ในปี 2020 ที่ผ่านมา เพลงป๊อบแดนปลาดิบจากปี ค.ศ.1979 ได้ขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่งบนชาร์ทของ Spotify เพลงนั้นมีชื่อว่า ‘Mayonaka no Door/ Stay With Me’ ขับร้องโดย มิกิ มัตซึบาระ (Miki Matsubara) นักร้องวัยทีนแห่งยุค 80s ญี่ปุ่น
ด้วยท่วงทำนองที่เข้าหู บีทที่ชวนให้กระดิกขาไปตามจังหวะของเพลง และกลิ่นอายของดนตรีฟังก์ (ดนตรีที่ผสมไปด้วยเพลงแนวโซล โซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บีเข้าด้วยกัน) ที่สนุกจนอยากโยกย้ายส่ายสะโพก มนต์เสน่ห์เหล่านี้พาให้เพลงจากยุค 70s-80s ไต่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ทเพลงโลกอย่าง Spotify ในอีกสี่สิบปีให้หลัง
ด้วยท่วงทำนองที่เข้าหู บีทที่ชวนให้กระดิกขาไปตามจังหวะของเพลง และกลิ่นอายของดนตรีฟังก์ (ดนตรีที่ผสมไปด้วยเพลงแนวโซล โซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บีเข้าด้วยกัน) ที่สนุกจนอยากโยกย้ายส่ายสะโพก มนต์เสน่ห์เหล่านี้พาให้เพลงจากยุค 70s-80s ไต่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ทเพลงโลกอย่าง Spotify ในอีกสี่สิบปีให้หลัง
แต่ความแปลกก็คือ ในบรรดาเพลงยุค 80s ของญี่ปุ่นที่มีอยู่หลายบทเพลง หลายคนกลับคุ้นหูกับเพลง Plastic Love กันมากที่สุด ซึ่ง่มียอดคนฟังเยอะจน มาริยะ ทาเคะอุจิ (Mariya Takeuchi) เจ้าของเพลงที่้ปัจจุบันอายุ 65 ปี ถึงกับสงสัยว่า ทำไมเพลงของเธอจึงกลายเป็นเพลงยอดนิยมในทศวรรษนี้ไปเสียงั้น
ไม่ใช่แค่เธอเท่านั้นที่เกิดคำถาม เชื่อว่าหลายคนในที่นี้ก็คงสงสัยเช่นกันว่า เพราะเหตุใดเพลงญี่ปุ่นปลายยุค 70s-80s ถึงกลายเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย?
ไม่ใช่แค่เธอเท่านั้นที่เกิดคำถาม เชื่อว่าหลายคนในที่นี้ก็คงสงสัยเช่นกันว่า เพราะเหตุใดเพลงญี่ปุ่นปลายยุค 70s-80s ถึงกลายเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย?
คนสร้างกระแสไม่ใช่ใคร แต่เป็น ‘อัลกอริทึม’
ถ้าสังเกตให้ดี คนที่ได้ฟังเพลงแนวนี้ส่วนใหญ่จะได้รับการแนะนำคลิปวิดีโอจากยูทูบ แล้วด้วยจำนานผู้เข้าชมที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้คนในอเมริกาและยุโรป อัลกอริทึมจึงแนะนำเพลงพวกนี้ให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ ด้วย รวมถึงผู้ใช้งานยูทูบชาวไทย ถ้าคุณเป็นนักท่องยูทูบอาจเคยผ่านตากับคำว่า ‘City Pop’ มาบ้าง และดีไม่ดีอาจเคยฟังเพลง Plastic Love และ Stay With Me กันมาบ้าง (อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่ง)ไม่มีแค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีเพลงแนว City Pop ในประเทศไทยเราก็ยังมีเพลงแนว City Pop กับเขาด้วยเหมือนกัน โดยเพลงไทยเหล่านี้เป็นเพลงที่มาจากช่วงยุค 80s เช่นเดียวกันกับเพลง City Pop ของญี่ปุ่น กระแสนิยมทำให้มีผู้ใช้ยูทูบชาวไทยนึกสนุกทำคลิปรวมเพลงไทยในยุค 80s และตั้งชื่อคลิปว่า ‘Thai 80s City Pop Compilation Vol.1’ ซึ่งคลิปนั้นประกอบไปด้วยเพลงที่ขับร้องโดย ชรัส เฟื่องอารมณ์, ศรัณย่า, เต๋อ เรวัต พุทธินันท์, วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, มาลีวัลย์ เจมีน่า เป็นต้น
การทำคลิปรวบรวมเพลงแบบนี้บนยูทูบทำให้เพลงไทยยุค 80s เริ่มกลายเป็นที่สนใจอีกครั้ง แม้แต่คนในคอมเมนต์บางคนถึงขั้นพิมพ์มาว่า “ผมนี่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเมืองไทยมีเพลง City Pop กับเขาด้วย” เกิดเป็นข้อสงสัยว่าเพลงไทยและญี่ปุ่นยุค 80s นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากที่เดียวกันหรือไม่อย่างไร
‘That Japanese Man Yuta’ ช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนญี่ปุ่นต่อประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ เคยทำคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ถามคนญี่ปุ่นว่า “พวกเขารู้จัก Japan City Pop” กันไหม?
ในคลิปวิดีโอชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ดูมีสีหน้าแปลกใจหลังจากได้รับคำถาม พวกเขาคิดไปชั่วครู่ก่อนจะตอบว่า “ไม่รู้จักเลย” แม้แต่คนที่อายุราว 40-50 ปี ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในยุค 80s เขาน่าจะอายุราว 20-30 ปี และน่าจะได้ยินคำว่า City Pop กันบ้าง ก็ยังไม่มีใครคุ้นชื่อแนวเพลงนี้เลยสักคน
การทำคลิปรวบรวมเพลงแบบนี้บนยูทูบทำให้เพลงไทยยุค 80s เริ่มกลายเป็นที่สนใจอีกครั้ง แม้แต่คนในคอมเมนต์บางคนถึงขั้นพิมพ์มาว่า “ผมนี่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเมืองไทยมีเพลง City Pop กับเขาด้วย” เกิดเป็นข้อสงสัยว่าเพลงไทยและญี่ปุ่นยุค 80s นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากที่เดียวกันหรือไม่อย่างไร
City Pop แนวเพลงจากญี่ปุ่นที่ชาวญี่ปุ่นไม่รู้จัก
ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่าคือ ชาวญี่ปุ่นไม่รู้จักแนวเพลง City Pop ที่กำลังโด่งดังบนโลกอินเทอร์เน็ต หรือจริงๆ แล้วเพลงเหล่านี้เป็นเพลงใต้ดินที่ฮิตติดกระแสเฉพาะต่างประเทศ? เรื่องนี้มีคำตอบ‘That Japanese Man Yuta’ ช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนญี่ปุ่นต่อประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ เคยทำคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ถามคนญี่ปุ่นว่า “พวกเขารู้จัก Japan City Pop” กันไหม?
ในคลิปวิดีโอชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ดูมีสีหน้าแปลกใจหลังจากได้รับคำถาม พวกเขาคิดไปชั่วครู่ก่อนจะตอบว่า “ไม่รู้จักเลย” แม้แต่คนที่อายุราว 40-50 ปี ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในยุค 80s เขาน่าจะอายุราว 20-30 ปี และน่าจะได้ยินคำว่า City Pop กันบ้าง ก็ยังไม่มีใครคุ้นชื่อแนวเพลงนี้เลยสักคน
พิธีกรในรายการยังไม่ยอมแพ้ แต่ถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยคำถามอื่นแทน เช่น “รู้จักเพลง Stay With Me ไหม?” หรือ “รู้จักเพลง Plastic Love ไหม?” ผลปรากฎว่ามีบางคนบอกคุ้นหูู แต่ก็ยังมีบางคนบอกว่า “เพลงอะไรเหรอ ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย” แต่พอพิธีกรพูดถึงชื่อนักร้องเจ้าของเพลง ทุกคนถึงกับทำตาวาว อ้าปากร้อง “อ๋อ คนนี้หรอกเหรอ” กลับกลายเป็นว่าหลายคนรู้จักชื่อนักร้อง แต่ไม่ค่อยรู้จักชื่อเพลงกันสักเท่าไรนัก
แน่นอน นี่คือเรื่องที่ทุกคนประหลาดใจ แต่โชคดีที่มีคนในช่องคอมเมนต์ช่วยไขข้อสงสัยนี้ เขาอธิบายว่า สาเหตุที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่รู้จักคำว่า City Pop เป็นเพราะชื่อเรียกนี้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง โดยก่อนหน้านี้คนญี่ปุ่นในยุค 80s เรียกเพลงเหล่านี้ว่า ‘New Music’ เพื่อแยกตัวเองจากแนวเพลงป๊อปดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “เอ็งกะ” (Enka) เพลงป็อปที่มีกลิ่นอายดนตรีดั้งเดิมญี่ปุ่น
แน่นอน นี่คือเรื่องที่ทุกคนประหลาดใจ แต่โชคดีที่มีคนในช่องคอมเมนต์ช่วยไขข้อสงสัยนี้ เขาอธิบายว่า สาเหตุที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่รู้จักคำว่า City Pop เป็นเพราะชื่อเรียกนี้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง โดยก่อนหน้านี้คนญี่ปุ่นในยุค 80s เรียกเพลงเหล่านี้ว่า ‘New Music’ เพื่อแยกตัวเองจากแนวเพลงป๊อปดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “เอ็งกะ” (Enka) เพลงป็อปที่มีกลิ่นอายดนตรีดั้งเดิมญี่ปุ่น
ที่มาของเพลง New Music นั้นมาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมทางฝั่งเวสต์โคสต์ของอเมริกา (แถวรัฐแคลิฟอร์เนีย) เป็นการผสมผสานแนวเพลงอาร์แอนด์บี แจ๊ส และร็อก เข้าด้วยกัน โดยมีธีมหลักคือบีท จังหวะดนตรีที่สนุกสนาน
ในญี่ปุ่นปี 1980s เพลง New Music เป็นแนวดนตรีที่ออกสื่อบนโทรทัศน์ค่อนข้างน้อย เพราะนักดนตรีแนว New Music ส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะขึ้นเวทีพร้อมกับศิลปินเอ็งกะ อาจด้วยเหตุผลที่สองแนวเพลงมีความแตกต่างกันมาก หรือศิลปินเพลง New Music อาจทำให้ศิลปินเอ็งกะได้รับความสนใจน้อยลง
ในญี่ปุ่นปี 1980s เพลง New Music เป็นแนวดนตรีที่ออกสื่อบนโทรทัศน์ค่อนข้างน้อย เพราะนักดนตรีแนว New Music ส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะขึ้นเวทีพร้อมกับศิลปินเอ็งกะ อาจด้วยเหตุผลที่สองแนวเพลงมีความแตกต่างกันมาก หรือศิลปินเพลง New Music อาจทำให้ศิลปินเอ็งกะได้รับความสนใจน้อยลง
จะสังเกตได้ว่าบ้านเราเองก็หยิบกระแสเพลงป็อปแนว New Music จากต่างประเทศมาเหมือนกัน นั่นเป็นคำตอบที่ว่าทำไมเพลงไทยยุค 80s ถึงมีความคล้ายคลึงกับเพลงญี่ปุ่นยุค 80s เพราะกระแสความนิยมจากอเมริกาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย และญี่ปุ่น พร้อมๆ กัน
ส่วนสาเหตุที่คนญี่ปุ่นแทบไม่รู้จักเพลง Stay With Me หรือ Plastic Love เลย เป็นเพราะว่าในยุคนั้นสองเพลงนี้ไม่ได้ฮิตติดกระแสในญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมกันแค่ในต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีมานี้เท่านั้น ในญี่ปุ่นศิลปิน New Music หรือ City Pop ที่ดังกว่ามี ทัตซึโระ ยามาชิตะ (Tatsuro Yamashita), โทชิกิ โคะโดะมัตสึ (Toshiki Kadomatsu), ทาคุโระ โยชิดะ (Takuro Yoshida), ยูมิ อะราอิ (Yumi Arai), อังริ (Anri), ทาเอโกะ โอะนุกิ (Taeko Onuki) เป็นต้น
ความบังเอิญที่หลายคนไม่รู้คือ อัลกอริทึมของยูทูบไม่ได้แนะนำเพลงเหล่านั้นโดยอิงข้อมูลสถิติความนิยมของเพลงเลยสักนิด
ส่วนสาเหตุที่คนญี่ปุ่นแทบไม่รู้จักเพลง Stay With Me หรือ Plastic Love เลย เป็นเพราะว่าในยุคนั้นสองเพลงนี้ไม่ได้ฮิตติดกระแสในญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมกันแค่ในต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีมานี้เท่านั้น ในญี่ปุ่นศิลปิน New Music หรือ City Pop ที่ดังกว่ามี ทัตซึโระ ยามาชิตะ (Tatsuro Yamashita), โทชิกิ โคะโดะมัตสึ (Toshiki Kadomatsu), ทาคุโระ โยชิดะ (Takuro Yoshida), ยูมิ อะราอิ (Yumi Arai), อังริ (Anri), ทาเอโกะ โอะนุกิ (Taeko Onuki) เป็นต้น
แล้วคำว่า City Pop มันมาจากไหน?
สมมติฐานที่แน่ชัดคือความนิยมของ City Pop เกิดจากระบบอัลกอริทึมบนยูทูบ และกลุ่มคนฟังเพลงที่กลับมาฟังเพลงญี่ปุ่นยุค 80s ซึ่งทำให้เพลงป็อปในวันวานได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการฟังเพลงบนโลกออนไลน์ไปโดยปริยายความบังเอิญที่หลายคนไม่รู้คือ อัลกอริทึมของยูทูบไม่ได้แนะนำเพลงเหล่านั้นโดยอิงข้อมูลสถิติความนิยมของเพลงเลยสักนิด
ทัตสึโระ ยามาชิตะ เจ้าของฉายา ‘King of City Pop’ ศิลปินเพลง New Music ที่ประสบความสำเร็จมากในยุค 80s มีอัลบั้มเพลงเดี่ยวมากกว่า 10 อัลบั้ม มีเพลงที่แต่งให้กับรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์จำนวนไม่น้อย ทว่าคนส่วนใหญ่ที่ฟัง Plastic Love บนยูทูบกลับไม่รู้จักเขาเลย
นั่นเป็นเพราะอัลกอริทึมยูทูบไม่ได้พาเราไปรู้จักคนที่เด่นดังที่สุดในวงการเพลง New Music แต่กลับพาเราไปรู้จักเพลง Plastic Love และเพลง Stay With Me โดยอิงข้อมูลจากจังหวะเพลงที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้แนวเพลง Lofi กำลังเป็นที่นิยมฟังกันจำนานมาก เพลง Plastic Love และ Stay With Me จึงถูกรับเลือกเป็นคลิปวิดีโอแนะนำเพราะมีแนวดนตรีคล้ายกับ Lofi นั่นเอง
จำนวนผู้ฟังเพลงแนว Lofi ที่มีมากขึ้นนั้นเป็นส่วนสำคัญในการชุบชีวิตเพลงญี่ปุ่น 2 เพลงที่ไม่ค่อยดังในอดีตให้กลับมาเป็นเพลงฮิตในโลกปัจจุบันอีกครั้ง กระแสความนิยมนี้ยังส่งผลให้คนมีการตั้งชื่อเพลย์ลิสต์เพลงบนยูทูบให้เหมือนกับชื่อเพลย์ลิสต์เพลง Lofi อีกด้วย
นั่นเป็นเพราะอัลกอริทึมยูทูบไม่ได้พาเราไปรู้จักคนที่เด่นดังที่สุดในวงการเพลง New Music แต่กลับพาเราไปรู้จักเพลง Plastic Love และเพลง Stay With Me โดยอิงข้อมูลจากจังหวะเพลงที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้แนวเพลง Lofi กำลังเป็นที่นิยมฟังกันจำนานมาก เพลง Plastic Love และ Stay With Me จึงถูกรับเลือกเป็นคลิปวิดีโอแนะนำเพราะมีแนวดนตรีคล้ายกับ Lofi นั่นเอง
จำนวนผู้ฟังเพลงแนว Lofi ที่มีมากขึ้นนั้นเป็นส่วนสำคัญในการชุบชีวิตเพลงญี่ปุ่น 2 เพลงที่ไม่ค่อยดังในอดีตให้กลับมาเป็นเพลงฮิตในโลกปัจจุบันอีกครั้ง กระแสความนิยมนี้ยังส่งผลให้คนมีการตั้งชื่อเพลย์ลิสต์เพลงบนยูทูบให้เหมือนกับชื่อเพลย์ลิสต์เพลง Lofi อีกด้วย
การตั้งชื่อเพลย์ลิสต์มักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนใหญ่เป็นการอธิบายบรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกของในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ‘japanese city pop when feeling the summer’s warmth’ เมื่อคำว่า Japanese, City Pop และ Lofi ซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดยอดฮิตมาเจอกัน เพลงญี่ปุ่นในยุค 80s จึงกลายเป็นเพลงติดเทรนด์ที่หลายคนเริ่มหันมาฟังกันมากขึ้นเรื่อยๆ บนยูทูบ และลามไปถึงช่องทางอื่นๆ เช่น Apple Music และ Spotify
กระแสฮิตทำให้คนจำนวนมากนำเพลง City Pop มาสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำเป็นคลิปอนิเมะวนลูปแล้วใส่เพลงเข้าไป บางคนทำให้เพลงช้าลง และใส่เอฟเฟค Reverb (เอฟเฟคที่ทำให้เสียงเหมือนเล่นในห้องกว้าง เสียงจะออกกังวาน เกิดเสียงสะท้อนเอคโคเบาๆ) เพื่อสร้างอารมณ์เพลงให้น่าสนใจ และขับอารมณ์มากขึ้น บางคนเร่งความเร็วให้กับเพลง และใส่เครื่องดนตรีอื่นเข้าไปเองเพื่อให้เกิดความเป็นฟังกี้ (Funky) แบบสนุกๆ
ความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่รู้จบของผู้คนที่หลงใหลดนตรีที่เพิ่งมีชื่อเรียกนี้เอง ทำให้ดนตรี City Pop กลายเป็นไทม์แมชชีนที่พาเพลงญี่ปุ่นยุค 80s กลับมาโลดแล่นและเติมสีสันให้คนในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังเหี่ยวเฉา
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุคนั้นเฟื่องฟูจนพุ่งแซงหน้าโลกตะวันตก จากที่เคยเป็นผู้ตามโลก ได้กลายเป็นผู้นำโลก สินค้าและเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้าสู่โลกตะวันตกล้วนมีคำว่า ‘made in japan’ เกิดการผสมกันระหว่างสองวัฒนธรรมที่แตกต่างของความเป็นอเมริกันและเทคโนโลยีของญี่ปุ่น กลายเป็นภาพจินตนาการถึงโลกอนาคตที่มืดมนและถูกควบคุมโดยเทคโนโลยีที่ไร้หัวใจ
ความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่รู้จบของผู้คนที่หลงใหลดนตรีที่เพิ่งมีชื่อเรียกนี้เอง ทำให้ดนตรี City Pop กลายเป็นไทม์แมชชีนที่พาเพลงญี่ปุ่นยุค 80s กลับมาโลดแล่นและเติมสีสันให้คนในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังเหี่ยวเฉา
City Pop เสียงความสดใสจากยุคเจแปนดรีม
หนังสือชื่อ ‘Spaces of Identity’ เขียนโดย เดวิด มอร์ลีย์ (David Morley) นักวิชาการชาวอังกฤษ และเควิน โรบินส์ (Kevin Robins) มีได้หยิบยกคำว่า ‘Techno-Orientalism’ ขึ้นมา โดยอธิบายว่าเป็นคำศัพท์เฉพาะที่จำลองภาพความเป็นญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 70s-80s ที่กลืนตัวเองเข้ากับเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต เช่น คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ การเชื่อมต่อออนไลน์ อวัยวะเทียม จนกลายเป็นเทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุคนั้นเฟื่องฟูจนพุ่งแซงหน้าโลกตะวันตก จากที่เคยเป็นผู้ตามโลก ได้กลายเป็นผู้นำโลก สินค้าและเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้าสู่โลกตะวันตกล้วนมีคำว่า ‘made in japan’ เกิดการผสมกันระหว่างสองวัฒนธรรมที่แตกต่างของความเป็นอเมริกันและเทคโนโลยีของญี่ปุ่น กลายเป็นภาพจินตนาการถึงโลกอนาคตที่มืดมนและถูกควบคุมโดยเทคโนโลยีที่ไร้หัวใจ
มอร์ลีย์และโรบินส์กล่าวว่า “ญี่ปุ่นนำเสนอภาพโลกดิสโทเปีย (dystopia) ที่เกิดจากอำนาจของทุนนิยม” ไม่ต่างกับภาพที่เราเห็นในภาพยนตร์เรื่อง Blade Runner ที่กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ (Ridley Scott)
นักวิชาการบางคนออกมาพูดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็น Techno Orientalism ผ่านแนวเพลงที่เรียกว่า “Vaporwave” ที่แสดงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในยุค 80s ไว้ได้ดี เช่น ทุกๆ เพลงในอัลบั้ม Floral Shoppe ของศิลปิน Macintosh Plus (อีกชื่อหนึ่งคือ Vektriod) ที่มีการตั้งชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น ภาพปกอัลบั้มมีฟอนต์ญี่ปุ่นสีเขียวมิ้นต์วางอยู่ข้างรูปปั้นกรีก ข้างๆ มีภาพมหานครนิวยอร์กก่อนเหตุการณ์ 11 กันยายน (ที่ถ่ายจากกล้องวิดิโอแคสเซ็ตของ Fuji) ยิ่งขับเน้นให้รู้สึกถึงความเป็นโลกเทคโนโลยีที่อยู่ภายใต้ทุนนิยม (Techno-Capitalism)
นักวิชาการบางคนออกมาพูดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็น Techno Orientalism ผ่านแนวเพลงที่เรียกว่า “Vaporwave” ที่แสดงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในยุค 80s ไว้ได้ดี เช่น ทุกๆ เพลงในอัลบั้ม Floral Shoppe ของศิลปิน Macintosh Plus (อีกชื่อหนึ่งคือ Vektriod) ที่มีการตั้งชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น ภาพปกอัลบั้มมีฟอนต์ญี่ปุ่นสีเขียวมิ้นต์วางอยู่ข้างรูปปั้นกรีก ข้างๆ มีภาพมหานครนิวยอร์กก่อนเหตุการณ์ 11 กันยายน (ที่ถ่ายจากกล้องวิดิโอแคสเซ็ตของ Fuji) ยิ่งขับเน้นให้รู้สึกถึงความเป็นโลกเทคโนโลยีที่อยู่ภายใต้ทุนนิยม (Techno-Capitalism)
เค็น แมคลีออด (Ken Mcleod) นักดนตรีวิทยาให้ความเห็นว่าอัลบั้ม Floral Shoppe คือการรวมตัวกันระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออก แสดงให้ถึงความศิวิไลซ์ที่หายไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นไปแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
แมคลีออดอธิบายว่า การเกิดขึ้นของแนวเพลงที่หลากหลายบนโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดบรรยากาศแบบ ‘retro-futurist melancholy’ หรือความรู้สึกเศร้าท่ามกลางบรรยากาศของโลกกึ่งอนาคตกึ่งย้อนยุค เช่นเดียวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อภาพการล่มสลายของโลกทุนนิยมที่ถูกตอกย้ำด้วยการถดถอยของอุดมคติญี่ปุ่น (Japanese Dream) ในช่วงทศวรรษ 90s ซึ่งเปรียบเป็นยุคฟองสบู่ของประเทศญี่ปุ่น ความฝันของชาวญี่ปุ่นแตกสลาย ธุรกิจจำนวนไม่น้อยขาดทุนและล้มละลาย ตลาดหุ้นพัง ราคาที่ดินและสินทรัพย์ดิ่งลงเหว ชาวญี่ปุ่นต่างเรียกช่วงเวลาหลังจากนั้นว่า ‘The Lost Decades’
ด้วยเหตุนี้ การที่ได้เสพดนตรีในยุคที่ญี่ปุ่นรุ่งโรจน์จึงเป็นการถวิลหาความสวยงาม ความเจริญก้าวหน้าที่เคยเกิดขึ้นในวันชื่นคืนสุขของวันวาน เหมือนอย่างที่มีคนคอมเมนต์ในเพลย์ลิสต์ City Pop บน Youtube ว่า “คิดถึงอนาคตจัง (I miss the future)”
แมคลีออดอธิบายว่า การเกิดขึ้นของแนวเพลงที่หลากหลายบนโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดบรรยากาศแบบ ‘retro-futurist melancholy’ หรือความรู้สึกเศร้าท่ามกลางบรรยากาศของโลกกึ่งอนาคตกึ่งย้อนยุค เช่นเดียวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อภาพการล่มสลายของโลกทุนนิยมที่ถูกตอกย้ำด้วยการถดถอยของอุดมคติญี่ปุ่น (Japanese Dream) ในช่วงทศวรรษ 90s ซึ่งเปรียบเป็นยุคฟองสบู่ของประเทศญี่ปุ่น ความฝันของชาวญี่ปุ่นแตกสลาย ธุรกิจจำนวนไม่น้อยขาดทุนและล้มละลาย ตลาดหุ้นพัง ราคาที่ดินและสินทรัพย์ดิ่งลงเหว ชาวญี่ปุ่นต่างเรียกช่วงเวลาหลังจากนั้นว่า ‘The Lost Decades’
ด้วยเหตุนี้ การที่ได้เสพดนตรีในยุคที่ญี่ปุ่นรุ่งโรจน์จึงเป็นการถวิลหาความสวยงาม ความเจริญก้าวหน้าที่เคยเกิดขึ้นในวันชื่นคืนสุขของวันวาน เหมือนอย่างที่มีคนคอมเมนต์ในเพลย์ลิสต์ City Pop บน Youtube ว่า “คิดถึงอนาคตจัง (I miss the future)”
ส่วนใครบางคนที่ฟังแล้วรู้สึกเหงา สเวตลาน่า บอยม์ (Svetlana Boym) ศิลปิน และนักทฤษฎีสื่อ เคยเขียนอธิบายถึงมวลความรู้สึกเหงาที่เกิดขึ้นขณะฟังเพลง City Pop ไว้ว่า
“ความรู้สึกพวกนี้เกิดมาจากการมีอยู่ของสองขั้วตรงข้าม เช่น บ้าน-ต่างประเทศ, อดีต-ปัจจุบัน, ความฝัน-ชีวิตธรรมดาในทุกๆ วัน เพลง City Pop ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วนี้ เป็นโลกจินตนาการที่อยู่ระหว่างความเป็นญี่ปุ่นกับความเป็นอเมริกัน ความรู้สึกปกติกับชีวิตปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวก็โหยหาอดีต และอินเทอร์เน็ตก็สามารถพาคนข้ามเวลาไปได้เพียงเวลาไม่กี่วินาที ด้วยการเสพสื่อที่คนยุคก่อนเคยเสพ”
ปัจจุบันคนพยายามนำความนิยมของเพลงญี่ปุ่นยุค 80s กลับมาอีกครั้ง สังเกตได้จากคลิปยอดฮิตใน TikTok ช่วงหนึ่งที่คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยบันทึกวิดีโอคุณแม่ตัวเองที่อยู่ในวัย 40-50 ปี และทันทีที่เพลง Stay With Me ดังขึ้น คุณแม่แต่ละคนต่างร้องตามอย่างสนุกสนาน และบางคนถึงกับขยับแข้งขยับขาเต้นราวกับตัวเองย้อนเวลากลับไปเป็นสาวอีกครั้ง ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่น่ารัก อบอุ่น สร้างความฮือฮาและรอยยิ้มได้ดีทีเดียว
“ความรู้สึกพวกนี้เกิดมาจากการมีอยู่ของสองขั้วตรงข้าม เช่น บ้าน-ต่างประเทศ, อดีต-ปัจจุบัน, ความฝัน-ชีวิตธรรมดาในทุกๆ วัน เพลง City Pop ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วนี้ เป็นโลกจินตนาการที่อยู่ระหว่างความเป็นญี่ปุ่นกับความเป็นอเมริกัน ความรู้สึกปกติกับชีวิตปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวก็โหยหาอดีต และอินเทอร์เน็ตก็สามารถพาคนข้ามเวลาไปได้เพียงเวลาไม่กี่วินาที ด้วยการเสพสื่อที่คนยุคก่อนเคยเสพ”
ปัจจุบันคนพยายามนำความนิยมของเพลงญี่ปุ่นยุค 80s กลับมาอีกครั้ง สังเกตได้จากคลิปยอดฮิตใน TikTok ช่วงหนึ่งที่คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยบันทึกวิดีโอคุณแม่ตัวเองที่อยู่ในวัย 40-50 ปี และทันทีที่เพลง Stay With Me ดังขึ้น คุณแม่แต่ละคนต่างร้องตามอย่างสนุกสนาน และบางคนถึงกับขยับแข้งขยับขาเต้นราวกับตัวเองย้อนเวลากลับไปเป็นสาวอีกครั้ง ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่น่ารัก อบอุ่น สร้างความฮือฮาและรอยยิ้มได้ดีทีเดียว
การกลับมาของกระแสเพลง City Pop ไม่ได้สร้างแค่เทรนด์การฟังเพลงเพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถเชื่อมโยงคนระหว่างเจนเนอเรชัน แถมกระแสของเพลงแนวนี้ยังทำให้คนไทยได้กลับไปฟังเพลงป็อปไทยในวันวานอีกครั้ง แม้แต่ศิลปินไทยหลายคนก็ยังสอดแทรกกลิ่นอายแนวเพลงนี้เข้าไปในเพลงของตัวเอง เช่น วง Polycat หรือ อิ้งค์ วรันธร เป็นต้น ส่วนคนรุ่นใหม่ทั่วโลกก็เริ่มหันกลับไปเสพวัฒนธรรมป็อบยุค 80s-90s และผลิตผลงานสื่อออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิดิโอเกม ดนตรี ภาพศิลปะ และอื่นๆ อีกมาก ทำให้เห็นว่าวัฒนธรรมป็อปยุค 80s นั้นไม่มีวันตาย และเป็นกระแสอมตะที่ไหลวนเวียนกับโลกทุกยุคเลยก็ว่าได้