ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 หลายคนเริ่มรู้จักกับคำว่า ‘ไวกิ้ง’ กันมากขึ้นหลังจากการฉายของซีรีส์เรื่อง ‘Vikings’ ผ่านช่อง History Channel ก่อนหน้านี้เราเคยเข้าใจกันว่าไวกิ้งต้องไว้ผมยาว ไว้หนวด สวมหมวกเขาสัตว์ และนั่งเรือไม้ลำใหญ่ที่มีหัวเป็นมังกร ซึ่งซีรีส์ Vikings กลับทำต่างออกไปจากภาพเดิมที่เราเคยคิดกันไปมาก ตัวละครใน Vikings ทุกคนสวมชุดหนังสีเข้ม ทาขอบตาสีดำ ไม่มีหมวกเขาสัตว์ และเรือก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ลำใหญ่อย่างที่คิด

ซีรีส์ Viking ทำให้ใครหลายคนหลงเชื่อกันว่านี่แหละคือ ‘ไวกิ้ง’ พวกเขาดูเท่ โหดเหี้ยม อมหิต ร่างกายสูงกำยำ โหยหาแต่สิ่งที่เรียกว่า ‘วัลฮาลลา’ (ดินแดนที่ทุกคนจะดื่มด่ำสังสรรค์ไปตลอดกาล) เพียงอย่างเดียว จนภายหลังผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ตามเว็บบอร์ด กลุ่มเฟซบุ๊ก หรือบล็อก ออกมาพูดว่าซีรีส์ ‘Vikings’ ไม่มีความสมจริงเอาเสียเลย นอกจากการแต่งกายจะยังไม่ตรงตามประวัติศาสต์แล้ว เส้นเวลาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีรีส์ยังไม่เกิดขึ้นจริงอีกด้วย ซีรีส์เรื่องนี้จึงเป็นโลกแฟนตาซีที่สร้างออกมาเพื่อเน้นให้ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว
นั่นทำให้ภาพยนตร์มาใหม่เรื่อง ‘The Northman’ เป็นหนังเกี่ยวกับไวกิ้งที่น่าจับตามอง หลังจากเผยตัวอย่างแรกไปเมื่อปลายปี 2021 เกิดเสียงฮือฮามากมายถึงคอสตูมการแต่งกายที่มีความสมจริงกว่าเดิม รวมถึงอารมณ์และบรรยากาศของหนังสไตล์ โรเบิร์ต เอ็กเกอร์ส (Robert Eggers) ที่แฝงทั้งความดราม่า ความลึกลับ และความสยองขวัญไว้ในเรื่องเดียว
นั่นทำให้ภาพยนตร์มาใหม่เรื่อง ‘The Northman’ เป็นหนังเกี่ยวกับไวกิ้งที่น่าจับตามอง หลังจากเผยตัวอย่างแรกไปเมื่อปลายปี 2021 เกิดเสียงฮือฮามากมายถึงคอสตูมการแต่งกายที่มีความสมจริงกว่าเดิม รวมถึงอารมณ์และบรรยากาศของหนังสไตล์ โรเบิร์ต เอ็กเกอร์ส (Robert Eggers) ที่แฝงทั้งความดราม่า ความลึกลับ และความสยองขวัญไว้ในเรื่องเดียว

The Northman เป็นผลงานเรื่องที่สามของ โรเบิร์ต เอ็กเกอร์ส ผู้กำกับที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้หลงใหลในนิทานพื้นบ้าน และเทพปกรณัม เขาสร้างเสียงฮือฮาเป็นครั้งแรกด้วยหนังแม่มดในเรื่อง ‘The Witch’ (2015) พร้อมกับชักชวน แอนยา เทย์เลอร์-จอย (Anya Taylor-Joy) เข้าหน้ากล้องในสมัยที่เธอยังไม่ได้โด่งดังเหมือนทุกวันนี้ ถ้าใครเคยชมเรื่อง The Witch จะเข้าใจธีมหนังของเอ็กเกอร์ส การถ่ายทอดของเขามักเป็นการใช้มุมกล้อง องค์ประกอบภาพ และวัตถุในฉากเพื่อแสดงออกเป็นเชิงสัญลักษณ์
ธีมหนังของเขายังแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดใน ‘The Lighthouse’ (2019) ผลงานเรื่องที่สองที่มีการผสมผสานโครงเรื่องระหว่างนิทานพื้นบ้านของชาวประมงกับเทพปกรณัมกรีก โดยถ่ายทอดผ่านมุมมองของนักเฝ้าประภาคารทั้งสองคน หนังทั้งเรื่องถูกทำในรูปแบบหนังขาวดำ และมีการเล่นกับแสงเพื่อขับเน้นอารมณ์ของตัวละคร The Lighthouse เป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนกล่าวว่าเป็นหนังที่เข้าใจยาก เว้นแต่จะพยายามทำความเข้าใจผ่านการอ่านบทความของนักวิจารณ์หรือนักรีวิว
ธีมหนังของเขายังแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดใน ‘The Lighthouse’ (2019) ผลงานเรื่องที่สองที่มีการผสมผสานโครงเรื่องระหว่างนิทานพื้นบ้านของชาวประมงกับเทพปกรณัมกรีก โดยถ่ายทอดผ่านมุมมองของนักเฝ้าประภาคารทั้งสองคน หนังทั้งเรื่องถูกทำในรูปแบบหนังขาวดำ และมีการเล่นกับแสงเพื่อขับเน้นอารมณ์ของตัวละคร The Lighthouse เป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนกล่าวว่าเป็นหนังที่เข้าใจยาก เว้นแต่จะพยายามทำความเข้าใจผ่านการอ่านบทความของนักวิจารณ์หรือนักรีวิว

ในเรื่องที่สามของเอ็กเกอร์ส หรือ The Northman เรียกได้ว่าเป็นหนังที่มีการดำเนินเรื่องฉีกแนวออกมาจากเดิม ครั้งนี้เขาพยายามใส่ความเป็นแอคชันลงไป และมีการแบ่งชื่อตอนภายในหนัง ทำให้ผู้ชมสามารถพอคาดเดาได้ว่าเหตุการณ์ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ถือว่าเป็นเทคนิคที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกนั่งติดกับเก้าอี้ และกลายเป็นหนังที่ดูง่ายมากกว่าหนังสองเรื่องก่อนหน้า
The Northman เป็นเรื่องราวของอัมเล็ธ เจ้าชายไวกิ้ง (รับบทโดย Alexander Skarsgård) ถูกเฟรอเนียร์ ( รับบทโดย Claes Bang) ลุงของเขาทำการสังหารพ่อ (รับบทโดย Ethan Hawke) เพื่อแย่งชิงอำนาจ เมื่อเวลาผ่านไป อัมเล็ธระลึกได้ถึงคำสาบานที่เคยให้ไว้ จึงออกไปตามเฟรอเนียร์เพื่อทำการล้างแค้นให้กับพ่อของตน ในเรื่องนี้เอ็กเกอร์สยังได้ แอนยา เทย์เลอร์-จอย กลับมาร่วมงานอีกเช่นเคย พร้อมกันกับ นิโคล คิดแมน (Nicole Kidman) และบียอร์ก (Björk) ศิลปินนักร้องแนวอาร์ทป็อปชื่อดังในบทแม่มดผู้ชี้ชะตา
เอ็กเกอร์สลงทุนไปถ่ายทำหนังนี้ไกลถึงไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไวกิ้งเมื่อหลายร้อยปีก่อน สิ่งที่เอ็กเกอร์สทำการบ้านมาดีคือเรื่องการแต่งกาย หรือคอสตูมของชาวไวกิ้ง ที่ผู้ชมหลายคนให้ความเห็นว่ามีความสมจริงตามประวัติศาสตร์มากที่สุด ชาวไวกิ้งนั้นไม่เคยใส่ชุดหนังดำอย่างที่ปรากฎในซีรีส์ Vikings สิ่งที่พวกเขาใส่จริงๆ เป็นแค่ชุดโซ่เรียบๆ พร้อมกับดาบเหน็บไว้ข้างๆ มีผ้าคลุมตัวข้างหลัง และใส่หมวกเหล็กแบบเรียบง่าย
The Northman เป็นเรื่องราวของอัมเล็ธ เจ้าชายไวกิ้ง (รับบทโดย Alexander Skarsgård) ถูกเฟรอเนียร์ ( รับบทโดย Claes Bang) ลุงของเขาทำการสังหารพ่อ (รับบทโดย Ethan Hawke) เพื่อแย่งชิงอำนาจ เมื่อเวลาผ่านไป อัมเล็ธระลึกได้ถึงคำสาบานที่เคยให้ไว้ จึงออกไปตามเฟรอเนียร์เพื่อทำการล้างแค้นให้กับพ่อของตน ในเรื่องนี้เอ็กเกอร์สยังได้ แอนยา เทย์เลอร์-จอย กลับมาร่วมงานอีกเช่นเคย พร้อมกันกับ นิโคล คิดแมน (Nicole Kidman) และบียอร์ก (Björk) ศิลปินนักร้องแนวอาร์ทป็อปชื่อดังในบทแม่มดผู้ชี้ชะตา
เอ็กเกอร์สลงทุนไปถ่ายทำหนังนี้ไกลถึงไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไวกิ้งเมื่อหลายร้อยปีก่อน สิ่งที่เอ็กเกอร์สทำการบ้านมาดีคือเรื่องการแต่งกาย หรือคอสตูมของชาวไวกิ้ง ที่ผู้ชมหลายคนให้ความเห็นว่ามีความสมจริงตามประวัติศาสตร์มากที่สุด ชาวไวกิ้งนั้นไม่เคยใส่ชุดหนังดำอย่างที่ปรากฎในซีรีส์ Vikings สิ่งที่พวกเขาใส่จริงๆ เป็นแค่ชุดโซ่เรียบๆ พร้อมกับดาบเหน็บไว้ข้างๆ มีผ้าคลุมตัวข้างหลัง และใส่หมวกเหล็กแบบเรียบง่าย

ความน่าประทับใจของ The Northman คือการถ่ายทอดวิถีความคิดของชาวไวกิ้ง โดยเฉพาะเรื่องความความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย และจิตวิญญาณของนักรบ ภายในหนังเราจะพบกับฉากหลายฉากที่เป็นการนำเสนอพิธีกรรมระหว่างชาวไวกิ้งกับหมอผี (ภายในเรื่องรับบทโดย Willem Dafoe) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจว่าสิ่งชาวไวกิ้งยึดถือคืออะไร และพวกเขาเชื่อมั่นกับสิ่งนี้มากแค่ไหน ในเรื่องของจิตวิญญาณนักรบเราจะรู้จักกับคำว่า ‘เบอร์เซิกเกอร์’ (Berserker) เป็นคำเรียกแทนนักรบที่ป่าเถื่อนบ้าคลั่งที่เหนือการควบคุมดั่งสัตว์ร้าย บนตัวนักรบเบอร์เซิกเกอร์จะห่มหนังสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังหมีที่มีหัวหมีโผล่อยู่ข้างบน แต่ในเรื่อง The Northman เอ็กเกอร์สเปลี่ยนให้อัมเล็ธเป็นเบอร์เซิกเกอร์ในร่างหมาป่าแทน

เอ็กเกอร์สพยายามเร้าอารมณ์ผู้ชมด้วยเสียงเพลงที่ฟังดูดิบ สมจริง ราวกับผู้ชมได้ไปอยู่วงรอบกองไฟจริงๆ ตามปกติแล้วในหนังพีเรียด (Period) หรือหนังย้อนยุค ดนตรีประกอบมักสอดแทรกเครื่องดนตรีสากลที่หลากหลายเพื่อให้เกิดอารมณ์ร่วมระหว่างการชม ยิ่งเครื่องดนตรีเยอะมากเท่าไร ก็ยิ่งเกิดความรู้สึกปลุกเร้ามากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกับใน The Northman เอ็กเกอร์สเลือกใช้เสียงดนตรีที่เกิดขึ้นจริงจากในฉากหนัง นั่นคือ เสียงกระทืบเท้า เสียงเคาะโล่ไม้ และเสียงร้องที่ถูกขับร้องออกมาเป็นภาษานอร์สโบราณจริงๆ ทำให้ฉากเหล่านี้เป็นเหมือนมนต์สะกดต้องผู้ชมให้เข้ามาเต้นแหกปากร้องร่วมกับนักรบพันธุ์หมาป่า

แน่นอนว่าเอ็กเกอร์สไม่ทิ้งเอกลักษณ์ในเรื่องของงานวิชวลที่น่าตื่นตาตื่นใจ เขาพยายามใช้องค์ประกอบภาพ และงานวิชวลในการขับเน้นเรื่องเหนือธรรมชาติ อย่างในตัวอย่างหนัง เราจะพบกับนักรบวัลคีรี (นักรบหญิง หรือเทพธิดารับใช้โอดิน) ขี่ม้าเหาะเหินบนอากาศท่ามกลางฉากที่ปกคลุมด้วยเมฆ และแสงสว่างจากเบื้องบน นี่คือหนึ่งในงานถนัดของเอ็กเกอร์สที่สามารถทำออกมาให้ผู้ชมรู้สึกตื่นตะลึง ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นการเล่นกับความเชื่อที่เอ็กเกอร์สพยายามถ่ายทอดให้เห็นว่าในห้วงความนึกคิดของชาวไวกิ้งในยุคนั้นเป็นอย่างไร และด้วยสิ่งนี้เองที่หล่อหลอมให้ชาวไวกิ้งเป็นนักรบที่ดุร้าย ไม่กลัวตาย และศรัทธาต่อคำสาบาน

แต่จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าระหว่างซีรีส์ Vikings หรือหนังเรื่อง The Northman เรื่องไหนดีกว่า เพราะปฏิเสธไม่ใช่เช่นกันว่าซีรีส์ Vikings ทำออกมาดีในแง่ของบทที่ชวนติดตาม พร้อมกับนำเสนอเรื่องราวของไวกิ้งในสเกลที่ใหญ่กว่ามาก จนทำให้เห็นภาพรวมได้ว่าสิ่งชาวไวกิ้งทำไว้ในอดีตคืบหน้าไปไกลเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใครไม่เคยศึกษาเรื่องราวของไวกิ้งก็จะไม่รู้ว่าพวกเขาเคยเป็นทหารรับจ้างที่อาณาจักรไบแซนไทน์ หรือเป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่ไปตั้งรกรากอยู่ที่ไอซ์แลนด์ หรือมีแง่มุมต่อความเชื่อศาสนาคริสต์อย่างไรบ้าง
เมื่อเทียบกันกับ The Northman แล้ว หนังเรื่องนี้พยายามเจาะและขับเน้นไปแค่ช่วงใดช่วงหนึ่ง ซึ่งความพิเศษของมันคือยิ่งเฉพาะเจาะจงเท่าไร หนังยิ่งต้องมีความละเอียดมากขึ้นเท่านั้น ทั้งในแง่ของการแสดงออกทางด้านอารมณ์ของนักแสดง ฉากของหนัง พฤติกรรมของตัวประกอบ โดยเฉพาะสารที่ต้องการจะสื่อ จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเลยที่เอ็กเกอร์สจะกล่าวกับสื่อว่า “นี่เป็นภาพยนตร์ที่ทำยากมากที่สุดที่เคยทำมา และผมได้ทุ่มเทความตั้งใจให้กับเรื่องนี้เต็มที่”
เมื่อเทียบกันกับ The Northman แล้ว หนังเรื่องนี้พยายามเจาะและขับเน้นไปแค่ช่วงใดช่วงหนึ่ง ซึ่งความพิเศษของมันคือยิ่งเฉพาะเจาะจงเท่าไร หนังยิ่งต้องมีความละเอียดมากขึ้นเท่านั้น ทั้งในแง่ของการแสดงออกทางด้านอารมณ์ของนักแสดง ฉากของหนัง พฤติกรรมของตัวประกอบ โดยเฉพาะสารที่ต้องการจะสื่อ จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเลยที่เอ็กเกอร์สจะกล่าวกับสื่อว่า “นี่เป็นภาพยนตร์ที่ทำยากมากที่สุดที่เคยทำมา และผมได้ทุ่มเทความตั้งใจให้กับเรื่องนี้เต็มที่”

เพราะฉะนั้นแล้วถ้าใครที่เคยดูหนังของเอ็กเกอร์สแล้วรู้สึกไม่ค่อยโดนเท่าไร เรื่อง The Northman อาจเป็นหนังของเอ็กเกอร์สที่น่าเปิดใจดูอีกครั้ง ส่วนใครที่ชื่นชอบความเป็นไวกิ้งมากๆ The Northman ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด ที่สำคัญขอแนะนำให้ดูด้วยลำโพงเสียงแบบดังกระหึ่ม เพื่อปลุกจิตวิญญาณแห่งนักรบให้ตื่นตัวไปตลอดการรับชม