ยอมทนอยู่ในบ้านหลังนี้ หรือสังคมแบบนี้อีกต่อไป และเหตุผลใหญ่ๆ ที่ผู้สร้างกระทำต่อตัวละครสารวัตรและผู้ชมอย่างเราๆ ได้สำเร็จ ก็คือช่องทางการรับข้อมูลของสารวัตรนั้นน้อยนิด ได้รับข้อมูลช่องทางเดียวตามที่เส้นเรื่องกำหนด ตัวละครในเรื่องที่มารวมตัวกันจนเกิดเหตุการณ์อลหม่าน ก็เพราะได้รับข้อมูลเรื่องพายุจากทางการก็เชื่อเอาเลยไม่มีช่องทางรีเช็ก ไม่ต่างจากในชีวิตจริงที่แต่เดิม ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารของผู้คนทั่วไปไม่ได้ง่ายดายเหมือนในสมัยนี้ การจะจูงจมูกคนให้สับสนจนหาทางออกไม่เจอจึงสำเร็จได้ง่ายๆ จนทุกอย่างก็เปลี่ยนไปจากการมาถึงของเทคโนโลยี หรือตัวแทนของมันอย่าง ‘โทรศัพท์มือถือ’ ในเรื่อง
การคลี่คลายของภาพยนตร์ในขยักแรก ที่ช่วยให้ตัวเอิร์ลพ้นผิดจากคลิปในมือถือของ ‘อีหล่าจูน’ (ชนันทิชา ชัยภา) อาจจะดูง่ายเกินไปจนเหนือจริง แต่เมื่อมาขบคิดตีความกันเล่นๆ ความง่ายแบบนี้แหละ คือสิ่งที่ทำให้คนส่วนมากในเวลานี้ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เทคโนโลยีถูกพัฒนา จนข้อมูลข่าวสารทั่วถึงคนทุกคนเพียงปลายนิ้วสัมผัส คิดง่ายๆ ว่าหากผู้คนสมัยก่อนสามารถแอบถ่ายวีดีโอกันได้ด้วยมือถือแบบในสมัยนี้ และผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดแบบนี้ ความจริงๆ หลายๆ สิ่งอาจจะเปลี่ยนไป เรียกว่าหน้าประวัติศาสตร์ของโลกอาจจะเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ วิธีเก่าๆ ที่เหล่าผู้คนที่พยายามแช่แข็งสังคมเพื่อประโยชน์ของตนเองเคยใช้ ก็อาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป
แต่ในขณะเดียวกันการขมวด 10 นาทีสุดท้ายของเรื่องก็แสดงให้เราเห็นว่า ความไปไกลของเทคโนโลยีเมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวได้เช่นกัน กับการเฉลยว่าคนร้ายที่แท้จริงอาจจะเป็นจูน เด็กสาวเจ้าของมือถือเอง ซึ่งจริงๆ อาจจะมีขึ้นเพื่อตอบสนองแกนของเรื่องอย่างความปลิ้นปล้อน ดั่งคำพูดของเอิร์ลที่บอกกับทราย ว่า “คุณจะหลงเชื่อคำพูดคนอื่นง่ายๆ ไม่ได้นะ” ซึ่งเราก็เชื่อไม่ได้แม้กระทั่งอีหล่าจูนในที่สุด
ซึ่งนอกจอภาพยนตร์ เหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียวที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ที่ความปลิ้นปล้อนของเหล่าผู้มีอำนาจได้ทำให้พวกเราหลงทาง และสร้างแพะรับบาปที่ต้องถูกมองว่าเป็นปีศาจขึ้นมาไม่รู้กี่คนต่อกี่คน เหตุผลก็เพียงเพราะจะปิดบังความจริงบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ความจริงที่รู้แล้วอาจจะทำให้เราไม่ยอมทนอยู่ในบ้านหลังนี้ หรือสังคมแบบนี้อีกต่อไป และเหตุผลใหญ่ๆ ที่ผู้สร้างกระทำต่อตัวละครสารวัตรและผู้ชมอย่างเราๆ ได้สำเร็จ ก็คือช่องทางการรับข้อมูลของสารวัตรนั้นน้อยนิด ได้รับข้อมูลช่องทางเดียวตามที่เส้นเรื่องกำหนด ตัวละครในเรื่องที่มารวมตัวกันจนเกิดเหตุการณ์อลหม่าน ก็เพราะได้รับข้อมูลเรื่องพายุจากทางการก็เชื่อเอาเลยไม่มีช่องทางรีเช็ก ไม่ต่างจากในชีวิตจริงที่แต่เดิม ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารของผู้คนทั่วไปไม่ได้ง่ายดายเหมือนในสมัยนี้ การจะจูงจมูกคนให้สับสนจนหาทางออกไม่เจอจึงสำเร็จได้ง่ายๆ จนทุกอย่างก็เปลี่ยนไปจากการมาถึงของเทคโนโลยี หรือตัวแทนของมันอย่าง ‘โทรศัพท์มือถือ’ ในเรื่อง
การคลี่คลายของภาพยนตร์ในขยักแรก ที่ช่วยให้ตัวเอิร์ลพ้นผิดจากคลิปในมือถือของ ‘อีหล่าจูน’ (ชนันทิชา ชัยภา) อาจจะดูง่ายเกินไปจนเหนือจริง แต่เมื่อมาขบคิดตีความกันเล่นๆ ความง่ายแบบนี้แหละ คือสิ่งที่ทำให้คนส่วนมากในเวลานี้ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เทคโนโลยีถูกพัฒนา จนข้อมูลข่าวสารทั่วถึงคนทุกคนเพียงปลายนิ้วสัมผัส คิดง่ายๆ ว่าหากผู้คนสมัยก่อนสามารถแอบถ่ายวีดีโอกันได้ด้วยมือถือแบบในสมัยนี้ และผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดแบบนี้ ความจริงๆ หลายๆ สิ่งอาจจะเปลี่ยนไป เรียกว่าหน้าประวัติศาสตร์ของโลกอาจจะเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ วิธีเก่าๆ ที่เหล่าผู้คนที่พยายามแช่แข็งสังคมเพื่อประโยชน์ของตนเองเคยใช้ ก็อาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป
แต่ในขณะเดียวกันการขมวด 10 นาทีสุดท้ายของเรื่องก็แสดงให้เราเห็นว่า ความไปไกลของเทคโนโลยีเมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวได้เช่นกัน กับการเฉลยว่าคนร้ายที่แท้จริงอาจจะเป็นจูน เด็กสาวเจ้าของมือถือเอง ซึ่งจริงๆ อาจจะมีขึ้นเพื่อตอบสนองแกนของเรื่องอย่างความปลิ้นปล้อน ดั่งคำพูดของเอิร์ลที่บอกกับทราย ว่า “คุณจะหลงเชื่อคำพูดคนอื่นง่ายๆ ไม่ได้นะ” ซึ่งเราก็เชื่อไม่ได้แม้กระทั่งอีหล่าจูนในที่สุด
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้จากการเฉลยในรอบสอง หากให้ตีความกันสนุกๆ จูนคล้ายกับตัวแทนของเด็กรุ่นใหม่ที่มีอาวุธเป็นเทคโนโลยีที่พวกเขาเชี่ยวชาญ จูนเป็นคนเดียวในเรื่องที่กล้าหาญจะกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ตัวเองไม่จำเป็นต้องโดนกระทำ ทำทุกทางเพื่อจะหลุดพ้นจากสังคมคร่ำครึที่กดทับเธออยู่ ในฉากเฉลยรอบแรกที่ตัวละครพ่อตายจากอาการหัวใจวาย คนดูอย่างเราก็รู้สึกว่ามันเข้าท่าแล้วกับที่ให้ตัวละครที่ดูจะตกยุค และมีปัญหาที่สุดในบ้านตายเพราะถูกกาลเวลากัดกิน แต่เมื่อเฉลยว่าสิ่งที่ทำทั้งหมดเป็นฝีมือของจูน มันยิ่งเข้าทีขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับบริบทสังคมในปัจจุบัน กับการได้เห็นเด็กรุ่นใหม่ๆ เป็นคนตัดสินใจลงมือหมุนเข็มนาฬิกาให้เวลามาอยู่ข้างพวกเขาเร็วขึ้น ในขณะที่คนรุ่นเราๆ บางส่วนก็ได้กลับมาย้อนมองเช่นกัน ว่าในระหว่างที่เรากำลังหลงอยู่ในคำลวงหลอก ไม่ว่าเพราะอาจจะพึ่งเข้าถึงข้อมูล หรืออะไรก็ตามแต่ เมื่อมองย้อนกลับไป การที่พวกเราเฉยชาต่อบ้านเมืองอย่างนั้น
มันทำให้สังคมต้อง ‘สังเวย’ คนแบบ ‘เอิร์ล’ ไปแล้วกี่คน?
เราปล่อยให้ผู้คนที่หวังดีต่อบ้านเรากลายเป็น ‘ฆาตกร’ ไปแล้วกี่ราย?
มันทำให้สังคมต้อง ‘สังเวย’ คนแบบ ‘เอิร์ล’ ไปแล้วกี่คน?
เราปล่อยให้ผู้คนที่หวังดีต่อบ้านเรากลายเป็น ‘ฆาตกร’ ไปแล้วกี่ราย?