เปิดประวัติ ‘วัดนางนอง’ วัดในตำนานแห่งกรุงศรีอยุธยาสู่วัดอารามหลวงที่งดงามแห่งยุคสมัย

5 พฤศจิกายน 2566 - 07:00

Wat-Nang-Nong-Reign-Three-SPACEBAR-Hero.jpg
  • เปิดประวัติวัดนางนอง วัดในตำนานแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 สู่วัดอารามหลวงที่งดงามแห่งยุคสมัย

เผยเรื่องราวของหนึ่งในวัดอารามหลวงที่โด่งดัง 'วัดนางนอง' วัดนางนองวัดเก่าตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา วัดที่ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลที่สาม ทำให้กลายเป็นวัดอารามหลวง ที่งดงามภายในพระอุโบสถมีการออกแบบอย่างตั้งใจที่จะแสดงความเป็นวัดของผู้เป็นกษัตราธิราช  

โดยเหตุผลที่รัชกาลที่สามเลือกบูรณะวัดนี้ เป็นเพราะว่าอยู่ให้นิวาสสถานของพระราชมารดา “สมเด็จพระศรีสุลาลัย” สิ่งที่รัชกาลที่สาม ทรงพระราชทานไว้ในการออกแบบวัดนี้ คือ การเป็นวัดที่แสดงความเป็นจักรพรรดิราชของพระองค์ ตั้งแต่ประตูทางเข้าเหนือซุ้มประตูมีกรอบรูปมังกรห้าเล็บเล่นลูกแก้ว มังกรห้าเล็บ

Wat-Nang-Nong-Reign-Three-SPACEBAR-Photo01.jpg

เข้ามาในพระอุโบสถ สิ่งแรกที่เห็นคือ พระพุทธจักรพรรดิ พระประธานทรงเครื่องที่งดงามตามแบบพุทธลักษณ์แบบพระราขนิยมรัขกาบที่สาม พระพักต์หุ่น หรือดวงหน้าเหมือนหุ่นกระบอก งามได้สัดส่วน แสดวถึงคสามเป็นจักรพรรดิราขของพระองค์    

โบสถ์วัดนี้นอกจากพระประธานที่งามหยด ที่บานประตูใช้เทคนิคการตัดมุกแล้ววาดภาพลวดลายมงคลของจีน ยังมีภาพกำมะลออยู่ระหว่างบานหน้าต่างเป็นเรื่องสามก๊ก และที่พลาดไปกราบไม่ได้คือรูป ฮกล๊กซิ่ว

Wat-Nang-Nong-Reign-Three-SPACEBAR-Photo02.jpg

ที่บานประตูหน้า-หลังทั้ง 8 บาน เขียนรูปแก้ว 7 ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว ภาพวาดที่บานประตูหน้าต่าง ประกอบด้วยเครื่องสูง เบญจราชกกุธภัณฑ์ ที่มีพระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี แส้จามรี และ ฉลองพระบาทเชิงงอน สอดแรกด้วยเรื่องราวที่แฝงเรื่องราวของไตรภูมิและเขาพระสุเมรุ

Wat-Nang-Nong-Reign-Three-SPACEBAR-Photo03.jpg

ภาพฝาผนังทั้งสี่ด้านเขียนชาดก พระยาชมพูบดี ถือเป็นการเปลี่ยนขนบการเขียนภาพจิตรกรรมที่ไม่ได้เขียนเรื่องพระพุทธเจ้าผจญมาร หรือไตรภูมิ แต่เล่าเรื่องพระยาชมพูบดี กษัตริย์ที่ถูกพระพุทธเจ้า ปราบ ด้วยการเนรมิตรพระองค์เป็นจักรพรรดิราช จิตรกรรมนี้จึงเชื่อมโยงกับองค์พระประธานเป็นเนื้อเดียวกัน    

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกแบบพระอุโบสถให้แสดงถึงความเป็นจักรพรรดิราชของพระองค์ น่าแปลกใจที่ทรงเลือกวัดที่ไม่ได้อยู่ในเกาะเมืองรัตนโกสินทร์ ไม่ได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ในศูนย์กลางอำนาจทั้งที่ทำได้ แต่เลือกวัดเก่า วัดเล็กๆ ใกล้บ้านเดิมของพระราชมารดาในฝั่งธนบุรี

Wat-Nang-Nong-Reign-Three-SPACEBAR-Photo04.jpg

เมื่อรัชกาลที่สามขึ้นครองราชย์นั้นทรงมีความพร้อมทุกอย่างที่พระมหากษัตริย์ถึงมีและพระองค์จะเป็นพระโอรสของพระสนมเอก แต่ ปฎิเสธไม่ได้ว่าโปร่งมีความพร้อมทั้ง พระราชอำนาจ  พระพระอัจฉริยภาพที่เป็น ความสำเร็จในการทำการค้า การปกครอง การรบทรงมีสิ่งที่เรียกว่าแก้วทั้งเจ็ดประการของจักรพรรดิราช ครบอย่างสมบูรณ์จึงแสดงออกมาให้เห็นและฝากไว้ที่วัดนางนองแห่งนี้ 

คุณค่าในเชิงศิลปะของวัดนี้ คือวัดที่มีพระอุโบสถที่มีความงามพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่าง ผสมผสานศิลปะทั้งลวดลายกำมะลอ จิตรกรรมและพุทธศิลป์ที่งดงามแฝงความหมาย ที่หาได้ยากยิ่งที่มีการนำมารวมไว้ คุณค่าที่มากกว่านั้นคือ ความหมายแฝงที่รัชกาลที่สามใส่เอาไว้ ว่ากันว่าศิลปะตามพระชนม์นิยมของรัชกาลที่สามนอกจากจะมีความแตกต่างจากศิลปะในยุคอื่นแล้ววิธีการ สื่อความหมายของวงนั้นมีความลึกซึ้งมาก หากพิจารณาโดยละเอียดแล้วอาจจะทำให้เข้าใจถึงบางสิ่งบางอย่างที่พระองค์ทรงแสดงออกต่อสาธารณะชนแสดงออกต่อคนรุ่นหลัง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์