ทำไมย่านการค้า ‘ราชประสงค์’ ถึงกลายเป็นย่านแห่ง ‘ความมู’

17 ก.ค. 2567 - 10:27

  • ย่านราชประสงค์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 จากพระราชดำริขยายความเจริญของเมือง

  • ความเจริญที่เดินเข้าไปหา เปลี่ยนทุ่งนาให้กลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวก วังเจ้านาย โรงแรม โรงเรียน ห้างร้าน โรงพยาบาล

  • ปัญหาติดขัดระหว่างการสร้างโรงแรมเอราวัณคือจุดเริ่มต้นของความมู

spacebar สเปซบาร์, ราชประสงค์, ราชดำริ, สีลม, พระพรหมเอราวัณ, โรงแรมเอราวัณ, ความมู, มูเตลู, ย่านการค้า

เมื่อแรกสร้างย่านราชประสงค์ เป็นไปเพื่อขยายความเจริญของเมือง ส่วน ‘ความมู’ นั้นเกิดขึ้นทีหลัง เมื่อการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณเกิดปัญหาติดขัดหลายครั้งจนเกิดความล่าช้า

ถ้าจะเล่าเรื่องย่านราชประสงค์คงต้องย้อนกลับไปราวหนึ่งร้อยปีที่แล้ว

ปีนั้นคือ พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำริจะขยายความเจริญของเมืองออกไปทางทุ่งนาใกล้คลองแสนแสบและวัดปทุมวนาราม เชื่อมกับการพัฒนาที่ดินสีลม จึงสร้างถนนเพลินจิตเชื่อมถนนปทุมวันที่ต่อมาเปลี่ยนเป็นถนนพระราม 1 ตัดกับถนนราชดำริ เกิดเป็นสี่แยก ชื่อ “แยกราชประสงค์”

รัชกาลที่ 6
Photo: รัชกาลที่ 6
spacebar สเปซบาร์, ราชประสงค์, ราชดำริ, สีลม, พระพรหมเอราวัณ, โรงแรมเอราวัณ, ความมู, มูเตลู, ย่านการค้า
Photo: แยกราชประสงค์

ถนนราชดำริกลายเป็นถนนที่นำความเจริญมาสู่ย่านห่างไกลที่ที่เคยเป็นทุ่งนา สระบัว สวนของคหบดี และบ้านพักตากอากาศของพ่อค้าต่างประเทศแถวศาลาแดง จากนั้นจึงมีการสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ย่านธุรกิจการค้า ตลอดแนวถนนเข้าไปในย่านสีลมที่ที่เคยเป็นท้องทุ่งที่ชื่อย่านยังเป็นชื่อกังหันโรงสี

ถนนสีลม
Photo: ถนนสีลมในอดีต โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวต่างชาติมาตั้งโรงสีที่ย่านนี้ โดยเครื่องสีใช้กำลังลมหมุนใบพัด

ความเจริญเกิดขึ้นตลอดย่านปทุมวัน มีวัดปทุมวนารามเป็นศูนย์กลางชุมชน มีวังเจ้านายที่ย้ายออกจากพระบรมมหาราชวัง วังสระปทุมที่ยังอยู่หลังสยามพารากอน วังเพชรบูรณ์ที่แปรเปลี่ยนเป็นเซ็นทรัลเวิร์ลในปัจจุบัน วังคันธวาสที่ถนนวิทยุ ยังไม่นับรวมที่ดินใกล้แยกราชประสงค์ บริเวณนี้คือ สถานที่สำคัญของเจ้านายหลายพระองค์

บ้านศาลาแดง
Photo: บ้านศาลาแดง อดีตตั้งอยู่ที่หัวถนนสีลม ปัจจุบันเป็นโรงแรมดุสิตธานี. ภาพ: ที่นี่ดุสิตธานี

ความเชื่อในเป็นย่านแห่งนี้เกิดขึ้นหลังการมาของโรงแรมเอราวัณที่มีปัญหาตอนก่อสร้าง จนเป็นที่มาของวิธีแก้ด้วยการสร้างศาลท้าวมหาพรหม ประจวบกับการเปลี่ยนแปลงที่วังเพชรบูรณ์ที่ฝั่งเยื้องกันเป็นเอกชนที่เข้ามาพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า เทพองค์ที่สองจึงถูกเชิญมาที่นี่ พระสทาศิวะ หรือที่เชื่อว่าเป็นพระตรีมูรติ ตามมาด้วยพระพิฆเนศ

spacebar สเปซบาร์, ราชประสงค์, ราชดำริ, สีลม, พระพรหมเอราวัณ, โรงแรมเอราวัณ, ความมู, มูเตลู, ย่านการค้า
Photo: โรงแรมเอราวัณ เปิด พ.ศ.2499

เมื่อเป็นแบบนี้อีกห้างสรรพสินค้าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามจึงต้องมี พระลักษมี ตามด้วย พระอินทร์ และพระวิษณุ

หลายคนเชื่อว่าการสร้างรูปเคารพของเทพคือการสร้างสมดุลแห่งพลัง หักล้างอำนาจ และ “ความแรง” อันที่จริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย เพราะความเชื่อทางฮินดู เทพทุกองค์ที่นี่อยู่ฝ่ายเดียวกัน เรื่องกำลังต้านหรือหักล้างกันจึงไม่ถูกต้อง น่าจะเป็นการเสริมกันเสียด้วยซ้ำ

spacebar สเปซบาร์, ราชประสงค์, ราชดำริ, สีลม, พระพรหมเอราวัณ, โรงแรมเอราวัณ, ความมู, มูเตลู, ย่านการค้า
Photo: ศาลพระพรหมเอราวัณ ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2558

เมื่อเทพมาพร้อมกับการบูชา และการวอนขอ ราชประสงค์จึงกลายเป็นแหล่งรวมเทพและรวมความเชื่อ หลายคนมาที่นี่เมื่อมีความทุกข์ บ้างก็มาด้วยความหวัง ความปรารถนา ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์แปลกๆ ที่บอกว่าแปลกเพราะบางพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์ยังไม่มีมากเท่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมทางการเมือง ระเบิด อุบัติเหตุร้ายแรง ก็เปลี่ยนความศรัทธาไม่ได้

ยังไงก็แล้วแต่ราชประสงค์ ราชดำริ เพลินจิต ยาวไปถึงราชปรารภก็ยังคึกคักในการเป็นย่านการค้า และความเชื่อที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปอีกนานตราบเท่าที่เทพยังอยู่คู่ย่าน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์